ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001

สาระสำคัญ

รายวิชาทักษะการเรียนรูู้ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของนักเรียนในด้านการ เรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้แหล่งเรียนรู้ การจัดการความรู้ การคิดเป็นและการวิจัยอย่างง่าย โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้ผูู้เรียนสามารถกําหนดเป้าหมาย วางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าถึงและเลือกใช้ แหล่งเรียนรู้จัดการความรู้ กระบวนการแก้ปัญหาและตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ที่จะสามารถใช้เป็น เครื่องมือชี้นํา ในการเรียนรู้ ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

หนังสือเรียน รายวิชา ทักษะการเรียนรู้ (ทร 31001)ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ

Uploaded by

Mrs-ska An-An

100% found this document useful (2 votes)

22K views

31 pages

Description:

ใบงานวิชาทักษะการเรียนรู้ (ทร 31001)

Original Title

ใบงานวิชาทักษะการเรียนรู้ (ทร 31001)

Copyright

© Attribution Non-Commercial (BY-NC)

Available Formats

DOC, PDF, TXT or read online from Scribd

Share this document

Did you find this document useful?

Is this content inappropriate?

Report this Document

100% found this document useful (2 votes)

22K views31 pages

ใบงานวิชาทักษะการเรียนรู้ (ทร 31001)

Original Title:

ใบงานวิชาทักษะการเรียนรู้ (ทร 31001)

Uploaded by

Mrs-ska An-An

Description:

ใบงานวิชาทักษะการเรียนรู้ (ทร 31001)

Full description

ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001
ใบงานทักษะการเรียนรู้ ทร31001

พบครูที่ปรึกษา
วิชาทักษะการเรียนรู้ ทร31001 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

วัน เวลา รายละเอียด เนื้อหา
พฤหัสบดี 09.30-10.30 น. บทที่ 1 การเรียนรู้ด้วยตนเอง 1.   ประมวลความรู้ และสรุปเป็นสารสนเทศ

2.   ทำงานบนฐานข้อมูลด้วยการแสวงหาความรู้จนเป็นลักษณะนิสัย

3.   มีความชำนาญในทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะการสังเกต และทักษะการ

จดบันทึกอย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว

พฤหัสบดี 09.30-10.30 น. บทที่ 2  การใช้แหล่งเรียนรู้ 1.   ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ เห็นความสำคัญของแหล่งเรียนรู้

2.   ผู้เรียนสามารถใช้แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดประชาชนได้

พฤหัสบดี 09.30-10.30 น. บทที่ 3  การจัดการความรู้ 1.   ออกแบบผลิตภัณฑ์ สร้างสูตร สรุปองค์ความรู้ใหม่

2.   ประพฤติตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

3.   สร้างสรรค์สังคมอุดมปัญญา

พฤหัสบดี 09.30-10.30 น. บทที่ 4  การคิดเป็น 1.   อธิบายถึงความเชื่อพื้นฐานทางการศึกษาผู้ใหญ่ของคนคิดเป็น และการเชื่อมโยงไปสู่การเรียนรู้เรื่องการคิดเป็น ปรัชญาคิดเป็น การคิดแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ แบบคนคิดเป็นได้

2.   วิเคราะห์จำแนกลักษณะของข้อมูลการคิดเป็นทั้ง 3 ด้าน ที่นำมาใช้ประกอบการคิด

และการตัดสินใจ ทั้งข้อมูลด้านวิชาการ ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง ข้อมูลเกี่ยวกับสังคมและสภาวะแวดล้อม โดยเน้นที่ข้อมูลด้านคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ที่เป็นจุดเน้นสำคัญของคนคิดเป็นได้

3.   ฝึกปฏิบัติการคิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การคิดเป็น ทั้งจากกรณีตัวอย่างและ

หรือสถานการณ์จริงในชุมชน โดยนำข้อมูลด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลทางสังคมและสภาวะแวดล้อมมาประกอบการคิดการพัฒนาได้

วัน เวลา รายละเอียด เนื้อหา
พฤหัสบดี 09.30-10.30 น. บทที่ 5  การวิจัยอย่างง่าย 1.   อธิบายความหมายและความสำคัญของการวิจัยได้

2.   ระบุกระบวนการ ขั้นตอนของการทำวิจัยอย่างง่ายได้

3.   อธิบายสถิติง่าย ๆ และสามารถเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับการวิจัยในแต่ละเรื่องของตนเองได้อย่างถูกต้อง

4.   สร้างเครื่องมือการวิจัยได้

5.   เขียนโครงการวิจัยได้

6.   เขียนรายงานการวิจัยและเผยแพร่งานวิจัยได้

พฤหัสบดี 09.30-10.30 น. บทที่ 6  ทักษะการเรียนรู้และศักยภาพหลักของพื้นที่ในการพัฒนาอาชีพ 1.   อธิบายความหมาย ความสำคัญของทักษะการเรียนรู้ และศักยภาพหลักของพื้นที่ที่   แตกต่างกัน

2.   ยกตัวอย่างศักยภาพหลักของพื้นที่ที่แตกต่างกัน

3.   สามารถบอกหรือยกตัวอย่างเกี่ยวกับศักยภาพหลักของพื้นที่ของตนเอง

4.   ยกตัวอย่างอาชีพที่ใช้หลักการพื้นฐานของศักยภาพหลักในการประกอบอาชีพในกลุ่มอาชีพใหม่ได้

อธิบายรายวิชา

มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ

  1. สามารถประมวลความรู้ ทำงานบนฐานข้อมูล และมีความชำนาญในการอ่าน ฟัง จดบันทึก เป็นสารสนเทศอย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
  2. สามารถวางแผนและใช้แหล่งเรียนรู้ได้อย่างคล่องแคล่วจนเป็นลักษณะนิสัย
  3. สามารถสรุป องค์ความรู้ใหม่ นำไปสร้างสรรค์สังคมอุดมปัญญา
  4. ความสามารถในการฝึกทักษะการคิดเป็นที่ซับซ้อนเชื่อมโยงกับคุณธรรม จริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาคิดเป็นและสามารถระบุถึงปัญหาอุปสรรคการพัฒนากระบวนการคิดเป็น                  และการแก้ไข
  5. สามารถวางแผนการวิจัย ดำเนินการตามแบบแผนอย่างถูกต้อง

ศึกษาและฝึกทักษะเกี่ยวกับเรื่องดังต่อไปนี้ 

  1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ทบทวน ความหมาย ความสำคัญ และกระบวนการของการเรียนรู้ด้วยตนเอง

ฝึกทักษะพื้นฐานทางการศึกษาหาความรู้ ทักษะการแก้ปัญหาและเทคนิคในการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ด้านการอ่าน การฟัง การสังเกต การจำ และการจดบันทึก

ทบทวนการวางแผนการเรียนรู้ และการประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง  มีทักษะพื้นฐานและเทคนิคในการเรียนรู้ด้วยตนเองในเรื่องการวางแผน การประเมินผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง            การวิเคราะห์วิจารณ์

ฝึกทักษะความรู้ทักษะการพูด และการทำแผนผังความคิด

เจตคติ/ปัจจัย ที่ทำให้การเรียนรู้ด้วยตนเองประสบความสำเร็จ การเปิดรับโอกาส               การเรียนรู้ การคิดริเริ่มและเรียนรู้ด้วยตนเอง การสร้างแรงจูงใจ การสร้างวินัยในตนเอง การคิดเชิงบวก ความคิดสร้างสรรค์ ความรักในการเรียน การใฝ่รู้ใฝ่เรียน และความรับผิดชอบ

  1. การใช้แหล่งเรียนรู้

ทบทวน ความหมาย ความสำคัญ ประเภทแหล่งเรียนรู้

ทบทวนการใช้ห้องสมุดประชาชน  การเข้าถึงสารสนเทศห้องสมุดประชาชน ห้องสมุด       อื่น ๆ แหล่งเรียนรู้อื่น ๆ ที่สำคัญเช่นผู้รู้ในชุมชน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ สื่อมวลชน รวมทั้งการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ของตนเอง

ศึกษา สำรวจ แหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน จัดกลุ่ม ประเภท และความสำคัญ

ศึกษาเรียนรู้กับภูมิปัญญา ปราชญ์ ผู้รู้ในท้องถิ่น

  1. การจัดการความรู้

ทบทวนความหมาย ความสำคัญ หลักการของการจัดการความรู้ กระบวนการจัด              การความรู้  การรวมกลุ่มเพื่อต่อยอดความรู้ การพัฒนาขอบข่ายความรู้ของกลุ่ม การจัดทำสารสนเทศเผยแพร่ความรู้

ฝึกทักษะกระบวนการจัดการความรู้ด้วยตนเองและด้วยการรวมกลุ่มปฏิบัติการโดยการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ ระบุความรู้ที่ต้องใช้ การแสวงหาความรู้ สรุปองค์ความรู้ ประยุกต์ใช้ความรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ การรวมกลุ่มปฏิบัติการเพื่อต่อยอดความรู้ การพัฒนาขอบข่ายความรู้ของกลุ่ม

สรุปองค์ความรู้ของกลุ่ม จัดทำสารสนเทศองค์ความรู้ใหม่และการนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง ครอบครัว

  1. การคิดเป็น

ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ของการคิดเป็น การรวบรวมสภาพปัญหา ของตนเอง ครอบครัว ชุมชน และคิดวิเคราะห์  โดยใช้ข้อมูลด้านตนเอง ด้านวิชาการ และด้านสังคมสิ่งแวดล้อม มากำหนดแนวทางทางเลือกที่หลากหลายในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความสุข การประยุกต์ใช้อย่างมีเหตุผลเหมาะสมกับตนเอง ครอบครัว และชุมชน/สังคม

ด้านตนเอง เป็นการพิจารณาข้อมูลของตนเองเกี่ยวกับจุดอ่อน จุดแข็ง ลักษณะนิสัย ค่านิยม ความต้องการ ความรู้พื้นฐาน ทรัพยากร สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ประเพณี และจารีตประเพณีของตนเอง ก่อนตัดสินใจทำสิ่งใด

ด้านวิชาการ เป็นความรู้หลักวิชาการที่มีคนคิดสะสมไว้แล้ว และมีความเกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา สามารถนำมาพิจารณาประกอบในการแก้ปัญหาได้

ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม เป็นการพิจารณาการกระทำใด ๆ ของตนเองที่จะมีผลกระทบต่อ  คนอื่น และสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง

  1. การวิจัยอย่างง่าย

ทบทวนความหมาย  ความสำคัญการวิจัยอย่างง่าย กระบวนการและขั้นตอนของการดำเนินงาน  สถิติง่าย ๆ เพื่อการวิจัย เครื่องมือการวิจัย และการเขียนโครงการวิจัยอย่างง่าย ๆ

ศึกษา ฝึกทักษะ การวิจัยในบ้าน การเขียนรายงานวิจัย การนำเสนอและเผยแพร่งานวิจัย

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้

  1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ควรจัดในลักษณะของการบูรณาการทักษะต่าง ๆ ไปพร้อมกับการสร้างสถานการณ์ในการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซับซ้อน อย่างสร้างสรรค์  เพื่อ 1) ฝึกให้ผู้เรียนได้กำหนดเป้าหมาย และวางแผนการเรียนรู้      2) เพิ่มพูนให้มีทักษะพื้นฐานทักษะการพูด และการทำแผนผังความคิดโดยการปฏิบัติจริง   3) มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ทำให้การเรียนรู้ด้วยตนเองประสบผลสำเร็จ และนำความรู้ไปใช้ในวิถีชีวิตให้เหมาะสมกับตนเอง และชุมชน/สังคม

  1. การใช้แหล่งเรียนรู้

ให้ผู้เรียนทุกคนไปสำรวจ ศึกษา รวบรวมแหล่งเรียนรู้ ภายในชุมชน จังหวัด ประเทศ และโลก รวมทั้งการใช้อินเทอร์เน็ต การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศที่สนใจ ทำความเข้าใจ บทบาท หน้าที่ ข้อดีข้อเสียของแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ

  1. การจัดการความรู้

ศึกษาค้นคว้าหลักการ และกระบวนการของการจัดการความรู้ การฝึกปฏิบัติจริงโดยการรวมกลุ่มปฏิบัติการ/ชุมชนปฏิบัติการ (Community of practice = Cops) สรุปองค์ความรู้ของกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม ยกระดับความรู้/สร้างองค์ความรู้ใหม่และจัดทำสารสนเทศเผยแพร่ความรู้ ด้วยวิธีการที่หลากหลาย

  1. การคิดเป็น

ควรจัดให้ผู้เรียนได้ฝึกการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเก็บรวบรวมข้อมูลในการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล และหลักการที่ซับซ้อนจากสภาพจริง หรือเรื่องเกี่ยวกับชีวิตจริงของตนเอง หรือ สถานการณ์จริง หรือ กรณีศึกษา ที่ใช้แก้ปัญหาและตัดสินใจ อย่างมีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความสุข

  1. การวิจัยอย่างง่าย

จัดให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า เอกสารที่เกี่ยวข้อง การใช้เทคโนโลยีเพื่อสืบค้นข้อมูล   ฝึกทักษะการสังเกตและค้นหาปัญหาที่พบในชีวิตประจำวัน / ในการประกอบอาชีพ / ในสาระที่เรียน  การตั้งคำถาม  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน / ผู้รู้   การคาดเดาคำตอบอย่างมีเหตุผล  การฝึกปฏิบัติการเขียนโครงการวิจัยตามหลักการ    การเก็บรวบรวมข้อมูล  การสร้างเครื่องมือ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอย่างง่ายๆที่เหมาะสมกับข้อมูล  การนำเสนอข้อมูล   การสรุปข้อมูลและเขียนรายงานผลตามหลักการการเผยแพร่ข้อค้นพบด้วยวิธีการหลากหลาย

การวัดและประเมินผล 

          มีเกณฑ์การวัดและประเมินผล ดังนี้

1) ระหว่างภาคเรียนร้อยละ 60 ประเมินจากสภาพจริง ผลงานการเรียนรู้  ความสนใจ  ความร่วมมือในกระบวนการเรียนรู้ออนไลน์ การทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน และแบบฝึกหัดระหว่างเรียนในแต่ละบท

2) ปลายภาคเรียน ประเมินจากการทำแบบทดสอบปลายภาคเรียน ร้อยละ 40

รายละเอียดคำอธิบายรายวิชา ทร31001 ทักษะการเรียนรู้ จำนวน 5 หน่วยกิต

ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

มาตรฐานการเรียนรู้ระดับ

  1. สามารถประมวลความรู้ ทำงานบนฐานข้อมูล และมีความชำนาญในการอ่าน ฟัง จดบันทึก เป็นสารสนเทศอย่างคล่องแคล่วรวดเร็ว
  2. สามารถวางแผนและใช้แหล่งเรียนรู้ได้อย่างคล่องแคล่วจนเป็นลักษณะนิสัย
  3. สามารถสรุป   องค์ความรู้ใหม่ นำไปสร้างสรรค์สังคมอุดมปัญญา
  4. ความสามารถในการฝึกทักษะการคิดเป็นที่ซับซ้อนเชื่อมโยงกับคุณธรรม จริยธรรม              ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาคิดเป็นและสามารถระบุถึงปัญหาอุปสรรคการพัฒนากระบวนการคิดเป็น และการแก้ไข
  5. สามารถวางแผนการวิจัย ดำเนินการตามแบบแผนอย่างถูกต้อง