กฎหมาย การเปิดเผยข้อมูลส่วน บุคคล

โดยใน พ.ร.บ.นี้ระบุไว้ว่า "มาตรา 27 ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล"

ทำให้หลังจากวันที่ 27 พ.ค. เป็นต้นไป การเผยแพร่ข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ e-mail ภาพถ่ายที่สามารถยืนยันบุคคลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต เจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์แจ้งความดำเนินคดีได้ ทั้งนี้มีโทษสูงสุดคือ จำคุก 1 ปี ปรับ 3 ล้านบาท จ่ายค่าเสียหาย 2 เท่า.

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนบังคับใช้ ๑ มิ.ย.นี้
กฎหมาย การเปิดเผยข้อมูลส่วน บุคคล

May 30, 2022   ข่าวสารสนเทศ, ทริค & ทิป ข่าวสาร it

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ซึ่งย่อมาจากคำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 หลังจากที่ถูกเลื่อนออกมาให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 นี้

กฎหมาย การเปิดเผยข้อมูลส่วน บุคคล
กฎหมายฉบับนี้ จะมีบทบาทสำคัญในการคุ้มครองและให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลของเราเอง รวมถึงได้สร้างมาตรฐานใหม่ให้เกิดขึ้นกับบุคคลหรือนิติบุคคลในการเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงการใช้ข้อมูล หรือเพื่อการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ หากผู้ใดหรือองค์กรใดไม่ปฏิบัติตามนั้น มีโทษทั้งทางแพ่ง โทษทางอาญา และโทษทางปกครอง

PDPA ย่อมาจาก คำว่า Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) กฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล การสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้อย่างถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

อย่างไรก็ดี เนื่องจากเป็นกฎหมายใหม่ก่อนมีผลบังคับใช้ ชวนมาเปิดสาระสำคัญ 10 ข้อที่เราต้องรู้เกี่ยวกับกฎหมายฉบับใหม่นี้กัน ดังนี้

1. “ข้อมูลส่วนบุคคล” คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมแต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมเฉพาะ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขประจำตัว ข้อมูลสุขภาพ ฯลฯ (มาตรา 6)

2. “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ต้องเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งเอาไว้ก่อหรือในขณะเก็บรวบรวม (ห้ามใช้นอกเหนือวัถตุประสงค์) (มาตรา 21 )

3. “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของเราเท่าที่จำเป็น ภายใต้วัตถุประสงค์อันชอบด้วยกฎหมาย (มาตรา 22 ) ใช้ข้อมูลของเราให้น้อยที่สุด

4. ความยินยอม เป็นฐานการประมวลผลฐานหนึ่งเท่านั้น “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีหน้าที่ในการกำหนดฐานการประมวลผลให้สอดคล้องกับลักษณะการประมวลผลและความสัมพันธ์ระหว่าง “ผู้ควบคุมข้อมูล” กับ “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (ตามมาตร 24 หรือ มาตรา 26)

5.ในการขอความยินยอม “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” จะต้องคำนึงอย่างที่สุดในความเป็นอิสระของ “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” (ต้องไม่มีสภาพบังคับในการให้/ไม่ให้) (มาตรา 19 วรรคสี่)

6. “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” มีสิทธิต่าง ๆ ดังนี้

สิทธิในการถอนความยินยอม ในกรณีที่ได้ให้ความยินยอมไว้ (มาตรา 19 วรรคห้า)

สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบรายละเอียด (Privacy Notice) (มาตรา 23)

สิทธิขอเข้าถึงและขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 30)

สิทธิขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 31)

สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 32)

สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้ (มาตรา 34)

สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 34)

สิทธิขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 35)

7. กฎหมาย PDPA ให้กับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีสัญชาติใดก็ตาม (มาตรา 5)

8.ในกรณีที่เหตุการละเมิด “ข้อมูลส่วนบุคคล” มีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของ “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” กฎหมายกำหนดให้ “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีหน้าที่ แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ พร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้า (มาตรา 37(4))

9.”ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” มีหน้าที่จัดทำบันทึกรายการกิจกรรม เพื่อให้สำนักงานสามารถตรวจสอบได้ โดยจะบันทึกเป็นหนังสือหรือระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

10. “เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล” มีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในกรณีที่มีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม PDPA หรือ ประกาศฯ ที่ออกตาม PDPA ทั้งนี้ กระบวนการร้องเรียนเป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนด (มาตรา 73)

ทั้งนี้  ตาม PDPA 2019 ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ  และนี่คือตัวอย่างของข้อมูลที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคล

ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น
เลขประจำตัวประชาชน, เลขหนังสือเดินทาง, เลขบัตรประกันสังคม, เลขใบอนุญาตขับขี่, เลขประจำตัวผู้เสียภาษี, เลขบัญชีธนาคาร, เลขบัตรเครดิต (การเก็บเป็นภาพสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาบัตรอื่นๆที่ที่ข้อมูลส่วนบุคคล)
ที่อยู่ อีเมล์ โทรศัพท์
ข้อมูลอุปกรณ์หรือเครื่องมือ เช่น IP Address, MAC Address, Cookie ID
ข้อมูลทางชีวมิติ (Bio-metric) ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพใบหน้า ลายนิ้วมือ ฟิลม์เอ็กซ์เรย์ ข้อมูลสแกนม่านตา ข้อมูลอัตลักษณ์เสียง ข้อมูลพันธุกรรม
ข้อมูลระบุทรัพย์สินของบุคคล เช่นทะเบียนรถ โฉนดที่ดิน
ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลข้างต้นได้ เช่น วันเกิด สถานที่เกิด เชื้อชาติ สัญชาติ น้ำหนัก ส่วนสูง ข้อมูลตำแหน่งที่อยู่ ข้อมูลการแพทย์ ข้อมูลการศึกษา ข้อมูลทางการเงิน ข้อมูลการจ้างงาน
ข้อมูลหมายเลขอ้างอิงที่เก็บไว้ในไมโครฟิลม์
ข้อมูลการประเมินผลการทำงานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง
ข้อมูลบันทึกต่างๆที่ใช้ติดตามสตรวจสอบกิจกรรมต่างๆของบุคคล เช่น Log Files
ข้อมูลมที่ใช้ค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเตอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการไขข้อสงสัย การบันทึก และแชร์ภาพบุคคล ถือว่าผิด PDPA หรือไม่? เว็บไซต์ pdpa.pro ให้ข้อมูลไว้ว่า การถ่ายภาพ หรือ การบันทึกภาพเคลื่อนไหวนั้นสามารถแบ่งเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ไว้ด้วยกัน

1.การถ่ายภาพเพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น การโพสต์มีเดียลง Social Platform ของตนเพื่อแบ่งปันกับคนรู้จัก ที่ไม่ได้มีจุดประสงค์ถ่ายภาพเพื่อสร้างผลกำไรทางการค้า จัดอยู่ในข้อยกเว้นของ พ.ร.บ. ฉบับนี้ แต่ก็ควรระวังไว้ว่าหากภาพดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่น หรือสังคม รวมทั้งเจตนา ท่าทาง ข้อความบรรยายของรูปผู้ใช้ หรือแม้แต่คอมเม้นต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสม อาจจะเสี่ยงโดนฟ้องละเมิดได้

2.การถ่ายภาพเพื่อสร้างรายได้ ได้แก่ การรับจ้างถ่ายภาพงานแต่ง งานรับปริญญา หรือทำ Content ใน Youtube ต่างๆ ซึ่งต่างจากข้อแรก เพราะในกรณีที่ได้รับผลตอบแทน ผู้ปฏิบัติควรทำตามขอบเขตความจำเป็นของสัญญา/ความยินยอม ถ้าเกิดผู้ที่เป็นช่างภาพอยากอัพโหลดผลงานที่ตนเป็นคนถ่าย แล้วบังเอิญไม่ได้อยู่ในสัญญาที่ระบุไว้กับผู้ที่ถูกถ่าย คนที่เป็นช่างภาพนั้นต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของภาพก่อนนำไปใช้เท่านั้น ส่วนการถ่ายภาพบรรยกาศของงานที่ติดผู้มาร่วมงานเป็นฉากหลัง เนื่องจากเป็นสถานที่ที่ทุกคนควรรู้อยู่แล้วว่ามีโอกาสที่จะถูกถ่ายรูป ก็ควรจะระบุให้ได้ว่าประโยชน์ของภาพถ่ายนี้คืออะไร และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของบุคคลอื่น ๆ ด้วย ว่าภาพถ่ายเหล่านั้นไม่ได้มีความเสี่ยง หรือไม่เหมาะสมต่อผู้ที่โดนถูกถ่าย ส่วนการทำ Content วิดีโอลง Youtube Platform ก็ไม่ถือว่าอยู่ใต้การบังคับของ PDPA ถ้าเหตุผลเป็นไปตามสิ่งที่ได้กล่าวมาข้างต้น

3.งานสื่อมวลชน หรือ งานนิทรรศกรรมถาพถ่ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาพข่าว หรือ งานศิลปะกรรม จะไม่ได้อยู่ใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเหล่านี้ต้องทำตามจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพ และมีความสามารถเพียงพอที่จะดูแลความปลอดภัยของข้อมูลได้

4.การถ่ายภาพของเจ้าหน้าที่รัฐ/ตำรวจที่พยายามหาหลักฐานในการสืบสวน กรณีดังกล่าวสามารถทำได้ตามข้อกำหนดและขอบเขตของกฎหมาย และผู้ที่ครอบครองข้อมูลนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะระวังไม่ให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลถึงบุคคลที่สาม เพราะข้อมูลส่วนมากเป็นข้องมูลจำพวก Sentitive และ Confidential

ข้อมูลส่วนบุคคลเปิดเผยได้ไหม

กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลเพื่อป้องกันหรือระงับมิให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือสุขภาพของบุคคลซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ พระราชบัญญัติจึงยกเว้นให้เปิดเผยได้โดยไม่ต้องรับคำยินยอมจากเจ้าของข้อมูล

ข้อมูลส่วนตัวที่เปิดเผยได้มีอะไรบ้าง

ตัวอย่าง ข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้อมูลอ่อนไหว มีอะไรบ้าง.
เชื้อชาติ.
เผ่าพันธุ์.
ความคิดเห็นทางการเมือง.
ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา.
พฤติกรรมทางเพศ.
ประวัติอาชญากรรม.
ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ หรือข้อมูลสุขภาพจิต.
ข้อมูลสหภาพแรงงาน.

กฎหมาย ใหม่ 1 มิถุนายน 2565 มี อะไร บ้าง

วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เป็นวันที่กฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act) หรือพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งในกฎหมาย PDPA ฉบับนี้ มีรายละเอียดและข้อกฎหมายรวมทั้งสิ้น 96 มาตรา ครอบคลุมบทบาท หน้าที่ และสิทธิ ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูล ...

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act. บทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของ “บุคคลธรรมดา” ให้สิทธิในการแก้ไข, เข้าถึง หรือแจ้งลบข้อมูลที่ให้ไว้กับองค์กรเป็นต้น และกำหนดบทบาทหน้าที่และบทลงโทษหากองค์กรไม่ปฏิบัติตาม