ตำบล ละ หาร ละแวก ใกล้ เคียง

                                 โรงเรียนซอและฮ์ศึกษา  ตั้งอยู่หมู่ที่  7 ตำบลละหาร อำเภอบางบัวทอง  จังหวัดนนทบุรี   รหัสไปรษณีย์ 11110
โทรศัพท์  0-2979-3551   โทรสาร 0-2979-3551  สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี  เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่  3 บริเวณโรงเรียน มีพื้นที่ จำนวน 6 ไร่  และพื้นที่รอบๆ  บริเวณโรงเรียนซึ่ง มัสยิดดารุ้ลอาบีดีน  อนุญาตให้ใช้  จำนวน   12  ไร่
                  โรงเรียนซอและฮ์ศึกษาก่อตั้งมาตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม 2478 ความเป็นมาของชื่อโรงเรียนซอและฮ์ศึกษา  ตั้งตามนามของผู้บริจาคบ้านให้เป็นที่เรียนเพื่อให้ความรู้แก่เด็กและเยาวชนในละแวกนั้น ซึ่งมีทั้งเด็กที่อยู่ในจังหวัดนนทบุรีและจังหวัดปทุมธานี และยังเปิดให้เป็นที่อบรมทางด้านศาสนาด้วย ซึ่งต่อมาทางอำเภอจัดตั้งเป็นโรงเรียนประชาบาลขึ้นให้ชื่อว่า “ซอและฮ์ศึกษา” ตามนามท่านผู้บริจาคเพื่อเป็นเกียรติคุณแก่ท่านสืบมา    โรงเรียนเริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่  15  สิงหาคม   2478  ผู้ริเริ่มก่อตั้งหรือสร้างโรงเรียนนี้คือนายซอและฮ์  แมะกัน  ซึ่งเป็นโต๊ะอีหม่ามหมู่บ้านสุเหร่าแดงได้ยกบ้านของท่านซึ่งอยู่ในเขตอำเภอลาดหลุมแก้ว   จังหวัดปทุมธานี  ให้เป็นที่สอนศาสนา  และสอนหนังสือแก่เด็กในละแวกนั้น  มีนายสวัสดิ์  แมะกัน  ทำการสอนพออ่านออก    เขียนได้   ต่อมานายอำเภอบางบัวทอง ชื่อ ขุนถาวร
กับศึกษาธิการอำเภอ  ชื่อนายจิม  รัตนภูมิ ออกตรวจท้องที่พบเข้า   ก็ขอให้ตั้งเป็นโรงเรียนประชาบาล    และส่งครูมาทำการสอนในวันที่  15  เดือน  สิงหาคม  พ.ศ.2478  บ้านหลังนี้ก็เปลี่ยนเป็นโรงเรียนประชาบาลให้การศึกษาแก่เยาวชนรวม 2  เขตจังหวัด
โดยมีนายเจือ   สังข์รุ่งเป็นครูใหญ่คนแรกและมีนายประทุม   อายุวัฒนะ  มาช่วยสอน   เปิดครั้งแรกมีนักเรียนประมาณ  40  คน
                    ต่อมานายอำเภอขุนวิมลอักษร กับศึกษาธิการอำเภอ นายบริบูรณ์   สรชาติ  ขอให้ย้ายบ้านหลังนั้นมาอยู่ฝั่งบางบัวทอง และของบจัดสร้างอาคารขึ้นใหม่   เป็นแบบอาคารไม้ใต้ถุนสูง  มีมุขตรงกลาง  อยู่ติดมัสยิดดารุ้ลอาบีดีน  เปิดทำการสอนชั้นประถม  1 – 4
                    ปี พ.ศ.2485   น้ำท่วมใหญ่  อาคารเรียนพัง    ต้องอาศัยใต้ถุนสุเหร่าเป็นที่เรียนชั่วคราวเรื่อยมา
                    ปี พ.ศ.2501    นายคงฤทธิ์  กุดวิเทศ  เป็นครูใหญ่ได้ติดต่อขอความร่วมมือกับประชาชนสมทบของรัฐ หาเงินสร้างอาคารใหม่   เริ่มสร้างวันที่ 12 ตุลาคม  2502   ในที่ดินมัสยิดยังไม่เรียบร้อยแต่ พอเรียนได้
                    ปี พ.ศ.2510  ได้งบประมาณในการสร้างอาคารใหม่ตามแบบ ป.1ข    ของกระทรวงศึกษาธิการ  เป็นเงิน  120,000  บาท  สมทบกับของที่มีอยู่เดิมเป็น    4  ห้องเรียน
                    ปี พ.ศ.2514  จังหวัดได้สั่งเปิดการศึกษาภาคบังคับถึงชั้น ป.7  ตาม พ.ร.บ.การประถมศึกษา
                    ปี พ.ศ.2517  ได้ต่อเติมห้องเรียนเพิ่มอีก 2ห้องเรียนซึ่งยังขาดอยู่ 3ห้องเรียน รวมเป็น 6 ห้องเรียน
                    ปี พ.ศ.2518  สร้างบ้านพักครู  1  หลัง   และถังเก็บน้ำฝน
                    ปี  พ.ศ.2520  สร้างอาคารเรียนแบบถาวร  แบบ 017 พื้นเสาเทคอนกรีตเป็นเงิน 550,000 บาท  รวมทั้งสิ้น  10  ห้องเรียน  โดยมีนักเรียน  251  คน  9 ห้องเรียน   และในปีเดียวกันนั้นเอง ได้ยกเลิกชั้นเรียน  ป.7   เหลือเพียง 6  ชั้นเรียน  พร้อมทั้งสร้างบ้านพักครู  1  หลัง  เป็นเงิน 60,000  บาท
                   ปี พ.ศ.2521  ต่อเติมอาคารเรียนที่มี 2 ห้องเรียน  เป็น 4 ห้องเรียน  และบ้านพักครู 1 หลัง เป็นเงิน  65,000  บาท
สร้างส้วม 1  หลัง 5  ที่นั่ง  เป็นเงิน 25,000  บาท
                   ปี พ.ศ. 2522  สร้างโรงฝึกงาน  1   หลัง  งบประมาณ 85,000  บาท
                   ปี พ.ศ. 2524  ทางโรงเรียนได้งบโครงการ กสช. สร้างส้วมให้  1 หลัง  5 ที่นั่ง  รวมมีอาคารเรียน  แบบ  ป.1ข 2  หลัง
8  ห้องเรียน  อาคารเรียนถาวรแบบ  017  1 หลัง 4 ห้องเรียน รวม 12ห้องเรียน เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  6  มี 10  ห้องเรียน นักเรียน  210  คน  ครูที่ทำการสอนจริง   8  คน      ช่วยราชการ  1  คน  ซึ่งมีครูไม่เพียงพอกับการเรียนการสอนของนักเรียน
                   ปี พ.ศ.2533   ได้รับงบสร้างถังเก็บน้ำฝนแบบ  ฝ.33  ด้วยงบประมาณ 60,000  บาท
                   ปี พ.ศ.2536  รื้ออาคารเรียนไม้ใต้ถุนสูงขายทอดตลาดเงินเข้าคลัง 186,000 บาท
                   ปี พ.ศ.2539  ก่อสร้างถังน้ำซีเมนต์ตามแบบกระทรวงมหาดไทย  กว้าง  3  เมตร ยาว 5 เมตร  งบประมาณ 50,000  บาท  พ.ศ.2539  ปริมาตรสุทธิ  11  ลูกบาศก์เมตร
                   ปี พ.ศ.2540  รื้ออาคาร ป.1ข  นำวัสดุที่ใช้ได้ไปสร้างอาคารอเนกประสงค์  ลงเสาเอก วันจันทร์ ที่  15 กันยายน  2540   ได้รับบริจาคจากผู้ปกครอง 73,733 บาท  นางสาวสมทรง  คนตรง  บริจาค 100,000  บาท  นางสาวขวัญใจ  คนตรง  บริจาค 100,000  บาท
                   ปี พ.ศ.2541   สร้างป้ายชื่อโรงเรียนได้รับบริจาคจากนางคอดีเยาะห์  คนตรง  100,000 บาท
และได้รื้อบ้านพักครู หลังที่  1 นำมาสร้างโรงฝึกงานโดยสร้างที่เดิมลงเสาเอกเมื่อวันที่  22 พฤศจิกายน 2541  ได้รับเงินบริจาคจาก
นางสาวสมทรง  คนตรง เป็นเงิน  180,000  บาท
                   ปี พ.ศ.2542  สร้างสนามบาสเกตบอล  ด้วยงบประมาณ 200,000  บาท (งบมิยาซาวา)
                   ปี พ.ศ.2543  ได้รับเลือกจากกรมชลประทานให้ขุดลอกสระน้ำหน้าโรงเรียน  ด้วยงบชลประทาน  ได้รับงบประมาณให้สร้างห้องส้วมจากเงินงบประมาณ  แบบ  สปช 6/29  จำนวน 2  หลัง  8 ห้อง
                   ปี พ.ศ. 2544   ได้รับบริจาคอาคารแบบ  สปช.   2/28  จำนวน 15  ห้องเรียน โดยการนำทีมของท่านรองจิระศักดิ์  พูลผล,
คุณธานินทร์  สุนทรานนท์, คุณภานุวัตร  พรประยูรชัย  และพี่น้องชาว สก 81  ที่เรียกกันว่า สก TPF  (Tanin Panuwat & Friends)   โดยในชั้นต้นได้รับความอนุเคราะห์จากคุณแม่เคี้ยม  คุณพ่อสุกิจ พุทธวิบูลย์  บริจาคมาเป็นทุนก่อนจำนวน  1,400,000  บาท  และโครงการสร้างสรรค์ปัญญาไทย  100,000  บาท  ทำพิธีวางศิลาฤกษ์  ในวันที่  13  พฤษภาคม  2544   ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จด้วยงบประมาณทั้งสิ้น  4,500,000  บาท   ทำพิธีเปิดป้ายอาคารและรับมอบอาคารเรียน  โดย ฯพณฯ ปองพล  อดิเรกสาร  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันพุธที่  21  พฤษภาคม  2546 เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล 1-ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   มีนักเรียนทั้งสิ้น  416  คน
                   ปี พ.ศ.  2549 ทุบถังน้ำซีเมนต์ตามแบบกระทรวงมหาดไทย  และทุบถังน้ำฝน แบบ ฝ. 33
                   ปี พ.ศ. 2552  ได้รับบริจาคจากชุมชนสร้างรั้วรอบโรงเรียน  และประตูหน้าโรงเรียน
                   ปี พ.ศ. 2554   ได้รับงบประมาณจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี สร้างสุขาชาย -หญิง
                   ปี พ.ศ. 2554 วันที่ 15 ตุลาคม เกิดมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ ระดับน้ำที่ไหลเข้าท่วมอาคารสูงโดยประมาณ 1.80 เมตร ทำให้โรงเรียนได้รับความเสียหายมาก  และได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิชัยพัฒนา  ทีวีธันเดอร์  กองพลทหารปตอ.  ทหารจากกองพันกรมสรรพวุธทหารบก  สภาพยาบาลแห่งประเทศไทย  ในการฟื้นฟูโรงเรียน  และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  ทรงรับโรงเรียนซอและฮ์ศึกษาไว้ในโครงการมูลนิธิชัยพัฒนา ร่วมพัฒนาโรงเรียนให้สามารถจัดการศึกษาตอบสนองความต้องการของชุมชนได้
                   ปี พ.ศ. 2555   ทาสีอาคารเรียน ป. 1 ข  ทาสีรั้ว  ด้วยงบประมาณจากมูลนิธิชัยพัฒนา
                  ปี พ.ศ. 2556   ขุดเจาะบ่อบาดาลโดยกรมทรัพยากรธรณี  งบประมาณมูลนิธิชัยพัฒนา
                  ปี พ.ศ. 2556   ดำเนินการสร้างอาคารชั่วคราว ใต้ถุนสูง  งบประมาณมูลนิธิชัยพัฒนา