กฎหมาย แรงงาน ลา ออก จาก งาน

สรุปประเด็นสำคัญ

  • กฎบริษัทฯส่วนใหญ่ ระบุไว้ว่า ลาออกให้ “แจ้งล่วงหน้า 30 วัน”
  • ความจริงแล้ว หลานๆ สามารถยื่นลาออกให้มีผลวันถัดไปได้เลย ไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน
  • แม้จะลาออกแบบผิดกฎบริษัทฯ บริษัทฯ ห้ามหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ที่หลานได้ทำไปแล้ว

**หากการลาออกกระทันหันทำให้บริษัทฯ เกิดความเสียหาย บริษัทฯ ก็ยังสามารถที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเหล่านั้นได้เช่นกัน

ยุคนี้เห็นหลานๆ อายุน้อยหลายคน เริ่มเปลี่ยนงานกันถี่ขึ้นตามยุคสมัย บางคนก็แจ้งวันนี้ ลาออกพรุ่งนี้เลย บางคนก็ทําตามกฎที่บริษัทฯ เขียนไว้ว่า แจ้งล่วงหน้า 30 วัน แต่เอ๊ะ สรุป เราต้องแจ้งกี่วันกันแน่นะ?

ความจริงไม่จำเป็น ต้องแจ้งลาออกล่วงหน้า 30 วัน

แท้จริงแล้วนั้น หลานๆ สามารถยื่นลาออกโดยจะให้มีผลในวันไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน โดยให้ยึดความประสงค์ของพนักงานเป็นหลัก แต่หลานๆ บางคนอาจจะเคยเจอว่าพอถึงสิ้นเดือนปั๊ป ปรากฎว่าเงินเข้าไม่ครบ กลับถูกหักเงินเดือน ด้วยค่าโน่นนี่นั่น ซึ่งในกรณีแบบนี้เนี่ย นายจ้างจะไม่มีสิทธิหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาใดๆตามกฎหมายมาตรา 76 ที่ห้ามเอาไว้

ซึ่งสุดท้ายแล้วเนี่ย การลาออกที่ดีที่สุด อาจจะต้องเกิดจากการเจรจาต่อรองด้วยเหตุผล หากหลานๆมีเหตุจำเป็นให้ต้องรีบออก ครอบครัวไม่สบาย หรือ ติดขัดปัญหาใดๆ ก็อาจจะเจรจาความจำเป็นนั้นๆ กับหัวหน้างานหรือ HR เพราะในมุมบริษัท อาจจะต้องคำนึงในเรื่องการสอนงาน และการหาพนักงานใหม่ด้วย ซึ่งในกรณีที่เลวร้าย การลาออกกระทันหันทำให้บริษัทฯ เกิดความเสียหาย บริษัทฯ ก็ยังสามารถที่จะฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายเหล่านั้นได้เช่นกัน

เพราะฉะนั้นลุงเชื่อว่าการพูดคุยเพื่อหาทางออกที่แฮปปี้เอนดิ้งกับทั้งสองฝ่าย น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดนะจ้ะ วันนี้ลุงมาฝากความรู้สั้นๆ สําหรับการยื่นลาออกให้หลานๆ ได้รับทราบกัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย สวัสดีจ้ะ

กฎหมาย แรงงาน ลา ออก จาก งาน

Written by

Jessada Y. | ลุง HR

ลุง HR ที่แท้จริงแล้วเป็นชายหนุ่มยิ้มเก่งลูกเสี้ยวฮ่องกง ที่เรียนจบสาขาจิตวิทยา แต่เลือกมาทำงานสาย HR เพราะสนใจในเรื่องราวของผู้คน เริ่มทำเพจ “ลุง HR” เพราะอยากช่วยให้พนักงานเข้าใจในสวัสดิการ, สิทธิประโยชน์ รวมถึงกฏหมายแรงงานที่ลูกจ้างทุกคนควรต้องรู้ ยามว่างหลังเรียนปริญญาโท ลุงก็ทุ่มเทให้บรรดาต้นไม้ดอกไม้ลูกรักที่เลียงไว้ที่ระเบียงคอนโด

กฎหมาย แรงงาน ลา ออก จาก งาน

Written by

Jessada Y. | ลุง HR

ลุง HR ที่แท้จริงแล้วเป็นชายหนุ่มยิ้มเก่งลูกเสี้ยวฮ่องกง ที่เรียนจบสาขาจิตวิทยา แต่เลือกมาทำงานสาย HR เพราะสนใจในเรื่องราวของผู้คน เริ่มทำเพจ “ลุง HR” เพราะอยากช่วยให้พนักงานเข้าใจในสวัสดิการ, สิทธิประโยชน์ รวมถึงกฏหมายแรงงานที่ลูกจ้างทุกคนควรต้องรู้ ยามว่างหลังเรียนปริญญาโท ลุงก็ทุ่มเทให้บรรดาต้นไม้ดอกไม้ลูกรักที่เลียงไว้ที่ระเบียงคอนโด

กฎหมาย แรงงาน ลา ออก จาก งาน

เพจที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ HR, กฏหมายแรงงานน่ารู้ รวมถึงข้อมูลอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับงาน HR

ตามที่มีการเผยแพร่ข้อมูลในสื่อออนไลน์ เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ลาออกจากงาน ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน สามารถออกจากงานได้ทันที ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลบิดเบือน

กรณีการโพสต์ให้ข้อมูลที่ระบุว่า ลาออกจากงาน ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน ตามกฎหมายแล้ว เมื่อลูกจ้างยื่นจดหมายลาออกให้กับบริษัท เท่ากับว่าการลาออกเสร็จสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องรอการอนุมัติจากนายจ้าง สามารถออกได้ทันที และต้องได้ค่าตอบแทนถึงวันที่ทำงานวันสุดท้ายนั้น

ทางกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ได้ตรวจสอบเรื่องดังกล่าวและชี้แจงว่า ตามมาตรา 17 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ลูกจ้างลาออกต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ถ้าไม่บอกกล่าวก่อน หรือออกไปทันที แม้ไม่ต้องรอให้นายจ้างอนุมัติ การลาออกก็ตาม หากเกิดความเสียหาย นายจ้างสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายจากลูกจ้างได้ และหากไม่เกิดความเสียหาย หรือนายจ้างพิสูจน์ไม่ได้ว่าเสียหายอย่างไร ศาลก็เพียงแต่ยกฟ้องเท่านั้น

โดยตามฎีกาที่ 10614/2558 เรื่อง ลูกจ้างลาออกจากงานไม่ถูกต้อง เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 อันเป็นเหตุให้นายจ้างมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้แต่การกำหนดจำนวนค่าเสียหาย เป็นดุลพินิจของศาล ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าว ไม่ตรงกับข้อกฎหมายส่งเสริมให้ลูกจ้างทำการลาออกไม่ถูกต้องตามระเบียบ สัญญา และตามข้อกฎหมาย แม้ไม่มีโทษทางอาญาแต่ก็อาจนำมาซึ่งปัญหาแรงงาน ปัญหาการฟ้องร้องกันไปมาได้

แต่อย่างไรก็ตามหากสัญญาจ้างของหน่วยงาน มีการระบุเกี่ยวกับการแจ้งลาออกล่วงหน้าก่อน 30 วัน ลูกจ้างควรต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของหน่วยงานนั้น ๆ

กฎหมาย แรงงาน ลา ออก จาก งาน

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว และขอความร่วมมือไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สามารถติดตามข้อมูลได้ที่เว็บไซต์ https://www.labour.go.th/ หรือโทรสายด่วน 1506 กด 3

บทสรุปของเรื่องนี้คือ : มาตรา 17 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยมิต้องบอกกล่าวล่วงหน้า แต่กรณีที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา ลูกจ้างต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของหน่วยงานนั้น ๆ

หน่วยงานที่ตรวจสอบ : กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน