ความรู้เกี่ยวกับหลักการบัญชี

1.1 ความหมายของการบัญชี (Book  Keeping )

การบัญชี (Book Keeping) หมายถึง การจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการรับ - จ่ายเงิน หรือสิ่งของที่กำหนดมูลค่าเป็นเงินไว้เป็นหลักฐานไว้ในสมุดบัญชีอย่างสม่ำเสมอ  จัดแยกประเภทต่าง ๆ ให้เป็นระเบียบถูกต้องตามหลักการ และแสดงผลการดำเนินงาน และฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลาหนึ่งได้ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน ตลอดจนการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานนั้น ซึ่งการบัญชีนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาการบัญชี (Accounting)

1.2 ความหมายของวิชาการบัญชี (Accounting)

ความหมาย วิชาบัญชี ในทางธุรกิจ หมายถึง การบันทึกรายการค้าและเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอันที่

จะทำให้สามารถบันทึกรายการนั้น ๆ ได้ การบัญชีได้แก่

1. การออกแบบและวางระบบบัญชี
2. การจดบันทึกรายการค้า
3. กรจัดทำงบการเงิน
4. กรตรวจสอบบัญชี
5. การบัญชีเกี่ยวกับภาษีอากร
6. การจัดทำงบประมาณ
7. การบัญชีต้นทุน
8. การควบคุมภายใน
9. การตรวจสอบโดยเฉพาะ

1.3 การบัญชีมีจุดประสงค์ดังนี้

1. เพื่อจดบันทึกรายการค้าต่างๆ     ที่เกิดขึ้นโยเรียงลำดับก่อนหลังและจำแนกประเภทของรายการค้าไว้

     อย่างสมบูรณ์
2. เพื่อให้การจดบันทึกรายการค้านั้นถูกต้อง  เป็นตามหลักการบัญชีและตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี
3. เพื่อแสดงผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาหนึ่ง  และแสดงฐานะการเงินของกิจการในระยะเวลา

    หนึ่ง

1.4  ประโยชน์ของข้อมูลการบัญชี

ประโยชน์ของการบัญชีพอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถ ควบคุมดูแล รักษาสินทรัพย์ของกิจการได้
2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีผลกำไรหรือขาดทุนเป็น

     จำนวนเงินเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่ง ว่ามีสินทรัพย์ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ

    เป็นจำนวนเงินเท่าใด
4. ข้อมูลทางการบัญชีเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหาร ช่วยในการกำหนดนโยบายในการวางแผนและช่วยใน

    การตัดสินใจต่าง ๆ ในการบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ข้อมูลทางบัญชีที่จดบันทึกไว้ สามารถช่วยในการตรวจสอบหาข้อผิดพลาด ในการดำเนินงานได้

1.5  ประวัติและความเป็นมาของการบัญชี

การบัญชี แบ่งออกเป็น 3 ยุค ตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงดังนี้

                1. ยุคก่อนระบบบัญชีคู่ เกิดขึ้นก่อน ค.ศ. 3000 ปี จนถึงศตวรรษที่ 13 มีการจดบันทึกข้อมูลทางบัญชี เนื่องจากการลงทุนในการค้า สภาพเศรษฐกิจและการเมืองจากระบบการแลกเปลี่ยนมาเป็นระบบการซื้อขาย และมีการพัฒนาทางเทคโนโลยี การจัดบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้จดบันทึกไว้บนแผ่นขี้ผึ้ง

 2. ยุคระบบบัญชีคู่ (Double Entry Book - keeping) ในปลายศตวรรษที่ 13 ในยุคนี้มีการลงทุนทางการค้าในรูปของการค้าร่วม หรือห้างหุ้นส่วน เริ่มมีการก่อตั้งธนาคารมีเรือใบในการขนส่งสินค้า และมีการพิมพ์หนังสือลงในกระดาษ ค.ศ. 1202 ได้ค้นพบการจัดบันทึกบัญชีตามหลักบัญชีคู่ทีสมบูรณ์ชุดแรก ที่เมืองเจนัว ประเทศอิตาลี ในปี ค.ศ. 1340 ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการค้า ต่อมาในศตวรรษที่ 15 อิตาลีเริ่มเสื่อมอำนาจลงศูนย์การค้าได้เปลี่ยนไปยังประเทศในยุโรป เช่น สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์การบันทึกข้อมูลทางบัญชีในยุคนี้ได้มีการหาผลการดำเนินงานเมื่อสิ้นงวดบัญชี

3. ยุคปัจจุบันในศตวรรษที่ 20 มีการปฏิวัติอุตสาหกรรมทำให้ความต้องการทางบัญชีมีมากขึ้น และวัตถุประสงค์ของข้อมูลทางบัญชีเปลี่ยนไปจากเดิมผู้บริหารเป็นผู้ใช้ข้อมูลมาเป็นผู้ลงทุนเจ้าหนี้ และรัฐบาลเป็นผู้ใช้ข้อมูลทางการบัญชี

1.6 ข้อแนะนำในการเรียนบัญชีมีหลักเกณฑ์ดังนี้

1. ควรอ่านเนื้อหาวิชาการบัญชีแต่ละเรื่อง โดยละเอียดอย่างน้อย 2 ครั้งเนื้อหาตอนใดไม่เข้าใจต้อง   สอบถามผู้สอนทันที่ อย่าปล่อยให้เลยไป มิฉะนั้นจะไม่เข้าใจในเรื่องต่อ ๆ ไป
2. ทำแบบฝึกหัดทุกข้อด้วยตนเอง เพื่อฝึกฝนให้การทำงานนั้น มีประสิทธิภาพถูกต้องรวดเร็ว และแม่นยำ
3. ในการเขียนตัวหนังสือและตัวเลข นักบัญชีที่ดีควรเขียนให้ชัดเจนอ่านง่าย และสะอาดเรียบร้อย
4. คุณสมบัติที่จำเป็นในการทำบัญชี คือต้องมีความละเอียดรอบคอบ และความถูกต้องแม่นยำในตัวเลข
5. ต้องฝึกหัดให้เป็นผู้ทีทำงานได้รวดเร็วและไม่ผิดพลาด
6. ฝึกให้มีความเชื่อมั่นในตนเอง

1.7  ข้อแนะนำในการเขียนตัวเลข

1. ตัวเลยนิยมเขียนด้วยเลขอารบิค 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9
2. ตัวเลขทุกจำนวนตั้งแต่ 3 หลักขึ้นไป ให้ใส่เครื่องหมาย “,” (จุลภาค) โดยนับจากจุดทศนิยมไปทางซ้ายมือทุก 3 ตัวเช่น

  31,000.50         บาท

              450,000.81         บาท

       596,452,000.75         บาท

3. การเขียนตัวเลขลงในช่องจำนวนชิดเส้น แบ่งช่องบาทและช่องสตางค์เสมอ

 ผิด                                                     

จำนวนเงิน

บาท

สต.

1,600

50

400

50

135,750

50

ถูก

จำนวนเงิน

บาท

สต.

1,600

50

400

50

135,750

การบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับอะไร

การบัญชีเบื้องต้น คืออะไร ดังนั้น การบัญชีเบื้องต้น คือหลักปฏิบัติทางบัญชีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การออกแบบระบบบัญชี การวางรูปบัญชี การบันทึกบัญชี การรายงานทางบัญชี การวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชี และการสอบบัญชี โดยผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบงานทั้งหมดเรียกว่า นักบัญชี หรือ Accountant.

บัญชีเบื้องต้นจะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี 2. สินทรัพย์หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ 3. การวิเคราะห์รายการค้า 4. การบันทึกรายการในสมุดรายวันทั่วไป 5. การบันทึกรายการในสมุดบัญชีแยกประเภท 6. งบทดลอง 7. กระดาษท าการ 8. งบการเงิน 9. การปรับปรุงบัญชี 10. การบันทึกรายการปิดบัญชีและสมุดเงินสด 2 ช่อง

ทักษะการบัญชีเบื้องต้นสำคัญอย่างไร

1. เพื่อช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้ 2. เพื่อช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมากิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวน เท่าใด 3. เพื่อให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ 4. เพื่อเป็นเครื่องมือในการควบคุมและตรวจสอบ

การบัญชีมีความสําคัญอย่างไร

1. เพื่อให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมอย่างใกล้ชิดและเมื่อปรากฎข้อบกพร่องอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจแก้ไขได้ทันที 2. เพื่อช่วยให้เจ้าของกิจการนำข้อมูลทางการบัญชีไปเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ 3. เพื่อช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการในขณะใดขณะหนึ่งว่ากิจการมีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของเป็นจำนวนเท่าไร