พระ ราช กรณียกิจ ที่สำคัญ ด้านเศรษฐกิจ ของ พ่อขุน รามคำแหง

วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ตรงกับวันที่ 17 มกราคม ของทุกปี พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓...

Posted by โรงพยาบาลเกษมราษฎร์ รามคําแหง on Wednesday, January 16, 2019

          ด้วยพระเกียรติคุณ พระราชกรณียกิจที่ทรงสร้างไว้แก่ประเทศชาตินานัปการ มุ่งประโยชน์สุขของราษฎรเป็นสำคัญ การรวมประเทศ การแผ่ขยายอาณาเขต การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์คิดค้นอักษรไทย อันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญของชาติ     ประชาชนชาวไทยจึงร่วมใจกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ ประดิษฐานไว้ ณ เมืองกรุงเก่าสุโขทัย  เพื่อเป็นที่เคารพสักการะ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติคุณให้ยั่งยืนสืบไปชั่วกาลนาน   

          ในยุคพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีการติดต่อค้าขายกับประเทศจีน (๑) รวมถึงการส่งเครื่องราชบรรณาการระหว่างกัน   มีการอุตสาหกรรมผลิตเครื่องปั้นดินเผา เครื่องถ้วยชาม เครื่องเคลือบ (หรือเรียกว่าเครื่องถ้วยสังคโลก) จากเตาเผาที่เรียกว่า "เตาทุเรียง" ซึ่งมีหลักฐานที่ขุดพบเป็นจำนวนมาก มีผู้รู้บางท่านคาดว่าอาจจะมีมากกว่า ๒๐๐ เตาเลยทีเดียว 

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับพระนางเสือง ทรงมีพระนามเดิมว่า ราม พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ของอาณาจักรสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๑๘๒๒ ต่อจากพ่อขุนบานเมือง ซึ่งเป็นพระเชษฐา(พี่ชาย)

พระ ราช กรณียกิจ ที่สำคัญ ด้านเศรษฐกิจ ของ พ่อขุน รามคำแหง

อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ที่มาภาพ : http://ktw.ac.th/project/2/พ่อขุนรามคำแหง.html

พระ ราช กรณียกิจ ที่สำคัญ ด้านเศรษฐกิจ ของ พ่อขุน รามคำแหง

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นกษัตริย์นักรบที่มีพระปรีชาสามารถในด้านการทำศึกสงครามตั้งแต่ยังไม่ได้ครองราชย์ ดังจะเห็นได้จากเมื่อพระองค์มีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา พระองค์ได้เสด็จตามพระราชบิดาไปทำสงครามแย่งชิงเมืองตาก กับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด และรบชนะขุนสามชน พระบิดาจึงเฉลิมพระนามให้ว่า รามคำแหง

พระ ราช กรณียกิจ ที่สำคัญ ด้านเศรษฐกิจ ของ พ่อขุน รามคำแหง

อาณาจักรสุโขทัยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างมาก เนื่องมาจากพระราชกรณียกิจในด้านต่าง ๆ ของพระองค์ ดังนี้
๑. ด้านการเมืองการปกครอง พระองค์ทรงใช้รูปแบบการปกครองแบบ พ่อปกครองลูก กล่าวคือ พระองค์ทรงดูแลเอาใจใส่ในทุกข์สุขของราษฎร์เหมือนพระองค์เป็นพ่อ ส่วนราษฎรหรือไพร่ฟ้าคือลูก เมื่อราษฎรมีเรื่องเดือดร้อนก็ให้มาสั่นกระดิ่งที่หน้าประตูวัง แล้วพระองค์ก็จะเสด็จออกมารับฟังเรื่องราว เพื่อทรงตัดสินปัญหาด้วยพระองค์เอง
นอกจากนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรงทำสงครามขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางมากกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในสมัยสุโขทัย
๒. ด้านเศรษฐกิจ พระองค์ทรงโปรดให้สร้างทำนบกักเก็บน้ำที่เรียกว่า ทำนบาพระร่วง หรือสรีดภงค์ เพื่อใช้กักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง นอกจากนี้ พระองค์ทรงให้เสรีภาพแก่ประชาชนในการค้าขายได้อย่างมีอิสระเสรี ไม่มีการเก็บภาษีผ่านด่านจาการาษฎร ที่เรียกว่า จกอบ ทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวาง และทรงโปรดให้สร้างเตาเผาเครื่องสังคโลกเป็นจำนวนมาก เพื่อผลิตสินค้าออกไปขายยังดินแดนใกล้เคียง
๓. ด้านศิลปวัฒนธรรม นอกจากจะได้ทรงขยายอาณาเขตของไทย ทางปกครองทำนุบำรุงบ้านเมือง และจัดระบบการปกครองที่เป็นระเบียบเรียบร้อยดังกล่าวแล้ว พระเจ้ารามคำแหงยังได้ทรงสร้างสิ่งที่คนไทยจะลืมเสียมิได้อีกอย่างหนึ่ง สิ่งนั้น ได้แก่ การประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นอันเป็นรากฐานของหนังสือไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้
ตามหลักฐานปรากฎว่าพระองค์ได้ทรงคิดอักษรไทยขึ้นใช้เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ กล่าวกันว่าได้ดัดแปลงมาจากอักษรคฤนถ์อันเป็นอักษรที่ใช้กันอยู่ในอินเดียฝ่ายใต้
ตัวอักษรไทยซึ่งพระเจ้ารามคำแหงคิดขึ้นใช้ในสมัยนั้นตัวพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์จึงอยู่เรียงในบรรทัดเดียวกันหมด ดังจะดูได้จากแผ่นศิลาจารึกในสมัยพระเจ้ารามคำแหง ซึ่งประดิษฐานอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ต่อมาจึงได้มีผู้ค่อยคิดดัดแปลงให้วัฒนาในทางดี และสะดวกในการเขียนมากขึ้น เป็นลำดับ จนกระทั่งถึงอักษรไทยที่เราได้ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเป็นผู้นำในการสร้างศรัทธาให้ประชาชนเลื่อมใสในพระพุทธศานา พระองค์ทรงนิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์ จากเมืองนครศรีธรรมราชที่กลับมาจากลังกา มาเผยแผ่คำสอนทางพระพุทธศาสนาแก่ราษฎร ซึ่งทำให้ชาวสุโขทัยเกิดความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และแสดงออกมาในรูปแบบศิลปกรรมด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างพระพุทธรูป วัด เจดีย์ เป็นต้น ทำให้พระพุทธศาสนาวางรากฐานมั่นคงในอาณาจักรสุโขทัย จนกระทั่งกลายเป็นศาสนาประจำชาติไทยมาจนถึงปัจจุบัน

โปรดให้สร้างทำนบกักน้ำที่เรียกว่า “สรีดภงส์” เพื่อนำน้ำไปใช้ในตัวเมืองสุโขทัยและบริเวณใกล้เคียง โดยอาศัยแนวคันดินที่เรียกว่า “เขื่อนพระร่วง” ทำให้มีน้ำสำหรับใช้ในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคในยาม ที่บ้านเมืองขาดแคลนน้ำ

ทรงส่งเสริมการค้าขายอย่างเสรีภายในราชอาณาจักรด้วยการไม่เก็บภาษีผ่านด่านหรือ “จกอบ” (จังกอบ) จากบรรดาพ่อค้าที่เข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย ดังคำจารึกบนศิลาจารึกว่า “เจ้าเมือง บ่เอาจกอบในไพร่ลู่ทาง” นอกจากนี้ยังมีหลักฐานที่ปรากฏว่า พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงส่งเสริมให้ชาวสุโขทัยนิยมการค้าขายนั้น ปรากฏตามศิลาจารึกตอนหนึ่งว่า “เพื่อนจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจะใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงือนค้าทองค้า” อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า ทรงเปิดเสรีทุกประการในการค้าขายทำให้การค้าขายขยายออกไปอย่างกว้างขวางจนปรากฏแหล่งการค้าสำคัญในสุโขทัยได้แก่ “ตลาดปสาน” จากศิลาจารึกกล่าวว่า “เบื้องตีนนอนเมืองสุโขทัย มีตลาดปสาน”

ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเจริญสัมพันธไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง “จีน” โดยนอกจากการเพิ่มพูนสัมพันธไมตรีตามปกติแล้ว ยังโปรดให้นำช่างจากชาวจีนมาเพื่อก่อตั้งโรงงานตั้งเตาทำถ้วยชามทั้งเพื่อใช้ในประเทศ และสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย ถ้วยชามที่ผลิตในยุคนี้เรียกว่า “ชามสังคโลก”

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของพ่อขุนรามคำแหงมีอะไรบ้าง

พระราชกรณียกิจ.
ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจังกอบหรือภาษีผ่านทาง.
ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์มรดกก็ตกแก่บุตร.
หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งที่แขวนไว้หน้าประตูวังเพื่อถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ พระองค์ก็จะทรงตัดสินด้วยพระองค์เอง.

ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจที่สําคัญด้านเศรษฐกิจของพ่อขุนรามคําแหง

ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงเจริฐสัมพันธ์ไมตรีกับมหาอำนาจอย่าง”จีน” โดยนอกจากการเพิ่มพูนสัมพันธ์ไมตรีตามปกติลัวยังโปรดให้นำช่างจากชาวจีนมาเพื่อก่อตั้งโรงงานตั้งเตาทำถ้วยชามทั้งเพื่อใช้ในประเทศและสามารถส่งออกไปยังประเทศใกล้เคียงได้ด้วย ถ้วยชามที่ผลิตในยุคนี้เรียกว่า "ชามสังคโลก”

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่สำคัญกับประเทศชาติอย่างไร

พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงใช้นโยบายที่เอื้อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ แก่ประชาชน โดยให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ สามารถทำการค้าขายได้อย่าง อิสระเสรี ไม่มีสินค้า ต้องห้ามและไม่เก็บภาษีผ่านด่าน(จังกอบ) จากพ่อค้า แม่ค้า ภายในอาณาจักรสุโขทัย

พระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ถือว่ามีคุณูปการต่อสุโขทัยด้านสังคมคือข้อใด

พระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ถือว่ามีคุณูปการต่อสุโขทัย ด้านสังคมคือข้อใด ประดิษฐ์ลายสือไทย