กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธารทองแดง แต่ง ในสมัย ใด

เนื้อหาของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็นการบรรยายและพรรณนากระบวนพยุหยาตราทางสถลมารค  ขบวนช้าง  เครื่องสูง  สนมนางในผู้ตามเสด็จ  กวีบรรยายภาพสัตว์ป่าประเภทต่างๆ ที่ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกัน  มีสัตว์สี่เท้า เช่น ช้าง กระบือ โค กวาง ทราย หมูป่า สุนัขจิ้งจอก กระทิง หมี เสือโคร่ง เสือเหลือง เสือดาว โคแดง ละมั่ง อ้น กระแต กระรอก ฯลฯ

ศิลปากร, กรม. วรรณกรรมสมัยอยุธยา  เล่ม 2.  กรุงเทพฯ : กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์, 2545.

ทรงนิพนธ์ขึ้นเมื่อครั้งตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศไปนมัสการพระพุทธบาทสระบุรีในคราวเดียวกับเมื่อทรงนิพนธ์กาพย์เห่เรือ

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐสุริยวงศ์

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ ไชยเชษฐสุริยวงศ์ หรือขานพระนามกันทั่วไปว่า “เจ้าฟ้ากุ้ง” ประสูติเมื่อ พ.ศ.๒๒๔๘ เป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ ในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ หรือสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ กับกรมหลวงอภัยนุชิตพระมเหสีใหญ่ (สมเด็จพระพันวัสสาใหญ่) ทรงมีพระอนุชาต่างพระมารดา ๒ พระองค์คือ พระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าเอกทัศน์ (พระเจ้าเอกทัศน์) และพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ามะเดื่อ (ขุนหลวงหาวัด) เมื่อพระราชบิดาได้เสวยราชย์แล้วโปรดให้สถาปนาเป็นเจ้าธรรมธิเบศร์ กรมขุนเสนาพิทักษ์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๗๖ ต่อมาใน พ.ศ.๒๒๘๔ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) อภิเษกสมรสกับเจ้าฟ้าหญิงอินทสุดาวดี พระองค์เป็นกองการปฏิสังขรณ์ วัดพระศรีสรรเพชญ์และวัดอื่นๆ มากมาย พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถหลายด้าน โดยเฉพาะด้านวรรณกรรม พระองค์ทรงเป็นกวีที่ยิ่งใหญ่สมัยกรุงศรีอยุธยา สิ้นพระชนม์เมื่อ พ.ศ.๒๒๙๘ โดยสาเหตุลอบเป็นชู้กับเจ้าฟ้านิ่มหรือเจ้าฟ้าสังวาลย์ซึ่งเป็นพระสนมของพระราชบิดาจึงต้องพระราชอาญาถูกโบยจนสิ้นพระชนม์พร้อมด้วยเจ้าฟ้าสังวาลย์ แล้วนำศพไปฝังวัดไชยวัฒนาราม

ผลงานที่ทรงพระนิพนธ์ คือ เพลงยาวบางบท บทเห่เรื่องกากี ๓ ตอน กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง พระมาลัยคำหลวง กาพย์โคลงนิราศธารโศก บทเห่สังวาสและบทเห่ครวญอย่างละบท กาพย์เห่เรือ และ

นันโทปนันทสูตรคำหลวง

ลักษณะการแต่ง กาพย์ห่อโคลง ประกอบด้วยกาพย์ยานี ๑๐๘ บท และโคลงสี่สุภาพ ๑๑๓ บท ปิดท้ายด้วยโคลงสี่สุภาพ ๒ บท ลักษณะกาพย์ห่อโคลงขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี ๑ บท ตามด้วยโคลงสี่สุภาพ ๑ บท ใจความเหมือนกัน เนื้อความนิยมแต่งล้อตามกัน คำต้นบทของโคลงตรงกับคำต้นบทของกาพย์ “ดังไม้ไผ่หรืออ้อยที่มีกาบห่อนั้น”

จุดมุ่งหมายในการแต่ง

                เพื่อความเพลิดเพลินในการชมธรรมชาติระหว่างการเดินทางไปพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี

สาระสำคัญของเรื่อง

                ตอนต้นกล่าวถึงกระบวนเสด็จ  พรรณนาสัตว์ป่าตามสภาพของมัน  พรรณนาพวกนก  พรรณนาพันธุ์ไม้  พรรณนาลำธารและปลา   และพรรณนาความสนุกรื่นรมย์ที่ธารทองแดง

คุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง

๑.ให้ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของสัตว์นานาชนิดในสมัยกรุงศรีอยุธยา พร้อมทั้งธรรมชาติของพรรณไม้ดอกไม้ผลในสมัยกรุงศรีอยุธยา

๒.ให้คุณค่าด้านวรรณศิลป์และด้านสังคมที่ดี กวีใช้คำง่ายๆ ให้อรรถรส สื่อความหมายชัดเจน เล่นคำ เล่นเสียง

ข้อคิดที่ได้จากเรื่อง

๑.ธรรมชาติเป็นสิ่งที่ทุกคนควรช่วยกันรักษาไว้เพื่อให้สภาพแวดล้อมและระบบนิเวศดีขึ้น

๒.กวีสร้างสรรค์งานโดยอาศัยการสังเกตจากธรรมชาติ

๓.ข้อมูลจากวรรณคดีในแต่ละสมัยสะท้อนให้เห็นสภาพสังคมในสมัยนั้น เป็นการบันทึกประวัติศาสตร์อีกวิธีหนึ่ง

๔.คำประพันธ์ทำให้มีจิตใจที่ละเอียดอ่อนมากขึ้น

กาพย์ห่อโคลง

กาพย์ห่อโคลง เป็นชื่อบทประพันธ์ที่แต่งขึ้นโดยใช้กาพย์ยานี ๑๑ แต่งสลับกับโคลงสี่สุภาพอย่างละ

๑ บท โดยขึ้นต้นด้วยกาพย์ยานี ๑๑ และตามด้วยโคลงสี่สุภาพที่มีเนื้อความอย่างเดียวกันคือให้วรรคที่หนึ่งของกาพย์ยานี ๑๑ กับบาทที่หนึ่งของโคลงสี่สุภาพบรรยายข้อความอย่างเดียวกันหรือให้คำต้นวรรคของกาพย์กับคำต้นวรรคของโคลงสี่สุภาพบรรยายข้อความอย่างเดียวกันหรือให้คำต้นวรรคของกาพย์กับคำต้นวรรคของโคลงเป็นคำเหมือนกัน ไม่ต้องส่งสัมผัสระหว่างบท

ตัวอย่าง

นกแก้วแจ้วเสียงใส                       คลอไคล้คู่หมู่สาลิกานกตั้วผัวเมียคลา                                    ฝ่าแขกเต้าเหล่าโนรีนกแก้วแจ้วรี่ร้อง                          เร่หา           ใกล้คู่หมู่สาลิกา                                     แวดเคล้า           นกตั้วผัวเมียมา                                     สมสู่           สัตวาฝ่าแขกเต้า                                    พวกพ้องโนรี           

กาพย์ยานี ๑๑

กาพย์ยานี ๑๑ เป็นกาพย์ที่มีฉันทลักษณ์ตามแผนผังดังนี้

กาพย์ห่อโคลง ประพาส ธารทองแดง แต่ง ในสมัย ใด

ตัวอย่าง

กาพย์ยานีลำนำ           สิบเอ็ดคำจำอย่าคลาย

วรรคหน้าห้าคำหมาย               วรรคหลังหกยกแสดง

ครุลหุนั้น                   ไม่สำคัญอย่าระแวง

สัมผัสต้องจัดแจง                    ให้ถูกต้องตามวิธี

(หลักภาษาไทย ของกำชัย ทองหล่อ)

ลักษณะบังคับของกาพย์ยานี ๑๑

๑.คณะ กาพย์ยานี ๑๑ ๑ บท มี ๒ บาท บาทที่ ๑ เรียกว่า บาทเอก บาทที่ ๒ เรียกว่า บาทโท ๑ บาท แบ่งออกเป็น ๒ วรรค ดังนั้น ๑ บท จึงมี ๔ วรรค

๒.พยางค์ พยางค์หรือคำในวรรคหน้ามี ๕ คำ วรรคหลังมี ๖ คำ เหมือนกันทั้งบาทเอกและบาทโท ต้องแต่งอย่างน้อย ๑ บท (๔ วรรค) เสมอ จะแต่งน้อยกว่านั้นไม่ได้ ในวรรคหนึ่งๆ อาจจะใช้คำเกินกว่ากำหนดบ้างก็ได้ แต่ต้องเป็นคำที่ประกอบด้วยสระเสียงสั้น พยางค์หรือคำในระหว่างวรรคจะใช้ยติภังค์ก็ได้ แต่จะใช้ยติภังค์ในระหว่างบาทหรือบทไม่ได้

๓.สัมผัส คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑ สัมผัสกับคำที่ ๑ หรือ ๒ หรือ ๓ ของวรรคที่ ๒ และคำสุดท้ายของวรรคที่ ๒ สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคแรกในบาทโท ถ้าจะแต่งบทต่อไปต้องให้คำสุดท้ายของบทแรกสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคหลังในบาทเอกของบทต่อไป (สัมผัสระหว่างบท)

 วิธีอ่านกาพย์ยานี ๑๑

กาพย์ยานี ๑๑ มีจังหวะในการอ่าน ดังนี้

๒/๓               ๓/๓ ------------บาทเอก

๒/๓               ๓/๓ ------------บาทโท

ตัวอย่าง

ยูงทอง/ย่องเยื้องย่าง                รำรางชาง/ช่างฟ่ายหาง

ปากหงอน/อ่อนสำอาง                        ช่างรำเล่น/เต้นตามกัน

โคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพมีฉันทลักษณ์ตามแผนผัง ดังนี้

ตัวอย่าง

แคคางคุยข่อยขึ้น          เคียงคาน คูนแฮ

กาเหว่ากาหลงกา                             กู่ร้อง

กะเต็นไต่เต็งตา                      ตามเหยื่อ ยวนแฮ่

แหนหนั่นหนองมองจ้อง             จึ่งแจ้งใจจริง

(หลักภาษาไทย ของกำชัย ทองหล่อ)

ลักษณะบังคับของโคลงสี่สุภาพ

๑.คณะ โคลงสี่สุภาพ ๑ บท มี ๔ บาท แต่ละบาทมี ๒ วรรค วรรคแรกมี ๕ คำ วรรคหลังมี ๒ คำ ยกเว้นบาทที่ ๔ วรรคแรกมี ๕ คำ ส่วนวรรคหลังมี ๔ คำ รวมจำนวนคำ ๑ บท มี ๓๐ คำ ท้ายบาทที่ ๑ และ ๓ อาจมีคำสร้อยบาทละ ๒ คำ เพื่อให้ได้ความที่สมบูรณ์ขึ้น

๒.สัมผัส สัมผัสนอกตามเส้นโยงไว้ในแผนผัง สัมผัสในนิยมใช้สัมผัสอักษรระหว่างวรรคคือให้คำสุดท้ายของวรรคหน้าสัมผัสกับคำหน้าของวรรคหลัง เช่น ขึ้น-เคียง,กา-กู่, ตา-ตาม เป็นต้น แต่ไม่ใช่ลักษณะบังคับในการแต่ง

          ๓.วรรณยุกต์ โคลงสี่สุภาพบังคับคำเอก ๗ แห่ง คำโท ๔ แห่ง โดยในตำแหน่งคำเอกและคำโทในบาทที่ ๑ สลับที่กันได้ คือ เอาคำเอกไปไว้ในคำที่ ๕ และเอาคำโทมาไว้ในคำที่ ๔ แทนก็ได้ ส่วนในตำแหน่งคำเอกสามารถใช้คำตายหรือคำเอกโทษแทนได้ เช่น หน้า-น่า สิ้น-ซิ่น เป็นต้น ส่นตำแหน่งคำโทสามารถใช้คำโทษแทนได้ เช่น เล่น-เหล้น เป็นต้น

วิธีอ่านโคลงสี่สุภาพ

โคลงสี่สุภาพมีจังหวะในการอ่าน ดังนี้

๓/๒                        ๒/(๒)   ------ บาทที่หนึ่ง

๓/๒                                  ๒/       ------ บาทที่สอง

๓/๒                                  ๒/(๒)   ------ บาทที่สาม

๓/๒                                  ๒/๒     ------ บาทที่สี่

ตัวอย่าง

แคคางคุย / ข่อยขึ้น                เคียงคาน / คูนแฮ

กาเหว่ากา / หลงกา                          กู่ร้อง

กะเต็นไต่ / เต็งตา                            ตามเหยื่อ / ยวนแฮ่

แหนหนั่นหนอง / มองจ้อง                   จึ่งแจ้ง / ใจจริง

(หลักภาษาไทย ของกำชัย ทองหล่อ)

วิธีอ่านทำนองเสนาะโคลงสี่สุภาพ

การอ่านทำนองเสนาโลงสี่สุภาพมีวิธีการอ่านดังนี้

๑.บาทที่ ๑,๒ และ ๔ ให้อ่านเสียงขึ้น-ลง สูง-ต่ำ ตามเสียงวรรณยุกต์ แต่บาทที่ ๓ วรรคหน้า อ่านมีเสียงวรรณยุกต์จัตวาปนอยู่ด้วย เมื่อถึงคำที่ ๕ ให้ทอดเสียงเอื้อนยาวและดังก้องนอกนั้นอ่านตามเครื่องหมาย

๒.ถ้าคำที่ ๕ ของบาที่ ๒ และบาทที่ ๓ เป็นคำตาย เวลาทอดเสียงหรือเอื้อนให้ปิดปากแล้วเอื้อนให้เสียงยาวออกทางจมูกจึงจะได้เสียงเอื้อนที่ไพเราะ

๓.คำสุดท้ายของวรรคทุกวรรค (ยกเว้นคำสร้อยและคำสุดท้ายของบท) ต้องเอื้อน

คำศัพท์น่ารู้

ฉวาง              ขวาง

ช้อย               อ่อนช้อย

ถู้                  เป็นรูปโทโทษของทู่ หมายถึง ไม่แหลม

แปล้               แบนราบ

ไปล่               ผาย แบะ

ผายผัน            ไปโดยเร็ว

เพรา              งาม

รางชาง           สวย งาม เด่น

ส่องนิ้ว            ชี้นิ้ว

หวั่นหว้าย        ว่ายไปมา

หรี้                เป็นรูปโทโทษของรี่

หง้า               เป็นรูปโทโทษของง่า หมายถึง กางออก

กระจุ้ย  เล็กๆ

กระจิด  ตัวเล็ก

จอก     ไม้น้ำชนิดหนึ่ง ไม่มีลำต้น ใบเป็นแผ่นสีเขียวสดซ้อนๆ กัน

ไคล     ตะไคร้น้ำ

เคี่ยว    เป็นรูปเอกโทษของเขี้ยว

Rounded Rectangle: กิจกรรมหรรษากิจกรรมหรรษา

จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงคำตอบเดียว

๑.ผู้แต่งกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงคือใคร

ก.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ                         ข.เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง)

ค.สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ                          ง.ขุนหลวงหาวัด

๒.”ยูงทองย่องเยื้องย่าง รำรางชางช่างฟ่ายหาง” คำว่า “รางชาง” หมายถึงข้อใด

ก.สวย งาม เด่น            ข.กางปีก                   ค.รำแพนหาง               ง.ว่ายไปมา

๓.คำประพันธ์ในข้อใดมีสัมผัสอักษรมากที่สุด

ก.ฝูงลิงยวบยาบต้น        พวาหนา                   ข.ฝูงชะนีมี่กู่หา   เปล่าข้าง

ค.ฝูงค่างหว่างพฤกษา      มาสู่                        ง.ครอกแครกไล่ไขว้คว้าง  โลดเลี้ยวโจนปลิว

๔.ข้อใดไม่ใช่บทพระนิพนธ์ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร

ก.กาพย์ห่อโคลงนิราศพระบาท                         ข.นันโทปนันทสูตรคำหลวง

ค.นิราศพระบาท                                        ง.พระมาลัยคำหลวง

๕.ข้อใดไม่มีการเลียนเสียงธรรมชาติ (สัทพจน์)

ก.รำเล่นเต้นงามหง้า       ปีกป้องเป็นเพลง           ข.ครอกแครกไล่ไขว้คว้าง  โลดเลี้ยวโจนปลิว

ค.ฝูงลิงใหญ่น้อยกระจุ้ย   ชะนีอุ่ยอุ้ยร้องหา          ง.ดูงูขู่ฝูดฝู้    พรูพรู

๖.ข้อใดมีคำโทโทษ

ก.กัดงูงูเร่งพัน              ขนดเครียด                 ข.งูเขียวแลเหลื้อมพ่น      พิษพลัน

ค.ปากอ้างูจึงได้            ลากล้วงตับกิน             ง.ตุ๊กแกคางแข็งขยัน       คาบไว้

๗.”หัวร่อรื่นชื่นชี้          ส่องนิ้วชวนแล” “ส่องนิ้วชวนแล” หมายถึงข้อใด

ก.ชวนกันส่องดูนิ้ว                                      ข.ส่องดูนิ้วกับแสงแดด    

ค.ชวนกันส่องดูธรรมชาติ                               ง.ชี้ชวนให้ชมธรรมชาติ

๘.ข้อใดเป็นชื่อพรรณไม้ทุกคำในคำประพันธ์ข้างล่างนี้

“หัวลิงหมากเรียกไม้       ลางลิง

ลางลิงหูลิงลิง                        หลอกขู้

ลิงไต่กระไดลิง                       ลิงห่ม

ลิงโลดฉวยชมผู้                      ฉีกคว้าประสาลิง”

ก.หูลิง ลิงหลอก ลิงโลด                                 ข.หัวลิง ลางลิง หูลิง      

ค.ลางลิง ลิงห่ม ลิงโลด                                 ง.ลิงโลด หูลิง ลิงหลอก

๙.คำว่า “ลิงห่ม” หมายถึงข้อใด

ก.ลิงขย่ม                   ข.ลิงอยู่นิ่งๆ                          ค.ลิงกระโดด               ง.ลิงวิ่งไล่กัน

๑๐.               “นกแก้วแจ้วเสียงใส                      คลอไคล้คู่หมู่............นกตั้ว...........คลา                                   ฝ่าแขกเต้า…………….”คำในข้อใดที่เติมลงในช่องว่างได้ถูกต้องก.ผัวเมีย สาลิกา โนรี                                   ข.สาลิกา โนรี ผัวเมีย     ค.สาลิกา ผัวเมีย โนรี                                   ง.โนรี สาลิกา ผัวเมีย๑๑..คำประพันธ์ในข้อ ๑๐ ดีเด่นด้านใดก.เล่นอุปมา                ข.เล่นสัมผัส                ค.เล่นวรรณยุกต์            ง.เล่นคำพ้อง๑๒.คำประพันธ์ในข้อใด  ๑๐ กล่าวถึงนกกี่ชนิดก.๒ชนิด                    ข.๓ชนิด                    ค.๔ ชนิด                   ง.๕ ชนิด๑๓.ข้อใดกล่าวถึงเรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงได้ถูกต้องก.เนื้อหาเล่าเรื่องการเดินทางไปพระพุทธบาท        ข.ผู้แต่งให้ความรู้เรื่องธรรมชาติค.เนื้อเรื่องบอกข้อมูลเกี่ยวกับกวีและจุดประสงค์การแต่งง.แต่งด้วยกาพย์ฉนัง และโคลงสี่สุภาพ๑๔.ข้อใดป็นพันธุ์ไม้ประเภท “ปาล์ม”ก.หัวลิง                     ข.ช้องนาง                  ค.หมากลิง                 ง.สไบนางสีดา

จากคำประพันธ์ต่อไปนี้จงตอบคำถาม ข้อ ๑๕ – ๑๖

๏  หัวลิงหมากลางลิง          ต้นลางลิงแลหูลิง

ลิงไต่กระไดลิง                                 ลิงโลดคว้าประสาลิง

                   ๏  หัวลิงหมากเรียกไม้         ลางลิง

ลางลิงหูลิงลิง                        หลอกขู้

ลิงไต่กระไดลิง                                 ลิงห่ม

ลิงโลดฉวยชมผู้                                ฉีกคว้าประสาลิง

๑๕.ลักษณะเด่นของคำประพันธ์ข้างต้นคืออะไร

          ก.  การเล่นคำพ้องรูป พ้องเสียง                                 ข.  การเล่นคำซ้ำ                   

ค.  การเล่นเสียงวรรณยุกต์                                      ง.  การเลียนเสียงธรรมชาติ        

๑๖.คำที่ขีดเส้นใต้หมายถึงอะไร

          ก.  ส่วนหนึ่งของสัตว์ที่คล้ายหัวลิง                               ข. พรรณไม้ชนิดหนึ่ง

          ค. พันธุ์ของลิง                                                    ง. อวัยวะลิง

๑๗.ข้อใดไม่ใช่คุณค่าจากการอ่านกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง

          ก. ความรู้ด้านพฤกษศาสตร์                                     ข. ความรู้ด้านสัตวศาสตร์

          ค.  ความรู้เกี่ยวกับสภาพสังคมในสมัยนั้น                       ง. ความรู้ด้านวรรณศิลป์

จากคำประพันธ์ต่อไปนี้จงตอบคำถาม ข้อ ๑๘ – ๑๙

                             ดูหนูสู่รูงู                   งูสุดสู้หนูสู้งู

                    หนูงูสู้ดูอยู่                           รูปงูทู่หนูมูทู

                             ดูงูขู่ฝูดฝู้                    พรูพรู

                    หนูสู่รูรูงู                             สุดสู้

                   งูสู้หนูหนูสู้                           งูอยู่

                    หนูรู้งูงูรู้                              รูปทู้มูทู

๑๘.จากบทประพันธ์ข้างต้นมีลักษณะเด่นอย่างไร

ก.       ความหมาย                                                  ข.  การเล่นคำสัมผัส

ค.       การใช้ถ้อยคำ                                                ง.  การทำให้ภาพเด่นชัดโดยใช้คำ

๑๙.ข้อใดให้กล่าวสรุปคำประพันธ์ข้างต้นได้ดีที่สุด

          ก. การทักทายของเพื่อนกัน                                      ข. การต่อสู้กันของสัตว์ทั้งสอง

          ค. การป้องกันตัวของงู                                           ง. ความขัดแย้งของสัตว์ทั้งสอง

๒๐.“ยูงทองย่องเยื้องย่าง  รำรางชางช่างฟ่ายหาง” คำประพันธ์นี้แต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใดและกล่าวถึงสัตว์ใด

          ก. โคลงสี่สุภาพ กล่าวถึง นกยูง                                  ข.  กาพย์ยานี ๑๑ กล่าวถึง นกยูง

          ค. โคลงสี่สุภาพ กล่าวถึง นกเขา                                 ง. กาพย์ยานี ๑๑ กล่าวถึง นกเขา

๒๑.กาพย์ห่อโคลงและนิราศมีข้อเหมือนกันอย่างไร

    ก. ลักษณะคำประพันธ์

          ข. ลักษณะการสัมผัส

          ค. นิยมนำมาแสดงเป็นละครเห่

          ง.  นิยมพรรณนาถึงสถานที่ที่ผู้ประพันธ์ได้ไป

Rounded Rectangle: บอกความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้ 

๑.ไคล       หมายถึง............................................................................................................................................................................

เนื้อหาของเรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงจัดอยู่ในวรรณคดีประเภทใด

❖ เป็นวรรณคดีที่มีความสําคัญในฐานะเป็นสารคดี

เรื่องกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด

เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรทรงนิพนธ์กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงขึ้น เนื่องในโอกาสตามเสด็จ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพระราชบิดา ไปนมัสการพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงนี้ได้ทรงนิพนธ์ต่อจากกาพย์เห่เรือ มีลักษณะคำประพันธ์เป็นกาพย์ห่อโคลง

กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงแต่งขึ้นเพื่อจุดมุ่งหมายใด

เพื่อความเพลิดเพลินในการชมธรรมชาติระหว่างการเดินทางไปพระพุทธบาทที่จังหวัดสระบุรี สาระสำคัญของเรื่อง ตอนต้นกล่าวถึงกระบวนเสด็จ พรรณนาสัตว์ป่าตามสภาพของมัน พรรณนาพวกนก พรรณนาพันธุ์ไม้ พรรณนาลำธารและปลา และพรรณนาความสนุกรื่นรมย์ที่ธารทองแดง คุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง

สาระสำคัญของกาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดงคืออะไร

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับบันทึกการเดินทางที่พรรณนาถึงความ สนุกสนาน รื่นรมย์ที่ได้รับจากธรรมชาติ โดยเฉพาะการพรรณนาให้เห็นเป็นภาพสัตว์บกและสัตว์น้ำที่เปี่ยมไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ที่ปรากฏในธรรมชาติระหว่างการเดินทาง ตั้งแต่ท่าเจ้าสนุกไปถึงพระพุทธบาท