งาน ที่ ได้ เงิน เยอะ ใน ไทย

จ๊อบส์ ดีบี (JobsDB) แพลตฟอร์มหางาน เผยรายงานอัตราเงินเดือนของพนักงานไทยประจำปี 2564 (Salary Report 2021) ข้อมูลฐานเงินเดือนต่ำสุด – สูงสุดแบ่งตามประเภทงาน ครอบคลุมตั้งแต่ระดับเจ้าหน้าที่ถึงระดับผู้บริหาร โดยรายงานอัตราเงินเดือนพบว่า ในปีที่ผ่านมา จากสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ผนวกกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเทคโนโลยีและนวัตกรรมในทุกภาคส่วน ส่งผลเป็นวงกว้างทำให้ภาคธุรกิจและองค์กรต่าง ๆ ต้องหันมาประยุกต์และปรับตัวให้สามารถอยู่รอดได้ในสถานการณ์เศรษฐกิจปัจจุบัน

อีกทั้งเติบโตไปพร้อมกับแพลตฟอร์มใหม่ ๆ ที่กำลังได้รับความนิยม เพื่อขับเคลื่อน ผลักดันให้ธุรกิจก้าวทันโลกที่กำลังเปลี่ยนไป จึงเป็นเหตุให้ความต้องการในตลาดแรงงานส่วนใหญ่เกิดการเปลี่ยนแปลงและมีการจ่ายผลตอบแทนเพื่อดึงดูดคนทำงานเพิ่มมากขึ้นในสายเฉพาะทาง

โดยเฉพาะกลุ่มงานสายงานไอที-ดิจิทัล ทุกระดับงานไต่อันดับขึ้นเมื่อเทียบกับผลการสำรวจประจำปี 2562 โดยเฉพาะในระดับเจ้าหน้าที่ (Officer Level) ที่ขึ้นแท่นอันดับ 1 จากอันดับ 3 อีกทั้งระดับหัวหน้างาน (Supervisor Level) และ ระดับผู้บริหาร (Top Level) ที่ติดโผสายงานหน้าใหม่ที่มีเงินเดือนสูง

จากที่เคยอยู่ในอันดับ 13 และ 12 ตามลำดับ ในเวลาเพียงสองปี ตอกย้ำให้เห็นถึงความต้องการในการปฏิรูปที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption)

นอกจากนี้ 2 สายงานที่น่าจับตามอง ได้แก่

สายงานธนาคาร ปรับขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 10 ของรายงานในทุกระดับงาน สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสการเติบโตของทั้งสองสายงานหลังการปฏิรูปที่เกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Disruption) เห็นได้จากธนาคารต่าง ๆ ที่หันมาให้ความสำคัญกับ Digital Banking จนมียอดธุรกรรมออนไลน์เพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว และปรับรูปแบบการให้บริการของธนาคารสู่ดิจิทัลเต็มตัว เป็นเหตุให้สายงานธนาคาร มีความต้องการใช้บุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านไอที การวิเคราะห์ข้อมูล การสร้างบริการใหม่ ๆ มาช่วยพัฒนาระบบ Digital Banking

สายงานโทรคมนาคม ขึ้นมาติดอันดับ 1 ใน 5 ในระดับเจ้าหน้าที่ (Officer Level) ระดับหัวหน้างาน (Supervisor Level) และระดับผู้จัดการ (Manager Level) ไม่ได้มีเพียงแค่องค์กรยักษ์ใหญ่ในสายงานเท่านั้นที่มีสถิติฐานเงินเดือนที่สูงขึ้น แต่ยังรวมถึงองค์กรขนาดกลางและเล็กที่มีการแข่งขันที่สูงขึ้น และมองหาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านไอทีมาช่วยพัฒนารากฐานระบบต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อให้พร้อมต่อการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีในภาคเศรษฐกิจ ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ที่สร้างปรากฏการณ์นิวนอร์มอล (New Normal) ทำให้หลายองค์กรต้องหันมาปรับตัวพึ่งพาแพลตฟอร์มดิจิทัลต่าง ๆ มากขึ้นอีกด้วย 

งาน ที่ ได้ เงิน เยอะ ใน ไทย

เชื่อว่าสถานการณ์การว่างงานในหลายประเทศยังคงน่าเป็นห่วง ไม่ใช่แค่ในไทยเท่านั้น แต่ตั้งแต่ที่เกิดเหตุการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งตอนนี้ก็ผ่านมาแล้วกว่า 1 ปี จำนวนกลุ่มคนว่างงานในหลายๆ ประเทศยังเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่สนใจอัพสกิลเพิ่มความรู้ด้านอื่นๆ ในช่วงที่เกิดการระบาดมากขึ้นด้วย

ทั้งนี้ ทีมสำรวจของ Resume.io เว็บไซต์เรซูเม่ออนไลน์ชื่อดัง ได้เปิดเผยผลสำรวจเพื่อชี้เป้าให้ผู้ที่ยังว่างงาน รวมไปถึงเด็กจบใหม่ที่เพิ่มจำนวนขึ้นทุกปี ได้เห็นทิศทางในตลาดแรงงานโลกชัดขึ้นว่า อาชีพไหนกันแน่ที่การแข่งขันยังไม่สูงมาก (low-competition) แต่รายได้กลับดีสุดๆ ซึ่งอาชีพเหล่านี้ job hunters ต้องรีบอัพเดท และอัพสกิลตัวเองให้เร็ว!

โดยทีมสำรวจได้ใช้ PayScale เป็นเครื่องมือในการค้นหาตำแหน่งที่ธุรกิจต้องการสูง แต่ในตลาดแรงงานยังไม่ค่อยมี จากนั้นก็ใช้แอปพลิเคชั่น LinkedIn เพื่อดูว่า มีจำนวนผู้ที่สมัครงานในตำแหน่งเหล่านี้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งส่วนใหญ่ค้นหาตำแหน่งงาน กับค่าตอบแทนจากใบสมัครงานที่สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร เพราะว่า 2 ประเทศนี้จะเป็นทิศทางความต้องการในตลาดแรงงานทั่วโลกได้ในอนาคต

ผลปรากฏจากการสำรวจ พบว่า มี 10 อาชีพที่น่าสนใจ และเราอยากจะหยิบมาบอกต่อ เพื่อให้รู้เท่าทันโลกที่หมุนไปตลอดเวลา

แพทย์ประจำครอบครัว (2.1 ล้านบาทต่อปี)

จริงอยู่ว่าแค่การเป็นแพทย์ก็ได้เงินค่าตอบแทนรายเดือนสูงแล้ว แต่การจะเป็นแพทย์ประจำครอบครัวได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะมีหลายทักษะที่มาเกี่ยวข้อง ไม่ใช่แค่ความรู้ความเชี่ยวชาญ แต่เป็นทักษะด้านจิตวิทยาในการบริการและมีความน่าเชื่อถือ่อครอบครัวนั้นๆ ในระยะยาว

ผู้จัดการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (2.9 ล้านบาทต่อปี)

แค่อาชีพนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลนี่ว่าหายากแล้ว ผู้จัดการนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่งต้องเป็นผู้ที่ดูแลข้อมูลทั้งหมด และจัดการกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลให้สามารถวิเคราะห์ data ได้ตามความถนัด และเพื่อให้ข้อมูลนั้นๆ นำมาต่อยอดใช้ประโยชน์ได้จริงอีก ซึ่งประโยชน์ของการมีตำแน่งนี้ คือ ทำช่วยให้การพัฒนาบริการหรือโปรดักส์ค่อนข้าง flow และธุรกิจจะกำหนดทิศทางบริษัทได้ดีขึ้น

ผู้พิพากษา (2.5 ล้านบาทต่อปี)

มีหลายๆ อาชีพทางด้านกฎหมายที่ถือว่าเป็นกลุ่มอาชีพที่มีค่าตอบแทนที่ดี แต่มีแค่บางตำแหน่งเท่านั้นที่อัตราการแข่งขันค่อนข้างต่ำ หรือพูดง่ายๆ ไม่มีคู่แข่งเยอะ อย่างเช่น ผู้พิพากษา ที่ถือว่าในตลาดแรงงานในหลายประเทศ รวมถึงไทย มีตัวเลือกใหม่ๆ ค่อนข้างน้อย ยิ่งในปัจจุบันที่คนหันไปสนใจในการเป็น CEOs อายุน้อยมากขึ้น ทำให้ในตลาดแรงงานเกิดปัญหาบุคคลากรเฉพาะทางไม่เพียงพอ แม้แต่ในจีนที่มีประชากรมากที่สุดในโลกก็ยังประสบกับปัญหานี้

ผู้ปฏิบัติการพยาบาลจิตเวช (3.4 ล้านบาทต่อปี)

Psychiatric Nurse Practitioner หรือบางคนจะเรียกสั้นๆ ว่า NP ซึ่งในต่างประเทศเริมมีหลักสูตรดังกล่าวมากขึ้น แต่ในไทยอาจจะยังไม่แพร่หลายนัก แต่เชื่อว่าในอนาคตอาชีพนี้ซึ่งเป็นผู้ที่มีหน้าที่ช่วยเราเรื่องจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิต จะได้รับความนิยมมากขึ้น ดูได้จากจำนวนคนที่เป็น #โรคซึมเศร้า ในประเทศเราที่มากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้จัดการอาวุโสด้านการตรวจสอบ (1.9 ล้านบาทต่อปี)

ข้อเท็จจริงอีกอย่างนึงที่ LinkedIn เปิดเผยก็คือ ตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การตรวจสอบ หรือการวิเคราะห์การเงินต่างๆ ค่อนข้างได้รับความนิยมในการประกาศรับสมัครบนแอปฯ นี้ แต่รู้หรือไม่ว่า จำนวนคนที่สมัครงานค่อนข้างน้อยมาก อย่างเช่น ตำแหน่งระดับ senior อย่าง ผู้จัดการอาวุโสด้านการตรวจสอบ ที่แทบจะเป็นเกือบ 1 ใน 4 ที่มีการประกาศรับสมัครงานในแต่ละครั้ง

ผู้พิจารณารับประกันภัยอาวุโส (1.4 ล้านบาทต่อปี)

Senior Underwriter หรือผู้พิจารณารับประกันภัยอาวุโส ก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งในอุตสาหกรรมการเงินที่ยังขาดแคลน ทั้งที่มีความจำเป็นต่อธุรกิจประกันมาก โดยหน้าที่รับผิดชอบของตำแหน่งนี้หลักๆ ก็คือ เป็นที่ปรึกษาให้กับคนที่เป็นผู้พิจารณาประกันภัย ก่อนจะฟันธงว่าลูกค้าแต่ละรายเหมาะสมกับประกันภัยประเภทไหน และมีอำนาจที่จะให้รับประกันหรือไม่ด้วย ซึ่งหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องอีกหลายอย่าง ขึ้นอยู่กับบริษัทนั้นๆ

หัวหน้าผู้ประเมิน (2 ล้านบาทต่อปี)

ในสายธุรกิจ ทีมวิเคราะห์ของ LinkedIn ชี้ว่า หัวหน้าผู้ประเมิน(ประเมินราคา, ที่ดิน ฯลฯ) ถือว่าเป็นตำแหน่งที่มีบริษัทต้องการตัว แต่ว่าไม่มีใครสมัคร ซึ่งช่วงที่ผ่านมาเฉลี่ยแล้วตำแหน่งนี้มีคนสมัครเพียง 3 คนต่องานเท่านั้น ถือว่าน้อยมากๆ ถ้าเทียบกับตำแหน่งอื่นในสายธุรกิจ เช่น นักวิเคราะห์ข้อมูลที่เฉลี่ยแล้วมีจำนวนคนสมัครมากกว่า 2 เท่า

ผู้อำนวยการด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย (EHS) (3.4 ล้านบาทต่อปี)

พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นผู้ดูแลควบคุมด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย (EHS) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงและความรับผิดชอบ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการประเมินการบำรุงรักษา และการปรับปรุงประสิทธิภาพในแต่ละบริษัท รวมไปถึง การประเมินว่าการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ เป็นไปตามข้อกำหนดทางกฎหมายของแต่ละประเทศหรือไม่

ผู้เชี่ยวชาญด้านไอที (3.1 ล้านบาทต่อปี)

อาชีพในตแหน่งนี้อาจจะไม่ได้ถือว่ามีอัตราการแข่งขันต่ำมากที่สุด แต่ว่าความต้องการค่อนข้างโดดเด่น เฉลี่ยแล้วจะมีคนสมัครงานตำแหน่งนี้ประมาณ 53 คนต่อตำแหน่ง แต่ค่าจ้างตอบแทนที่ดึงดูดถือว่ายังเป็นอาชีพที่น่าสนใจอยู่

หัวหน้าวิศวกรรมซอฟแวร์ (3.6 ล้านบาทต่อปี)

บริษัทส่วนใหญ่จะให้คอนเซ็ปต์การทำงานของตำแหน่งนี้ ก็คือ เป็นที่ปรึกษา อยู่ในตำแหน่งซีเนียร์ สำหรับการดูแลระบบต่างๆ ในด้านการผลิต จัดเก็บข้อมูล พัฒนา และการดีไซน์ระบบ ฯลฯ ซึ่งหัวหน้าฯ จะมีหน้าที่ประเมินการคิด การตั้งสมมุติฐานนั้นๆ ว่าควรจะพัฒนาระบบต่อไปหรือไม่ เพื่อใช้พัฒนา วัดคุณภาพ และเป็นแนวทางในการปฏิบัติการแบบใหม่ เป็นต้น

นี่เป็นเพียงบางส่วนเท่านั้นที่หยิบยกมาพูดถึงตำแหน่งที่สำคัญ ธุรกิจต้องการ และยังมีอัตราการแข่งขันที่น้อย แต่ค่าตอบแทนถือว่าดีสุดๆ ซึ่งในบางตำแหน่งที่ยกตัวอย่างมาอาจจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายในไทย แต่ก็เริ่มแพร่หลายในเอเชียแล้ว ซึ่งชาติตะวันตก และยุโรปอย่าง UK ประเมินแล้วว่า ตำแหน่งงานเหล่านี้จะยังเป็นที่ต้องการในตลาดแรงงานอีกนาน

ที่มา: resume.io


  • TAGS
  • Linkedin
  • PayScale
  • Resume.io
  • อัตราการแข่งขันต่ำ
  • อาชีพ
  • เงินเดือน