พื้นที่สร้างงาน

พื้นที่สร้างงาน
ความเป็นมาของ Adobe photoshop

       ก่อนจะใช้งานโปรแกรมตกแต่งภาพตัวเก่ง ที่เรียกติดปากกันว่า โฟโต้ชอฟ นั้น เรามาทำความรู้จักเกี่ยวกับโปรแกรมนี้กันสักนิด ว่ามีความเป็นมาอย่างไร
Photoshopเป็นโปรแกรมของบริษัท Adobe (อ่านว่า อะ-โด-บี้) ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโปรแกรมกราฟิครายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Illustrator, PageMaker และ Acrobat

        โปรแกรม Photoshop เวอร์ชั่นแรกนั้นเริ่มต้นสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1990 และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ จากเวอร์ชั่น 2, 2.5, 3, 4, 5, 5.5 เวอร์ชั่น 6, 7, CS จนถึงเวอร์ชั่นล่าสุดในปัจจุปัน ที่เรียกกันว่าเวอร์ชั่น CS2 โดยได้ทำการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกับภาพกราฟิคขึ้นเรื่อย ๆ จากเดิมที่เน้นใช้งานเพื่อการสร้างภาพสิ่งพิมพ์ ก็หันมาเน้นเกี่ยวกับการจัดการภาพกราฟิคที่ใช้บนเว็บมากยิ่งขึ้น และนอกจากนี้แล้วยังได้สร้างโปรแกรม ImageReady ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ใช้สร้างภาพเคลื่อนไหวควบคู่มากับโปรแกรม Photoshop อีกด้วย เพื่อเพิ่มความสามารถเกี่ยวกับการทำภาพกราฟิคที่ใช้สำหรับการทำเว็บโดยเฉพาะ

        ปัจจุบันโปรแกรม Photoshop เป็นโปรแกรมที่ได้รับความนิยมอย่างมากจากผู้สร้างเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาสร้างหรือตกแต่งภาพ เนื่องมาจากคุณสมบัติที่โดดเด่น ใช้งานง่าย มีเอฟเฟคต่าง ๆ ให้เลือกใช้งานมากมาย

แนะนำ Adobe PhotoShop 7.0
       โปรแกรมตกแต่งภาพชื่อดัง Adobe PhotoShop 7.0 ซึ่งเป็นโปรแกรมรุ่นเดอะ เรียกได้ว่าคงไม่มีใคร ไม่รู้จัก ในเวลาที่ผ่านมา ทางค่ายอโดบี ได้มีการอัพเกรดเวอร์ชันใหม่ๆ มาโดยตลอด และมีการเพิ่มเครื่องไม้เครื่องมือใหม่เพื่อรองรับ ความต้องการของศิลปินดิจิตอลที่ไร้ขีดจำกัดทั้งหลาย เรามาเริ่มดูกันตั้งแต่เวอร์ชัน 4 ได้มีการ เพิ่มเครื่องมือ Layer และ Action ในเวอร์ชัน 5 มีการเพิ่มแถบ History Palette และ Layer Style พอมาถึงเวอร์ชัน 6 ก็ได้มีการเพิ่มเครื่องมือวาดรูปต่างๆ ลงไป และในปัจจุบันทางค่ายอโดบี เพิ่งจะประกาศตัวเวอร์ชันใหม่คือ Photoshop CS (ทั้งสำหรับเครื่อง Mac และ Windows แต่ประกาศเวอร์ชันสำหรับ Mac มาก่อนครับ ในส่วนของความสามารถ ทั้ง Mac และ Windows จะเหมือนกัน ) ซึ่งมีเครื่องมือต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกพอสมควร
ความสามารถใหม่ของ Photoshop 7.0 มีเพิ่มขึ้นหลายๆ อย่างทีเดียว แต่ถ้าดูภาพรวมยังไม่อาจจะเรียกได้ว่า การอัพเกรดครั้งใหญ่อะไร เพราะเครื่องมือที่เพิ่มขึ้นหลายๆ ตัว เราอาจจะเห็นหรือเคยใช้จากโปรแกรมตกแต่งภาพอื่นๆ แล้ว เช่น การ สร้างลาย Pattern , เครื่องมือ Brush ที่วาดรูปภาพเป็นจุดๆ หรือใส่ลวดลายต่างๆ ได้ เหมือนในโปรแกรม Painter หรือ Paint Shop Pro แต่ก็ไม่ใช่ว่าในเวอร์ชันนี้จะไม่มีทีเด็ดนะครับ มีแน่นอน! เพื่อไม่ให้เสียชื่อสุดยอด โปรแกรมตกแต่งภาพ ทีเด็ดที่เพิ่มมาก็คือเครื่องมือ Healing Brush Tool และเครื่องมือ Patch Tool จะเป็นเครื่องมือสำหรับทำอะไร
Healing Brush Tool / Patch Tool
เครื่องมือ Healing Brush Too
l ซึ่งถ้าแปลตรงๆ ก็คือ แปรงสำหรับแก้ไขรูปภาพ ความสามารถของเครื่องมือตัวนี้ก็คือช่วยทำความสะอาดรูปภาพ ช่วยลบรอยสกปรก รอยผง หรือ เม็ดสกรีนต่างๆ ที่พบในรูปทั่วไป โดยหลักการของเครื่องมือตัวนี้ก็คือการลอกลายรูปภาพใกล้เคียงโดยที่โปรแกรม จะทำการปรับค่าแสง และลวดลายให้อัตโนมัติ
เครื่องมือ Patch Tool เป็นเครื่องมือเลือกบริเวณภาพ " Selection " โดยหลักการเครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้เราเลือกบริเวณรูปภาพที่มีปัญหาได้ง่ายยิ่งขึ้น โปรแกรมจะปรับค่าแสง และ สี บริเวณที่เลือกให้อัตโนมัติด้วย
จากการทดลองใช้งานพบว่าเครื่องมือ Healing Brush Tool / Patch Tool ช่วยให้เราลบรอย หรือ ลายภาพที่ไม่ต้องการได้อย่างง่ายๆ และรวดเร็วมาก จากภาพตัวอย่างจะเป็นการลบรอยเหี่ยวย่น ด้วยการคลิกเมาส์ไม่กี่ครั้งก็สำเร็จ ช่างยอดเยี่ยมจริงๆ เพราะเดิมที่เวลาเราจะลบรอยภาพต่างๆ ต้องมานั่งลอก Selection ตำแหน่งที่ต้องการ แล้วค่อยลอกลายทับไปอีกที... เสียเวลานานมาก ทีนี้ก็ไม่ต้องกลัวอะไรแล้ว
File Browser ระบบจัดการภาพเข้าไป กับโปรแกรม Photoshop เลย ชื่อว่า File Browser ซึ่งคิดว่าทางค่ายอโดบีฉลาดมากที่ทำเช่นนี้ เพราะเป็นการดึงผู้ใช้ให้กลับมาใช้ Photoshop โดยไม่ต้องไปเปิด โปรแกรมอื่นให้ยุ่งยาก ด้วยความสามารถในการจัดการที่เหนือกว่า ACDSee อีกก็คือ เราสามารถใส่ข้อมูลรูปภาพได้มากกว่า สามารถปรับแต่ง และหมุนรุปภาพได้ และสามารถจัดอันดับรูปภาพได้อีกด้วย
เครื่องมือ Pattern Maker เป็นเครืองมือสร้างลวดลายภาพ โดยการเลือกส่วนของภาพที่เราต้องการ และโปรแกรมจะลอกลายภาพนั้นๆ ให้เป็นลายพื้นๆ
เครื่องมือ Liquify เป็นเครื่องมือใส่เอฟเฟ็กต์ให้รูปภาพ เช่นการหมุน ซูม บิดภาพ
Secure Images เป็นระบบช่วยในการรักษาความปลอดภัย เราสามารถใส่ Password ให้กับภาพงานของเรา ในฟอร์แมต Acrobat PDF ได้ ซึ่งผู้ที่จะเปิดรูปภาพได้จะต้องมี Password เท่านั้น
Check Spelling เป็นระบบตรวจสอบตัวสะกด และเราสามารถค้นหา และแทนที่คำที่ต้องการได้ทันที
Integrated with other application เป็นระบบที่ช่วยในการใช้งานโปรแกรม Photoshop ร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ ในค่ายอโดบี เช่นโปรแกรม Illustrator , Golive , Altercast ทำให้เราสามารถทำงานได้สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น
Picture Package ช่วยให้เราพิมพ์ภาพหลายๆ ภาพลงบนกระดาษแผ่นเดียว ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น

เริ่มต้นใช้งาน Adobe Photoshop
         เราจะเริ่มมาทำความรู้จักกับโปรแกรมโฟโต้ชอฟกัน โดยเมื่อเราได้ทำการติดตั้งโปรแกรม Adobe Photoshop เรียบร้อยแล้ว เราสามารถเรียกใช้งานโปรแกรมได้ดังนี้
          1.คลิ๊กที่ปุ่ม Start --> Programs --> Adobe Photoshop 7.0 เพื่อเข้าสู่โปรแกรม
          2.โปรแกรมจะถูกเรียกขึ้นมา ซึ่งต้องใช้เวลาซักครู่ (ความเร็วในตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับแรม ของเครื่องของแต่ละคนค่ะ) ซึ่งในระหว่างนั้น ก็จะปรากฏหน้าจอ Splash Screen ซึ่งบอกข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโปรแกรม

เมื่อโหลดโปรแกรมเสร็จแล้ว คุณก็จะเห็นหน้าจอโปรแกรม Photoshop ซึงจะมีเครื่องมือต่าง ๆ เริ่มต้นให้เราใช้งาน ซึ่งมีส่วนประกอบของโปรแกรม ดังนี้
หน้าจอโปรแกรม Photoshop
ไตเติลบาร์ (Title bar) ซึ่งเป็นแถบที่อยู่ด้านบนสุด ซึ่งจะทำหน้าที่แสดงชื่อโปรแกรม และชื่องานที่กำลังทำอยู่ ซึ่งที่มุมขวา จะมีปุ่มสำหรับย่อ ขยาย หรือปิดโปรแกรมอยู่

เมนูบาร์ (Menu Bar) เป็นบาร์ที่ประกอบไปด้วยเมนูคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับจัดการไฟล์ ปรับค่าต่าง ๆ เกี่ยวกับการทงานกับภาพ โดยภายในจะมีเมนูย่อย ๆ อยู่มากมาย ซึ่งเป็นคำสั่งหลัก ๆ ของโปรแกรม
ทูลบ๊อกซ์ (Tool Box) หรือกล่องเครื่องมือ จะประกอบไปด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการใช้งาน ซึ่งมีข้อมูลอยู่มากมาย ซึ่งในบางครั้งจะซ่อนเครื่องมือที่มีลักษณะเดียวกัน โดยเราจะสามารถสังเกตดูที่มุมล่างขวาของเครื่องมือแต่ละตัว หากพบว่ามีเครื่องหมาย “สามเหลียมสีดำ” หมายความว่าในเครื่องมือตัวในนั้น มีเครื่องมือซ่อนอยู่ ซึ่งเราอาจทำการคลิ๊กขวา หรือคลิ๊กเมาส์ค้างที่เครื่องมือตัวนั้น ซึ่งจะทำให้ปรากฏเครื่องมือที่ซ่อนไว้แสดงผลขึ้นมา ซึ่งเราสามารถเอาเมาส์ไปเลือกเครื่องมือเหล่านั้น เพื่อนำไปใช้งานได้

ออฟชั่นบาร์ (Option Bar) เป็นส่วนที่ใช้ปรับแต่งคุณสมบัติของเครื่องมือแต่ละตัวที่เรากำลังเลือกใช้งานอยู่ เช่น เมือเลือกเครื่องมือ Brush เราสามารถใช้คุณสมบัติที่ออฟชั่นบาร์ปรับขนาดของหัวแปรงได้ หรือปรับความคมชัดของหัวแปรงเป็นต้น ออฟชั่นบาร์ จะเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ตามเครื่องมือที่เราได้ทำการเลือกจากทูลบ๊อกซ์
พาเล็ตต่าง ๆ (Palette) เป็นหน้าต่างย่อย ๆ ที่ใช้เลือกรายละเอียดการทำงาน ซึ่งในโปรแกรม Photoshop จะมีพาเล็ตอยู่จำนวนมาก ซึ่งเราสามารถเรียกใช้เพิ่มเติมโดยไปที่เมนู Window

พื้นที่สร้างงาน

Work Area หรือพื้นที่การทำงานของโปรแกรม Adobe Photoshop จะประกอบด้วยเครื่องมือสำหรับการตกแต่งไฟล์ภาพต่าง ๆ ดังนี้
1.Menu bar คือส่วนที่แสดงชื่อเมนูต่างๆ ของโปรแกรม
2.Toolbox คือส่วนของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างชิ้นงานหรือตกแต่งภาพ
3.Tool options bar คือส่วนที่กำหนดคุณสมบัติของอุปกรณ์ที่เลือกจาก Toolbox
4.Palettes คือส่วนที่ใช้ตรวจสอบและกำหนดคุณสมบัติต่าง ๆ ให้กับรูปภาพ
5.Status bar คือส่วนที่แสดงรายละเอียดต่าง ๆ ของชิ้นงาน เช่น ขนาดของมุมมองรูปภาพ ขนาดของไฟล์ คำแนะนำการใช้งานของอุปกรณ์ที่เลือกจาก Toolbox

แหล่งอ้างอิง: 

http://www.bcoms.net/photoshop/intro.asp