แรงโน้มถ่วงของโลกมีความสัมพันธ์กับมวลของวัตถุหรือไม่ อย่างไร

     “ทำไมจึงต้องมีแรงโน้มถ่วง?” คำถามนี้เป็นคำถามที่มีคนส่งมาจากทางบ้าน ซึ่งแม้ว่าจะฟังดูเหมือนเป็นคำถามที่เรียบง่าย แต่จริงๆ แล้วตอบไม่ง่ายเลย

     ในการจะทำความเข้าใจกฎของธรรมชาติอะไรสักอย่างนั้น เราอาจจะแบ่งออกเป็นคำถามง่ายๆ สามแบบ นั่นก็คือ “คืออะไร?” (What?) “เป็นอย่างไร?” (How?) และ “ทำไม?” (Why?)

     สำหรับเรื่องของแรงโน้มถ่วงนั้น ก็ไม่ต่างกับหลายๆ เรื่อง เราอาจจะรู้ได้ว่ามัน “คืออะไร?” เราอาจจะพอมีไอเดียบ้างว่ามัน “เป็นอย่างไร?” แต่เราอาจจะไม่มีวันได้รับคำตอบที่แน่ชัดเลยว่า “ทำไม?” สิ่งนั้นจึงเป็นไปอย่างนั้น

     เราทุกคนคงรู้จักแรงโน้มถ่วงกันดี มันคือแรงที่ดึงทุกอย่างให้ตกลงสู่พื้น เป็นเหตุผลว่าทำไมตอนนี้เท้าของเราถึงปักอยู่ที่พื้น และโทรศัพท์ของเราจึงไม่หลุดลอยขึ้นไปบนฟ้า ดังนั้น หากเราพอใจกับคำตอบที่ว่า​ “แรงโน้มถ่วงคือแรงที่ดึงทุกอย่างให้ตกลงข้างล่าง” เราจะพบว่าคำถาม “แรงโน้มถ่วงคืออะไร?” ไม่ได้ตอบยากเท่าไหร่ 

     แต่พอเราเริ่มถามต่อว่า “แรงโน้มถ่วงมีลักษณะเป็นอย่างไร?” คำตอบก็จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นกว่านั้น

     มนุษย์เราเพิ่งจะเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงราวยุคกรีกโบราณนี่เองครับ 

     อาร์คีมีดีส (Archimedes) นักคณิตศาสตร์ นักฟิสิกส์ นักดาราศาสตร์ และนักปรัชญา ได้ค้นพบว่า ถ้าเราเอาวัตถุที่หนักเท่ากันไปวางไว้คนละฝั่งของไม้บรรทัด ‘ศูนย์กลางแรงโน้มถ่วง’ จะอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างมวลทั้งสอง ซึ่งถ้าเราเอานิ้วไปวางไว้ตรงตำแหน่งศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงก็จะสามารถคานน้ำหนักของมวลทั้งระบบได้

     แต่คนที่สร้างผลงานเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วงในยุคกรีกโบราณเอาไว้ ซึ่งดังและมีอิทธิพลมากที่สุด ดูเหมือนจะหนีไม่พ้น อริสโตเติล (Aristotle) นักปรัชญาที่โมเมไว้ว่า วัตถุที่หนักจะต้องตกลงเร็วกว่าวัตถุที่เบาเสมอ ซึ่งเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าอริสโตเติลไปนั่งทางในหรือเอาคำอธิบายนี้มาจากไหน แต่คำกล่าวอ้างนี้กลับได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในศาสนจักรชาวคริสต์ช่วงยุคกลาง (middle ages) จนคำอธิบายเรื่องแรงโน้มถ่วงของอริสโตเติลกลายไปเป็นหนึ่งใน ‘คำสอน’ อันสำคัญของศาสนจักรที่ขัดแย้งไม่ได้… ทำให้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในยุโรปช่วงยุคกลางแทบจะหยุดชะงัก และชีวิตของชายขี้สงสัยคนหนึ่งในอิตาลีช่วงปลายศตวรรษที่ 16 ต้องตกระกำลำบากมากถึงมากที่สุด

     เพราะเมื่อ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) นักดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี ฟังคำสอนของศาสนา (ซึ่งจริงๆ มาจากอริสโตเติล) ที่บอกว่าของหนักย่อมต้องตกเร็วกว่าของเบา แทนที่เขาจะเชื่อฟังดีๆ แล้วก็จบไป เขากลับรู้สึกว่า “ใช่เหรอวะ?” และจากนั้นก็ทำในสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดกันมาก่อนในยุคนั้น สิ่งที่ถือเป็นสิ่งต้องห้าม เป็นบาปอันมหันต์ และเป็นอาชญากรรมที่ไม่สามารถให้อภัยได้ นั่นก็คือ เขา ‘ทดลอง’

     กาลิเลโอสงสัยว่า ก็แล้วทำไมเราไม่ ‘ลอง’ เอาลูกตุ้มมาหย่อนลงจากหอคอยสูงดูล่ะ หนักลูกเบาลูก หย่อนจากหอคอยที่เอียงๆ อันนั้นในเมืองปิซาก็ดูจะเข้าท่าดี แล้วเขาก็เริ่มการทดลองและค้นพบว่าสิ่งที่อริสโตเติลพูดเอาไว้นั้นตอแหลสิ้นดี เพราะลูกตุ้มทั้งสองตกถึงพื้นพร้อมกัน และนี่ไม่เพียงแต่เป็นจุดเริ่มต้นของการนำไปสู่การค้นหาทฤษฎีแรงโน้มถ่วงอย่างเป็นทางการ แต่เหตุการณ์นี้ยังเป็นจุดเปลี่ยนผันจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์ ซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (scientific revolution) ด้วย

     (หมายเหตุ: ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานชัดเจนว่ากาลิเลโอได้เสนอไอเดียการทดลองบนหอเอนนี้ แต่นักประวัติศาสตร์บางคนก็สงสัยว่า เหตุการณ์นี้ได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่)

     แต่ต่อให้เราจะรู้แล้วว่าวัตถุตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ และไม่ว่าจะหนักหรือเบาก็ตกด้วยอัตราเร็วเท่ากันแล้ว เราก็ยังห่างไกลกับการจะบอกได้ว่ากลไกของมันเป็นอย่างไรอีกมาก จนกระทั่งชายโสดคนหนึ่งผู้ต้อง social distancing อยู่ที่บ้านนาในช่วงของการระบาดของกาฬโรคเมื่อปี 1666 ไปนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิล และเขาเห็นลูกแอปเปิลหล่นลงมากับดวงจันทร์ที่อยู่บนฟ้า แล้วก็เกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า “ถ้าเกิดว่าแรงที่ทำให้ลูกแอปเปิลหล่นลงมา เป็นแรงเดียวกับที่ทำให้ดวงจันทร์โคจรไปรอบๆ โลกล่ะ” ต่อมาชายโสดคนนี้ที่มีชื่อว่า เซอร์ ไอแซค นิวตัน (Isaac Newton) ก็ได้เสนอทฤษฎีแรงโน้มถ่วงอันโด่งดังของเขา

     ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตันอธิบายว่า ไม่ใช่เพียงแค่วัตถุที่จะต้องถูกดึงดูดให้ตกลงสู่โลกเพียงเท่านั้น แต่ทุกๆ วัตถุในเอกภพนั้นมีแรงดึงดูดระหว่างกันอยู่ นั่นหมายความว่าไม่เพียงแต่โลกที่ดึงดูดเรา แต่เราก็ดึงดูดโลก และแม้กระทั่งโทรศัพท์ที่อยู่ในมือของเราก็ยังดึงดูดเราไปด้วยเช่นกัน รวมไปถึงดวงจันทร์ ดาวอังคาร และทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ล้วนแล้วแต่สร้างแรงดึงดูดต่อเราทั้งสิ้น

     นิวตันถึงขนาดสามารถอธิบายเป็น ‘สมการ’ ได้ด้วยว่า “แรงโน้มถ่วงนั้นแปรผันตามกับมวลของวัตถุทั้งสอง และแปรผกผันกับระยะห่างยกกำลังสอง”

     คำอธิบายของนิวตันนี้เอง ที่เป็นครั้งแรกๆ ซึ่งเราสามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนว่า แรงโน้มถ่วงนั้น ‘เป็นอย่างไร’ และคำอธิบายของนิวตันนี้ค่อนข้างสมบูรณ์มาก มากเสียจนเมื่อเราลองเอาทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตันไปอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ปรากฏว่าทฤษฎีของนิวตันสามารถอธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้ไม่ผิดเพี้ยน 

     คำว่าไม่ผิดเพี้ยนนี่ก็คือเมื่อนักดาราศาสตร์ลองสังเกตการณ์ดาวเคราะห์ดู ก็พบว่าตำแหน่งและการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์แทบทุกดวงตรงตามตำแหน่งที่ควรจะพบ เมื่อคำนวณจาก ‘สมการแรงโน้มถ่วง’ ของนิวตัน และส่วนที่ผิดเพี้ยนไปเพียงเล็กน้อยอย่างของดาวยูเรนัสกลับยิ่งน่าสนใจขึ้นไปอีก เพราะเมื่อนักดาราศาสตร์ลองสมมติว่ามีดาวเคราะห์อีกดวงอยู่ถัดไปจากดาวยูเรนัส ปรากฏว่ามันสามารถอธิบายพฤติกรรมแปลกประหลาดของดาวยูเรนัสที่ผิดเพี้ยนไปจากทฤษฎีของนิวตันเพียงเล็กน้อยได้ โดยต่อมาเราก็สามารถค้นพบดาวเคราะห์เนปจูนได้จริงๆ ในตำแหน่งถัดจากดาวยูเรนัสตามที่ทฤษฎีของนิวตันทำนายเอาไว้ และแม้กระทั่งทุกวันนี้การส่งยานอวกาศสักลำไปลงจอดบนดาวอังคาร วิศวกรการบินก็ไม่ต้องใช้อะไรนอกไปจากสมการแรงโน้มถ่วงของนิวตันในการคำนวณเส้นทางเดินทางของยานอวกาศ ซึ่งเป็นการยืนยันของความแม่นยำของทฤษฎีนิวตันได้เป็นอย่างดี

     ถึงอย่างนั้น คำอธิบายแรงโน้มถ่วงของนิวตันก็ยังมีช่องโหว่และปริศนาอยู่อีกมาก เช่น ถ้าหากตัวเรากำลังถูกแรงโน้มถ่วงจากดวงอาทิตย์ดึงอยู่ ณ ตอนนี้ มวลของเราทราบได้อย่างไรว่ามีดวงอาทิตย์อยู่ในทิศทางไหน ห่างออกไปเท่าไหร่ นอกไปจากนี้ ยังมีปริศนาวงโคจรของดาวพุธที่พบว่ามีการส่ายไปส่ายมาช้าๆ ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีของนิวตันอีกด้วย

     จนกระทั่งในช่วงปี 1907-1915 เสมียนที่ทำงานอยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์คนหนึ่งเกิดปิ๊งไอเดียขึ้นมาว่า จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าแรงโน้มถ่วงไม่ใช่แรงมหัศจรรย์ระหว่างมวลสองมวลที่ไม่รู้ไปรู้จักกันอีท่าไหน แต่สิ่งที่เราเห็นว่าเป็น ‘แรงโน้มถ่วง’ แท้จริงแล้วเป็นเพียงการที่วัตถุพยายามเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง… เพียงแต่ว่าเป็นเส้นตรงในจักรวาลสี่มิติที่รวมมิติของเวลาเข้าไปด้วย แต่เราสามารถสังเกตได้เพียงเส้นที่บิดเบี้ยวอยู่ในมิติทั้งสามของอวกาศที่พวกเราอาศัยอยู่เท่านั้น

     …เฮ้ย เดี๋ยว ไปกันใหญ่แล้ว

     นี่คือทฤษฎีสัมพัทธภาพของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) ที่อาจจะฟังดูซับซ้อน (และแอบมีความ ‘อิหยังวะ’ สักเล็กน้อย) แต่เราสามารถอธิบายให้ง่ายๆ โดยใช้การเปรียบเปรยกับมดตัวหนึ่งที่เดินอยู่บนผ้าปูที่นอน 

     หากเรานำลูกเหล็กหนักๆ สักลูกหนึ่งวางลงไปบนที่นอน มันก็จะยวบลงไป และมดตัวที่อยู่บนพื้นผิวนี้ เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆ ลูกเหล็ก มันอาจจะพบว่าพื้นที่บริเวณนั้นมีการยืดออกแปลกๆ และยิ่งมันเดินเข้าไปใกล้ๆ ลูกเหล็กแล้วนั้น เส้นทางเดินของมันจะ ‘เลี้ยว’ ไปแม้ว่ามันจะพยายามเดินเป็นเส้นตรง ประหนึ่งเสมือนว่ามี ‘แรง’ อะไรบางอย่างที่ลูกเหล็กดึงดูดมันเอาไว้ 

     ที่เป็นเช่นนี้นั้นเป็นเพราะว่ามดกำลังมองผิวที่นอนเป็นพื้นผิวสองมิติ และไม่ทราบว่าแท้จริงแล้วที่นอนกำลังยวบไป ‘ด้านล่าง’

แรงโน้มถ่วงของโลกมีความสัมพันธ์กับมวลของวัตถุหรือไม่ อย่างไร

มดอาจจะอธิบายว่าการที่ทางเดินของมันต้องเบนออกไปนั้นอาจจะเกิดขึ้นจากแรงที่มันมองไม่เห็นที่ดึงดูดระหว่างวัตถุเอาไว้ (บน) ในขณะที่ไอน์สไตน์อธิบายว่าแท้จริงแล้วแรงที่ว่านั้นอาจจะไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเพียงผลพลอยได้ของการยืดออกของพื้นผิวที่มดเดินอยู่

     ในลักษณะคล้ายกันนั้น ไอน์สไตน์อธิบายว่ามวลของวัตถุ เช่น ดวงอาทิตย์ จะทำให้ ‘กาลอวกาศ’ (space-time) ยืดออก และกาลอวกาศที่ยืดออกนั้นจะทำให้วัตถุ เช่น สถานีอวกาศ ที่พยายามเดินทางเป็นเส้นตรง กลับต้องมีเส้นทางเดินที่โค้งออกไปแทน ในภาพนี้นั้น เราจะพบว่า ‘แรง’ โน้มถ่วงไม่ได้มีอยู่จริง เพราะวัตถุในที่นี้คือมดพยายามเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงในสี่มิติ แต่กาลอวกาศที่บิดงอไปซึ่งเป็นผลมาจากมวลหรือลูกเหล็กที่เราวางบนที่นอน ทำให้การเคลื่อนที่ที่เราสังเกตได้ในสามมิตินั้นดูโค้งงอไป

     ถึงตรงนี้ ไม่ว่าเราจะอธิบายว่าลูกแอปเปิลหล่นสู่พื้นเพราะมีแรงโน้มถ่วงไปกระทำ หรือลูกแอปเปิลแค่เพียงพยายามเดินทางเป็นเส้นตรงภายในกาลอวกาศสี่มิติที่ถูกยืดออกเนื่องมาจากมวลของโลก… สุดท้ายแล้วสิ่งที่เราเห็นก็คือ ‘แอปเปิลหล่นสู่พื้น’ ไม่ต่างกันอยู่ดี 

     แต่สุดท้ายแล้ว สองทฤษฎีนี้นั้นนำไปสู่คำทำนายที่แตกต่างกัน คำอธิบายแรงโน้มถ่วงของนิวตันนั้นทำนายว่า วงโคจรของดาวพุธไม่ควรจะมีการส่าย แสงซึ่งไม่มีมวล ไม่ควรจะเลี้ยวตามแรงโน้มถ่วง คลื่นความโน้มถ่วงไม่ควรจะมีอยู่จริง ฯลฯ แต่สิ่งที่นักดาราศาสตร์พบก็คือวงโคจรของดาวพุธมีการส่าย แสงสามารถเลี้ยวได้รอบวัตถุที่มีมวลมากพอ และคลื่นความโน้มถ่วงนั้นก็มีอยู่จริง 

แรงโน้มถ่วงของโลกมีความสัมพันธ์กับมวลของวัตถุหรือไม่ อย่างไร

Almost exactly 100 years ago, a remarkable event occurred: a total solar eclipse. This eclipse was special in more ways than one. Firstly, at just under seven minutes in duration, it was the longest such eclipse in over 500 years. Secondly, it was used by astronomers to explore the then-new theory of general relativity — with successful and groundbreaking results. Einstein published his general theory of relativity in 1915. The total solar eclipse of 1919 offered the perfect opportunity to test it experimentally, by exploring whether — and how — the immense gravity of the Sun bends and distorts incoming light from more distant stars, as predicted by Einstein’s theory. For a brief moment during the eclipse, the Moon would block the Sun’s light in the sky and make visible some of the stars that lie close to the line of sight of the Sun, not normally visible during the daytime. By measuring the positions of these stars during the eclipse and comparing them to their positions at night, when the sun is not in the field of view,  it would be possible to determine whether their light rays bends while passing close to the Sun. Three astronomers — Arthur Eddington, Frank Watson Dyson, and Andrew Crommelin — played key roles in this 1919 experiment. Eddington and Crommelin travelled to locations at which the eclipse would be total — Eddington to the West African island of Príncipe, Crommelin to the Brazilian town of Sobral — while Dyson coordinated the attempt from England.  Eddington and Crommelin imaged the eclipse using the technology of the time: photographic plates made of glass. Sadly, the original plates from the 1919 expedition (one of which was reproduced in Dyson’s original paper) have been lost — but, luckily, copies of one of the plates were made and sent to observatories around the world to allow scientists everywhere to see the evidence in support of relativity with their own eyes. One copy of a plate from Sobral went to Landessternwarte Heidelberg-Königstuhl, who recently scanned theirs as part of the Heidelberg Digitized Astronomical Plates (HDAP) project [1]. The image shown here is arguably the highest resolution image of the 1919 eclipse, and is the result of applying modern image processing techniques — including image restoration, noise reduction, and removal of artifacts — to that plate copy (un-annotated version here). It unveils stunning details in the solar corona, a giant prominence emerging from the upper right part of the Sun, and stars in the constellation of Taurus (The Bull) that were used to confirm general relativity’s predictions [2].  Notes [1] HDAP receives funding under grant No. 00.071.2005 of the Klaus Tschira Foundation. The original high-resolution scan before the digital restoration is provided here for historical purposes.   [2] Dyson’s original paper concludes with the paradigm-changing graph on p.332 plotting the displacements of the stars during the eclipse against their distance from the solar disc’s centre. This shows a clear relation (solid line) — the stars closer to the solar disc are deflected more than those further away, and by roughly the amount predicted by general relativity (twice that predicted by Newtonian theory, which is represented by the dotted line).

สุริยุปราคาเต็มดวงในวันที่ 29 พฤษภาคม 1919 ที่ แฟรงก์ ไดสัน (Frank Dyson) และ อาร์เธอร์ เอ็ดดิงตัน (Arthur Eddington) ได้ยืนยันว่าเบื้องหลังแสงจากดาวฤกษ์มีการโค้งงอเล็กน้อย เมื่อผ่านแรงโน้มถ่วงใกล้พื้นผิวของดวงอาทิตย์ เป็นการยืนยันทฤษฎีสัมพัทธภาพ (ภาพโดย ESO/Landessternwarte Heidelberg-Königstuhl/F. W. Dyson, A. S. Eddington, & C. Davidson)

     ด้วยเหตุนี้ ถึงแม้ว่าคำอธิบายแรงโน้มถ่วงของนิวตันจะละเอียดเพียงพอที่เราจะสามารถส่งยานอวกาศไปยังดาวดวงอื่นได้ แต่คำอธิบายแรงโน้มถ่วงของไอน์สไตน์จึงเป็นคำอธิบายที่ ‘สมบูรณ์’ กว่าอยู่ดี (แม้ว่ามันจะปวดหัวมากกว่าก็เถอะ) แต่ก็ยังไม่ใช่คำอธิบายที่สมบูรณ์ที่สุด และเป็นไปได้ว่าอีกหน่อยในอนาคตข้างหน้าอาจจะมีคำอธิบายแรงโน้มถ่วงที่สมบูรณ์ยิ่งกว่าของไอน์สไตน์เพิ่มมาอยู่ดี

     แต่…ทั้งหมดนี้ก็เป็นเพียงรายละเอียดคำอธิบายว่ากลไกของแรงโน้มถ่วงนั้นเป็น “อย่างไร” ถ้าหากว่าเราต้องการจะถามลึกลงไปอีกว่า “ทำไม” “แล้วเพราะเหตุใดแรงโน้มถ่วงจึงต้องเป็นแบบนี้” “ทำไมต้องเดินทางเป็นเส้นตรงในกาลอวกาศสี่มิติ” ปรากฏว่าคำถามเหล่านี้นั้นเป็นคำถามที่หาคำตอบได้ยากกว่ามากๆ

     ในขณะที่คำถามว่า “คืออะไร” นั้นเป็นเพียงเรื่องของนิยามที่เราตกลงกัน คำถามว่า “เป็นอย่างไร” นั้นเราสามารถที่จะเดาคำตอบ และออกแบบการทดลองเพื่อยืนยันคำตอบได้ (เช่น การค้นพบคลื่นความโน้มถ่วงสามารถยืนยันได้ว่าคำอธิบายแรงโน้มถ่วงของไอสไตน์นั้นเป็นคำอธิบายที่สมบูรณ์กว่า) แต่การจะตอบคำถามว่า “ทำไม” นั้นไม่ใช่สิ่งที่สามารถทดสอบหรือยืนยันโดยวิทยาศาสตร์ได้ และถึงแม้เราอาจจะสามารถทำการ ‘คาดเดา’ เจตนารมณ์ของ ‘เอกภพ’ ตราบใดที่เรายังไม่มีทางที่จะถามคำตอบจากเอกภพโดยตรง คำถามว่า “ทำไมเอกภพจึงต้องเป็นเช่นนี้” คงเป็นคำถามประเภทหนึ่งที่มนุษย์อาจจะไม่มีวันยืนยันได้ไปตลอดกาล

     อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าคำถามถึง ‘เจตนารมณ์’ ของการมีอยู่ซึ่งกลไกบางอย่างของเอกภพนั้นอาจจะเป็นคำถามที่เหมาะแก่นักศาสนศาสตร์มากกว่านักวิทยาศาสตร์ แต่วิทยาศาสตร์นั้นมอบเครื่องมือที่จะให้เราสามารถคาดคะเนได้ว่า หากเอกภพไม่มีแรงโน้มถ่วงแล้วนั้น เอกภพจะเป็น “อย่างไร” เรารู้ดีว่าเรายืนอยู่บนโลกได้ด้วยแรงโน้มถ่วง แท้จริงแล้วโลกทั้งใบคงอยู่เป็นทรงกลมได้ก็เพราะแรงโน้มถ่วง ปฏิกิริยาฟิวชั่นในดวงอาทิตย์ก็ถูกขับดันไปด้วยแรงโน้มถ่วง นอกจากนี้แม้กระทั่งการกำเนิดของบิ๊กแบงก็เกี่ยวข้องเป็นอย่างมากกับแรงโน้มถ่วง หากจักรวาลนี้ไม่มีแรงโน้มถ่วง ก็คงจะไม่มีโลก ไม่มีดวงอาทิตย์หรือดาวฤกษ์ ไม่มีกาแล็กซี ไม่มีจักรวาลที่ถือกำเนิดขึ้นมา และที่สำคัญไปกว่านั้น ก็คือคงไม่มีสิ่งมีชีวิตอันทรงภูมิปัญญาอย่างพวกเราให้ถามคำถามนี้กันตั้งแต่แรก

     ซึ่งหากไม่มีสิ่งมีชีวิตอันทรงภูมิปัญญาอยู่ในเอกภพแล้ว ก็จะไม่มีการสังเกตการทางวิทยาศาสตร์ ไม่มีคนมาถามตั้งแต่แรกว่า “ทำไม” และพยายามอธิบายทฤษฎี ดังนั้น เอกภพใดๆ ที่ไม่เอื้อให้เกิดสิ่งมีชีวิตอันทรงภูมิปัญญาให้ตั้งคำถามเกี่ยวกับธรรมชาติของมันแล้วนั้น ก็จะไม่มีคนมาถามได้ว่า “ทำไมต้องเป็นแบบนี้” เพราะมันต้องมีเงื่อนไขที่เอื้อให้มีคนถามได้ตั้งแต่แรกเสียก่อน ซึ่งนักฟิสิกส์เรียกหลักการนี้ว่า ‘Anthropic Principle’

     ถ้าจะให้เราพูดกันภาษาชาวบ้านๆ แล้ว อาจตอบได้ว่า คำตอบที่ดีที่สุดคำตอบหนึ่งของคำถามว่า “ทำไมจึงมีแรงโน้มถ่วง” อาจจะเป็นคำตอบง่ายๆ ว่า “มีไว้ให้คนถาม”

แรงโน้มถ่วงของโลกมีผลต่อวัตถุอย่างไร

แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงดึงดูดที่โลกกระทำต่อมวลของวัตถุทุกชนิดที่อยู่บนโลกและที่อยู่ใกล้โลก ซึ่งเป็นแรงไม่สัมผัส และมีทิศทางเข้าสู่จุดศูนย์กลางของโลก ทำให้วัตถุมีน้ำหนักและตกลงสู่พื้นโลกเสมอ ซึ่งเราสามารถวัดน้ำหนักของวัตถุได้โดยใช้เครื่องชั่งสปริง คำแนะนำ

แรงโน้มถ่วงมีความสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง

นั่นคือความโน้มถ่วงแปรผันตรงกับมวล (มวลมากก็มีความโน้มถ่วงมาก) และแปรผกผันกับระยะห่างกำลังสอง (ระยะห่างมากก็มีความโน้มถ่วงน้อย) การเคลื่อนที่ของวัตถุในสนามโน้มถ่วง

เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลกอย่างไร

แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นแรงซึ่งโลกกระทำต่อวัตถุทุกชิ้น โดยมีทิศทางเข้าสู่ศูนย์กลางโลก เป็นแรงที่ยึดเหนี่ยววัตถุให้ติดอยู่กับพื้นโลก มิฉะนั้นวัตถุหรือแม้กระทั้งบรรยากาศจะหลุดปลิวไปในอากาศนิวตันได้ค้นพบธรรมชาติพื้นฐานของแรงดึงดูดโน้มถ่วงระหว่างวัตถุใดๆ สองวัตถุ

ความสัมพันธ์ระหว่างมวลกับวัตถุมีลักษณะใด

Interactive Resource. มวลและน้ำหนักแตกต่างกัน โดยมวลเป็นเนื้อของวัตถุทั้งหมดหรือเป็นการต้านการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ของวัตถุ แต่น้ำหนัก คือ แรงโน้มถ่วงของโลกที่กระทำต่อมวลของวัตถุและทำให้วัตถุตกสู่พื้นโลก วัดน้ำหนักได้โดยใช้เครื่องชั่งสปริง วัตถุที่มีมวลมากจะมีน้ำหนักมากด้วย