เครื่องมือการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ ประกอบด้วย อะไร บาง

หน่วยที่ 1

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศ

ฐานข้อมูล

ความหมาย

ฐานข้อมูล (Database)  มาจากคำ 2 คำ คือ Data และ Base

Data คือ ทรัพยากรที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงที่มีปริมาณมาก สามารถเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้

ในขณะที่ Base คือ สิ่งเป็นฐานให้สร้างต่อขึ้นไปได้ ดังนั้น เมื่อนำคำว่า Database มารวมกันและนำมาใช้ในวงการสารสนเทศ มีความหมายดังนี้

ฐานข้อมูล หรือ Database หมายถึง ข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันที่จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ และต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการสืบค้น โดยแสดงผลทางจอ หรือทางเครื่องพิมพ์

ประเภท

ประเภทของฐานข้อมูลแบ่งตามลักษณะการใช้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. ฐานข้อมูลต้นเรื่อง เป็นฐานข้อมูลที่ให้ข้อมูลในลักษณะเนื้อหาฉบับเต็ม สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้ทันที ได้แก่ ฐานข้อมูลพระไตรปิฎก เป็นต้น
  2. ฐานข้อมูลอ้างอิง เป็นฐานข้อมูลของห้องสมุดที่จัดทำขึ้นแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

2.1 ฐานข้อมูลบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นฐานข้อมูลที่ให้ข้อมูลบรรณานุกรม เช่นหนังสือ งานวิจัย จะให้ข้อมูลผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เลขหน้า ลักษณะรูปเล่ม วิทยานิพนธ์จะให้ข้อมูลชื่อผู้เขียน ชื่อวิทยานิพนธ์ คณะมหาวิทยาลัยที่จบการศึกษา และปีพิมพ์

2.2 ฐานข้อมูลดรรชนีมีบทความวารสาร เป็นฐานข้อมูลที่ให้ข้อมูลบรรณานุกรมของบทความวารสาร ได้แก่ชื่อผู้เขียนบทความ ชื่อบทความ ชื่อวารสาร ปีที่ ฉบับที่ ปีพิมพ์และเลขหน้าของบทความในวารสาร

บริการฐานข้อมูล

  1. บริการสืบค้นจาก ซีดี-รอม เป็นการรวบรวมข้อมูลในลักษณะ ซีดี-รอม อาจเป็นข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือข้อมูลแบบเนื้อหาฉบับเต็ม ซึ่งบริษัทต่างๆ จัดทำขึ้นจำหน่ายเช่น ซีดี-รอม กฤตภาคข่าวของศูนย์ข้อมุลมติชน ซึ่งรวบรวมข่าวสารจากหนังสือพิมพ์รายวัน ซีดี-รอม ข่าวสารประจำปีของสำนักพิมพ์สยามบรรณ เป็นต้น
  2. บริการสืบค้นสารนิเทศผ่านสื่อทางไกล โดยผ่านระบบเครือข่าย เป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมต่อกับแหล่งข้อมูลอื่นๆ (สารนิเทศมิได้จัดเก็บที่ห้องสมุดที่ผู้ใช้กำลังค้นคว้าอยู่) บริษัทต่างๆจัดทำขึ้นเสนอกับหน่วยงานต่างๆ หน่วยงานใดต้องการก็ต้องสมัครเป็นสมาชิก และต้องเสียค่าสมาชิกตามอัตราที่ตกลงกัน ตัวอย่างฐานข้อมูลได้แก่

AGRIS – ฐานข้อมูลทางด้านการเกษตร และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง

DIALOG – ฐานข้อมูลซึ่งรวบรวมข้อมูลสารสนเทศในสาขาวิชาต่างๆ ในรูปบรรณานุกรมดรรชนี สาระสังเขป

DOA – ฐานข้อมูลที่ให้รายละเอียดของสารนิเทศในรูปแบบบรรณานุกรม และสาระสังเขปวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และเอกทุกสาขา

ERIC – ฐานข้อมูลทางการศึกษา และสังคมศาสตร์

THAI STANDARD – ฐานข้อมูลมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของไทยการใช้บริการฐานข้อมูลประเภทนี้ สามารถใช้บริการได้จากห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาหรือจากหน่วยงานเฉพาะ

  1. บริการฐานข้อมูลที่ห้องสมุดตาละแห่งจัดทำขึ้นเอง หรือโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น ฐานข้อมูลบัตรรายการ ฐานข้อมูลดรรชนีที่ห้องสมุดมีบริการ ห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เราใช้โปรแกรมสำเร็จรูป Library 2001

ประโยชน์ของฐานข้อมูล

  1. จัดเก็บสารสนเทศได้ในปริมาณสูงทำให้ประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บมากกว่าเก็บในกระดาษ
  2. จัดเก็บสารสนเทศอย่างเป็นระบบ ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพกว่าการค้นด้วยมือ ทั้งยังเป็นการช่วยประหยัดเวลาในการค้นหา
  3. ปรับปรุงและแก้ไขสารสนเทศในฐานข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและทันสมัยเสมอ
  4. เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลที่อยู่ห่างไกลได้โดยระบบออนไลน์ ทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง โดยไม่ต้องเดินทางไปค้นหาจากหลายแหล่ง
  5. มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าระบบโทรคมนาคมที่ทันสมัย ทำให้ฐานข้อมูลแพร่หลายและสามารถจัดหาได้ง่ายจากทั่วโลก

เครื่องมือช่วยค้นวัสดุสารสนเทศประเภทอิเล็กทรอนิกส์

จากความก้าวหน้าทางวิทยาการคอมพิวเตอร์และการพัฒนาทางเทคโนโลยี ทำให้การสืบค้นสารสนเทศจากบัตรรายการไม่เพียงพอ ห้องสมุดจึงได้นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการค้นหาข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือช่วยค้นประเภทอิเล็กทรอนิกส์  แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

  1. เครื่องมือช่วยค้นวัสดุสารสนเทศภายในห้องสมุด

1)  เครื่องมือช่วยค้นวัสดุสารสนเทศจากฐานข้อมูลออฟไลน์ (Offline Database) เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยจัดเก็บสารสนเทศ จัดการระบบฐานข้อมูลและให้บริการภายในห้องสมุดเท่านั้น กล่าวคือผู้ใช้ห้องสมุดสามารถค้นข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้มีการเชื่อมโยงหรือติดต่อกับห้องสมุดอื่น ๆ ซึ่งผู้ใช้ห้องสมุดจะถูกจำกัดแหล่งในการค้นหาข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์ภายในห้องสมุดนั้น หรือใช้ข้อมูลที่บันทึกในสื่อต่าง ๆ ที่ห้องสมุดจัดให้บริการ เช่น แผ่นดิสก์ ซีดี-รอม เป็นฐานข้อมูลออฟไลน์ที่นิยมในปัจจุบัน

2)  เครื่องมือช่วยค้นวัสดุสารสนเทศจากฐานข้อมูลทรัพยากรห้องสมุด เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการสร้างฐานข้อมูลของห้องสมุดขึ้นเอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ห้องสมุด ในการค้นหาสารสนเทศของห้องสมุดแห่งนั้น หรือกลุ่มห้องสมุดร่วมกันจัดฐานข้อมูลขึ้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการสืบค้นสารสนเทศในห้องสมุดกับการใช้ทรัพยากรร่วมกัน ดังนั้นห้องสมุดแต่ละแห่งจำเป็นต้องมีโปรแกรม จัดการฐานข้อมูล เช่น โปรแกรม CDS/ISIS, INNOPAC, HORIZON, VTLS  หรือห้องสมุดบางแห่งอาจพัฒนา Microsoft Access Microsoft FoxPro  เป็นต้น มาใช้ในการสร้างฐานข้อมูลเพื่อให้บริการสืบค้นซึ่งรู้จักกันทั่วไปในนาม โอแพค (OPAC)  หรือระบบการสืบค้นข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดด้วยคอมพิวเตอร์ (On-line  Public Access Catalog) ซึ่งจะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมแหล่งจัดเก็บและบริการสถานภาพของวัสดุสารสนเทศ ตลอดจนใช้ในการตรวจสอบการยืม-คืนของผู้ใช้ OPAC ของห้องสมุดแต่ละแห่งอาจจะมีรูปลักษณ์ภายนอกที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลที่ห้องสมุดเลือกใช้ว่าเป็น CDS/ISIS หรือ HORIZON หรือโปรแกรมใด ๆ ก็ตาม แต่ลักษณะของการสืบค้นสารสนเทศจะมีความคล้ายคลึงกัน เนื่องจากมีการกำหนดเขตข้อมูลสำหรับการสืบค้นในลักษณะ Field Searching คือค้นจากผู้แต่ง (Author) ชื่อเรื่อง (Title )และหัวเรื่อง (Subject) นอกจากนี้โปรแกรมส่วนใหญ่เน้นในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้มากขึ้น โดยสามารถค้นจากคำสำคัญ (Keywords) เลขหมู่ (Classification) ได้ด้วย ดังนั้นผู้ใช้จึงมีช่องทางในการสืบค้นสารสนเทศได้สะดวก รวดเร็ว และดีกว่าการใช้บัตรรายการแบบเดิม และห้องสมุดโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ภูเก็ต ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ใช้โปรแกรม Library 2001 เป็นเครื่องมือช่วยค้นสารสนเทศในห้องสมุด

ขั้นตอนการสืบค้นโดยโปรแกรม Library 2001

  1. ผู้ใช้บริการมีข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือ คำค้นที่ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วเปิดหน้าจอคลิกรายการที่ต้องการโดยปฏิบัติตามคำแนะนำที่ปรากฏหน้าจอ ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ
    • ค้นแบบ (ทุกฟิลด์) กรณีทราบข้อมูลอย่างคร่าว ๆ
    • ค้นแบบ (เลือกฟิลด์) กรณีทราบข้อมูลอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ทราบชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือหัวเรื่อง

ตัวอย่างการค้นแบบทุกฟิลด์  มีขั้นตอนดังนี้

  1. พิมพ์ข้อความที่ทราบหรือต้องการค้นหา เช่น  คำว่า  “ไฟฟ้า ”
  2. เมื่อพบข้อมูลที่ต้องการกด Yes ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าทั้งหมดก็แสดงบนหน้าจอ
  3. เลือกสารสนเทศที่ต้องการ โดยหน้าจอจะแสดงข้อมูล ดังต่อไปนี้               เลขทะเบียนหนังสือ,  ชื่อผู้แต่ง,  ชื่อเรื่อง,  หมวด,  หมู่,  ผู้แต่ง,  ฉบับที่
  4. นักศึกษาจดข้อมูลที่บอกตำแหน่งของหนังสือในห้องสมุด ( เลขหมู่และอักษรผู้แต่ง ) แล้วนำไปค้นหาหนังสือที่ชั้นหนังสือ
  5. กด Esc เพื่อออกจากโปรแกรม

ตัวอย่างการค้นแบบเลือกฟิลด์

  1. กรณีทราบชื่อผู้แต่ง คลิกที่ชื่อผู้แต่งและพิมพ์ชื่อผู้แต่งที่ทราบ
  2. คลิก ที่ค้นหา  หน้าจอก็จะแสดงรายชื่อหนังสือของผู้แต่งที่นักศึกษาพิมพ์     เข้าไป
  3. จากหน้าจอ ถ้าต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ  คลิก  ไปที่ตกลง
  4. จดเลขเรียกหนังสือ และ หาหนังสือที่ชั้น
  5. กด Esc เพื่อออกจากระบบ
  6. กรณีทราบชื่อเรื่องหรือหัวเรื่อง ก็ดำเนินการเช่นเดียวกับการค้นหากรณีทราบชื่อผู้แต่ง
  1. เครื่องมือช่วยค้นวัสดุสารสนเทศบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์

อินเตอร์เน็ต (Internet)  มาจากคำว่า INTERNATIONAL  NETWORD แปลว่าเครือข่ายนานาชาติจัดเป็นอภิมหาเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ในระบบเครือข่ายขนาดใหญ่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั่วโลกด้วยสายเคเบิลหรืออุปกรณ์สื่อสารชนิดต่าง ๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ตลอดเวลา

เครื่องมือค้นสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ต

การเข้าถึงสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยอาศัยอุปกรณ์เชื่อมต่อระบบเครือข่ายและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โปรแกรมที่ใช้เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงสารสนเทศบนอินเทอร์เน็ตที่นิยมแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ โปรแกรมค้นดู (Browsers)  เช่น Internet Explorer Netscape Communicator เป็นต้น

สารสนเทศโดยทั่วไปบนเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web – WWW.)  อาจเป็นได้ทั้งตัวอักษร เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพยนตร์ หรือแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ หน่วยงานต่าง ๆในปัจจุบันนิยมเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ผ่านระบบเวิลด์ไวด์เว็บในอินเทอร์เน็ต หน่วยงานต่าง ๆ ในปัจจุบันนิยมเผยแพร่ข้อมูลเหล่าดังกล่าวมี สถาบันการศึกษา เอกชนและบุคคลทั่วไปทั้งที่เป็นส่วนราชการ

เว็บไซต์ที่พบ WWW.  มี 2 ลักษณะ  คือ

1)  เว็บไซต์เป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่ให้เนื้อหาโดยตรง

2)  เว็บไซต์ที่เป็นแหล่งสืบค้นไปยังแหล่งสารสนเทศอื่น  เช่น

Yahoo  ( http://www.yahoo.com/)

Sanook  ( http://www.sanook.com/)

กระบวนการสืบค้นสารสนเทศใน WWW. Word Wide Web (WWW.) เป็นอินเทอร์เน็ตในลักษณะ

มัลติมิเดีย แสดงผลในรูปอักษร ภาพเคลื่อนไหวและเสียง มีการเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว สะดวกและใช้งานง่าย จึงมีผู้ที่นิยมใช้เพื่อสืบค้นข้อมูลต่างๆตามความต้องการของตนอย่างมากขึ้นทุกวัน

การสืบค้นด้วยคำสำคัญ

                การสืบค้นด้วยคำสำคัญเป็นการสืบค้นโดยใช้คำที่โปรแกรมค้นหาจัดทำดรรชนีและเก็บไว้ในรูปฐานข้อมูลซึ่งมีความแตกต่างกันไปในแต่ละโปรแกรม เว็บไซต์ที่บริการเครื่องมือสืบค้นด้วยวิธีนี่ที่รู้จักกันดี เช่น Google (www.google.com)  และ  Lycos (www.lycos.com)  เป็นต้นไป โปรแกรมค้นหาแต่ละโปรแกรมมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน ผู้ใช้ควรทราบว่าโปรแกรมค้นหาที่ใช้เน้นการทำดรรชนีประเภทใด มีการใช้นำหนักสารสนเทศแต่ละเรื่องอย่างไรและควรใช้มากกว่าหนึ่งโปรแกรม เพื่อให้สืบค้นสมบูรณ์ยิ่งขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวและศึกษาเกี่ยวกับโปรแกรมค้นหาแต่ละชื่อได้จาก http://www.searchengines.com  และเว็บไซต์อื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน

ตัวอย่างโดเมนเนม หรือ ชื่อเรื่อง (Domain  Name) ที่สามารถช่วยใช้คาดเดาได้ว่าเป็นเว็บไซต์สังกัดหน่วยงานใด

gov  (government) หมายถึง หน่วยงานของรัฐบาลของสหรัฐอเมริกา
go.th (government Thailand) หมายถึง หน่วยงานของรัฐบาลไทย
edu  (education) หมายถึง หน่วยงานสถาบันอุดมศึกษาของสหรัฐ
ac.th (academic Thailand) หมายถึง หน่วยงานสถาบันอุดมศึกษาไทย
org (organizatons) หมายถึง องค์กรอื่น ๆ ของสหรัฐ
or.th (organization Thailand) หมายถึง กลุ่มองค์กรอื่น ของไทย
com (commercial) หมายถึง กลุ่มองค์กรธุรกิจการค้า
co.th (commercial Thailand) หมายถึง กลุ่มธุรกิจการค้าของไทย
net (network services) หมายถึง กลุ่มเครือข่ายคอมพิวเตอร์
int (International) หมายถึง กลุ่มหน่วยงานระหว่างประเทศ
mil (Military) หมายถึง หน่วยงานทางทหารของสหรัฐ

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

  1. การติดต่อสื่อสาร   ผู้ใช้สามารถส่งข่าวสารถึงเพื่อน   นักเรียนสามารถส่งรายงาน  หรือถามข้อสงสัย   หรือแสดงความคิดเห็นต่ออาจารย์หรือผู้สอนทาง E-mail  ส่วนผู้สอนอาจจะมอบหมายงานแก่นักศึกษาทาง E-mail ได้เช่นกัน  สามารถส่งบัตรอวยพรในเทศกาลต่างๆ ได้   เช่น  วันขึ้นปีใหม่ วันเกิด  วันคริสต์มาส ไปได้ทั่วโลกในเวลาอันรวดเร็ว หน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ที่ต้องการแจ้งข่าวสาร ข้อมูลแก่สมาชิกหรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั่วโลก การส่งทาง E-mail จะสะดวกรวดเร็วและประหยัดมาก
  2. จัดประชุมทางไกล  สำหรับหน่วยงานที่มีสมาชิกในเครือข่ายทั่วโลกให้ได้ประชุมพร้อม ๆ กันทำให้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางและประหยัดค่าใช้จ่าย   เช่น   ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าลงทะเบียน  ค่าโรงแรม  ค่าอาหาร
  3. สามารถติดตามเรื่องที่สนใจเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นงานอาชีพ งานอดิเรก หรือสิ่งที่กำลังเป็นที่สนใจของคนทั่วไป  หรือ  เกมส์ต่าง ๆ   เรื่องราวต่าง ๆ  นั้นได้มาจากกลุ่มข่าวซึ่งมีอยู่นับหมื่นกลุ่ม  จากกระดานสนทนาต่างๆ  ข้อมูลเหล่านั้นได้มาจากความคิดเห็น ข้อแนะนำและข้อเท็จจริงที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกใส่ไว้
  4. แหล่งความรู้ทุกรูปแบบ   สามารถค้นหาข้อมูล  ความรู้ต่าง ๆ  จากทั่วโลกได้หลากหลายรูปแบบ  เช่น  ข้อมูลที่มีลักษณะเหมือนหนังสืออ้างอิงจำพวก  พจนานุกรมภาษาต่าง ๆ  สารานุกรม  แผนที่  ข้อมูลที่เป็นบทความจากวารสาร  ข้อมูลที่เป็นผลงานวิจัย ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต้นแหล่ง   จากการค้นเพียงครั้งเดียวจะได้ข้อมูลในเวลาอันรวดเร็ว  จึงทำให้มีงานวิจัยงานประดิษฐ์เกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา
  5. ซื้อขายสินค้าและบริการ  บริษัทห้างร้านต่าง ๆ   ตลอดจนคนทั่วไปสามารถโฆษณาสินค้าของตนทางอินเทอร์เน็ตในราคาถูกและให้บริการได้ตลอด  24  ชั่วโมง  แต่เผยแพร่ไปยังผู้บริโภคได้มากกว่าสื่อโฆษณาอื่น ๆ   ในทางกลับกันผู้บริโภคก็สามารถสั่งสินค้าทางอินเทอร์เน็ตได้เช่นกัน
  6. รับข่าวสารล่าสุดได้ทั้งในและต่างประเทศ   ทั้งข่าวการเมือง ข่าวเศรษฐกิจ   ข่าวกีฬา   รายงานอากาศ ราคาหุ้น
  7. เพื่อความบันเทิง  (Entertainment)   เล่นเกมส์  ดูหนัง  ฟังเพลง
บริการบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่มุ่งให้สมาชิกได้ใช้ทรัพยากรสารสนเทศต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าสูงสุด อินเทอร์เน็ตจึงมีศูนย์ให้บริการทั่วโลก ผู้ใช้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นได้อย่างกว้างขวางและมากที่สุด    ปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่ออยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตนับล้านเครื่อง   ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถใช้บริการต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail = E-mail)   ผู้ใช้สามารถติดต่อรับ – ส่ง  ข้อความกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตอื่น ๆ   ทั่วโลกคล้ายกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์  แต่มีความสะดวกและรวดเร็วกว่าเพราะส่งผ่านระบบเครือข่าย ผู้รับและส่ง E-mail  จะต้องมี
  2. บริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล (File transfer Protocol = FTP) ผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้ายแฟ้มข้อมูลโปรแกรมต่าง ๆ   ที่เป็นตัวอักษร  รูปภาพ  เสียง  จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นการสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าวิจัยให้กว้างขวางออกไป   การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลแบ่งเป็น   2  ประเภท  ได้แก่  การ Download  คือ  การโอนย้ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นมายังเครื่องของเราและการ Upload   คือการโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องของเรายังเครื่องอื่น
  3. บริการเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในระยะไกล (Telnet)     ผู้ใช้สามารถเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น ๆ  ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตจากระยะไกล   ซึ่งมีโปรแกรมหรือบริการนอกเหนือไปจากเครื่องที่ใช้อยู่ การสั่งให้โปรแกรมทำงานได้บนเครื่องอื่นทำให้ผู้ใช้ไม่ต้องเดินทางไปยังเครื่องนั้น โดยโปรแกรม Telnet  จะจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ให้เสมือนเป็นจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นที่ผู้ใช้ต้องการเข้าถึงทำให้รู้สึกเหมือนั่งทำงานหน้าเครื่องนั้นโดยตรง
  4. บริการสนทนากับผู้อื่นแบบทันทีทันใด ผู้ใช้เครือข่ายสามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้อื่นในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน มี  4  ลักษณะคือ
    • 1 การสนเทนาแบบคน 2 คน  เป็นการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ระหว่างคน 2  คนผ่านทางจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งสองฝ่าย โดยใช้โปรแกรม Talk นับเป็นการพูดคุยทางออนไลน์แบบแรก ๆ ปัจจุบันไม่เป็นที่นิยม
  • 2 การสนเทนาเป็นกลุ่ม   เป็นการพิมพ์ข้อความโต้ตอบระหว่างกันได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความที่แต่ละคนพิมพ์ เหมือนกำลังนั่งอยู่ด้วยกันในห้องสนทนา โปรแกรมที่นิยมในปัจจุบัน คือ mIRC, PIRCH, Comic Chat
  • 3 บริการเพจเจอร์ส่วนตัว เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถส่งข้อความของตนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปยังเครื่องผู้รับได้ไม่ว่าเครื่องผู้รับจะใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่หรือไม่ก็ตาม โปรแกรมที่นิยมใช้คือ ICQ
  • 4 การโทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ต สามารถพูดคุยกันได้เหมือนการใช้โทรศัพท์ตามบ้าน   โดยเสียค่าใช้จ่ายถูกกว่าการใช้โทรศัพท์ทางไกล ทั้งนี้โดยใช้โปรแกรม Internet Phone, Webphone, Cooltalk โดยผู้ใช้ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอุปกรณ์มัลติมีเดีย (ไมโครโฟนและการ์ดเสียง) ติดตั้งไว้ด้วย หากต้องการพูดกันแบบเห็นหน้าและอิริยาบทของกันและกัน ให้ใช้โปรแกรม CU-See Me, Free Vue, Hind Site  ใช้ประกอบกับกล้องวีดิโอขนาดจิ๋วซึ่งต่อกับการ์ดวีดิโอ
  1. บริการบอร์ดข่าวสาร (User’s Network = Usenet) เป็นบริการที่ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนข่าวสารหรือความคิดเห็นของตนกับผู้อื่นตามความสนใจ โดยมีการจัดกลุ่ม เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup) ปัจจุบันมีกลุ่มข่าวมากกว่า 15,000 กลุ่ม การแลกเปลี่ยนข่าวสารมีลักษณะคล้ายการส่ง E-mail เพียงแต่ไม่ได้ส่งไปยังผู้รับโดยตรง แต่จะส่งไปยังศูนย์ที่เป็นข่าวแทน
  2. บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) เป็นการประกอบธุรกิจการค้าบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันสามารถทำนิติกรรมได้ เช่น การสั่งซื้อของและชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต การติดต่อทำนิติกรรมกับธนาคาร
  3. บริการค้นหาแฟ้มและฐานข้อมูล (File and Database Searching) ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีแฟ้มข้อมูลและฐานข้อมูลที่ผู้เชี่ยวชาญในแขวงวิชาต่าง ๆ เก็บข้อมูลไว้เผยแพร่จำนวนมากจึงเป็นเรื่องยากในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ในอินเทอร์เน็ตมีโปรแกรมเฉพาะที่อำนวยความสะดวกช่วยบริการค้นหาข้อมูลมหาศาลได้ เช่น Archive, Gopher, Hytelnet, WAIS, และ World Wide Web เป็นต้น

ดาวโหลด

หน่วยที่ 1.PDF

หน่วยที่1.Docx

การสืบค้นข้อมูลสารสนเทศคืออะไร

การสืบค้นสารสนเทศ เป็นกระบวนการในการ แสวงหาทรัพยากรสารสนเทศที่ได้มีการบันทึกและ เผยแพร่ไว้ในสื่อต่างๆ ได้แก่ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศน์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้วิธีค้นหาในรูปแบบ ต่างๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ ต้องการ

วิธีการสืบค้นข้อมูลมีอะไรบ้าง

1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ 2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง 3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta) 4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site.

วัตถุประสงค์ในการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศมีอะไรบ้าง

1. เพื่อการศึกษา 2. เพื่อหาข้อมูล หรือ ความรู้ใหม่ๆ 3. เพื่อความบันเทิงและการพักผ่อนหย่อนใจ 4. เพื่อประกอบการทางาน การค้า การประกอบธุรกิจ 5. เพื่อประกอบการตัดสินใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง

การสืบค้นข้อมูลหมายถึงข้อใด

ก. ค้นหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะได้ผล เช่น สืบค้นหาสมบัติตามลายแทง.