คนไร้ความสามารถเริ่มตั้งแต่

หน่วยที่1ความรู้เบื้องต้น

 หน่วยที่1 ความรู้เบื้องต้น

กฎหมายว่าด้วยบุคคล

เนื่องด้วยกฎหมายเป็นคำสั่งกฎหรือข้อบังคับของรัฐที่กำหนดขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายหลัก คือ เพื่อให้ ความคุ้มครองและรักษาประโยชน์ของบุคคล อันก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลภายในสังคมนั้นขึ้น ความเป็นบุคคลเป็นเรื่องสำคัญมากในทางกฎหมาย เพราะผูกพันกับสิทธิและหน้าที่ตามที่ได้บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ คือ การศึกษาสิทธิและหน้าที่ของบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย รวมไปถึงสิทธิ และหน้าที่ระหว่างบุคคลที่มีต่อกันด้วย ดังนั้นก่อนจะศึกษาถึงสิทธิและหน้าที่ต่างๆ เบื้องต้น เราจึงควรศึกษา ในเรื่องบุคคลเสียก่อน

บุคคลหมายถึง สิ่งซึ่งสามารถมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย บุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.บุคคลธรรมดาหมายถึง ผู้ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

2.นิติบุคคลหมายถึง กลุ่มบุคคลหรือองค์กรซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้ให้เป็นบุคคล

อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่บุคคลธรรมดา และมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย

สภาพบุคคล (มาตรา 15-18)

      ตามความหมายที่ได้กล่าวไปแล้วว่าบุคคลธรรมดา หมายถึง คนซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ได้ตามกฎหมาย แต่คนซึ่งจะมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายได้นั้นก็ต่อเมื่อมี สภาพบุคคลแล้วเท่านั้น ดังนั้นก่อนอื่นเราควรจะต้องศึกษาถึงเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับสภาพบุคคลเสียก่อน

มาตรา 15 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บัญญัติไว้ว่า สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย

ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก

      จากบทบัญญัติในมาตรา 15  วรรคแรกข้างต้น

การเริ่มสภาพบุคคลต้องประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 2 ประการ คือ

1. การคลอด

2. อยู่รอดเป็นทารก

ความสามารถของบุคคล (มาตรา 19-36)

        ความสามารถของบุคคล หมายถึง การใช้สิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่มีอยู่ได้มากน้อยเพียงใดปกติทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันตามกฎหมายแต่มีความ สามารถใช้สิทธิแตกต่างกัน ความสามารถของบุคคลที 2ความหมาย คือ 1)  ความสามารถในการมีสิทธิต่าง ๆ เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการดำเนินคดี เป็นต้น2)  ความสามารถในการใช้สิทธิต่าง ๆ เช่น สามารถในการทำนิติกรรม การสมรส การรับบุตรบุญธรรม เป็นต้น

        บุคคลที่ถูกจำกัดความสามารถได้แก่ ผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถ และคนเสมือนไร้ความสามารถ

ผู้เยาว์

ผู้เยาว์ คือ ผู้ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะต่อเมื่อ

1.    อายุ 20 ปี บริบูรณ์

2.    สมรสแล้วถูกต้องตามกฎหมาย

-      หญิงชายจะสมรสได้ต่อเมื่ออายุครบ 17 ปี หรือ

-      เมื่อศาลอนุญาตให้สมรสในกรณีอายุไม่ครบ 17 ปี

ความสามารถของผู้เยาว์

ผู้เยาว์สามารถใช้สิทธิหรือทำการใด ๆ ด้วยตนเองได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก ผู้แทนโดยชอบธรรม ดังนี้

1.  เป็นการที่ทำเฉพาะตัว เช่น การสมัครเรียนหนังสือ เป็นต้น

2.  การกระทำใด ๆ ได้ทั้งสิ้นเพื่อเป็นการได้สิทธิมาหรือเป็นการเพื่อให้หลุดพ้น จากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง เช่น การรับมรดา เป็นต้น

3.  ทำการใด ๆ ได้ทั้งสิ้นเพื่อเป็นการสมแก่ฐานานุรูปของตน และเป็นการอันจำเป็นในการดำรงชีพตามสมควร เช่น การซื้อหนังสือ เป็นต้น

 4.  อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุครบ 15 ปี

5.  ผู้เยาว์ที่ได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรมแล้วในความเกี่ยวพันที่  เกี่ยวกับกิจการค้า

   กฎหมายถือว่าผู้เยาว์มีฐานะเหมือนผู้บรรลุนิติภาวะแล้ว เช่น ซื้อของใช้ส่วนตัว เป็นต้น

   ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ คือ บิดามารดาซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือบุคคลอื่น ซึ่งเป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย

ผู้เยาว์ทำนิติกรรม

         ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใด ๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใด ๆ ที่ผู้เยาว์ทำลงไปโดยปราศจากความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม ถือเป็นโมฆียะ (โมฆียะ หมายถึงมีความสมบูรณ์จนกว่าจะบอกล้าง)

คนไร้ความสามารถ

         คนไร้ความสามารถ คือ บุคคลวิกลจริตซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความอนุบาล หรือความดูแลของผู้อนุบาล คำสั่งดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งบุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ มีดังนี้

1)         คู่สมรสของผู้วิกลจริต

2)         บุพการี (บิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด)

3)         ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน)

4)         ผู้ปกครอง หรือ ผู้พิทักษ์

5)         ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคลนั้น

6)        พนักงานอัยการ

         คนไร้ความสามารถทำนิติกรรมใด ๆ ถือเป็นโมฆียะเสมอ (โมฆียะหมายถึงมีความสมบูรณ์จนกว่าจะบอกล้าง)

คนเสมือนไร้ความสามารถ

         คนเสมือนไร้ความสามารถ หมายถึง บุคคลที่มีร่างกายพิการ หรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ หรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็นอาจิณ หรือ ติดสุรายาเมา จนไม่สามารถจัดทำการงานโดยตนเองได้และ ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ผู้เสมือนไร้ความสามารถต้องจัดให้อยู่ในความดูแลของผู้พิทักษ์ และต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา

          ผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ คือ บุคคลกลุ่มเดียวกับที่ร้องขอให้บุคคลเป็นคนไร้ความสามารถผู้เสมือนไร้ความ สามารถกระทำนิติกรรมใด ๆ ได้ทุกประการ ยกเว้น การใดต่อไปนี้ต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน

1)         นำทรัพย์สินไปลงทุน

2)         รับคืนทรัพย์สินที่นำไปลงทุน เป็นต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น

3)         กู้ยืมเงินผู้อื่นหรือให้ผู้อื่นกู้ยืมเงิน

4)         รับประกันโดยประการใด ๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้

5)         เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดระยะเวลาเกิน 6 เดือน

6)      เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์ที่มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่า 3 ปี

7)         ให้ทรัพย์ของตนแก่ผู้อื่นโดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศล การสังคมหรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา

8)         รับการให้โดยมีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา

9)         ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือซ่อมแซมอย่างใหญ่

10)      เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนการพิจารณาใด ๆ เว้นแต่ร้องขอต่อศาล

11)   ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย

ความสิ้นสุดของการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถผู้นั้นหรือผู้มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งเป็นคนเสมือนไร้ ความสามารถและให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

การสิ้นสภาพบุคคล

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 15 บัญญัติว่า สภาพบุคคลสิ้นสุดลงเมื่อตาย การตายทำให้สภาพบุคคลสิ้นสุดลง สิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายย่อมสิ้นสุดลง บรรดาทรัพย์สินต่าง ๆ ตลอดจนสิทธิหน้าที่ย่อมตกเป็นมรดกตกทอดไปยังทายาท

การตายตามกฎหมาย มี 2 ประการ คือ

  1)     การตามธรรมดา เป็นการตายตามธรรมชาติ คือ บุคคลหมดลมหายใจ เมื่อมีการตายเกิดขึ้นสภาพบุคคลย่อมสิ้นสุดลง

  2)     การสาบสูญ เป็นการตายตามกฎหมายกำหนดไว้ ตามคำสั่งของศาลและต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาว่าเป็นคนสาบสูญ

การเป็นคนสาบสูญ

              ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเป็นหลักฐานไว้ 2 กรณี ดังนี้

หลักเกณฑ์ของการเป็นคนสาบสูญ มีดังนีี้

1)      บุคคล ที่สาบสูญจะต้องจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยไม่มีผู้ใดรู้ข่าวคราวว่า ผู้นั้นยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ดังนี้

1.1    หายไป 5 ปีสำหรับกรณีธรรมดา

1.2    หาย ไป 2 ปี ในกรณีพิเศษ เช่น หายไปในการรบ หายไปกับเรือที่อับปางกลางทะเล เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม ระเบิดลง เป็นต้น

1.3    ต้องมีคำสั่งของศาลว่าเป็นคนสาบสูญ โดยผู้มีส่วนได้เสีย เช่น บิดา มารดา สามี ภรรยา บุตร หรือพนักงานอัยการร้องขอต่อศาล

ผลของการเป็นคนสาบสูญ

1)         การเริ่มต้นการสาบสูญตามคำสั่งศาล นับแต่วันหายไปครบ 5 ปี หรือ 2 ปี แล้วแต่กรณี

2)         สิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ เป็นอันสิ้นสุดลง

3)         การสาบสูญไม่ทำให้การสมรสขาดจากกัน เป็นเพียงเหตุการณ์ฟ้องหย่าเท่านั้น

การถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญ

        ถ้าภายหลังปรากฏความจริงว่ายังมีชีวิตอยู่หรือตายไปในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาที่ ศาลสั่ง ตัวผู้สาบสูญหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอต่อศาลให้เพิก ถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญได้ เมื่อศาลมีคำสั่งเพิกถอนแล้วต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาด้วย

ผลของการถอนคำสั่งแสดงการสาบสูญไม่กระทบถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายที่ได้กระทำลงโดยสุจริตระหว่างเวลาที่เป็นคนสาบสูญ บุคคลที่ได้ทรัพย์สินมาเนื่องแต่การที่ศาลสั่งแสดงสาบสูญ แต่ต้องเสียสิทธิของตนไปเพราะคำสั่งถอนการสาบสูญต้องคืนทรัพย์สินส่วนที่ยัง เหลืออยู่

ความหมายของคำว่าทรัพย์และทรัพย์สิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 137 บัญญัติว่า "ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง" และมาตรา 138 บัญญัติว่า "ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้"  ในการพิจารณาความหมายของคำว่าทรัพย์และทรัพย์สินนั้น ต้องพิจารณาประกอบกันทั้งมาตรา 137 และ 138 ดังนั้นทรัพย์นอกจากจะหมายถึงวัตถุที่มีรูปร่างแล้ว ยังต้องอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ด้วย ส่วนทรัพย์สินมีความหมาย 2 อย่าง อย่างหนึ่งคือเป็นวัตถุที่มีรูปร่าง ซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้ และอีกอย่างหนึ่งคือวัตถุที่ไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและอาจถือเอาได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้แบ่งทรัพย์สินออกเป็น 5 ประเภท คือ

อสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่ อาคาร บ้าน เป็นต้น

สังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้ นาฬิกา เป็นต้น

ทรัพย์แบ่งได้ คือ เมื่อแบ่งเป็นส่วนๆแล้วยังคงสภาพเดิม เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร เป็นต้น

ทรัพย์แบ่งไม่ได้ คือ หากแบ่งแยกเมื่อใดก็จะเสียหาย เช่น กางเกง แว่นตา เป็นต้น

ทรัพย์นอกพาณิชย์ คือ ทรัพย์ที่ไม่อาจถือเอาได้ เช่น ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เป็นต้น

ส่วนควบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 บัญญัติว่า "ส่วนควบของทรัพย์ หมายความว่า ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจากรีตประเพณีแห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญ ในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้นและไม่อาจแยกจากกันได้ นอกจากจะทำลายทำให้บุบสลายหรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปหรือสภาพไป

อุปกรณ์
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 147 บัญญัติว่า "อุปกรณ์ หมายความว่า สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้งของเจ้าทรัพย์เป็นทรัพย์ ประธานเป็นของใช้ประจำกับทรัพย์ประธานเป็นอาจิณเพื่อประโยชน์แก่การจัดการดูแลใช้ สอบหรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธานและเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์ที่เป็นประธาน โดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือโดยการทำประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้ ประกอบกันทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น

 ดอกผล
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 บัญญัติว่า "ดอกผลของทรัพย์ ได้แก่ ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย"
ดอกผลธรรมดา หมายความสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัวทรัพย์ โดยมีการใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยมและสามารถถือเอาได้เมื่อขาดทรัพย์นั้น
ดอกผลนิตินัย หมายความว่า ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้ง คราวแก่เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่น เพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้นและสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวันหรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ดอกผลตามกฎหมายมีอยู่ 2 ชนิด คือ
 ดอกผลธรรมดา  ซึ่งดอกผลธรรมดานันเป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นตามธรรม ชาติจากตัวทรัพย์หรือจากตัวแม่ทรัพย์ เมื่อขาดตกออกมาจากแม่ทรัพย์แล้วจะกลายเป็นดอกผลธรรมดาที่สามารถยึดถือเอา ได้และข้อสำคัญเมื่อหลุดขาดตกออกมาแล้ว ตัวแม่ทรัพย์จะต้องไม่เปลี่ยนสภาวะหรือไม่เปลี่ยนรูปร่างไป เช่น ผลไม้ต่างๆขณะที่ ผลยังติดอยู่กับต้นไม่ถือเป็นดอกผล จะเป็นดอกผลเมื่อมันขาดหลุดมาจากต้นเสียก่อน แต่หากเป็นกรณีที่มีการขาดหลุดจากตัวทรัพย์ แล้วทำให้แม่ทรัพย์เปลี่ยนสภาวะหรือเปลี่ยนรูปร่างไม่ถือเป็นดอกผล เช่น วัวนั้นตามปกติเมื่อโตขึ้นจะมีเขางอกถ้าเราไปตัดเขาวัวออกเสียย่อมทำให้วัวเสียสภาพไป ดังนั้นเขาวัวหรือเขาสัตว์จึงไม่ถือเป็นดอกผล
ดอกผลนิตินัย  เป็นดอกผลที่มิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากตัวของแม่ทรัพย์ แต่เป็นการเกิดขึ้นจากผู้อื่นได้ใช้ทรัพย์โดยจากการใช้ทรัพย์นั้นเขาให้ทรัพย์อีกอย่างหนึ่งหรือประโยชน์เป็นการตอบแทน

นิติกรรม 

คือการใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ (ป.พ.พ.ม. ๑๔๙)

กล่าวโดยย่อ นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมายและมุ่งต่อผลในกฎหมายที่จะเกิดขึ้นอันได้แก่ การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ มีการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิและระงับซึ่งสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขายสัญญากู้เงินสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาให้และพินัยกรรมเป็นต้น

การแบ่งแยกประเภทของนิติกรรม

นิติกรรมฝ่ายเดียว ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียวและมีผลตามกฎหมาย ซึ่งบางกรณีก็ทำให้ผู้ทำนิติกรรมเสียสิทธิได้ เช่น การก่อตั้งมูลนิธิ คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล การรับสภาพหนี้ การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ คำมั่นจะซื้อหรือจะขาย การทำพินัยกรรม การบอกกล่าวบังคับจำนอง เป็นต้น

นิติกรรมสองฝ่าย (นิติกรรมหลายฝ่าย) ได้แก่ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุก ฝ่ายต้องตกลงยินยอมระหว่างกันกล่าวคือฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเป็นเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่ายขึ้นหรือเรียก กันว่า สัญญา เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืม สัญญาแลกเปลี่ยน สัญญาขายฝาก จำนอง จำนำ เป็นต้น

ที่มา :http://www.oknation.net/blog/paenate/2011/08/02/entry-1