รายได้ 1 ล้าน เสียภาษีเท่าไหร่ 2564

เมื่อถึงรอบที่จะต้อง ยื่นภาษี กรมสรรพากรก็ได้เปิดให้ประชาชนผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์กำหนดยื่นแสดงรายได้และจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปีภาษี 2564 สามารถยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม 2565 และสามารถยื่นแบบภาษีฯได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นผ่าน Rd smart tax application ทางโทรศัพท์มือถือ จะได้รับสิทธิ์ขยายเวลาการยื่นแบบฯ ออกไปอีก 8 วัน 

โดยการ ยื่นภาษี มีด้วยกัน 2 แบบ คือ แบบ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.91 ถ้าจะให้มองเห็นภาพง่ายๆเลย ก็คือ  คนมีเงินเดือน โบนัส ค่าครองชีพก็ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.91 หรือคนที่มีรายได้เป็นเงินเดือนเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีรายได้ทางอื่น  

ส่วนคนที่มีรายได้อื่น ๆ หรือมีทั้งเงินเดือนและรายได้อื่น ๆเช่น ค้าขายแบบบุคคลธรรมดา เงินปันผล หรืออื่น ๆ ก็ให้ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90  ซึ่งการคิดอัตราภาษีนั้นก็ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิหรือรายได้ของผู้เสียภาษีแต่ละคน 

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2564 (สำหรับยื่นแบบในช่วงต้นปี2565) 

เงินได้สุทธิ(บาท) 

อัตราภาษี (%)  ภาษีที่ต้องจ่ายแต่ละขั้น (บาท)  ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น(บาท)
1-150,000 ได้รับยกเว้น - -
150,001-300,000 5% 7,500 7,500
300,0001-500,000 
10% 20,000 27,500
500,0001-750,000
15% 37,500 65,000
750,001-1,000,000 20% 50,000 115,000
1,000,0001-2,000,000
25% 250,000 365,000
2,000,001-5,000,000 30% 900,000 1,265,000
5,000,001 ขึ้นไป 35% คำนวณตามจริง คำนวณตามจริง

ข้อมูล : กรมสรรพากร 

ยกตัวอย่าง กรณีมีรายได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน) และประเภทที่ 2 (ค่าจ้างทั่วไป-ฟรีแลนซ์) จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ดังนั้น จากตารางด้านบนนี้แสดงว่า หากมีรายได้ตลอดทั้งปีไม่เกิน 310,000 บาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายและลดหย่อนส่วนตัวรวม 160,000 บาทแล้ว จะเหลือเงินได้สุทธิ 150,000 บาท ซึ่งได้รับการยกเว้นภาษี  

แต่ถ้ามีรายได้สุทธิมากกว่า 310,000 บาท แสดงว่าจะต้องยื่นภาษี แต่จะเสียภาษีมาก-น้อยแค่ไหนนั้น ให้วิธีคำนวณภาษี ด้วยการ  นำ รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน  x อัตราภาษี 

ขั้นตอนที่ 1    นำรายได้ตลอดทั้งปีมาหักค่าใช้จ่าย แยกตามประเภทของรายได้ และหักลดหย่อนตามรายการต่าง ๆ เพื่อหารายได้สุทธิ ในการ ยื่นภาษี

ตัวอย่างที่หนึ่ง

มานะ มีรายได้ทั้งปี 600,000 บาท จะต้องหักค่าใช้จ่ายเบื้องต้นดังนี้

 - หักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) = 100,000 บาท

 จะเหลือรายได้สุทธิ 500,000 บาท

ขั้นตอนที่ 2 นำรายได้ที่เหลือมาหักค่าลดหย่อน  โดยให้ลองสำรวจดูว่ามีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง แล้วนำค่าลดหย่อนนั้นมาลบออกจาก 500,000 บาท  เช่น หากปีนี้ มานะ ซึ่งมีภรรยา 1 คน มีรายได้ไม่ถึง 30,000 บาท ทั้งคู่จดทะเบียนสมรสกันแล้ว แต่ไม่มีบุตร, มีบิดาอายุ 60 ปีขึ้นไป ที่ต้องเลี้ยงดู 1 คน, ซื้อ SSF ไป 50,000 บาท, ซื้อประกันสุขภาพ 9,000 บาท ก็สามารถนำค่าใช้จ่ายลดหย่อนทั้งหมดมาหักออกจาก 500,000 บาท ดังนี้

- หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

- หักค่าลดหย่อนคู่สมรส 60,000 บาท

- หักค่าลดหย่อนเลี้ยงดูบิดา 1 คน จำนวน 30,000 บาท

- หักค่าซื้อ SSF ไป 50,000 บาท

- หักค่าประกันสุขภาพ 9,000 บาท

รวมหักไปทั้งสิ้น 209,000 บาท

ทำให้ มานะ จะเหลือรายได้สุทธิ 291,000 บาท

ขั้นตอนที่ 3 นำรายได้สุทธิที่ได้ มาเทียบอัตราภาษี  ซึ่งปัจจุบันใช้วิธีเสียภาษีแบบขั้นบันได ซึ่งอัตราภาษี ในปี 2564 ที่มานะต้องเสีย (ตามตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา2564 ด้านบน)

กรณีของมานะ มีรายได้สุทธิอยู่ที่ 291,000 บาท เท่ากับต้องเสียภาษีในอัตราสูงสุดที่ 5% แต่ในจำนวนนี้ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี จึงคงเหลือส่วนที่ต้องเสียภาษีอยู่ที่ (291,000-150,000) = 141,000 บาท ที่อัตรา 5% คิดเป็นเงินภาษี 7,050 บาท

รายได้ 1 ล้าน เสียภาษีเท่าไหร่ 2564

ภาพประกอบ:AFP, สรรพากร

ตัวอย่างที่สอง

พากเพียรทำงานมีรายได้รวมทั้งปี 800,000 บาท เลี้ยงดูบุตรอายุ 6 ขวบ และ 4 ขวบ ส่งเงินสมทบประกันสังคม 5,100 บาท ซื้อประกันชีวิตไว้ 50,000 บาท เลี้ยงดูบิดา-มารดา 2 คน คำนวณภาษีได้ด้วยการ

- หักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ (แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) = 100,000 บาท

- หักค่าประกันสังคม 5,100 บาท

- หักค่าซื้อประกันชีวิต 50,000 บาท

- หักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท

- หักค่าลดหย่อนบุตร 2 คน รวม 60,000 บาท

- หักค่าเลี้ยงดูบิดา-มารดา 2 คน รวม 60,000 บาท

รวมหักค่าลดหย่อนไป 335,100 บาท ดังนั้น พากเพียร จะเหลือรายได้สุทธิ 800,000-335,100 = 464,900 บาท จึงต้องเสียภาษีที่ขั้น 10% ซึ่งคำนวณแต่ละขั้น(ตามตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา2564 ด้านบน) 

- 150,000 บาทแรก ไม่เสียภาษี  จึงเหลือเงินที่ต้องไปคำนวณ (464,900-150,000) = 314,900 บาท

- ส่วนต่อมาเสียภาษี 5% ซึ่งจำนวนเงินภาษีของฐาน 5% คือ 7,500 บาท  จึงเหลือเงินที่ต้องไปคำนวณต่อที่ฐาน 10% (314,900-150,000) = 164,900 บาท

- เงินส่วนที่เหลือ 164,900 บาท นำมาคิดภาษีที่ฐาน 10% จะเท่ากับ 16,490 บาท

นำเงินภาษีแต่ละขั้นมารวมกัน (7,500+16,490) เท่ากับพากเพียรต้อง เสียภาษี 23,990 บาท

ส่วนกรณีมีเงินได้ประเภทอื่น    นอกจากเงินเดือนด้วย จะมีการหักค่าใช้จ่ายที่ต่างกันไป ซึ่งต้องนำไปคำนวณอีกที ได้แก่

  • เงินได้ประเภทที่ 3 (ค่าลิขสิทธิ์) : หัก 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท หรือ หักเฉพาะค่าสิทธิ
  • เงินได้ประเภทที่ 4 (ดอกเบี้ย, เงินปันผล) : หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
  • เงินได้ประเภทที่ 5 (ค่าเช่า) : หักค่าใช้จ่ายได้ 10-30% หรือหักตามจริง
  • เงินได้ประเภทที่ 6 (ค่าวิชาชีพอิสระ) : แพทย์ประกอบโรคศิลปะ หักค่าใช้จ่ายได้ 60% หรือตามจริง ส่วนอาชีพนักกฎหมาย, วิศวกร, สถาปนิก, นักบัญชี และช่างประณีตศิลป์ หักค่าใช้จ่ายได้ 30% หรือหักตามจริง  
  • เงินได้ประเภทที่ 7 (ค่ารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าของ) : หักค่าใช้จ่ายได้ 60% หรือหักตามจริง
  • เงินได้ประเภทที่ 8 (อื่น ๆ) : หักค่าใช้จ่ายได้ 60% (เฉพาะกิจการ 43 ประเภท) หรือหักตามจริง 

กรณีมีเงินได้ประเภทอื่น ๆ นอกจากเงินได้ประเภทที่ 1 (เงินเดือน โบนัส ค่าคอมมิชชัน เบี้ยเลี้ยง บำเหน็จ บำนาญ) รวมกันเกิน 1 ล้านบาทต่อปี จะต้องลองใช้วิธีคำนวณภาษีแบบเหมา คือ

(เงินได้ทั้งหมด - เงินได้ประเภทที่ 1) x 0.5%

 แล้วเปรียบเทียบกันดูว่า  วิธีคำนวณภาษีแบบปกติ คือ (รายได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี  กับคำนวณภาษีแบบเหมา  คือ (เงินได้ทั้งหมด - เงินได้ประเภทที่ 1) x 0.5%  แบบไหนต้องจ่ายภาษีมากกว่าก็ให้ใช้วิธีนั้นในการคำนวณเพื่อเสียภาษี

รายได้ 1 ล้าน เสียภาษีเท่าไหร่ 2564

ภาพประกอบ:AFP

สำหรับใครที่ยังไม่ได้ ยื่นภาษี ก็ลองนำวิธีการคำนวณภาษีไปลองประเมินค่าใช้จ่ายในเบื้องต้นกันดู เพื่อที่จะได้วางแผนภาษีกับช่วงเวลาที่เหลืออยู่นี้  โดยต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่า หากจ่ายเพิ่มแล้วจะคุ้มค่ากับเงินที่เสียไปหรือนำมาลดหย่อนได้จริงหรือไม่   ถ้าดูแล้วเป็นประโยชน์ก็สมควรจะที่จะจ่ายเพิ่ม ที่สำคัญอย่าลืมเช็กเวลาสิ้นสุดการยื่นภาษีด้วยล่ะ ...

อ้างอิง : กรมสรรพากร

ภาพประกอบ: พีอาร์ ซิตี้แบงก์ 

  • เกาะติดข่าวที่นี่
  • Website : tnnthailand.com
  • Facebook : TNNONLINE
  • Facebook Live : TNN LIVE
  • Twitter : TNNONLINE
  • Line : @TNNONLINE
  • Youtube official : TNNONLINE
  • Instagram : TNN_ONLINE
  • Tiktok : @TNNONLINE

รายได้ปีละล้านเสียภาษีเท่าไร

เงินได้สุทธิเกินกว่า 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 25. เงินได้สุทธิเกินกว่า 2,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 4,000,000 บาท เสียภาษีอัตราร้อยละ 30. เงินได้สุทธิเกินกว่า 4,000,000 บาท ขึ้นไป เสียภาษีอัตราร้อยละ 35.

รายได้เท่าไรเสียภาษี 2564

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2564 (สำหรับยื่นแบบในช่วงต้นปี2565)
เงินได้สุทธิ(บาท)
อัตราภาษี (%)
ภาษีที่ต้องจ่ายแต่ละขั้น (บาท)
150,001-300,000
5%
7,500
300,0001-500,000
10%
20,000
500,0001-750,000
15%
37,500
แชร์วิธีคำนวณ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ด้วยตนเองก่อน ยื่นภาษี 2564 - TNNwww.tnnthailand.com › news › tnnexclusivenull

รายได้ 7 ล้านเสียภาษีเท่าไร

อัตราภาษีแบบขั้นบันได ตามรายได้ที่ได้รับ 500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษี 15% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 37,500 บาท) 750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 50,000 บาท) 1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25% (ภาษีที่ต้องเสียในขั้นนี้คือ 250,000 บาท)

รายได้ปีละ2ล้านเสียภาษีเท่าไร

สรุปรายได้ 2 ล้านบาทเสียภาษีน้อยที่สุดคือ 10,000 บาท ตามที่กรมสรรพากรบอก (รายได้ 2 ล้านบาททำธุรกิจขาดทุนก็ต้องเสียภาษีขั้นต่ำ 10,000 บาท จะแตกต่างกับนิติบุคคลที่ขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี และยกผลขาดทุนสะสมไปใช้ปีถัดไปได้)