ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทางทิศใด

การขึ้น-และตกของดวงดาว

เมื่อ :

วันจันทร์, 24 กุมภาพันธ์ 2563

          หลายคนเรียนรู้เรื่องราวของดวงดาวและท้องฟ้าจากตำราด้วยการท่องจำ แล้วก็รู้สึก ว่าเรื่องของดวงดาวและท้องฟ้าเป็นเรื่องห่างไกลเข้าใจยาก  แท้จริงนั้นดาราศาสตร์ คือ เรื่องราวของดวงดาวและท้องฟ้าที่เริ่มมาจากการดูดาวดูฟ้า โดยคิดว่าตัวเองสนใจและอยากจะรู้อะไร  เมื่อเริ่มหัดดูดาวโดยมีเป้าหมายอยากจะรู้จักดาวบนท้องฟ้า ดวงโน้น ดวงนั้นชื่ออะไร หรืออยากจะดูดวงนี้ ดวงนั้น ควรจะออกไปดูเมื่อใดเห็นอยู่ทางไหน ถ้าต้องการรู้รายละเอียดเพิ่มเติมจะหาได้ที่ไหน สิ่งเหล่านี้เกิดเป็นคำถามขึ้นมาในหัวแล้วจึงเริ่มมาศึกษาหาข้อมูล  หาคำอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นคำอธิบายอาจเปลี่ยนไปได้ เมื่อมีการค้นพบข้อมูลใหม่ๆ ซึ่งก็มาจากการดูดาวดูฟ้านั่นเอง

ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทางทิศใด

ภาพดวงดาว
ที่มา https://pxhere.com/en/photo/1359679

          เมื่อโลกหมุนจากตะวันตกไปตะวันออกไปพร้อมกับท้องฟ้าของเรา ขณะที่ขอบฟ้าตะวันออกสัมผัสดาว เรียกว่า ดาวขึ้น เมื่อขอบฟ้าตะวันตกพบดาว เรียกว่า ดาวตก เมื่อเมริเดียนสัมผัสดาวคือตำแหน่งที่ดาวอยู่สูงสุดจากขอบฟ้า เรียก ทรานสิท (transit) ถ้าเห็นดาวผ่านเมริเดียนไปทางตะวันตกเรียกว่า ทรานสิทบน (upper transit) ถ้าเห็นดาวผ่านเมริเดียนไปทางตะวันออก (ต่ำกว่าดาวเหนือ) เรียกว่า ทรานสิทล่าง (lower transit) จะเห็นได้ว่าทุกอย่างในอวกาศนอกโลก ขึ้น – ตก เพราะโลกหมุนรอบตัวเอง ดาวไม่เคลื่อนที่อย่างที่ตาเห็น ดาวไม่ได้เคลื่อนรอบโลกจากตะวันออกไปตะวันตกรอบละ 1 วัน แต่โลกหมุนในทิศตรงข้ามโดยเอาขอบฟ้าไปพบดาว และเพราะการพาขอบฟ้าตะวันตกไปพบดวงอาทิตย์ปรากฏการณ์ดวงอาทิตย์ตกจึงเกิดขึ้น บนโลกมีทิศตะวันตก – ตะวันออกก็เพราะเหตุนี้นั่นเอง ถ้าโลกไม่หมุนรอบตัวเอง ดวงดาวจะไม่ขึ้น – ตก เช่นเดียวกับเมื่ออยู่ในอวกาศไกลออกไปก็จะไม่เห็นการขึ้น – ตกของดวงดาวแต่จะเห็นดาวอยู่รอบตัวของเรา เห็นดาวอยู่บนผิวทรงกลมฟ้า (Celestial sphere)

          ปรากฏการณ์ดาวขึ้น-ตกเป็นผลสะท้อนจากการหมุนรอบตัวเองของโลก ซึ่งหมุนจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก โลกกลม ๆ เมื่อหมุนรอบตัวเองจะหมุนรอบแกนที่ผ่านขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ แกนที่ผ่านขั้วโลกเหนือจะชี้ ไปยังขั้วฟ้าเหนือซึ่งมีดาวเหนืออยู่ใกล้ ๆ ดังนั้น เมื่อโลกหมุนจากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ดาวจึงวนเป็นวงกลม รอบดาวเหนือ โดยวนจากด้านทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก  เส้นทางการขึ้น-ลงของดวงดาวทั้งหลายจะขนานกัน ในประเทศไทยดาวที่ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออกพอดีจะมี เส้นทางขึ้น-ตกเอียงไปทางทิศใต้เล็กน้อย ทำให้จุดที่ขึ้นไปสูงสุดอยู่ทางทิศใต้ของจุดเหนือศีรษะเป็นมุมเท่ากับ ละติจูด และคล้อยต่ำลงไปตรงจุดทิศตะวันตกพอดี รวมเวลาตั้งแต่ขึ้นถึงตกเท่ากับ 12 ชั่วโมงพอดี  ดาวที่ขึ้นเฉียงไปทางใต้ของจุดทิศตะวันออกเป็นมุมเท่าใด จะไปตกทางทิศตะวันตกเฉียงไปทางทิศใต้เป็น มุมเท่านั้นโดยจะมีเวลาอยู่เหนือขอบฟ้ายาวมากกว่า 12 ชั่วโมง โดยเส้นทางขึ้น-ตกขนานกับเส้นที่ขึ้นตรงจุดทิศตะวันออก  ดาวเหนืออยู่สูงจากขอบฟ้าทิศเหนือเป็นมุมเท่ากับละติจูด 15 องศาตลอด 24 ชั่วโมง เส้นทางขึ้น – ตกของดาวอาจหาได้จากส่วนโค้งของวงกลมบนท้องฟ้าที่มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ดาวเหนือ และรัศมีเท่ากับระยะที่ดาวห่างจากดาวเหนือนั่นเอง

          ผลที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของโลก

          -  ดาวขึ้น – ตก เพราะโลกหมุนรอบตัวเองจากตะวันตกไปตะวันออกรอบละ 1 วัน

          -  เส้นทางขึ้น – ตกของดาวฤกษ์จะคงที่เหมือนเดิมทุกคืนตลอดชีวิตของเรา แต่จะขึ้นเร็วหรือมาอยู่ที่เก่าในเวลาที่เร็วขึ้นวันละ 4 นาที เพราะโลกโคจรอบดวงอาทิตย์

          -  เส้นทางขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์เปลี่ยนไปทุกวัน เพราะแกนที่โลกหมุนรอบเอียงจากแนวตั้งฉากกับแนวระนาบทางโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์เป็นมุมประมาณ 23.5 องศา

          -  เส้นทางขึ้น – ตกของดวงจันทร์ดาวเคราะห์เปลี่ยนไปทุกวัน เพราะดวงจันทร์โคจรรอบโลกและดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์

          สรุปได้ว่าโลกหมุนรอบตัวเองทำให้เกิดปรากฏการณ์ขึ้นตกของดวงดาว  ทำให้เกิดทิศ และกลางวันกลางคืน ส่วนโลกเคลื่อนรอบดวงอาทิตย์ทำให้เห็นดาวขึ้นเร็วทุกวัน วันละประมาณ 4 นาที หรือเดือนละ 2 ชั่วโมง บนท้องฟ้ามีดาวที่เป็นต้นกำเนิดของชื่อวัน และคนไทยตั้งชื่อเดือนสุริยคติตามชื่อกลุ่มดาวจักรราศี สิ่งที่อยู่บนท้องฟ้านั้นมีความสวยงามเสมอทั้งที่เห็นด้วยตาเปล่า และภาพที่ได้จากกล้องโทรทรรศน์

แหล่งที่มา

Catherine Zuckerman. Everything you wanted to know about stars.  Retrieved 3 October 2019, Fromhttps://www.nationalgeographic.com/science/space/universe/stars/

Rising Stars (comics).  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จากhttps://en.wikipedia.org/wiki/Rising_Stars_(comics)

นางมาลินี  ศิร. ปรากฏการณ์ที่เกิดจากโลกหมุนรอบตัวเอง.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จาก http://astro.rajsima.ac.th/u1_2.html 

ครูวิทยาศาสตร์. โลกและดวงดาว.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จาก http://kruwitka.blogspot.com/2011/08/blog-post_26.html

ณัฐภัสสร เหล่าเนตร์. ประวัติการศึกษาดาราศาสตร์จนถึงปัจจุบัน.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จาก http://kruwitka.blogspot.com/2011/08/blog-post_26.html

การหมุนรอบตัวเองของโลก.  สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จาก http://nso.narit.or.th/index.php/2017-11-25-10-50-19/2017-12-07-04-56-44/2017-12-07-09-17-37/2017-12-09-02-57-45/2017-12-15-08-20-10

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

ปรากฏการณ์ของดาว, การหมุนรอบตัวเองของโลก, ดาวเหนือ,ดวงดาว, ดาวขึ้น, ดาวตก

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันพฤหัสบดี, 03 ตุลาคม 2562

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

ระดับชั้น

ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6

ช่วงชั้น

มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

คุณอาจจะสนใจ

ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทางทิศใด

Hits

ดวงอาทิตย์ขึ้นและตกทางทิศใด
(21364)

ในการที่จะศึกษาหรือทำความเข้าใจในเรื่องของดาราศาสตร์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากดวงดาวทั้งหลายรวม ...