งบประมาณแผ่นดินต่างจากงบประมาณเอกชน ในเรื่องใด

ผมอยากทราบความแตกต่างระหว่างงบประมาณแผ่นดิน กับงบประมาณของเอกชนว่า...

กระทู้คำถาม

เศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์

คือผมอยากทราบ ความแตกต่างระหว่างงบประมาณแผ่นดิน กับ งบประมาณของ เอกชนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งทั้ง2นี้มีการพัฒนาไปหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะอย่างไร และทั้ง2รูปแบบนี้มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร

ปล.ท่านใดพอจะมีข้อมูลที่จะแบ่งปันผมขอขอบพระคุณมากนะครับ ขอบคุณครับ

0

0

งบประมาณแผ่นดินต่างจากงบประมาณเอกชน ในเรื่องใด

สมาชิกหมายเลข 912487

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลและการจัดหารายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา 1 ปี ดังนั้น จึงเรียกว่า งบประมาณแผ่นดินประจำปี ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 1 ตุลาคมของปีไปจนถึงวันที่ 30 กันยายนของปีถัดไป สำนักงบประมาณเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำงบประมาณแผ่นดินและนำเสนอเพื่อพิจารณา เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงตราออกมาเป็นพระราชบัญญัติงบประมาณประจำปีเพื่อใช้บังคับต่อไป
การจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รัฐบาลมีการวางแผนที่จะดำเนินการไว้ล่วงหน้าและรายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนประกอบของอุปสงค์รวม การวางแผนการใช้จ่ายและการหารายรับจะทำให้สามารถคาดคะเนสภาพเศรษฐกิจในปีต่อไปได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้รัฐบาลบริการการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในขอบเขตของงบประมาณที่จัดทำขึ้น

 

ประเภทของงบประมาณแผ่นดิน

งบประมาณแผ่นดินแบ่งได้ 2 ประเภท คือ
1. งบประมาณสมดุล (Balanced budget) หมายถึง งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาลรวมกันแล้วเท่ากับรายจ่ายของรัฐบาลพอดี ดังนั้น รัฐบาลไม่จำเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่ายหรือนำเงินคงคลังออกมาใช้
2. งบประมาณไม่สมดุล (Unbalanced budget) หมายถึง งบประมาณที่รายได้ของรัฐบาลไม่เท่ากับรายจ่ายของรัฐบาล ถ้ารายได้ของรัฐบาลสูงกว่ารายจ่ายของรัฐบาลเรียกว่า งบประมาณเกินดุล (Surplus budget) ซึ่งรัฐบาลจะมีรายได้เหลือจากการใช้จ่าย เงินคงคลังของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้น ถ้ารายได้ของรัฐบาลต่ำกว่ารายจ่ายของรัฐบาล เรียกว่า งบประมาณขาดดุล (Deficit budget) ซึ่งรัฐบาลต้องกู้เงินหรือนำเงินคงคลังออกมาใช้จ่าย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาในแง่ของประมาณการรายรับและรายจ่ายของรัฐบาลแล้ว งบประมาณแผ่นดินจะต้องสมดุลเพื่อมิให้เกิดปัญหาในด้านต่างๆ ตามมา

 

ความสำคัญของงบประมาณ

                1.เป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุม

                2.เป็นเครื่องมือในการบริหาร

                3.เป็นเครื่องมือเพื่อดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ

 

 แหล่งที่มาของเงินงบประมาณ

ตามปกติในแต่ละปีงบประมาณ รัฐบาลจะต้องกำหนดงบประมาณขึ้น 2 วงเงิน คือ งบประมาณรายรับและงบประมาณรายจ่าย การประมาณการงบประมาณรายรับเป็นสิ่งสำคัญ และมีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ จึงควรมีการกำหนดงบประมาณรายรับอย่างละเอียดและรอบคอบ โดยคำนึงตัวแปรหลาย ๆ อย่างประกอบ เช่น รายได้ประชาชาติ ระบบและเวลาของการจัดเก็บภาษีอากร ภาวะเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ฯลฯ สำหรับงบประมาณรายรับ มีแหล่งที่มา ๓ แหล่ง ดังนี้

 

                      1. รายได้ ประกอบด้วย

 

1.1 รายได้ที่เป็นภาษีอากร (TAX REVENUE)

 

1.1.1 ภาษีอากรทั่วไป (GENERAL TAXES)

1.1.2 ภาษีเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง (EARMARKED TAXES) 

 

1.2 รายได้ที่มิใช่ภาษีอากร (NONTAX REVENUE)

 

1.2.1 รายได้จากการประกอบธุรกิจของรัฐบาล ซึ่งอาจในรูปของรัฐวิสาหกิจหรือในรูปของหน่วยงานอื่น ๆ

 

1.2.1.1 เพื่อดำเนินการผลิตสินค้าหรือบริการบางอย่างที่จำเป็นต่อความเป็นอยู่ของประชาชน

 

1.2.1.2 เพื่อเป็นการให้สวัสดิการแก่ประชาชน โดยรัฐบาล     เป็นผู้ผลิตสินค้า หรือบริการบางอย่างและขายให้แก่ประชาชนในราคาที่ต่ำ

 

1.2.1.3 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการหารายได้ รัฐบาลอาจจะทำการผูกขาดการผลิตหรือจำหน่ายสินค้า และบริการบางอย่างเพื่อเป็นเครื่องมือในการหารายได้ของรัฐบาล เช่น การผูกขาดในการผลิตหรือจำหน่ายสุราและยาสูบ เป็นต้น

 

1.2.2 รายได้จากการบริหารงาน รายได้ประเภทนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับรายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการโดยรัฐ ได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต และค่าปรับ เป็นต้น

 

1.2.3 รายได้จากการบริจาค รายได้ประเภทนี้ ถือเป็นการให้เปล่า   โดยสมัครใจของผู้ให้ ซึ่งอาจเป็นการบริจาคของเอกชนในประเทศหรือต่างประเทศหรือการบริจาคของรัฐบาลต่างประเทศ

 

                   2. การกู้ยืมหรือการก่อหนี้สาธารณะในแต่ละปี หากรัฐบาลจัดเก็บรายได้หรือมีรายรับไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้จ่ายในกิจการต่าง ๆ ของรัฐบาลตามแผนงานและโครงการที่จำเป็นและก่อให้เกิดความก้าวหน้าของประเทศ รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องหาเงินมาใช้จ่าย อาจจะโดยการใช้วิธีกู้ยืมเงินจากประชาชน หรือกู้ยืมเงินจากต่างประเทศ

 

                    3. เงินคงคลัง คือเงินที่เก็บอยู่ในคลัง ซึ่งสะสมและได้มาจากหลายทาง อาทิงบประมาณเหลือจ่ายจากปีงบประมาณก่อน จากการรับชำระหนี้คืน ฯลฯ ซึ่งรัฐบาลมีสิทธินำออกมาใช้ได้ตามกฎหมายพระราชบัญญัติเงินคงคลัง แต่จะต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสภาวะการคลังและการเงินของประเทศ

 

ความแตกต่างระหว่างงบประมาณแผ่นดินกับงบประมาณเอกชน

 

              1.ความแตกต่างในเรื่องการกำหนดรายรับ

              2.ความแตกต่างในเรื่องวัตถุประสงค์ในการจัดทำงบประมาณ

              3.ความแตกต่างในเรื่องลักษณะของสินค้าและบริการ

              4.ความแตกต่างในลักษณะของการเป็นเจ้าของกิจการ

              5.ความแตกต่างในลักษณะของการรวมอำนาจและการกระจายอำนาจ

 

ลักษณะที่ดีของงบประมาณแผ่นดิน

  

 

               1.ต้องเป็นศูนย์รวมเงินของแผ่นดิน

               2.งบประมาณจะต้องถือหลักพัฒนา

               3.งบประมาณจะต้องถือหลักประหยัด

               4.งบประมาณจะต้องมีระยะเวลาที่เหมาะสม

 

นโยบายงบประมาณ

 

              1.งบประมาณสมดุล(Balanced Budget)

              2.งบประมาณขาดดุล(Deficit  Budget)

  3.งบประมาณเกินดุล(Surplus  Budget)

Surplus Budget แตกต่างจาก deficit Budget อย่างไร

2. งบประมาณไม่สมดุล (Unbalance Budget) หมายถึง งบประมาณที่เป็นรายได้ ของรัฐรวมกันแล้วไม่เท่ากับรายจ่ายของรัฐ ถ้า รายได้ มากกว่า รายจ่าย เรียกว่า "งบประมาณเกินดุล" (Surplus Budget) ถ้า รายได้ น้อยกว่า รายจ่าย เรียกว่า "งบประมาณขาดดุล" (Deficit Budget)

งบประมาณแผ่นดินมีความสําคัญอย่างไร

การจัดทำงบประมาณแผ่นดินเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้รัฐบาลมีการวางแผนที่จะดำเนินการไว้ล่วงหน้า และรายจ่ายของรัฐบาลเป็นส่วนประกอบของอุปกรณ์รวม การวางแผนการใช้จ่ายและการหารายได้จะทำให้สามารถคาดคะเนสภาพเศรษฐกิจในปีต่อไปได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้รัฐบาลบริการการคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในขอบเขตของงบประมาณที่จัดทำขึ้น

งบประมาณปผ่นดินเน้นเรื่องใด

งบประมาณแผ่นดิน หมายถึง แผนเกี่ยวกับการใช้จ่ายของรัฐบาลและจัดหารายรับ ให้เพียงพอกับการใช้จ่ายในรอบระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติมีระยะเวลา ๑ ปี ดังนั้น จึงเรียกว่า งบประมาณ แผ่นดินประจำปี ซึ่งจะเริ่มต้นในวันที่ 9 ตุลาคมของทุกปีไปจนถึงวันที่ ๓๐ กันยายนของปีถัดไป สำนัก

งบประมาณแผ่นดินมีอะไรบ้าง

งบประมาณแผ่นดิน (government budget) หมายถึง แผนการทางการเงินของรัฐบาลที่ จัดท าขึ้นเพื่อแสดงรายรับและรายจ่ายที่ก าหนดไว้สาหรับด าเนินการตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเวลาปีหนึ่ง ๆ การจัดการด้านงบประมาณแผ่นดินยังเน้นการจัดการด้านการคลังประการ หนึ่งของรัฐบาล งบประมาณแผ่นดินนัยว่ามีความสาคัญอย่างยิ่งในการบริหารประเทศ ...