ดนตรีมีอิทธิพลต่อสังคมในด้านใดบ้าง

ดนตรีมีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน มีคุณค่าต่อชีวิตไม่ว่าจะสุข ทุกข์ เศร้า เหงาและรัก 
  มาสเตอร์ประเสริฐศักดิ์   ขำศิริ

ดนตรีนั้นเป็นสื่อภาษาสากลที่ชนทุกชาติทุกภาษาสามารถเข้าใจได้ดี แม้ว่าอาจจะพูดกันไม่รู้เรื่อง แต่สามารถร่วมกันเล่นดนตรีได้ เสียงดนตรีเป็นสิ่งที่กล่อมหัวใจของคนให้อ่อนโยน เยือกเย็นดับทุกข์ได้ชั่วขณะการรู้จักฟังดนตรีด้วยความนิยมและรู้สึกซาบซึ้งในรสของเพลงนั้น มีประโยชน์สำหรับชีวิตอย่างมาก คือ ในชีวิตประจำวัน ดนตรีมีประโยชน์ในการผ่อนคลายอารมณ์ ในเวลาที่รู้สึกเคร่งเครียดหรือเร่าร้อนด้วยโทสะ ดนตรีก็ช่วยชโลมใจให้เย็นลง เป็นเพื่อนในเวลาเหงา กระตุ้นให้รู้สึกคึกคักกล้าหาญในเวลาที่หวาดกลัวภัย อาหารมีประโยชน์ทางกายฉันใด ดนตรีก็มีประโยชน์ทางใจฉันนั้น เพราะเมื่อเราได้ฟังเพลงที่ไพเราะ เรารู้สึกซาบซึ้งและรู้สึกกระหยิ่มอิ่มอกอิ่มใจ เช่นเดียวกับเมื่อเราเห็นสิ่งที่สวยงามทำให้ชีวิตมีความสดชื่นน่าภิรมย์ยิ่งนัก ดนตรีเป็นภาษานานาชาติ เข้าใจกันได้ไม่เลือกเชื้อชาติ  เป็นสื่อกลางสำหรับความสัมพันธ์ ความเข้าใจอันดีต่อกันของมวลมนุษย์ทั่วโลก ไม่แบ่งอายุ ไม่แบ่งชั้นวรรณะ และเชื้อชาติ ดังจะเห็นได้จากการบรรเลงดนตรี ร่วมวงกันระหว่างนานาชาติซึ่งพูดกันคนละภาษา แต่ภาษาดนตรีนั้นทุกคนเข้าใจ ดนตรีแสดงถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และที่สำคัญยิ่งคือในโลกของดนตรีนั้นเป็นโลกแห่งความสันติ ศิลปะการดนตรีเป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งแห่งความเป็นอยู่ของ อารยชนในด้านความรู้และความบันเทิงอันสูงค่า เป็นขนบธรรมเนียมที่สร้างขึ้น เป็นการวางรากฐานแห่งความเจริญ และเป็นสิ่งแสดงถึงวัฒนธรรม อันเป็นสมจินตนาการบวกกับดนตรี  เช่น ท่อน intro ขึ้นด้วยกีตาร์โปร่งกรีดสายใสๆ บรรเลงแบบอะคูสติกจะเป็นบรรยากาศสบาย ๆ ผ่อนคลายท่ามกลางทะเลหรือขุนเขา ลมพัดเบาๆในยามค่ำ ส่วนเรื่องอารมณ์สื่อถึงอารมณ์รักใส ๆ แอบเศร้า แต่ถ้าเป็นจังหวะ rock หรือ metal หนัก ๆ จะเกิดความฮึกเหิม เปลี่ยนความโกรธความแค้น ให้มาเป็นพลัง เกิดความมุ่งมั่นมีความมั่นใจ

เสียงดนตรีเป็นภาษาสากลที่ให้สื่อสารกันทั่วโลก สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของมนุษย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์มีความคุ้นเคยกับดนตรี ทั้งในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การแสดงออก การแสดงความสามารถชั้นสูงที่บุคคลพึงกระทำได้ กิจกรรมดนตรีช่วยระบายอารมณ์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดขณะทำงาน หรือเวลาว่าง กล่าวโดยสรุป ดนตรีเป็นกิจกรรมนันทนาการที่ต้องมีควบคู่กับสังคม และเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันที่มีบทบาทต่อบุคคล ชุมชนและประเทศชาติ   สามารถเสริมสร้างให้บุคคลมีรสนิยม มีเสน่ห์ มีคุณวุฒิและสามารถทำให้การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายเกิดความพร้อม เพราะในขณะที่ฟังเสียงดนตรีนั้น สมองจะหลั่งฮอร์โมนเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ซึ่งเป็นสารก่อให้เกิดความสุขออกมา

แหล่งที่มา : http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=168

บทบาทของดนตรีต่อสังคมไทย

๑) บทบาทของดนตรีไทย หมายถึง ดนตรีที่มีแบบแผน และมีรูปแบบเป็นดนตรีที่เป็นตัวแทนของดนตรีประจำชาติ เช่น วงปี่พาทย์ วงเครื่องสายไทย วงมโหรี วงกลองชนะ  วงบัวลอย เป็นต้น  โดยดนตรีไทยที่ปรากฏอยู่ในงาน และกิจกรรมต่างๆดังต่อไปนี้

        ๑.๑ พระราชพิธีของราชสำนัก

เมื่อมีการจัดงานพระราชพิธีต่างๆ จะมีการนำดนตรีเข้าไปบรรเลง เช่น

วงปี่พาทย์ในงานจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

พิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร

งานกฐินพระราชทาน

การบรรเลงดนตรีในงานพระบรมศพ  งานพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งนิยมบรรเลงด้วย

วงปี่กลอง วงปี่พาทย์นางหงส์ เป็นต้น

๑.๒ งานพิธีของราษฎร และในกิจกรรมอื่นๆ 

งานบุญ นิยมนำวงปี่พาทย์มาบรรเลงในงาน เช่น

งานบวชนาค

งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่

งานทำบุญเลี้ยงพระ

สำหรับงานมงคลลักษณะอื่นๆ เช่น งานมงคลสมรส งานเลี้ยงรับรอง  นิยมบรรเลงด้วยวงเครื่องสายไทยหรือวงมโหรี เป็นต้น

๑.๓งานพิธีของราษฎร ประเภทงานศพ

นิยมบรรเลงด้วยวงปี่พาทย์นางหงส์  วงปี่พาทย์มอญ  วงบัวลอยหรือวงแตรวง

๑๔ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง

การแสดงโขน หนังใหญ่ หุ่นกระบอก หุ่นละครเล็ก ละคร  ลิเก

นิยมใช้วงปี่พาทย์ในการบรรเลงประกอบการแสดง

๑.๕ ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์

จะนิยมใช้ดนตรีประกอบในเนื้อเรื่องที่แสดงถึงความเป็นไทย เช่น

ภาพยนตร์ เรื่อง โหมโรงละครพื้นบ้าน เรื่อ ปลาบู่ทองเป็นต้น

๑.๖ ดนตรีที่ใช้ประกอบการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆ

เช่น เชิญชวนเที่ยวงานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรม งานเทศกาล  งานรณรงค์ด้านศิลปวัฒนธรรม  การจัดขบวนแห่

นิยมนำขบวนแห่ด้วยวงแตรวง

๒ บทบาทของดนตรีพื้นบ้าน

ดนตรีพื้นบ้านของแต่ละกลุ่มชนที่อยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ที่ได้มีการนำมาบรรเลง ขับร้องในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในงานมงคล  งานอวมงคล  งานรื่นเริง และประกอบการแสดง  มีดังนี้

ภาคเหนือ

ได้แก่ วงสะล้อซึงขลุ่ย (วงสะล้อซอซึง) วงปี่จุม  วงป้าดฆ้อง  วงตึ่งโนง

ประเภทของเพลงและทำนองร้อง เช่น อื่อ  ซอ ค่าว  ฮ่ำ   ซอจะปุ ซอเงี้ยวซอดาด เป็นต้น

ประเภทการแข่งขันหรือการบรรเลงทั่วไป เช่น วงกลองสะบัดชัย

ภาคอีสาน

ได้แก่ วงพิณแคนโหวดโปงลาง  วงกันตรึม  วงหมอลำ วงกลองตุ้ม  วงกลอง-ยาว

ประเภทเพลงและทำนอง เช่น เพลงโคราช ลำเต้ย  ลำกลอน  ลำพื้น  เจรียง เป็นต้น

หมอลำ จะแบ่งออกเป็น ลำกลอน  ลำหมู่

ลำกลอน  ได้แก่ ลำชิงชู้  ลำโจทย์แก้แปลถาม ลำกลอนซิ่ง

ลำหมู่  จะเป็นลำเรื่องต่อกลอน ลำเป็นเรื่องเป็นราว แบ่งเป็นทำนองต่างๆ เช่น

ทำนองขอนแก่น  ทำนองกาฬสินธุ์  ทำนองสารคาม  ทำนองอุบล            ทำนองลำเพลิน 

ภาคกลาง

ได้แก่ วงปี่พาทย์พื้นบ้าน  แตรวง  วงกลองยาว

ประเภทของเพลงและทำนองการขับร้อง เช่น  เพลงกล่อมลูก  เพลงฉ่อย  เพลงอีแซว   

เพลงร่อยพรรษา  เพลงรำภาข้าวสาร  เพลงสงฟาง  เพลงรำโทน  เป็นต้น

ภาคใต้

ได้แก่  วงดนตรีโนรา  วงดนตรีหนังตะลุง  วงกาหลอ  วงดนตรีประกอบการแสดงมะโย่ง

วงดนตรีรองเง็ง วงดนตรีในพิธีตือรี  วงดนตรีในพิธีกรรมลิมนต์

ประเภทของเพลงและทำนองการขับร้อง  เช่น เพลงบอก  เพลงเรือ เพลงนา  เพลงคำตัก  เป็นต้น

 อิทธิพลของดนตรีต่อสังคมไทย

ดนตรีเป็นเรื่องของเสียงที่มีความสัมพันธ์กับวิถีชีวิตของมนุษย์  เสียงดนตรีช่วยสร้างเสริมจิตใจของมนุษย์  จรรโลงให้มีความสุข  อิ่มเอิบ  คุณค่าของดนตรีสนองตอบต่อกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ  เช่น

งานพระราชพิธี

งานพิธีกรรมของประชาชน

งานรื่นเริง

ประกอบการแสดงละคร การแสดงภาพยนตร์

ใช้ในรูปแบบการเรียนการสอน

การโฆษณา  ประชาสัมพันธ์

ครูเทพเจ้าดนตรีไทย

ครูเทพเจ้าที่บรรดาเหล่าศิลปิน ที่นักดนตรีไทยให้ความเคารพนับถือมีอยู่หลายองค์  ความเชื่อนี้ดำเนินตามแนวทางของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู เป็นการน้อมนำความเชื่อ การแสดงความเคารพนับถือ และความกตัญญูกตเวทีต่อเทพเจ้า เพราะตามตำนานและคัมภีร์ที่ได้ปรากฏกล่าวไว้ว่า เทพเจ้าแห่งดนตรีเป็นผู้อุปการคุณสร้างงานศิลปะ คือ ทั้งการสร้างดนตรี  แต่งเพลง บรรเลงเพลงด้วยเครื่องดนตรี และ การขับร้อง ครูเทพเจ้าดนตรีไทยที่ควรรู้จัก มีดังนี้

พระวิศณุกรรม
 (เทพเจ้าแห่งการช่างทุกประเภท)

ดนตรีมีอิทธิพลต่อสังคมในด้านใดบ้าง

   •เทพเจ้าที่นับถือกันว่าเป็นนายช่างใหญ่ของเทวดา เป็นเจ้าแห่งช่างทุกประเภททั้ง ช่างเขียน ช่างปั้น  ช่างก่อสร้าง พระวิศณุกรรมเป็นผู้ออกแบบสร้างโรงละครไว้ ๓ ขนาด คือ ขนาดใหญ่รูปสี่เหล่ยมผืนผ้า  ขนาดกลางรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และขนาดเล็กรูปสามเหลี่ยม เพื่อใช้เป็นที่สอนให้ชาวมนุษย์รู้จักร้องรำทำเพลง



พระปัญจสีขร  

(ผู้เป็นเลิศด้านการดีด)

ดนตรีมีอิทธิพลต่อสังคมในด้านใดบ้าง

เทพเจ้าผู้ที่มีความเป็นเลิศด้านการดีด และการขับลำนำ  ตามตำนานกล่าวไว้ว่า ในอดีตชาติพระปัญจสีขรเป็นเด็กเลี้ยงโคไว้ผม ๕ แหย่มมีชื่อเรียกว่า ปัญจสิขะเป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในการสร้างกุศล ได้สร้างสาธารณสถาน เช่น ศาลา สระน้ำ ถนน ยานพาหนะ เป็นต้น แต่ต้องตายขณะอยู่ในวัยหนุ่ม จึงได้เกิดไปเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราชิกา มีชื่อว่า ปัญจสิคนธรรพ์เทพบุตร  มีร่างกายเป็นสีทอง  มีมงกุฎห้ายอด

พระปรคนธรรพ  

(เทพเจ้าผู้คิดและสร้างพิณคันแรกขึ้น)

ดนตรีมีอิทธิพลต่อสังคมในด้านใดบ้าง

เทพเจ้าเป็นผู้ยอดแห่งคนธรรพ์ นามที่แท้จริงคือ พระนารทมุนี เป็นผู้คิดและและสร้างพิณคันแรกขึ้น นับถือว่าเป็นผู้มีความชำนาญในการขับร้อง และบรรเลงดนตรี  ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับร้องและบรรเลงดนตรีกล่อมพระเป็นเจ้า และเทพยนิกร พระนารทมุนีเป็นครูเฒ่าและเป็นครูใหญ่ในวิชาสำคัญของพวกคนธรรพ์

ปัจจัยใดที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับจากสังคม

ดนตรีเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคนในสังคม การสร้างสรรค์งานดนตรีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน แม้ว่าบางช่วงสมัยดนตรีอาจได้พบกับสภาวะวิกฤติบ้าง แต่ก็ยังสามารถดำรงคุณค่าให้อยู่คู่สังคมในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์

ดนตรีมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมอย่างไร *

เสียงดนตรีเป็นภาษาสากลที่ให้สื่อสารกันทั่วโลก สามารถถ่ายทอดความรู้สึกของมนุษย์จึงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์มีความคุ้นเคยกับดนตรี ทั้งในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การแสดงออก การแสดงความสามารถชั้นสูงที่บุคคลพึงกระทำได้ กิจกรรมดนตรีช่วยระบายอารมณ์ เป็นการผ่อนคลายความเครียดขณะทำงาน หรือเวลาว่าง กล่าวโดย ...

ดนตรีมีประโยชน์และคุณค่าในการพัฒนาด้านใดบ้าง

7 ประโยชน์ของดนตรี ช่วยพัฒนาของลูกน้อย.
1 ช่วยพัฒนาด้านสมอง เสียงเพลงจะช่วยให้เด็กๆรู้สึกผ่อนคลายและกระตุ้นการทำงานของสมองให้ทำงานได้อย่างเต็มที่.
2 ช่วยพัฒนาภาษา ... .
3 ช่วยกระตุ้นกล้ามเนื้อ ... .
4 ช่วยให้จิตใจมั่นคง ... .
5 บำบัดอาการป่วยได้ ... .
6 ช่วยให้กล้าแสดงออก ... .
7 ช่วยเข้าสังคมได้ง่ายขึ้น.

เพลงปลุกใจมีอิทธิพลต่อคนในสังคมอย่างไร

เพลงปลุกใจ คือ เพลงที่สร้างความคึกคัก ฮึกเหิม เร้าใจ มีจังหวะหนักแน่น เข้มแข็ง ในสมัยอดีตมักใช้บรรเลงยามศึกสงคราม เพื่อให้เหล่าทหารได้ฟังแล้วเกิดความฮึกเหิม กล้าหาญ รักชาติ และสร้างความสามัคคีให้คนในชาติ