ความ หมายความ สำคัญ ของจดหมายสมัครงาน

คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้


คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน


คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม

ในการสมัครงานในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง แน่นอนว่าสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเรซูเม่ ซึ่งเชื่อว่าหลาย ๆ คนรู้จักเรซูเม่และรู้วิธีเขียนเรซูเม่กันเป็นอย่างดี แต่เป็นที่น่าแปลกใจมากว่าคนวัยทำงานจำนวนไม่น้อยไม่อาจจะคุ้นหูกับจดหมายสมัครงาน แต่ไม่ได้รู้จักกับสิ่งนี้อย่างถ่องแท้จริงจัง.

และเพื่อให้คุณผู้อ่านที่กำลังอยู่ในวัยทำงานรู้จักกับจดหมายสมัครงานกันให้มากขึ้น GreatDay HR ก็ได้นำบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเขียนจดหมายสมัครงาน พร้อมอธิบายว่ามีความแตกต่างจากเรซูเม่อย่างไรมาฝากกัน.

จดหมายสมัครงาน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Application Letter หรือที่คนทั่ว ๆ ไปรู้จักกันในชื่อของ Cover Letter จดหมายสมัครงาน คือ เอกสารที่ถูกส่งไปยังองค์กรเพื่อแสดงความสนใจในตำแหน่งงานที่ทางองค์กรเปิดรับสมัครอยู่ จดหมายสมัครงานเป็นสิ่งที่อธิบายว่าผู้สมัครงานเป็นใคร และเน้นถึงความสำเร็จและทักษะของผู้สมัครงาน จดหมายสมัครงานช่วยให้ผู้ว่าจ้างตรวจสอบและคัดกรองใบสมัครที่น่าสนใจ และเมื่อผู้สมัครงานเขียนได้ดี จดหมายฉบับนี้จะอธิบายให้ผู้ว่าจ้งรับทราบว่าทำไมองค์กรจึงควรขอสัมภาษณ์งาน อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่เน้นย้ำถึงคุณสมบัติหลักที่ทำให้ผู้สมัครงานเหมาะสมกับบทบาทหน้าที่นี้ในองค์กร

จดหมายสมัครงานสามารถสร้างความประทับใจให้องค์กรและทำให้ผู้สมัครงานมีความแตกต่างจากผู้สมัครคนอื่น ๆ ในจดหมายสมัครงานสามารถพูดคุยเกี่ยวกับเป้าหมายและแรงบันดาลใจในเส้นทางอาชีพที่สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร สิ่งสำคัญคือต้องพยายามเขียนเพื่อแสดงแง่มุมความคิดและบุคลิกภาพของผู้สมัครงาน

ภายในจดหมายสมัครงาน ผู้สมัครควรเขียนคุณสมบัติ ทักษะที่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์การทำงานก่อนหน้านี้ให้ชัดเจน เพื่อเน้นว่าได้ทำการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในตำแหน่งงานที่สมัครนี้แล้วและเป็นการแสดงให้องค์กรเห็นด้วยว่ามีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมทีม

จุดประสงค์ของการเขียนจดหมายสมัครงาน คืออะไร

จุดประสงค์ของจดหมายสมัครงาน คือ ช่วยให้ผู้สมัครงานมีความโดดเด่นในฐานะผู้สมัครที่มีศักยภาพ เพราะผู้ว่าจ้างบางรายมักให้ความสำคัญกับจดหมายสมัครงาน ในขณะที่บางรายอาจให้ความสำคัญกับเรซูเม่เพียงเท่านั้น แต่การเขียนจดหมายสมัครงานจะช่วยให้ผู้สมัครงานได้รับความสนใจจากทีมผู้ว่าจ้างที่มีความสามารถ นอกจากนี้ การเจียนจดหมายสมัครงาน ยังมีจุดประสงค์ดังต่อไปนี้อีกด้วย

  • เป็นการบอกเล่าเรื่องราวและประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา
  • อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างผู้สมัครงานและองค์กรที่เคยร่วมงานด้วย
  • ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างองค์กรและผู้สมัครงาน
  • ถ่ายทอดความสำเร็จในอาชีพที่สำคัญ ๆ
  • อธิบายประเด็นที่น่าเป็นห่วง และต้องการการพัฒนา

ความแตกต่างระหว่างเรซูเม่และจดหมายสมัครงาน

เรซูเม่และจดหมายสมัครงานนั้นไม่เหมือนกัน! โดยเรซูเม่นั้นเป็นประวัติโดยย่อที่มีเนื้อหาในการแนะนำตัวเองว่าผู้สมัครงานเป็นใคร มาจากไหน เคยผ่านงานอะไรมาบ้าง และมีทักษะคร่าว ๆ อะไร ส่วนจดหมายสมัครงาน คือ การเขียนคร่าว ๆ ว่าทำไมผู้สมัครงานถึงสนใจสมัครงานในตำแหน่งนี้ และองค์กรจะได้อะไรหากทำการว่าจ้างเป็นพนักงาน สรุปง่าย ๆ ก็คือ เรซูเม่ คือ ประวัติย่อและประวัติการทำงาน ส่วนจดหมายสมัครงาน คือ ข้อความที่มีรายละเอียดมากกว่า ช่วยให้ผู้สมัครงานสามารถบอกนายจ้างได้ว่าทำไมถึงเป็นผู้สมัครงานที่เหมาะสมที่สุดในตำแหน่งงานนี้

แล้วแบบนี้ อะไรสำคัญกว่ากัน… ระหว่างเรซูเม่และจดหมายสมัครงาน

คำตอบก็คือ ทั้ง 2 อย่างมีความสำคัญพอ ๆ กัน โดยการแนบเรซูเม่พร้อมกับจดหมายสมัครงานจะสามารถช่วยนายจ้างมองเห็นเป้าหมายของคุณไปพร้อม ๆ กับประวัติและความสามารถในการทำงานที่ผ่านมาของคุณ.

เคล็ดลับการเขียนจดหมายสมัครงาน

เมื่อต้องเขียนจดหมายสมัครงาน ลองทำตามคำแนะนำเหล่านี้เพื่อให้จดหมายสมัครงานมีข้อมูลที่ครบถ้วนที่ผู้จัดการว่าจ้างต้องการ.

เน้นทักษะและความสามารถของคุณ

จดหมายสมัครงานเป็นโอกาสในการขายตัวเองในฐานะผู้สมัครงาน แนะนำให้เขียนจุดมุ่งหมายในการสมัครงานในตำแหน่งนี้ ตัวอย่างการใช้ประสบการณ์ในการทำงานในการแก้ไขสถานการ์ในองค์กรที่เคยร่วมงานด้วย เขียนถึงความสามารถและทักษะของคุณเพื่อให้องค์กรทราบว่าจะได้อะไรบ้างหากว่าจ้างคุณ เป็นต้น

กระชับ เรียบง่าย

การเขียนจดหมายสมัครงานควรมีความกระชับ เรียบง่าย ถึงแม้ว่าการใส่ข้อมูลรายละเอียดมากมายอาจเป็นอะไรที่น่าดึงดูดใจและชวนอ่าน แต่สิ่งสำคัญคือต้องกระชับ หากผู้ว่าจ้างได้รับจดหมายสมัครงานที่ยาวจนเกินไป อาจทำให้เลื่อนผ่านไปได้โดยง่าย ดังนั้น จดหมายสั้น ๆ ที่สามารถจัดการเนื้อที่หน้ากระดาษได้ดีโดยมีข้อมูลครบถ้วน จะดูเป็นอะไรที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ตรวจสอบความถูกต้อง

เนื่องจากจดหมายสมัครงานเป็นเหมือนความประทับใจแรกพบขององค์กรที่มีต่อผู้สมัครงาน คุณจึงต้องแน่ใจว่าจดหมายนี้ถูกเขียนออกมาดีที่สุด ไม่เพียงแต่ในแง่ของเนื้อหา แต่ยังรวมไปถึงความถูกต้องในการเขียน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจดหมายสมัครงานไม่มีการพิมพ์ผิดหรือการใช้ไวยากรณ์ผิด ๆ เพราะการเขียนผิดจะแสดงถึงความไม่รอบคอบ ไม่ใส่ใจ และสร้างความไม่น่าประทับใจได้

สรุป จดหมายสมัครงาน จำเป็นไหม

หลาย ๆ องค์กรมักจะเรียกดูแต่เรซูเม่เท่านั้น แต่จดหมายสมัครงานเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงเป้าหมาย ความตั้งใจ และความมุ่งมั่น รวมไปถึงวัตถุประสงค์ในการสมัครงานเข้ามาในตำแหน่งนี้ ดังนั้น นอกจากจะมีเรซูเม่แล้ว การมีจดหมายสมัครงานแนบไปด้วยจะทำให้คุณเป็นผู้สมัครงานที่ดูโดดเด่นกว่าผู้สมัครงานคนอื่น ๆ.

จดหมายสมัครงานเป็นจดหมายประเภทอะไร

2. จดหมายสมัครงาน (Application Letter) คือจดหมายที่ รวมเอาประวัติส่วนตัวเข้าไว้ในจดหมายสมัครงานเหมาะกับผู้ที่เพิ่งเรียนจบ หรือผู้มีประสบการณ์ในการทำงานน้อยเนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านประสบการณ์ใน การทำงานมากพอที่จะนำมาเขียนเป็นประวัติย่อได้อย่างสมบูรณ์จึงต้องเอา ประสบการณ์ และข้อมูลส่วนตัวมาไว้ในจดหมายนั้นเลย

การเขียนจดหมายสมัครงานมีประโยชน์อย่างไร

การเขียนจดหมายสมัครงาน (application letter) หรือ จดหมายปะหน้า (cover letter) เป็นสิ่งที่จําเป็น อย่างยิ่ง เพราะจดหมายนี้เป็นสิ่งช่วยแนะนําตัวและประวัติย่อของผู้สมัคร เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้รับสมัครงานเห็น แง่มุมต่าง ๆ ในตัวเรา คุณสมบัติของเราที่เหมาะสมกับงาน และที่สําคัญการเขียนจดหมายยังเป็นพื้นฐานสําคัญที่จะ แสดงให้ ...

จดหมายมีประโยชน์หรือความสำคัญอย่างไร

1. ใช้สื่อสารแทนการพูดจาเมื่ออยู่ห่างไกลกัน 2. ใช้เพื่อบอกกล่าวข้อความบางประการที่ไม่อาจพูดจากันโดยตรงได้ 3. ใช้เป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ไม่รู้จักกัน เช่นการเขียนจดหมายสมัครงาน 4. ใช้เป็นเอกสารสำคัญที่อาจอ้างเป็นหลักฐานได้

รูปแบบของจดหมายสมัครงานมีกี่ส่วน

ที่อยู่ของผู้ส่ง.
วัน เดือน ปี.
ชื่อ และที่อยู่ผู้รับ.
คำขึ้นต้นจดหมาย.
เนื้อหาของจดหมาย.
คำลงท้ายจดหมาย.
ลายเซ็น.
สิ่งที่ส่งมาด้วย.