ฉันขอโทษที่ทําให้คุณรู้สึกไม่ดี ภาษาจีน

  • 1. ใช้ขอโทษเมื่อเราทำผิด
  • 2. ใช้ขอโทษเมื่อเรารู้สึกผิด
  • 3. ใช้ขออภัย, ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง
  • 4. ใช้ขอโทษเมื่อจะรบกวนผู้อื่น
  • 5. ใช้บอกผู้อื่นว่าเราผิดไปแล้ว ให้อภัยเราเถอะ
  • 6. ใช้บอกผู้อื่นว่าเป็นความผิดของฉันเอง
  • 7. จะระวังไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก

“ขอโทษ” คำง่าย ๆ สั้น ๆ ที่หลาย ๆ คนมักไม่ค่อยกล้าที่จะพูด อาจเพราะความอาย ความรู้สึกผิด หรือศักดิ์ศรีที่มันค้ำคอ แต่เชื่อเถอะค่ะ ผลจากการขอโทษ มักจะเป็นเรื่องที่ดีเสมอ เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “..3 คำที่เราควรพูดให้ชินปาก นั่นก็คือ สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ..” กันไหมคะ บอกเลยว่าไม่ได้เป็นเรื่องที่เกินจริงแต่อย่างใด เพราะคำเหล่านี้นอกจากจะทำให้ผู้ฟังรู้สึกดีแล้ว ยังทำให้ช่วยรักษาความสัมพันธ์ได้ในทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว, พี่น้อง, เพื่อน หรือคนรัก หากเราตัดเรื่องศักดิ์ศรีออกไป ใครที่ใช้ 3 คำนี้จนชิน ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ เลยค่ะ

ในบทความก่อนหน้า เราได้นำเสนอ การกล่าวทักทายภาษาเกาหลี กันไปแล้ว ในวันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับ การกล่าวคำขอโทษในภาษาเกาหลี กันบ้างค่ะ เพราะในชีวิตของคนเราต้องล้วนเคยทำผิดพลาดมาก่อนทั้งตั้งใจ และไม่ตั้งใจ ดังนั้นวันนี้เราได้รวบรวมคำขอโทษภาษาเกาหลีในรูปแบบต่าง ๆ มาฝากทุกคนกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนสามารถนำไปใช้กล่าวขอโทษผู้อื่นได้ในหลายสถานการณ์ รวมถึงนำไปใช้ได้อย่างถูกที่ ถูกกาลเทศะกันด้วยค่ะ

1. ใช้ขอโทษเมื่อเราทำผิด

죄송하다 (ชเวซงฮาดา)  เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา มาที่คำแรกกันเลยค่ะ 죄송하다 (ชเวซงฮาดา) คำนี้แปลว่าขอโทษ มักจะใช้ในสถานการณ์ที่เราได้กระทำผิดพลาดไป ทำอะไรไม่ทันระวัง เป็นการของโทษที่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ดีของเรา คำขอโทษที่จัดอยู่ในคำที่สุภาพ มักเป็นคำที่ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่ แต่ในเวลาพูด เราไม่สามารถเอาคำว่า 죄송하다 (ชเวซงฮาดา) มาใช้ได้เลยนะคะ เพราะในภาษาเกาหลี คำกริยาทุกคำ ต้องนำมาผันก่อนพูดเสมอ โดยคำนี้ก็จะผันได้ว่า

ตัวอย่างประโยค : ขอโทษเมื่อเราทำผิด

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
늦게 와서 죄송합니다. นึดเก วาซอ ชเวซงฮัมนีดา ขออภัยที่มาสายค่ะ/ครับ
방해해서 죄송합니다. พังเฮแฮซอ ชเวซงฮัมนีดา ขอโทษที่รบกวนนะคะ/นะครับ
거짓말을 해서 죄송합니다. คอชิดมารึล แฮซอ ชเวซงฮัมนีดา ขอโทษที่โกหกนะคะ/นะครับ
ฉันขอโทษที่ทําให้คุณรู้สึกไม่ดี ภาษาจีน
거짓말을 해서 죄송합니다. / คอชิดมารึล แฮซอ ชเวซงฮัมนีดา / ขอโทษที่โกหกนะคะ

죄송합니다 (ชเวซงฮัมนีดา) : คำนี้ถือเป็นการกล่าวขอโทษที่ทางการ มีความสุภาพมากที่สุด เราจะใช้คำนี้ขอโทษกับผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส หรือผู้ที่เราเคารพนับถือมาก ๆ เช่น ปู่ยาตายาย, ญาติผู้ใหญ่ หรือเจ้านาย เวลาที่เราทำตัวไม่ดี หรือทำอะไรผิดไป หรือหากเราเผลอเดินไปเหยียบเท้าคุณตาคุณยายที่เราไม่รู้จัก เราก็สามารถใช้คำนี้ได้เช่นกันค่ะ

ตัวอย่างประโยค : ขอโทษเมื่อเราทำผิด

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
늦게 와서 죄송해요. นึดเก วาซอ ชเวซงแฮโย ขอโทษที่มาสายค่ะ/ครับ
방해해서 죄송해요. พังเฮแฮซอ ชเวซงแฮโย ขอโทษที่รบกวนนะคะ/นะครับ
거짓말을 해서 죄송해요. คอชิดมารึล แฮซอ ชเวซงแฮโย ขอโทษที่โกหกนะคะ/นะครับ

죄송해요 (ชเวซงแฮโย) : คำนี้ถือเป็นการกล่าวขอโทษที่สุภาพ สามารถใช้ได้ในบริบทกับคนทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่ไม่รู้จัก, เพื่อนร่วมงาน, อาจารย์ที่สนิท หรือผู้ที่โตกว่าเราไม่มาก เช่น หัวหน้างาน เป็นต้น หรือในอีกกรณี หากเราเดินไปเหยียบเท้าคนคนนึงที่เราไม่รู้จัก แต่ดูแล้วมั่นใจว่าอายุน้อยกว่าเราแน่ ๆ ก็สามารถพูดว่า 죄송해요 (ชเวซงแฮโย) เพื่อรักษาความสุภาพได้เช่นกันค่ะ


2. ใช้ขอโทษเมื่อเรารู้สึกผิด

미안하다 (มีอันฮาดา)  ต่อมาค่ะ 미안하다 (มีอันฮาดา) คำนี้ก็จะแปลว่า ขอโทษ เช่นเดียวกัน แต่มักจะใช้ในบริบทที่ขอโทษจากความรู้สึกละอาย อับอาย รู้สึกผิด หรือรู้สึกไม่สบายใจต่อผู้อื่น มักจะใช้ขอโทษจากความรู้สึกมากกว่าการกระทำ แต่ตามหลักแล้ว คำว่า 죄송하다 (ชเวซงฮาดา) และ 미안하다 (มีอันฮาดา) สามารถใช้สลับกันได้โดยไม่ผิดแปลกเท่าไหร่นัก แต่หลัก ๆ จะต่างกันตรงที่ 죄송하다 (ชเวซงฮาดา) มักเป็นคำที่ผู้น้อยใช้พูดกับผู้ใหญ่ ส่วน 미안하다 (มีอันฮาดา) ส่วนใหญ่จะเป็นคำที่ผู้ใหญ่ใช้พูดกับผู้น้อยนั่นเองค่ะ และเช่นเคย ก่อนจะนำคำว่า 미안하다 (มีอันฮาดา) ไปใช้ ก็ต้องผันระดับภาษาก่อนด้วยนะคะ

ตัวอย่างประโยค : ขอโทษเมื่อเรารู้สึกผิด

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
귀찮게 해서 미안합니다. ควีชั่นเก แฮซอ มีอันฮัมนีดา ขอโทษที่หงุดหงิดนะคะ/นะครับ
정말 미안합니다. ชองมัล มีอันฮัมนีดา ขอโทษจริง ๆ ค่ะ/ครับ (รู้สึกผิดมาก ๆ)
물어봐서 미안합니다. มูรอบาซอ มีอันฮัมนีดา ขอโทษที่ถามนะคะ/นะครับ
ฉันขอโทษที่ทําให้คุณรู้สึกไม่ดี ภาษาจีน
귀찮게 해서 미안합니다. / ควีชั่นเก แฮซอ มีอันฮัมนีดา / ขอโทษที่หงุดหงิดนะคะ

미안합니다 (มีอันฮัมนีดา) : คำนี้ก็จะแปลว่าขอโทษ สามารถใช้พูดกับผู้ที่อายุมากกว่า มีฐานะทางสังคมสูงกว่า เป็นทางการกว่า แต่หากผู้ที่เราจะขอโทษ อายุเยอะกว่าเรามาก ๆ ขอแนะนำให้ใช้คำว่า 죄송합니다 (ชเวซงฮัมนีดา) ดีกว่าค่ะ เพราะจะดูทางการมากกว่า เราสามารถใช้คำว่า 미안합니다 (มีอันฮัมนีดา) เวลาที่เราถามเรื่องที่เสียมารยาท หรือเราไม่ได้ตั้งใจ เช่น เวลาเราถามผู้อื่นว่า “คุณพ่อของเธอเป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม” แต่เขาตอบกลับมาว่า “พ่อของฉันเสียชีวิตไปแล้ว” เราก็สามารถใช้คำนี้พูดขอโทษได้ เนื่องจากเรารู้สึกผิดที่ถามนั่นเองค่ะ

ตัวอย่างประโยค : ขอโทษเมื่อเรารู้สึกผิด

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
귀찮게 해서 미안해요. ควีชั่นเก แฮซอ มีอันแฮโย ขอโทษที่หงุดหงิดนะคะ/นะครับ
정말 미안해요. ชองมัล มีอันแฮโย) ขอโทษจริง ๆ ค่ะ/ครับ (รู้สึกผิดมาก ๆ)
물어봐서 미안해요. มูรอบาซอ มีอันแฮโย ขอโทษที่ถามนะคะ/นะครับ

미안해요 (มีอันแฮโย) : มีอันแฮโย เป็นคำที่ไม่ทางการ แต่ยังถือว่าสุภาพ สามารถใช้พูดได้กับคนที่อายุมากกว่าเรา หรือน้อยกว่าเรา ที่ค่อนข้างที่จะสนิทกัน แต่ยังต้องรักษามารยาทกันอยู่ เช่น แฟนที่อายุมากกว่า, พ่อแม่, ลูกศิษย์ หรือ ลูกพี่ลูกน้อง เป็นต้น

ตัวอย่างประโยค : ขอโทษเมื่อเรารู้สึกผิด

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
귀찮게 해서 미안해. ควีชั่นเก แฮซอ มีอันแฮ โทดทีที่หงุดหงิดใส่นะ
정말 미안해. ชองมัล มีอันแฮ ขอโทษจริง ๆ ค่ะ/ครับ (รู้สึกผิดมาก ๆ)
오! 미안. โอ๊ะ! มีอัน อุ๊ย! โทดที (อาจเพราะไปเดินชน หรือเหยียบเท้าคนอื่น)

미안해 / 미안 (มีอันแฮ / มีอัน) : คำนี้เป็นคำที่สามารถพูดได้กับคนที่สนิทกันมาก ๆ เท่านั้น อย่างเพื่อนสนิท, เด็ก ๆ หรือพี่น้องที่สนิทกัน คำนี้สามารถใช้พูดขอโทษได้ทั้งแบบที่เราทำผิด และแบบที่เรารู้สึกผิดเลยค่ะ แต่อย่าเผลอนำไปใช้กับผู้หลักผู้ใหญ่นะคะ ถือว่าไม่สุภาพมาก ๆ


3. ใช้ขออภัย, ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง

사과하다 (ซา กวา ฮา ดา)  사과하다 (ซา กวา ฮา ดา) มาจากคำว่า 사과 (ซา กวา) ซึ่งเป็นคำนาม แปลว่า การขอโทษ, การขออภัย หรือคำขอโทษ คำนี้จะตรงกับภาษาอังกฤษคำว่า Apology นั่นเองค่ะ นอกจากคำว่า 사과 จะแปลว่าการขอโทษแล้ว ยังแปลว่า แอปเปิ้ล ด้วย ดังนั้นไม่แปลกที่เวลาเราดูซีรี่ส์แล้วจะเห็นคนเกาหลีชอบมอบแอปเปิ้ลให้ผู้อื่นแทนการกล่าวคำขอโทษ เพราะเป็นคำพ้องเสียงที่ออกเสียงเหมือนกันนั่นเอง

ตัวอย่างประโยค : ใช้ขออภัย, ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
사과하세요. ซา กวา ฮา เซ โย กรุณาขอโทษดิฉันด้วยค่ะ
엄마는 아빠에게 사과해요. ออมม่านึน อาปาเอเก ซากวาแฮโย แม่คะ ขอโทษพ่อด้วยค่ะ
언니에게 당장 사과해. ออนนี่เอเก ทังจัง ซากวาแฮ ขอโทษพี่สาวของเธอเดี๋ยวนี้นะ
ฉันขอโทษที่ทําให้คุณรู้สึกไม่ดี ภาษาจีน
언니에게 당장 사과해. / ออนนี่เอเก ทังจัง ซากวาแฮ / ขอโทษพี่สาวของเธอเดี๋ยวนี้นะ

คำว่า 사과 (ซา กวา) มักจะเป็นคำที่ได้ยินไม่บ่อยนักในเกาหลี นั่นก็เพราะว่าเป็นคำกล่าวขอโทษที่สุภาพมาก ๆ หรือเป็นการรู้สึกแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้ง ใช้พูดกับบุคคลที่เรายกย่อง นับถือ และให้เกียรติมาก ๆ โดยจะนำมาผันได้ว่า 사과드립니다. (ซา กวา ทือ ริม นี ดา) แปลว่า ขออภัยอย่างสุดซึ้ง นั่นเอง ในอีกกรณีหนึ่ง คำว่า 사과하다 (ซา กวา ฮา ดา) สามารถเอาไว้พูดเวลาที่เราต้องการจะบอกให้ใครคนหนึ่งพูดคำว่าขอโทษ อาจจะให้ขอโทษเรา หรือขอโทษบุคคลที่ 3 ก็ได้ แต่อย่าลืมว่าจะต้องผันตามลำดับความสุภาพทุกครั้งนะคะ


4. ใช้ขอโทษเมื่อจะรบกวนผู้อื่น

실례합니다 (ชิลรเยฮัมนีดา) หากพูดให้เห็นภาพชัดเจน คำว่า 실례합니다 (ชิลรเยฮัมนีดา) ก็จะคล้ายกับคำว่า “Excuse me” ในภาษาอังกฤษนั่นแหละค่ะ และมักจะผันเป็นรูป “습니다” หรือระดับความสุภาพแบบทางการเสมอ มักจะไม่ค่อยเห็นใครใช้ว่า 실례해요 (ชิลรเยแฮโย) / 실례해 (ชิลรเยแฮ) เพราะคนเกาหลีถือว่าเวลาเราจะมีเรื่องไปรบกวนใคร เราต้องให้เกียรติเขานั่นเองค่ะ โดยคำนี้จะมาจากคำว่า 실례 ที่แปลว่า มารยาทไม่ดี หรือเสียมารยาท เมื่อนำมาอยู่ในประโยคก็จะแปลว่า ขออภัย, ขออนุญาต, ขอโทษที่รบกวน จะใช้เมื่อมีเรื่องต้องขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น หรือขอให้ผู้อื่นทำบางสิ่งบางอย่างให้เรา อย่างเช่น การถามทาง หรือการขอทาง นั่นเองค่ะ

ตัวอย่างประโยค : ขอโทษเมื่อจะรบกวนผู้อื่น

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
실례합니다. 가장 가까운 화장실이 어디인가요? ชิลรเยฮัมนีดา คาจัง กะกาอุน ฮวาจังชีรี ออดีอินกาโย้? ขอโทษนะคะ ห้องน้ำที่ใกล้ที่สุดอยู่ตรงไหนเหรอคะ
실례합니다. 시장이 어디에 있습니까? ชิลรเยฮัมนีดา ชีจังงี ออดีเอ อิดซึมนีก้า? ขอโทษนะคะ ตลาดอยู่ทางไหนเหรอคะ
실례합니다. 가방을 갖다주세요. ชิลรเยฮัมนีดา คาบังงึล คัดตาชูเซโย ขอโทษนะคะ รบกวนหยิบกระเป๋ามาให้หน่อยค่ะ
ฉันขอโทษที่ทําให้คุณรู้สึกไม่ดี ภาษาจีน
실례합니다. 시장이 어디에 있습니까? / ชิลรเยฮัมนีดา ชีจังงี ออดีเอ อิดซึมนีก้า? / ขอโทษนะคะ ตลาดอยู่ทางไหนเหรอคะ

5. ใช้บอกผู้อื่นว่าเราผิดไปแล้ว ให้อภัยเราเถอะ

잘못하다 (ชัลมดฮาดา) มักจะใช้ในกรณีที่เราจะบอกผู้อื่นว่า ‘ฉันผิดไปแล้ว’ ‘ฉันทำพลาดไปแล้ว’ หรือ ‘ขอโทษนะ ฉันทำผิดไปแล้ว’ อาจจะเป็นความผิดที่เราไม่ได้ตั้งใจให้มันเกิดขึ้น และอยากจะให้ผู้อื่นยกโทษให้เรา โดยคำนี้ เวลานำมาผันเข้าประโยค จะใช้เป็นรูปอดีตเสมอ (เพราะเราได้ทำไปแล้ว) เวลาจะนำไปใช้ ก็ผันไปตามระดับความสุภาพได้เลย ดังนี้

  • สุภาพทางการ : 잘못했습니다 (ชัลมดแท็ดซึมนีดา) ใช้พูดกับผู้อาวุโส หรือผู้ที่มีฐานะทางสังคมสูงกว่าเรา เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบเมื่อเราทำผิด และเพื่อเป็นการสื่อให้ผู้ฟังทราบว่าเรารู้สึกผิดกับเรื่องที่เกิดขึ้นนั่นเองค่ะ
  • สุภาพทั่วไป : 잘못했어요 (ชัลมดแท็ดซอโย) ใช้พูดกับผู้ที่เราทำผิดด้วย แต่มีอายุมากกว่าเราไม่มาก ค่อนข้างที่จะสนิทกัน แต่ยังถือว่าเป็นคำที่สุภาพอยู่
  • ไม่ทางการ : 잘못했어 (ชัลมดแท็ดซอ) คำนี้จะแปลได้ประมาณ ‘เราผิดไปแล้ว’ ใช้พูดกับคนที่มีอายุน้อยกว่า เพื่อนสนิท หรือพี่น้องในครอบครัว เพื่อบ่งบอกว่าเรารู้สึกผิดนะ อยากให้เขาให้อภัยเรานั่นเองค่ะ

6. ใช้บอกผู้อื่นว่าเป็นความผิดของฉันเอง

제 탓이에요. (เช ทัดชีเอโย) เป็นการบอกผู้อื่นว่า ฉันผิดเอง ซึ่งเราอาจจะทำผิดจริง ๆ หรือรับผิดแทนผู้อื่นก็ได้ ประโยคนี้ถือว่าสุภาพ เพราะอยุ่ในรูปประโยคที่เติม 요 (โย) เทียบกับภาษาไทยก็เหมือนกับหางเสียง ค่ะ/ครับ นั่นเองค่ะ แต่หากเราจะใช้พูดกับเจ้านาย หรือผู้อาวุโส เพื่อเป็นการบอกว่า ‘เป็นความผิดของดิฉันเองค่ะ’ สามารถพูดได้ว่า 제 탓입니다. (เช ทัดชิมนีดา) ประโยคนี้ก็จะดูทางการ ดูสุภาพมากขึ้น หรือถ้าเราจะพูดกับเพื่อนที่สนิทกัน ก็จะพูดได้ว่า 내 탓이야. (เน ทัดชียา) จะแปลได้ว่า ฉันผิดเองแหละ ก็จะฟังดูไม่ค่อยสุภาพเท่าไหร่ ใช้พูดกับเพื่อน หรือบุคคลที่สนิทกันมาก ๆ เท่านั้นค่ะ

ตัวอย่างประโยค : ใช้บอกผู้อื่นว่าเป็นความผิดของฉันเอง

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
실패는 모두 제 탓이에요. ชิลแพนึน โมดู เช ทัดชีเอโย ความผิดพลาดทั้งหมดเป็นความผิดของผมเองครับ
그건 네 탓이 아니고 내 탓이야. คือก็อน นี ทัดชี อานีโก เน ทัดชียา อันนั้นเธอไม่ได้ผิดหรอก ฉันผิดเองต่างหาก
모두 제 탓입니다. โมดู เช ทัดชิมนีดา ทั้งหมดเป็นความผิดของดิฉันเองค่ะ
ฉันขอโทษที่ทําให้คุณรู้สึกไม่ดี ภาษาจีน
모두 제 탓입니다. / โมดู เช ทัดชิมนีดา / ทั้งหมดเป็นความผิดของดิฉันเองค่ะ

7. จะระวังไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก

앞으로 조심하도록 하겠습니다.  (อัพพือโร โชชิมฮาโทรก ฮาเก็ดซึมนีดา)  ประโยคนี้ถือเป็นประโยคที่ทางการ และคนเกาหลีใช้กันบ่อยมาก ๆ มักจะใช้พูดต่อท้ายคำว่าขอโทษ เพื่อบอกแก่ผู้ที่เราทำผิดว่าจะระวังไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก โดยประโยคนี้สามารถแยกคำได้ว่า 앞으로 (อัพพือโร) แปลว่า ครั้งหน้า, ต่อจากนี้, หนหน้า 조심하도록 (โชชิมฮาโทรก) แปลว่า จะระมัดระวัง และ 하겠습니다 (ฮาเก็ดซึมนีดา) แปลว่า จะทำ ซึ่งเป็นรูปอนาคตของ 하다 (ฮาดา) ที่แปลว่าทำนั่นเองค่ะ เมื่อนำมารวมเป็นประโยคก็จะแปลได้ว่า จะไม่ทำแบบนี้อีกแล้ว, ต่อไปจะระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีก, ครั้งหน้าจะระวังให้มากกว่านี้ เป็นต้น

ตัวอย่างประโยค : จะระวังไม่ให้เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นอีก

ภาษาเกาหลีคำอ่านภาษาไทยคำแปลภาษาไทย
죄송합니다. 앞으로 조심하도록 하겠습니다. ชเวซงฮัมนีดา อัพพือโร โชชิมฮาโทรก ฮาเก็ดซึมนีดา ขออภัยค่ะ ครั้งหน้าจะระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีกค่ะ (ประโยคสุภาพทางการที่สุด)
죄송해요. 앞으로 조심하도록 하겠어요. ชเวซงแฮโย อัพพือโร โชชิมฮาโทรก ฮาเก็ดซอโย ขอโทษค่ะ ครั้งหน้าจะระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก
미안해. 앞으로 조심하도록 하겠어. มีอันแฮ อัพพือโร โชชิมฮาโทรก ฮาเก็ดซอ โทดที ครั้งหน้าจะไม่ทำแบบนี้อีกละ
ฉันขอโทษที่ทําให้คุณรู้สึกไม่ดี ภาษาจีน
미안해. 앞으로 조심하도록 하겠어. / มีอันแฮ อัพพือโร โชชิมฮาโทรก ฮาเก็ดซอ / โทดที ครั้งหน้าจะไม่ทำแบบนี้อีกละ

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับการกล่าวขอโทษในภาษาเกาหลีที่เราได้นำมาให้ทุกคนได้ดูกันในวันนี้ หวังว่าทุกคนจะสามารถนำไปใช้กล่าวขอโทษเพื่อน ๆ หรือบุคคลที่ทุกคนแคร์กันได้นะคะ แต่อย่าลืมนะคะ สิ่งสำคัญที่ควรจำไว้เสมอก็คือคนเกาหลีจะเคร่งครัดในการใช้รูปประโยคตามลำดับอาวุโสกันมาก ๆ เชื่อว่าหากทุกคนตั้งใจ และฝึกฝนในการพูดบ่อย ๆ ก็จะนำไปใช้ได้ถูกที่ ถูกสถานการณ์แน่นอนค่ะ นอกจากการกล่าวคำขอโทษในภาษาเกาหลีแล้ว เว็บไซต์ของเรายังมี แคปชั่นขอโทษ/ง้อแฟน, การกล่าวขอบคุณอวยพรวันเกิด, การบอกฝันดี ราตรีสวัสดิ์ ภาษาเกาหลี, การกล่าวแสดงความยินดีภาษาเกาหลี, คำเรียกแฟนภาษาเกาหลี, การอวยพรวันเกิดภาษาเกาหลี มาให้ทุกคนได้เลือกอ่านกันอีกด้วยค่ะ หวังว่าจะชอบกันนะคะ สำหรับวันนี้ต้องขอตัวลาไปก่อน สวัสดีค่ะ