หากต้องการให้ทุกสไลด์ใช้ transition ที่กำหนดไว้ต้องเลือกใช้คำสั่งใด

     การใส่เอฟเฟ็กต์ประกอบเมื่อเปลี่ยนสไลด์แต่ละหน้าเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่น้อง ๆ สามารถใช้เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับงานนำเสนอได้ ไปเรียนรู้วิธีการแทรกเอฟเฟ็กต์ รวมถึงการแก้ไขหรือลบเอฟเฟกต์ที่ไม่ต้องการกันเลยค่า

วิธีการใส่เอฟเฟ็กต์ให้สไลด์ในPowerPoint

1. คลิกที่ปุ่ม Slide Sorter (ตัวเรียงลำดับภาพนิ่ง) 

2. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการ

3. คลิกเลือกแท๊บ Transitions

4. คลิกเลือกเอฟเฟกต์

5. กำหนดความเร็วของเอฟเฟ็กต์(ระยะเวลาที่เอฟเฟ็กต์แสดง) 

6. คลิกทดสอบ

—---------- 

สำหรับการใส่เอฟเฟ็กต์เดียวกันในสไลด์ทั้งหมดมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไป ดังนี้

1. คลิกเลือกสไลด์ใดสไลด์หนึ่ง

2. เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

3. คลิกปุ่มคำสั่ง Apply to All

5. กำหนดความเร็วของเอฟเฟ็กต์ (ระยะเวลาที่เอฟเฟ็กต์แสดง) 

6. คลิกทดสอบ

วิธีการลบเอฟเฟ็กต์

1. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการยกเลิกเอฟเฟ็กต์

2. คลิกเลือกคำสั่ง None บนแท็บ Transition

สำหรับการยกเลิกเอฟเฟ็กต์ทั้งหมดของสไลด์ วิธีการที่แตกต่างกัน คือ

1. คลิกเลือกสไลด์ใดสไลด์หนึ่ง

2. เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

3. คลิกปุ่มคำสั่ง Appy to All 

     นอกจากการใส่เสียงเอฟเฟ็กต์นั้น แล้ว ในระหว่างที่เราทำการเปลี่ยนสไลด์ น้อง ๆ ก็สามารถเพิ่งเสียงเอฟเฟ็กต์ลงไปได้เช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยกระตุ้น และดึงความสนใจจากผู้ชมได้ มาลองดูวิธีการกัน 

การแทรกเสียงเอฟเฟ็กต์ประกอบขณะเปลี่ยนสไลด์ 

1. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการใส่เสียงเอฟเฟ็กต์

2. คลิกเลือกแถบ Transition แล้วเลือกปุ่มในช่อง Sound

3. คลิกเลือกเอฟเฟ็กตที่ต้องการ

4. หากน้อง ๆ ต้องการให้เสียงนั้น แสดงวนซ้ำๆ จนกว่าจะแสดงเสียงอื่น คลิกคำสั่ง Loop Until Next Sound

วิธีการยกเลิกเสียงเอฟเฟ็กต์ในสไลด์ มีดังนี้

1. คลิกเลือกสไลด์ที่ต้องการยกเลิกเสียงเอฟเฟกต์

2. เลือกแท๊บ Transition คลิกเลือก ช่อง sound แล้วเลือก No sound เพื่อยกเลือกเสียงเอ็ฟเฟ็กต์

คราวนี้น้อง ๆ ก็สามารถทำให้สไลด์งานของน้องมีสีสันและลูกเล่นมากขึ้นแล้ว ลองใช้บ่อย ๆ รับรองว่าสไลด์ของเราต้องดึงดูดใจแน่นอน

การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์และแอนิเมชั่น

การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์

      การกำหนดรูปแบบการแสดงสไลด์ หรือทรานซิชั่น (Transition) คือ การใส่เอฟเฟ็กต์ การปรากฎตัวของสไลด์แต่ละ ใบ โดยการกำหนด ทรานซิชั่นนั้นสามารถทำได้หลายรูปแบบดังนี้

การกำหนดทรานซิชั่นทีละสไลด์

  1. คลิกสไลด์ที่ต้องการกำหนดทรานซิชั่น > คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition)

  2. คลิกปุ่ม ที่ กลุ่มคำสั่งการเปลี่ยนไปยังภาพนิ่งนี้ (Transition to This Slide) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. สไลด์จะแสดงตัวอย่างเอฟเฟ็กต์ที่เลือกไว้ และมีสัญลักษณ์ ปรากฎอยู่ใต้สไลด์ เพื่อแสดงว่าสไลด์นี้มีการใส่
    เอฟเฟ็กต์ดังรูป

การกำหนดทรานซิชั่นแบบเดียวกันทุกสไลด์

  1. คลิกสไลด์ที่มีเอฟเฟ็กต์ต้นแบบที่ต้องการ

  2. คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition) > คลิก ปุ่มนำไปใช้กับทั้งหมด (Apply To All)

  3. สไลด์ทั้งหมดในงานนำเสนอมีรูปแบบทรานซิชั่นเหมือนกับสไลด์ต้นแบบดังรูป

เครื่องมือกำหนดรายละเอียดทรานซิชั่นเพิ่มเติม

      หลักจากกำหนดทรานซิชั่นให้สไลด์แล้ว เราสามารถกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมให้กับทรานซิชั่นได้ โดยการใช้ เครื่องมือต่าง ๆ ดังรูป

การยกเลิกการกำหนดทรานซิชั่น

      หากต้องการยกเลิกการกำหนดทรานซิชั่นบนสไลด์ ก็สามารถทำได้โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกสไลด์ที่ต้องการยกเลิกการใส่ทรานซิชั่น

  2. คลิก แท็บการเปลี่ยน (Transition) > คลิกปุ่ม ที่ กลุ่มคำสั่งการเปลี่ยนไปยังภาพนิ่งนี้ (Transition to This slide)

  3. เลือกรูปแบบทรานซิชั่นเป็น ไม่มี (None) ดังรูป

การกำหนดแอนิเมชั่น

      การกำหนดแอนิเมชั่น (Animation) คือ การกำหนดเอฟเฟ็กต์การแสดงผลของวัตถุแต่ละชิ้นบนสไลด์ โดยการ กำหนดแอนิเมชั่นมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุที่ต้องการกำหนดแอนิเมชั่น > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิกปุ่ม ที่ กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. วัตถุที่เลือกจะแสดงตัวอย่างเอฟเฟ็กต์ และหมายเลขแสดงลำดับแอนิเมชั่น ดังต่อไปนี้

การกำหนดแอนิเมชั่นซ้อนกันหลายชั้น

      สำหรับการกำหนดแอนิเมชั่นให้วัตถุนั้น นอกจากการกำหนดแอนิเมชั่นแบบเอฟเฟ็กต์เดียวแล้ว เรายังสามารถใส่ เอฟเฟ็กต์ซ้อนกันหลายชั้น ให้วัตถุได้ โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุที่ต้องการใส่เอฟเฟ็กต์เพิ่มเติม > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิก ปุ่มเพิ่มภาพเคลื่อนไหว (Add Animation) > เลือกเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

  3. หมายเลขแสดงลำดับแอนิเมชั่นจะปรากฎขึ้นมา เพื่อแสดงว่าวัตถุนี้มีการใส่เอฟเฟ็กซ์ซ่อนไว้ตามจำนวนหมายเลข โดยการแสดงผล จะแสดงเอฟเฟ็กต์เรียงลำดับหมายเลข

การกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่นเพิ่มเติม

      นอกจากการกำหนดแอนิเมชั่นด้วยเอฟเฟ็กต์สำเร็จรูปแล้ว เรายังสามารถกำหนดรูปแบบเอฟเฟ็กต์เพิ่มเติมได้ตาม ต้องการ โดยมีวิธีการ ดังต่อไปนี้

  1. คลิกวัตถุ หรือหมายเลขลำดับแอนิเมชั่นที่ต้องการกำหนดรูปแบบ > คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิกปุ่ม ที่กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation) หรือคลิก ปุ่มเพิ่มภาพเคลื่อนไหว (Add Animation)

  3. เลือกคำสั่งสำหรับกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่น

  4. เลือกรูปแบบเอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ > คลิก ปุ่มตกลง (OK)

โดยคำสั่งสำหรับกำหนดรูปแบบแอนิเมชั่น มีรายละเอียดดังนี้

  • ลักษณะพิเศษเข้าเพิ่มเติม (More Entrance Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับนำวัตถุเข้าสู่สไลด์

  • ลักษณะพิเศษเน้นเพิ่มเติม (More Emphasis Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับเน้นวัตถุ เช่น การแสดงวัตถุให้ใหญ่ขึ้น การหมุนวัตถุ การกำหนดลักษณะสี เป็นต้น

  • ลักษณะพิเศษออกเพิ่มเติม (More Exit Effects) : เอฟเฟ็กต์สำหรับนำวัตถุออกจากสไลด์

  • เส้นทางการเคลื่อนไหวเพิ่มเติม (More Motion Paths) : เอฟเฟ็กต์สำหรับกำหนดให้วัตถุเคลื่อนไหวตามทิศทาง ที่กำหนด

การลบแอนิเมชั่น

      หากต้องการลบแอนิเมชั่นออกจากวัตถุ ก็สามารถทำได้ด้วยการคลิกที่หมายเลขลำดับของแอนิเมชั่นที่ต้องการลบ แล้วกดปุ่ม Delete ที่แป้นพิมพ์

เครื่องมือสำหรับกำหนดรายละเอียดแอนิเมชั่น

      หลังจากกำหนดแอนิเมชั่นให้วัตถุแล้ว หากต้องการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น การกำหนดเวลาในการแสดง แอนิเมชั่น การจัดลำดับ หรือการคัดลอกแอนิเมชั่น ก็สามารถทำได้โดย การใช้เครื่องมือที่อยู่ใน แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) ดังรูป

กลุ่มคำสั่งแสดงตัวอย่าง (Preview) และกลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหว (Animation)

กลุ่มคำสั่งภาพเคลื่อนไหวขั้นสูง (Advanced Animation)

การกำหนดเวลา (Timing)

การจัดลำดับการแสดงแอนิเมชั่น

      ในกรณีที่มีการกำหนดแอนิเมชั่นให้กับวัตถุหลายๆ ชิ้นบนสไลด์ หากต้องการจัดลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการนำเสนอก็สามารถทำได้ โดยวิธีการดังนี้

  1. คลิกเลขลำดับแอนิเมชั่นหน้าวัตถุที่ต้องการเปลี่ยนลำดับ

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > ไปที่ คำสั่งจัดลำดับภาพเคลื่อนไหวใหม่ (Recorder Animation) แล้วคลิกคำสั่งเพื่อจัดลำดับตามต้องการ โดยมีรายละเอียดดังนี้

    • ย้ายไปก่อนหน้านี้ (Move Earlier) > เลื่อนลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ขึ้นไป 1 ลำดับ

    • ย้ายไปหลังจากนี้ (Move Later) > เลื่อนลำดับการแสดงเอฟเฟ็กต์ลงไป 1 ลำดับ

  3. ซึ่งในที่นี้คลิก คำสั่งย้ายไปก่อนหน้านี้ (Move Earlier) หมายเลขลำดับหน้าวัตถุจึงเปลี่ยนจากเลข 5 เป็นเลข 4 ดังรูป

การกำหนดเวลาแสดงแอนิเมชั่น

      นอกจากการจัดลำดับการแสดงแอนิเมชั่นแล้ว เรายังสามารถกำหนดเวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่นได้อีกด้วย โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกเมาส์ลำดับของแอนิเมชั่นที่ต้องการกำหนดเวลา

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > ระบุเวลาที่ต้องการลงใน ช่องระยะเวลา (Duration) เช่น ถ้าระบุเป็น 02.00 หมายความว่า เวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่นนี้ตั้งแต่ต้นจนจบใช้เวลา 2 วินาที

การคัดลอกรูปแบบแอนิเมชั่น

      ในกรณีที่ต้องการกำหนดแอนิเมชั่นให้มีลักษณะเหมือนกับวัตถุต้นแบบ ก็สามารถใช้ ตัวคัดวางภาพเคลื่อนไหว (Animation Painter) ช่วยในการคัดลอกรูปแบบได้ โดยมีวิธีการดังนี้

  1. คลิกวัตถุต้นแบบที่ต้องการคัดลอกรูปแบบแอนิเมชั่น

  2. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations) > คลิก ปุ่มตัวคัดวางภาพเคลื่อนไหว (Animation Painter)

  3. คลิกวัตถุปลายทางที่ต้องการวางรูปแบบแอนิเมชั่นที่คัดลอกมา

  4. วัตถุปลายทางจะมีรูปแบบแอนิเมชั่นเหมือนกับวัตถุต้นฉบับ รวมถึงรายละเอียดต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ใน กลุ่มคำสั่ง การกำหนดเวลา (Timing) ดังรูป

การใช้บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว

      บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) คือ หน้าต่างที่ใช้สำหรับแสดงรายละเอียดของแอนิเมชั่นทั้งหมด บนสไลด์ เช่น รูปแบบเอฟเฟ็กต์ ลำดับการแสดงแอนิเมชั่น เวลาที่ใช้ในการแสดงแอนิเมชั่น เป็นต้น ซึ่งนอกจากการ แสดงภาพรวมของแอนิเมชั่นแล้ว เรายังสามารถใช้หน้าต่างนี้ช่วยในการปรับแต่งแอนิเมชั่นได้อีกด้วย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การเปิดบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว

  1. คลิก แท็บภาพเคลื่อนไหว (Animations)

  2. คลิก ปุ่มบานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane)

  3. บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) จะปรากฎขึ้นมาทางด้านขวาพร้อมรายละเอียดของแอนิเมชั่น ทั้งหมดบนสไลด์ดังรูป

การแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่น

      การแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่นด้วย บานหน้าต่างภาพเคลื่อนไหว (Animation Pane) สามารถทำได้ 2 วิธีดังนี้

  • วิธีที่ 1 คลิกปุ่มลูกศรท้ายชื่อแอนิเมชั่นที่ต้องการแก้ไข แล้วเลือกคำสั่งที่ต้องการ

  • วิธีที่ 2 ดับเบิลคลิกตรงชื่อแอนิเมชั่นที่ต้องการแก้ไข เพื่อแก้ไขรายละเอียดแอนิเมชั่นผ่านไดอะล็อกบ็อกซ์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน lmyour แปลภาษา ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv แปลภาษาอาหรับ-ไทย แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip แอพแปลภาษาอาหรับเป็นไทย ค้นหา ประวัติ นามสกุล ห่อหมกฮวกไปฝากป้า หนังเต็มเรื่อง ไทยแปลอังกฤษ ประโยค Terjemahan เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษาจีน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ่้แปลภาษา Google Translate ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย พร บ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 วิธีใช้มิเตอร์วัดไฟดิจิตอล สหกรณ์ออมทรัพย์กรมส่งเสริมการปกครอง ส่วนท้องถิ่น ห่อหมกฮวก แปลว่า Bahasa Thailand Thailand translate mu-x มือสอง รถบ้าน การวัดกระแสไฟฟ้า ด้วย แอมมิเตอร์ การ์ดแคปเตอร์ซากุระ ภาค 4 ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน แคปชั่น พจนานุกรมศัพท์ทหาร ภูมิอากาศ มีอะไรบ้าง สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น อาจารย์ ตจต อเวนเจอร์ส ทั้งหมด เขียน อาหรับ แปลไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน Google map Spirited Away 2 spirited away ดูได้ที่ไหน tor คือ จัดซื้อจัดจ้าง กินยาคุมกี่วัน ถึง ปล่อยในได้ ธาตุทองซาวด์เนื้อเพลง บช.สอท.ตำรวจไซเบอร์ ล่าสุด บบบย มิติวิญญาณมหัศจรรย์ ตอนจบ รหัสจังหวัด อําเภอ ตําบล ศัพท์ทางทหาร military words สอบ O หยน