ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า

วัตถุมีขนาด ปริมาตร (Volume) ของ วัตถุที่ 1 และวัตถุที่ 2 จะเท่ากัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามวลและน้ำหนักของวัตถุทั้ง 2  ชนิดจะเท่ากันตามขนาดของวัตถุ    เพราะมวลภายใน วัตถุที่ 2 มีความหนาแน่นมากกว่า วัตถุที่ 1 จึงทำให้ วัตถุที่ 2 มีน้ำหนักมากกว่า วัตถุที่ 1 โดยสรุปน้ำหนักของวัตถุขึ้นกับมวลของวัตถุ วัตถุที่มีมวลมากจะมีน้ำหนักมาก   และวัตถุที่มีมวลน้อยจะมีน้ำหนักน้อย

        มวลทุกมวลจะมีแรงดึงดูดระหว่างกัน เช่น มนุษย์ 2 คน ก็มีแรงดึงดูดเข้าหากัน แต่แรงนั้นมีค่าน้อยมากๆ ทำให้ไม่รู้สึกว่ามีแรงดึงดูดอยู่ จะรู้สึกถึงแรงดึงดูดได้กับวัตถุที่มีมวลมาก ๆ เช่น โลกและดาวเคราะห์ต่าง ๆ เป็นต้น

กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน
           นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์ในสมัยโบราณสังเกตพบว่า ดวงจันทร์โคจรรอบโลกส่วนโลกและดาวเคราะห์ต่างๆ โคจรรอบดวงอาทิตย์ โดยวงโคจรของดวงจันทร์หรือดาวเคราะห์มีลักษณะเป็นวงกลมหรือวงรี แม้แคปเลอร์ (Kepler) จะพบกฎการโคจรของดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ได้ แต่ก็ยังไม่มีใครสามารถอธิบายเหตุผลในการโคจรลักษณะเช่นนี้ได้ จนกระทั่งนิวตันได้นำผลการสังเกตของนักดาราศาสตร์ทั้งหลายมาสรุปว่า การที่ดาวเคราะห์โคจรรอบดวงอาทิตย์ได้ เนื่องจากมีแรงกระทำระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์ เขาเชื่อว่าแรงนี้เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลของดวงอาทิตย์กับมวลของดาวเคราะห  ์และยังเชื่อต่อไปว่าแรงดึงดูดระหว่างมวลเป็นแรงธรรมชาติ และจะมีแรงดึงดูดระหว่างวัตถุทุกชนิดที่มีมวลในเอกภพ นิวตันจึงเสนอกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลซึ่งมีใจความว่า "วัตถุทั้งหลายในเอกภพจะออกแรงดึงดูดซึ่งกันและกัน โดยขนาดของแรงดึงดูดระหว่างวัตถุคู้หนึ่งๆ จะแปรผันตรงกับผลคูณระหว่างมวลวัตถุทั้งสองและจะแปรผกผันกับกำลังสองระยะทางระหว่างวัตถุทั้งสองนั้น"
ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า

            ถ้า  m1 และเป็น   m2 มวลของวัตถุทั้งสองซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะทาง R ขนาดของแรงดึงดูดระหว่างมวล fgเป็น

ขนาดของทั้ง

ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า
และ
ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า
  ตามกฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน จะเป็นไปตามสมการ

ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า

G เป็นค่าคงตัวของแรงดึงดูดระหว่างมวล และเป็นค่าเดียวกันเสมอ  ไม่มีวัตถุที่ดึงดูดกันจะเป็นวัตถุใดๆ ก็ตาม G นี้เรียกว่า ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล (universal gravitational constant) กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตันตามสมการ (1) นี้ช่วยให้สามารถคำนวณหาแรงดึงดูดระหว่าง
วัตถุคู่หนึ่งๆได้ เมื่อทราบค่าคงตัว G เนื่องจาก G มีค่าเท่ากับ 
ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า
   ในทางปฏิบัติการหาค่า G นั้น ค่ามวล m1และ m2 าได้ด้วยการชั่ง ส่วนระยะทางระหว่างมวลทั้งสอง R ก็สามารถวัดได้ ในกรณีที่วัตถุมีขนาดใหญ่เหมือนรูปทรงกลม ระยะ R คือระยะทางระหว่างศูนย์กลางของทรงกลมทั้งสอง  แต่มวลที่ใช้ในห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปแล้วจะทำให้เกิดแรงดึงดูดน้อยมาก การวัดขนาดแรงดึงดูด fg จึงทำได้ยากมาก แต่เฮนรีคาเวนดิช (Henry Cavendish)      นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษสามารถคิดวิธีวัดแรงดึงดูดค่าน้อยๆ นี้ได้   โดยใช้เครื่องชั่งแบบแรงบิด (torsion balance) และสามารถหาค่าของ G ได้ (ประมาณ 100 ปี หลังจากนิวตันได้ตั้งกฎนี้ขึ้น)การทดลองวัดค่าแรงดึงดูดระหว่างมวลของคาเวนดิช
เฮนรี คาเวนดิช นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษสามารถคิดวิธีวัดแรงดึงดูดค่าน้อยๆ   นี้โดยใช้คานเบา ยาวประมาณ 2 เมตรและมีลูกกลมเล็กๆ ทำด้วยตะกั่ว ติดที่ปลายคานด้านละลูก ดังรูป   คานนี้ถูกแขวนด้วยสายควอทซ์เส้นเล็กๆ คาเวนดิชทดลองหามาก่อนแล้วว่า ต้องใช้แรงเท่าใด ในการทำให้คานและสายควอทซ์บิดไปเป็นมุมต่างๆ   เมื่อคาเวนดิชนำลูกกลมใหญ่ทำด้วยตะกั่วมาใกล้ลูกกลมเล็กที่ปลายคานข้างละลูก โดยให้ห่างจากลูกกลมเล็กเท่ากันสายควอทซ์จะบิดและลูกกลมเล็กจะเบี่ยงเบนไปอยู่ในตำแหน่งสมดุลใหม่ จากการวัดมุมที่สายควอทซ์บิดไป คาเวนดิชคำนวณหาแรงดึงดูดระหว่างลูกกลมเล็กและลูกกลมใหญ่ได้ เมื่อวัดมวลของลูกกลม และระยะทางระหว่างลูกกลมแล้ว คาเวนดิช สามารถหาค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล G ได้ ตามระบบ
เอสไอค่าGที่เป็นที่ยอมรับปัจจุบันมีค่า
ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า
ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า

           จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นว่า แรงโลกดึงดูดดวงจันทร์มีค่ามาก ส่วนแรงดึงดูดระหว่างมวลต่างๆ ที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันมีค่าน้อยมาก นอกจากนี้ยังพบ  แรงดึงดูดระหว่างมวลของโลกกับมวลของวัตถุ คือ น้ำหนักวัตถุนั่นเอง ในการหามวลของวัตถุต่างๆ บนโลกเราอาจหาได้โดยใช้เครื่องชั่ง แต่กรณีที่วัตถุมีขนาดใหญ่มาก เช่น โลก ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดาวเคราะห์ต่างๆ เราไม่สามารถใช้เครื่องชั่งชั่งมวลที่มีขนาดใหญ่เช่นนั้นได้   แต่เราสามารถใช้กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลของนิวตัน คำนวณหามวลของวัตถุขนาดใหญ่ๆ เช่น โลก และดวงดาวได้  กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลทำให้สามารถเข้าใจสมบัติและลักษณะการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ดวงจันทร์ ได้เป็นอย่างดี อาจพิสูจน์ได้ว่าแรงที่เป็นปฏิภาคกับ
ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า
ทำให้วงโคจรโดยทั่วไปจะเป็นวงรี(ellipse) วงกลมอาจถือว่าเป็นกรณีพิเศษของวงรี
ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า

ถ้า วัตถุ อยู่ ใกล้ กัน แรงดึงดูด ก็จะมีค่า

            http://kobchai12.wordpress.com/2011/11/28/กฎแรงดึงดูดระหว่างมวลข/