หากมนุษย์ไม่มีการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

การฟื้นฟูศิลปวิทยาการในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของการปฏิวัติ ทางวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเป็นผลมาจากความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ การแสวงหาความรู้ใหม่ด้วย การสังเกต ทดลอง และการใช้เหตุผล ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ศิลปินที่สำคัญต่างๆ ต่างใช้หลัก วิชากายวิภาคศาสตร์ เช่น กล้ามเนื้อและโครงสร้างของมนุษย์มาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ทั้ง งานจิตรกรรมและประติมากรรมที่เน้นสัดส่วนและความงดงามของสรีระของมนุษย์อย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องการเดินเรือทำให้มนุษย์ในยุโรปสมัยกลางคิดประดิษฐ์เครื่องมือสำหรับการ เดินทาง เช่น เลนส์สำหรับกล้องส่องทางไกลและกล้องดูดาว พัฒนาเทคนิคการต่อเรือ เป็นต้น

จากยุคโบราณถึงยุคกลาง การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และปรัชญาเป็นวิชาแขนงเดียวกัน นอกจากนี้คริสต์ศาสนายังมีอิทธิพลครอบงำความรู้ด้านต่างๆ ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จึงมีการแยกวิชาปรัชญาออกจากวิทยาศาสตร์ ซึ่งในระยะแรกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติ ส่วนปรัชญา เป็นเรื่องการศึกษาความคิด วิธีการศึกษาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ก็เปลี่ยนไปจากเดิมมาก ซึ่ง แต่เดิมเป็นความเชื่อตามศาสนาและเชื่อตามนักปราชญ์โบราณ ในยุคนี้ปัญญาชนได้ใช้วิธีสังเกต คิดประดิษฐ์อุปกรณ์มาช่วยในการสังเกต และใช้การทดลองอย่างมีเหตุผล ทำให้วิทยาศาสตร์ ก้าวหน้ามากขึ้น ช่วยให้การศึกษาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ มีความลึกซึ้งมากกว่าเดิม นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดความรู้ด้านอื่นๆ พัฒนาขึ้นด้วย
นักวิทยาศาสตร์และผลงานในช่วงนี้ ได้แก่

1.นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (NICOLUS COPERNICUS : ค.ศ. 1473-1543) ชาวโปแลนด์ เสนอทฤษฎีว่าดวงอาทิตย์เป็น ศูนย์กลางของจักรวาล โดยมีดาวเคราะห์รวมทั้งโลกหมุนรอบ ดวงอาทิตย์ ทฤษฎีของเขาล้มล้างความเชื่อของคนในสมัย โบราณและสมัยกลางที่ยึดถือข้อสมมติฐานของอริสโตเติล (ARISTOTLE) และงานเขียนของโตเลมี (PTOLEMY) ที่อธิบายว่า โลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

หากมนุษย์ไม่มีการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

 

2. กาลิเลโอ กาลิเลอิ (GALILEO GALILEI : ค.ศ. 1564- 1642) ชาวอิตาลีได้ประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ เพื่อสังเกตการโคจรรอบ ดวงดาว ทำให้นักดาราศาสตร์ได้รับความรู้เกี่ยวกับจักรวาลและการ เคลื่อนที่ในระบบสุริยจักรวาลตามทฤษฎีของโคเปอร์นิคัส ทฤษฎีของ กาลิเลโอขัดแย้งกับคริสต์ศาสนา ทำให้ถูกลงโทษจากคริสตจักร

หากมนุษย์ไม่มีการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

   3. เซอร์ ฟรานซิส เบคอน (SIR FRANCIS BACON : ค.ศ. 1561-1626) ชาวอังกฤษได้วางรากฐานการศึกษางานด้าน วิทยาศาสตร์ จนในที่สุดทำให้มีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสมาคม ที่ เรียกว่า THE ROYAL SOCIETY OF LONDON FOR THE PROMOTION OF NATURAL KNOWLEDGE ขึ้นเพื่อส่งเสริมการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์

หากมนุษย์ไม่มีการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

   4. เรอเน เดส์การ์ส (RENE DESCARTES : ค.ศ. 1596- 1650) ชาวฝรั่งเศสได้เสนอหลักการใช้เหตุผล และการศึกษาค้นคว้า วิจัยในการแสวงหาความรู้และการวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ว่า สามารถนำมาพิสูจน์และตรวจสอบข้อเท็จจริงได้

หากมนุษย์ไม่มีการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

   5. เซอร์ ไอแซก นิวตัน (SIR ISAAC NEWTON : ค.ศ. 1642- 1727) ชาวอังกฤษค้นพบกฎแรงดึงดูด (LAW OF UNIVERSAL ATTRACTION) และกฎแห่งความโน้มถ่วง (LAW OF GRAVITY) ซึ่งเป็นผลให้นัก วิทยาศาสตร์อธิบายการโคจรของโลกและดาวเคราะห์ต่างๆ ที่หมุนรอบ ดวงอาทิตย์ได้

 

หากมนุษย์ไม่มีการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

    สาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

สาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

1. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เป็นผลให้ชาวยุโรปสนใจใฝ่หาความรู้และกระตือรือร้นที่จะ หาความรู้ใหม่ๆ นอกจากนี้ระบบการพิมพ์ก็ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ประชาชนสนใจที่จะศึกษามากขึ้น
2. การสำรวจทางทะเลและการค้นพบดินแดนใหม่ๆ ทำให้ชาวยุโรปพบเห็นสิ่งใหม่ๆ พืชพันธุ์ใหม่ คนต่างเชื้อชาติต่างวัฒนธรรม ทำให้เกิดอยากเรียนรู้เสาะหาข้อเท็จจริงใหม่ๆ ยิ่งขึ้น

 

ผลของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้

1.ทำให้เกิดความรู้ใหม่แตกแยกออกไปหลายสาขา ทั้งคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ พฤกษศาสตร์ และการแพทย์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ เช่น การประดิษฐ์นาฬิกา การคำนวณการยิงปืนใหญ่ มีการจัดตั้งราชบัณฑิตยสถานทาง วิทยาศาสตร์ที่อังกฤษใน ค.ศ. 1662

2. มีอิทธิพลต่อความคิดและความเชื่อของชาวยุโรป ทำให้ชาวยุโรปเชื่อมั่นตนเอง และเชื่อมั่นในอนาคตว่าจะสามารถนำความสำเร็จมาสู่ชีวิตได้ ทำให้เกิดความปรารถนาที่จะเรียนรู้ และประดิษฐ์สิ่งต่างๆ

3. นำไปสู่การปฏิวัติทางภูมิปัญญา (INTELLECTUAL REVOLUTION) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 อีกด้วย ซึ่งหมายถึงยุคที่ชาวยุโรปกล้าใช้เหตุผลแสดงความเห็นเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง ตลอดจนเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคเท่าเทียมกัน เกิดนักปรัชญา ทางการเมืองที่สำคัญ เช่น วอล์แตร์ (VOLTAIRE) และมองเตสกิเออร์ (MONTESQUICU) ซึ่งเป็น พื้นฐานสำคัญทำให้ตะวันตกเข้าสู่ความเจริญในยุคใหม่ คริสต์ศตวรรษที่ 18 จึงได้รับสมญาว่าเป็น ยุคแห่งความรู้แจ้งหรือยุคภูมิธรรม (THE AGE OF ENLIGHTENMENT) อันเป็นความคิดพื้นฐานของ การปกครองระบอบประชาธิปไตยในเวลาต่อมา

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์๋เริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นผลมาจากการพัฒนาคาวมคิดที่ยึดหลักเหตุผลซึ่งได้รับอิทธิพลจากขบวนการมนุษย์นิยมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ การปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ยังส่งผลให้เกิดการค้นคว้าเพื่อแสวงหาความรู้ใหม่ๆ และการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้ของมนุษยชาติ

ปัจจัยส่งเสริมการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

แนวคิดของนักมนุษย์นิยมที่ให้ความสำคัญกับการใช้หลักเหตุผลในการแสวงหาความจริงและการฟื้นฟูวิทยาการสมัยคลาสสิกเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในยุโรป

การใช้หลักเหตุผลในการแสวงหาความจริง

ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ธรรมชาติซึ่งเป็นที่ยอมรับกันมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศักราชจนถึงปลายสมัยกลาง เช่น การยอมรับว่าโลกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล และพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลก ล้วนเป็นการยอมรับโดยไม่มีข้อโต้แย้งหรือการพิสูจน์ใดๆ ต่อมาเมื่อมีการส่งเสริมให้ใช้หลักเหตุผลในการแสวงหาความจริง นักวิทยาศาสตร์จึงเริ่มตั้งข้อสงสัยต่อความจริง และเริ่มศึกษาโดยวิธีการสังเกต รวบรวมข้อมูลและทดลอง ก่อนสรุปเป็นองค์ความรู้หรือทฤษฎี วิธีการศึกษาดังกล่าวได้ชื่อว่าเป็น “วิธีการแบบวิทยาศาสตร์” ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และเกิดการศึกษาค้นคว้าต่อไปเพื่อให้ไดคำตอบที่เป็นความจริง

การฟื้นฟูวิทยาการสมัยคลาสสิก

การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาการสมัยคลาสสิก ทำให้นักวิทยาศาสตร์ยุโรปเรียนรู้ความคิดที่ก้าวหน้าและการใช้หลักเหตุผลของนักปราชญ์ชาวกรีกและโรมัน เช่น อริสโตเติล ยูคลิด (Euclid) อาร์คิมิดิส (Archemedes) แนวคิดดังกล่าวช่วยให้นักวิทยาศาสตร์หลุดออกจากกรอบความคิดที่ถูกกำหนดโดยอิทธิพลของศาสนา นอกจากนี้ความก้าวหน้าด้านการพิมพืยังช่วยให้องค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านวิทยาศาสตร์ได้เผยแพร่สู่สังคม และเป็นที่ยอมรับกันต่อมา

นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญในสมัยปฏิวัติวิทยาศาสตร์

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 – 17 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบองค์ความรู้ที่ก่อประโยชน์มหาศาลให้แก่มนุษยชาติ นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญ เช่น

นิโคลัส คอเปอร์นิคัส (Nicholas Copernicus) เป็นนักดาราศาสตร์ชาวโปแลนด์ซึ่งค้นพบทฤษฎีสุริยจักรวาล คอเปอร์นิคัสพบว่าโลกมีสัณฐานกลมและเป็นดาวดวงหนึ่งในระบบสุริยจักรวาล

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เป็นนักวิทยษสาสตร์ชาวอิตาลีซึ่งยืนยันตามทฤษฎีของคอเปอร์นิคัส โดยใช้เครื่องมือที่เขาประดิษฐ์ขึ้น เรีกยว่า “กล้องโทรทรรศน์ (Telescope)” ในการศึกษาระบบสุริยจักรวาล และค้นพบข้อมูลจำนวนมาก เช่น พื้นที่บนดวงจันทร์ วงแหวนของดาวเสาร์ จุดดับบนดวงอาทิตย์ ฯลฯ

โยฮัน เคปเลอร์ (Johann Kepler) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันที่ใช้คณิตศาสตร์ในการคำนวณการโคจรของดาวเคราห์ในระบบสุริยจักรวาล และค้นพบกฎการเคลื่อนที่ของดวงดาว

เซอร์ฟรานซิส เบคอน (Sir Francis Bacon) เป็นนักวิทยาศาตร์ชาวอังกฤษซึ่งส่งเสริมการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ โดยวิธีการศึกษาแบบอุปนัย (inductive method) เขาเชื่อว่าความรู้ของมนุษย์เกิดจากประสบการณ์ ส่วนวิธีการที่ได้มาซึ่งประสบการณ์คือ ต้องศึกษาข้อมูลที่มีอยูจริงในธรรมชาติอย่างกว้างขวางและรวบรวมข้อมูลเหล่านั้น ก่อนนำมาวิเคราะห์และสรุปเป็นองค์ความรู้หรือทฤษฎีวิธีการศึกษานี้เรียกว่า วิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ หรือ Scientific Method

เรอเน เดสการ์ต (Rene Descartes) เป็นนักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศสที่มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นผู้เสนอหลักของเหตุผล เขาอธิบายว่าความรู้และความคิดของมนุษย์ต้องตั้งอยู่บนหลักของเหตุผล ที่อธิบายและตรวจสอบได้เช่นเดียวกับหลักคณิตศาสตร์ ดังนั้นหากความรู้และความเชื่อใดที่ยอมรับกันต่อๆ มาไม่น่าเชื่อถือ เพราะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยหลักเหตุผล มนุษย์ก็ต้องแสวงหาความรู้ใหม่ที่ได้รับการยอมรับ

เซอร์ไอแซค นิวตัน (Sir Issac Newton) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤาซึ่งค้นพบแรงโน้มถ่วงของโลก และให้ข้อสรุปเกี่ยวกับการโคจรและการเคลื่อนไหวในระบบสุริยจักรวาลว่าเป็นไปตามกฎแห่งความโน้มถ่วง (Law of Gravitation)

ผลของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์

ความสำเร็จของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทำให้โลกก้าวสู่สมัยใหม่ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความก้าวหน้าด้านภูมิปัญญา

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ทำให้สังคมยอมรับวิทยาการสมัยใหม่และทำให้การศึกษาวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์สมัยต่อมาได้ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้เพิ่มเติมจากทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นแรกๆ ค้นคว้าไว้ นอกจากนี้การศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ยังขยายออกไปหลายสาขา เช่น การแพท์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ฯลฯ อนึ่ง ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ได้ส่งเสริมให้มีการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีหลากหลาย เช่น เครื่องทุ่นแรงและเครื่องจักรต่างๆ ส่งผลให้เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของมนุษย์จนถึงปัจจุบัน

ความก้าวหน้าทางด้านภูมิปัญญา

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ยังส่งผลต่อการศึกษาและการพัฒนาความคิดในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นสมัยที่มีความก้าวหน้าทางภูมิปัญญาทุกด้าน ทั้งด้านปรัชญา การเมือง เศรษฐกิจและสังคม จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นสมัยภูมิธรรม (Age of Enlightenment) หรือยุคเหตุผล (Age of Reason) ผู้นพความคิดในการใช้หลักเหตุผล (rationalism) ของสมัยนี้คือ นักปราชญ์ฝรั่งเศส นำโดย วอลแตร์ (Voltaire) และมงเตสกิเออ (Montesquieu) อนึ่ง นักคิดในสมัยนี้ได้นำหลักเหตุผลแบบการศุกษาวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการศึกษาศาสตร์แขนงต่างๆ และสันบสนุนการใช้เสรีภาพในการคิดวิเคราะห์ และการวิพากษ์ ทำให้มีผลงานของนักปราชญ์การเมืองคนสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความคิดของประชาชน เช่น ผลงานของจอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์การเมืองชาวอังกฤษ วอลแตร์ มงเตสกิเออ และรูสโซ (Rousseau)

โดยสรุปการปฏิวัติวิทยาศาตร์เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาความคิดและสติปัญญาของมนุษย์และทำให้สังคมโลกก้าวสู่สมัยแห่งความก้าวหน้าที่มีการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองอย่างไม่หยุดยั้ง อนึ่ง การที่การปฏิวัติวิทยาศาสตร์เริ่มต้นจากดินแดนยุโรป จึงทำให้ยุโรปมีความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากกว่าดินแดนอื่นๆ และเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญของยุโรป

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ส่งผลกระทบที่สําคัญต่อมนุษย์อย่างไร

1 ทำให้มนุษย์เชื่อมั่นในสติปัญญาและความสามารถของตน เชื่อมั่นในความมีเหตุผล และนำไปสู่การแสวงหาความรู้โดยไม่มีสิ้นสุด 2 ก่อให้เกิดความรู้และความเจริญก้าวหน้าในวิทยาการด้านต่าง ๆ และทำให้วิทยาศาสตร์กลายเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญ โดยเน้นศึกษาเรื่องราวของธรรมชาติ

ผลของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์เป็นอย่างไร

ผลของการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ กระตุ้นให้เกิดการประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์มีการจัดตั้งสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นทางในอังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนี เพื่อสนับสนุนการวิจัยการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้และการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ทำให้วิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าเพิ่มขึ้น ...

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์

สาเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ มีดังนี้ 1. การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ เป็นผลให้ชาวยุโรปสนใจใฝ่หาความรู้และกระตือรือร้นที่จะ หาความรู้ใหม่ๆ นอกจากนี้ระบบการพิมพ์ก็ก้าวหน้าขึ้น ทำให้ประชาชนสนใจที่จะศึกษามากขึ้น

การปฏิวัติวิทยาศาสตร์มีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในสมัยใหม่อย่างไร

สรุปได้ว่า การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ถือเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาความคิด และสติปัญญาของมนุษย์ ทำให้สังคมโลกก้าวสู่สมัยแห่งความก้าวหน้า และพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน