ใช้ภาษาไทยอย่างไรในงานอาชีพ

ความหมายของการการพูดในงานอาชีพ

             การพูดคือการสื่อความหมายของมนุษย์โดยการใช้เสียงและกิริยาท่าทางเป็นเครื่องถ่ายทอดความรู้ความคิด และความรู้สึกจากผู้พูดไปสู่ผู้ฟังคำว่างานอาชีพคือการกระทำที่เป็นประโยชน์ไม่เบียดเบียนการทำหน้าที่การทำมาหากินเลี้ยงชีพโดยสุจริต ก่อให้เกิดผลผลิตและรายได้ เป็นที่ยอมรับของสังคม


ความสำคัญของการพูดที่มีต่องานอาชีพ

              การพูดมีความสำคัญต่อชีวิตมนุษย์เป็นอันมากไม่ว่าจะอยู่ที่ใดประกอบกับกิจการงานใดหรือคบหาสมาคมกับผู้ใด ผู้ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจการงานการคบหาสมาคมกับผู้อื่นตลอดจนการทำประโยชน์แก่สังคมล้วนแต่เป็นผู้ ที่มีประสิทธิภาพในการพูดทั้งสิ้นการพูดมีความสำคัญต่อตนเองเพราะถ้าผู้พูดมีศิลปะในการพูดก็จะเป็นคุณแก่ตนเอง ส่วนในด้านสังคมนั้นเนื่องจากเราต้องคบหาสมาคมและพึ่งพาอาศัยกันการที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขนั้นจำเป็นต้อง เป็นคนที่ “พูดดี” คือพูดไพเราะ น่าฟัง และพูดถูกต้องด้วย


ลักษณะที่ดีของการพูดในงานอาชีพ

                 การติดต่อสื่อสารในงานอาชีพการพูดความสำคัญมากและจำเป็นที่จะใช้ให้เหมาะสมกับเรื่องหรือการงาน ที่ต้องทำในขณะนั้นๆโดยมีเป้าหมายคือเป็นการพูดสื่อสารเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายและนำไปสู่ความสำเร็จ ในงานอาชีพการพูดที่ใช้สื่อสารกันในงานอาชีพควรมีลักษณะดังนี้

  1. ตรงประเด็นไม่อ้อมค้อม
  2. เหมาะสมกับโอกาสและสถานการณ์
  3. ถ่ายทอดได้ถูกต้องและรวดเร็ว
  4. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายกระชับชัดเจน
  5. ดำเนินการเรื่องได้อย่างต่อเนื่อง
  6. สร้างความน่าเชื่อถือและมีเหตุผล
  7. ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าน่าสนใจ
  8. เกิดความประทับใจเมื่อได้ฟัง

หลักการพูดในงานอาชีพ

               การพูดในงานอาชีพเป็นการพูดเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการประกอบอาชีพดังนี้จึงมีรายละเอียดที่แตกต่าง ไปจากที่พูดในที่ประชุมทั่วไปอยู่บ้างเนื่องจากมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกันถึงแม้มีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน แต่การพูดแต่ละประเภทก็มีหลักที่คล้ายคลึงกันฉะนั้นเมื่อต้องการจะศึกษาเกี่ยวกับการพูดในงานอาชีพ ผู้พูดควรคำนึงถึงหลักทั่วไปของการพูดถึงหลักอาชีพ ดังนี้

1. การสร้างความสนใจผู้พูดจะต้องพยายามทำให้ผู้ฟังสนใจเรื่องที่ตนพูดโดยหาวิธีการต่างๆเข้ามาช่วยกระตุ้น ให้ผู้ฟังเกิดความสนใจเช่นใช้ภาษาพูดที่มีความไพเราะน่าฟังปรับเนื้อหาสารให้มีคุณค่าและก่อให้เกิดความอยากรู้ อยากติดตามฟังเมื่อผู้ฟังก็ถือได้ว่าการพูดประสบความสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งเทคนิคที่นำมาใช้สร้างความสนใจ การพูดได้แก่

– การพูดจูงใจ
– การตั้งประเด็น
– การเน้นเหตุผล

2. การสร้างความต้องการเรื่องที่พูดต้องสนองความต้องการของผู้ฟังได้นักจิตวิทยาหลายท่านได้กล่าวถึง ความต้องการว่าเป็นแรงจูงใจให้มนุษย์กระทำสิ่งต่างๆดังจะเห็นได้จากทฤษฎีของมาสโลว์ที่กล่าว ความต้องการของมนุษย์ไว้ดังนี้

2.1 ความต้องการทางด้านร่างกาย
2.2 ความต้องการความปลอดภัย
2.3 ความต้องการความรักและการยอมรับ
2.4 ความต้องการได้รับการยกย่อง
2.5 ความต้องการที่จะประสบความสำเร็จ

3. การสร้างความประทับใจความประทับใจของผู้ฟังนับเป็นเครื่องบ่งบอกความสำเร็จของการพูด ได้อย่างดีฉะนั้นผู้พูดควรตระหนักถึงผลดีของการสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังและนำไปใช้เพื่อให้การ พูดทำได้ดังนี้

– การแต่งกาย
– การปรากฎตัว
– บุคลิกภาพลักษณะ
– การพูด

4. การสร้างความมีมนุษย์สัมพันธ์ความีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีของผู้พูดสามารถก่อให้เกิดแรงจูงใจในกลุ่มผู้ฟัง ความพึงพอใจหรือทัศนคติที่ดีต่อผู้พูดตลอดจนเรื่องที่ฟังแต่ถ้าผู้พูดขาดมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีก็อาจทำให้เกิด อุปสรรคต่างๆในการพูดได้เช่นผู้ฟังไม่ค่อยให้ความร่วมมือหรือที่ร้ายไปกว่านั้นคือเกิดการไม่ยอมรับในกลุ่ม ผู้ฟัง

5. การสร้างบรรยายกาศบรรยากาศของการพูดขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นสภาพแวดล้อมในการพูดส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กัยตัวผู้พูดวิธีการสร้างบรรยากาศในการพูดควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้

– การจัดสภาพแวดล้อม
– คุณสมบัติของผู้พูด

6. การสร้างความเชื่อถือในการพูดสำหรับงานอาชีพนั้นผู้พูดจะต้องแสดงให้ผู้ฟังเห็นว่ากำลังฟัง ในเรื่องที่น่าเชื่อถือมิใช่ฟังในสิ่งที่ไร้สาระที่สำคุญการสร้างความน่าเชื่อถือต้องอยู่บนพื้นฐานของ ความเป็นจริงและมีเหตุมีผลฉะนั้นผู้นำเสนอหรือผู้พูดควรคำนึงถึงการพูดเพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ


ประเภทของการพูดในงานอาชีพ

การพูดในงานอาชีพเป็นการพูดระหว่างบุคคล เป็นการพูดที่ไม่เป็นทางการไม่มีเนื้อหาจำกัดแน่นอนทั้งผู้พูดและผู้ฟังไม่ได้เตรียมตัวมาล่วงหน้า แต่เป็นการพูดที่ใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวันการพูดชนิดนี้พอจะแยกได้ดังนี้

การทักทายปราศรัย
การพูดชนิดนี้เป็นการช่วยสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันทั้งผู้ที่เรารู้จักอยู่แล้วหรือผู้ที่เรายังเคยไม่รู้จัก โดยการพูดชนิดนี้ผู้พูดควรยิ้มแย้มและไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นเมื่อเราทักทายผู้ที่อาวุโสมากกว่าก็ควรที่จะกล่าวคำว่า สวัสดีครับ พร้อมทั้งพนมมือไหว้ การกระทำดังกล่าวนั้นจะก่อให้เกิดไมตรีจิตแก่กันทั้งผู้พูดและผู้ฟัง

การแนะนำตนเอง
การแนะนำตัวเองนั้นมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน เพราะเราต้องได้พบ ได้รู้จักกับคนอื่นๆอยู่เสมอ การแนะนำตนเองมี โอกาสสำคัญ ดังนี้
–  การแนะนำตนเองในที่สาธารณะ การแนะนำชนิดนี้ควรจะพูดจากันเล็กน้อยก่อนแล้วค่อยแนะนำตัว มิใช่ว่าจู่ๆก็แนะนำตัวขึ้นมา
–  การแนะนำตนเองในการทำกิจธุระ การแนะนำชนิดนี้มักจะต้องไปพบผู้ที่ยังไม่รู้จักกันซึ่งจะต้องนัดหมายไว้ล่วงหน้า ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไปให้ตรงตามเวลานัด แนะนำตนเองด้วยน้ำเสียงที่สุภาพ ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
–  การแนะนำตนเองในกลุ่มย่อย ควรแนะนำตนเองเพื่อให้เกิดความเป็นกันเอง และสามารถคุยหรือประชุมได้อย่างสะดวกใจยิ่งขึ้น

 การสนทนา
เป็นกิจกรรมที่บุคคลสองคนหรือมากกว่านั้น พูดคุยกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ความรู้สึก และประสบการณ์ระหว่างกันอย่างไม่เป็นทางการ แบ่งได้ แบบคือ
–  การสนทนาระหว่างบุคคลที่คุ้นเคยกัน การสนทนาชนิดนี้ผู้พูดไม่ต้องคำนึงถึงมากนัก แต่ก็ไม่ควรก้าวก่ายเรื่องส่วนตัวของกันและกัน
–  การสนทนากับบุคคลแรกรู้จัก ควรที่จะสำรวมถ้อยคำ กิริยา มารยาท ควรจะสังเกตว่าคู่สนทนานั้นชอบพูดหรือชอบฟัง

วิชาชีพที่ใช้ภาษาไทยเป็นทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

วิชาชีพที่ใชภาษาไทย เปนทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ไดแก อาชีพนักพูด นักเขียนที่ตองใชทักษะการพูด และการเขียนเปนพื้นฐาน เชน 1. ผูประกาศ 2. พิธีกร 3. นักจัดรายการวิทยุ 4. นักเขียนโฆษณาประชาสัมพันธ 5. นักขาว 6. นักเขียนประกาศโฆษณาขาวทองถิ่น 7. นักเขียนบทความ ทั้งนี้ ในการตัดสินใจเลือกอาชีพตางๆ ขึ้นอยูกับ ...

ภาษาไทยมีความสำคัญต่องานอาชีพอย่างไร *

ความสำคัญของการใช้ภาษาในงานอาชีพ 1.1 เป็นเครื่องมือสื่อสารในการติดต่อสื่อสาร 1.2 เป็นเครื่องมือในการสืบค้นข้อมูล 1.3 เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ข้อมูล 1.4 สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีทั้งในองค์กรและภายนอกองค์กร

กลุ่มอาชีพที่ใช้ทักษะภาษาไทยมี 4 ทักษะอะไรบ้าง

1. ทักษะการฟัง การดู การพูด 2. หลักการใช้ภาษา ระดับพื้นฐาน ได้แก่ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ 3. ทักษะการอ่าน 4. ทักษะการเขียน

การใช้ภาษาไทยในงานอาชีพควรมีลักษณะอย่างไร *

๑. ส่งสารที่มีประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่นโดยคำนึงถึงคุณธรรมในการสื่อสาร.
๒. ส่งสารโดยคำนึงถึงวัฒนธรรมและธรรมเนียมประเพณีไทย.
๓. มีความสุภาพ อ่อนน้อม ซึ้งแสดงออกได้ทั้งทางกาย วาจา และใจ.
๔. คำนึงถึงกาลเทศะเป็นสำคัญ.
๕. มีบุคลิกที่ดีขณะที่สื่อสาร.
๖. ใช้ภาษาที่สุภาพ อ่อนโยน และเหมาะสม.