วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

กู้ข้อมูล รวดเร็ว ครบถ้วน ราคาไม่สูง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ด้วยห้องแล๊ป Clean Room ทุกประเภท ตรวจเช็คฟรี

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

หนึ่งในฮาร์ดดิสยี่ห้อดังที่เป็นที่นิยมคือ WD ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสที่มีความคงทนสูง ใช้งานได้ดี แต่บางครั้งในการใช้งานอาจจะมีโชคร้ายให้เกิดปัญหาซึ่งทำให้ตัว Harddisk ปัจจัยของของความเสียหายเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุมาก ไม่ว่าจะมาจากการไฟฟ้ากระชาก ไฟฟ้าลัดวงจร หรือมีการกระแทกตกหล่น ซึ่งทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เก็บไว้ได้ ถ้าข้อมูลมีความสำคัญการกู้ข้อมูลออกมาจะช่วยให้สามารถได้ข้อมูลกลับมาได้

ฮาร์ดดิสของยี่ห้อ WD นั้นมีหลายรุ่น เช่น WD My Passport , WD Blue, WE Black หรือ WD My Book ซึ่งมีทั้งแบบ External Harddisk และ Internal Harddisk ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีอาการเสียและวิธีการจัดการในการกู้ข้อมูลต่างกันออกไป

อาการเสียที่พบได้บ่อยเป็นส่วนใหญ่ของทางศูนย์กู้ข้อมูลในตัวฮาร์ดดิส WD เช่น อาการขึ้นให้กด Format และไม่สามารถกด Format ได้, อาการเสียบ External Harddisk (เช่น WD My Passport หรือ WD My Book ) แล้วคอมพิวเตอร์ไม่สามารถมองเห็น Harddisk ได้, อาการเสียบใช้งานแล้วคอมพิวเตอร์จะมีอาการโหลดช้ามากๆ (อย่างเช่นหลอดแถบสีเขียวโหลดเป็นเวลานานก็ไม่สามารถดูข้อมูลได้) หรืออาการเห็น Drive แต่มองไม่เห็นความจุของตัวอุปกรณ์ เป็นต้น

หลายอาการเสียตามข้างต้นส่วนใหญ่ล้วนแต่เป็นอาการเสียที่เกิดส่วนใหญ่จะเกิดจากปัญหาทาง Hardware ทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นจากหัวอ่านเสียหรือเสื่อมสภาพ, แผงวงจร PCB มีปัญหา หรือ Firmware เสียหาย ซึ่งอาการดังกล่าวส่วนใหญ่ไม่สามารถที่จะใช้โปรแกรมกู้ข้อมูลในการดึงข้อมูลได้ จะต้องทำการแก้ไขที่ตัว Hardware เท่านั้น ซึ่งมีความละเอียดอ่อนสูง การทดลองใช้โปรแกรมกู้ข้อมูลดึงหรือการใช้คำสั่ง CMD  Checkdisk ต่างๆ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างมาก เพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ในตัว Harddisk เสียหายเพิ่มขึ้น ซึ่งหลายครั้งจะทำให้ข้อมูลเสียหายไปทั้งหมด (อาการเสียที่สามารถใช้โปรแกรมกู้ข้อมูลได้ส่วนใหญ่จะเป็นอาการที่ไม่ได้เสียหายทาง Hardware เช่นการเผลอลบไฟล์ข้อมูลทิ้งไป)

สำหรับ Rate ราคาในการกู้ข้อมูลกับศูนย์กู้ข้อมูลสามารถดูได้ตามลิ้งด้านล่าง

CR Data Recovery ดูอัตราค่าบริการกู้ข้อมูล

การตรวจสอบอาการเวลาฮาร์ดดิส WD เสียหายเบื้องต้นเพื่อการกู้ข้อมูลสามารถเช็คได้เบื้องต้นในบางอาการ ดังนี้

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

อาการเสียหายที่พบได้บ่อยและการกู้ข้อมูลจาก WD My Passport

  1. อาการเสียหายที่พบได้บ่อยมากที่สุดของรุ่น WD My Passport คือเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วไม่ขึ้น Drive ให้มองเห็น ซึ่งส่วนใหญ่จะมองเห็นเพียงแค่แถบ USB Safely Remove ในคอมพิวเตอร์ว่าเหมือนมีฮาร์ดดิสเสียบแต่ไม่มีไดร์โชว์ ซึ่งอาการเสียนี้คืออาการเสียหายจากตัวหัวอ่าน (Head Damage ) ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนหัวอ่านจากศูนย์กู้ข้อมูลเพื่อทำการกู้ข้อมูลขึ้นมา โดยสาเหตุของอาการนี้มีหลายปัจจัย เช่น
    1. ตัวฮาร์ดดิสมีการตกหล่นหรือมีการกระแทก
    2. กระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้หัวอ่านเสียหาย เกิดได้ทั้งจากการไฟตก ไฟดับ ฟ้าผ่า
    3. การดึงฮาร์ดดิสออกจากคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้กด Eject ก่อน ทำให้เกิดไฟกระชาก ( มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก )
  2. อาการเสียอีกหนึ่งอาการของ WD My Passport คืออาการเสียบใช้งานเข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงอย่างมาก เช่นแถบโหลดสีเขียวโหลดนานๆ หรือบางครั้งอาจจะมองเห็นไฟล์ปกติ แต่เมื่อพยายาม Copy หรือย้ายข้อมูลออกมาความเร็วในการโอนข้อมูลจะค่อยๆช้าลงจนเหลือ 0 kb/s ซึ่งอาการนี้เกิดจากอาการตัวอ่านเสื่อมสภาพ (Head Degrade) ซึ่งในอาการนี้ไม่แนะนำให้ใช้งานต่อเป็นอย่างยิ่ง เพราะในอาการหัวอ่านเสื่อมสภาพการยิ่งใช้งานต่อจะยิ่งทำให้ข้อมูลเกิด Bad Sector มากขึ้นซึ่งเป็นสาเหตุหลักของข้อมูลเสียหายถาวร การแก้ไขในอาการนี้จะคล้ายกับอาการเสียเบื้องต้นคือเปลี่ยนหัวอ่านจากศูนย์กู้ข้อมูลเพื่อทำการกู้ข้อมูลขึ้นมา โดยสาเหตุของอาการนี้คือ
    1. กระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้หัวอ่านเสียหาย เกิดได้ทั้งจากการไฟตก ไฟดับ ฟ้าผ่า
    2. การดึงฮาร์ดดิสออกจากคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้กด Eject ก่อน ทำให้เกิดไฟกระชาก ( มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก )
  3. อีกหนึ่งอาการเสียที่พบได้บ่อยคืออาการเสียบใช้งานแล้วมีเสียงดังแก๊กๆคล้ายเสียงเข็มนาฬิกาดังอยู่เป็นจังหวะเรื่อยๆ ซึ่งพบได้ในตัว WD My Passport ที่มีการตกกระแทกหรือหล่นมา โดยสาเหตุของอาการนี้มาจากหัวอ่านเสียหายอย่างรุนแรง ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการขูดกับตัวแผ่นจานได้ซึ่งในกรณีที่แผ่นจานมีความเสียหายข้อมูลจะเสียหายไปอย่างถาวร ในอาการนี้ควรจะรีบส่งให้ทางศูนย์กู้ข้อมูลทำการกู้ข้อมูลทันทีและไม่ควรเสียบหรือพยายามลองเปิดใช้งาน เพราะมีโอกาสทำให้แผ่นจานเสียหายเป็นรอยขึ้น สำหรับในอาการนี้จะต้องมีการตรวจสอบสภาพแผ่นจานและเปลี่ยนหัวอ่านเพื่อทำการกู้ข้อมูลออกมา โดยสาเหตุหลักๆของอาการนี้คือ
    1. ตัวฮาร์ดดิสมีการตกหล่นหรือมีการกระแทก

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

ปัจจัยหลักๆที่ทำให้การกู้ข้อมูลจากตัว WD My Passport มีขั้นตอนในการกู้ข้อมูลที่ยากกว่าปกติเนื่องจากในการกู้ข้อมูลจากตัว WD My Passport ทุกครั้งจะต้องมีการแก้ไข PCB หรือแผงวงจรของตัวฮาร์ดดิสด้วย เนื่องจากแผงวงจรของรุ่น WD My Passport จะเป็นแบบ USB ไม่มีหัวแปลงเป็น SATA แบบปกติซึ่งจะไม่สามารถ Reprograming ของตัว PCB ให้เข้ากับหัวอ่านใหม่ได้ จะต้องมีการเขียน Firmware ของ PCB ใหม่สำหรับ WD My Passport โดยเฉพาะให้เป็น SATA เพื่อที่จะสามารถดึงข้อมูลออกมาได้ ซึ่งในขั้นตอนการเปลี่ยน Hardware ทั้งในตัวแผงวงจรหรือการเปลี่ยนหัวอ่าน ตัวอะไหล่ในการใช้เปลี่ยนจะต้องเป็นตัวอะไหล่ในรุ่นเดียวกันและเป็นรุ่นการผลิตในล๊อทเดียวกัน อีกทั้งจะต้องใช้ประสบการณ์ในการเปลี่ยนหัวอ่านและแผงวงจรในห้องแล๊ป Clean Room สำหรับกู้ข้อมูลโดยเฉพาะจึงจะประสบความสำเร็จในการกู้ข้อมูลออกมาได้มากที่สุด

อาการเสียหายที่พบได้บ่อยและการกู้ข้อมูลจาก WD My Book

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

ฮาร์ดดิส WD รุ่น WD My Book จะเป็น External Harddisk ตัวใหญ่ขนาด 3.5 ซึ่งเวลาการใช้งานจะต้องเสียบปลั๊กไฟและสาย USB เพื่อทำการใช้งาน ซึ่งการทำงานของตัว WD My Book จะมีการเข้ารหัสความปลอดภัยระดับ Hardware ไว้ที่ตัวแผงวงจรที่ทำการแปลง SATA เป็น USB ทำให้ถึงแม้จะแกะตัวฮาร์ดดิสออกจาก Case WD My Book แล้วนำมาต่อแยกเข้าคอมพิวเตอร์แล้ว ก็จะไม่สามารถมองเห็นข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลได้ถูกเข้ารหัส (Encrypt) ไว้ในระดับ Hardware ซึ่งถ้าหัวแปลง SATA เป็น USB ของรุ่นนี้เสียหาย ข้อมูลก็จะถูกเข้ารหัสและไม่สามารถดึงออกมาได้เช่นกัน โดยอาการเสียหลักของ WD My Book ที่พบได้บ่อยๆมีดังนี้

  1. อาการนี้จะคล้ายกับตัว WD My Passport คือเสียบเข้ากับคอมพิวเตอร์แล้วไม่ขึ้น Drive ให้มองเห็น ซึ่งส่วนใหญ่จะมองเห็นเพียงแค่แถบ USB Safely Remove ในคอมพิวเตอร์ว่าเหมือนมีฮาร์ดดิสเสียบแต่ไม่มีไดร์โชว์ ซึ่งอาการเสียนี้คืออาการเสียหายจากตัวหัวอ่าน (Head Damage ) ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนหัวอ่านจากศูนย์กู้ข้อมูลเพื่อทำการกู้ข้อมูลขึ้นมา โดยสาเหตุของอาการนี้มีหลายปัจจัย เช่น
    1. ตัวฮาร์ดดิสมีการตกหล่นหรือมีการกระแทก
    2. กระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้หัวอ่านเสียหาย เกิดได้ทั้งจากการไฟตก ไฟดับ ฟ้าผ่า
    3. การดึงฮาร์ดดิสออกจากคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้กด Eject ก่อน ทำให้เกิดไฟกระชาก ( มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก )
  2. อีกหนึ่งอาการเสียหายคือเมื่อเสียบตัว WD My Book เข้าแล้วมีไฟเข้าปกติแต่ไม่พบอะไรหรือมีไฟเข้าแต่เหมือนตัวฮาร์ดดิสไม่มีเสียงทำงาน อาจจะเป็นสาเหตุมาจากตัวแผงวงจรไม่ว่าจะเป็นทั้งจากตัว PCB ของตัว Harddisk หรือตัวแผงแปลง SATA เป็น USB หรือแม้กระทั่งทั้ง 2 อาการที่เป็นพร้อมกัน ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขตัว PCB และมีการ Reprogram และถอดรหัสตัวแปลง SATA เป็น USB เพื่อให้สามารถมองเห็นข้อมูลได้ โดยในอาการนี้ในหลายครั้งจะมีอาการหัวอ่านเสื่อมสภาพร่วมอยู่ด้วยทำให้ข้อมูลมีโอกาสเสียหายได้สูง โดยสาเหตุของอาการมีดังนี้
    1. กระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้หัวอ่านเสียหาย เกิดได้ทั้งจากการไฟตก ไฟดับ ฟ้าผ่า
    2. การดึงฮาร์ดดิสออกจากคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้กด Eject ก่อน ทำให้เกิดไฟกระชาก ( มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก )

อย่างไรก็ตามตัว WD My Book ถือเป็นอุปกรณ์ที่มีความปลอดภัยทางด้านการเข้ารหัสข้อมูลสูง แต่ก็แลกมาด้วยขั้นตอนที่มากขึ้นและความยากในการดึงและถอดรหัสข้อมูล ซึ่งจะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทางในแล๊ปกู้ข้อมูลเท่านั้น จึงจะสามารถแก้ไขอาการเสียของตัว Harddisk และดึงข้อมูลออกมาได้ ซึ่งจะต้องมีขั้นตอนในการทำงานที่ซับซ้อน เช่น การ Reprogram Firmware, เปลี่ยนหัวอ่านฮาร์ดดิสในห้อง Clean Room, แก้ไขและ Reprogram ROM บน PCB และการถอดรหัส AES-256 Encryption ระดับ Hardware บนแผงแปลง SATA เป็น USB ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานสูงเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลและโอกาสในการกู้ข้อมูลกลับมาให้ได้มากที่สุด

อาการเสียที่พบได้บ่อยและการกู้ข้อมูลใน WD Internal Harddisk (WD Blue, WD Green, WD Black )

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

Western Digital นอกจากจะมี External Harddisk แล้ว ที่สำคัญคือ Internal Harddisk ซึ่งคือฮาร์ดดิสสำหรับใช้งานในคอมพิวเตอร์หรือใช้งานในโน๊ตบุคซึ่งจะมีขนาดใหญ่ 3.5 และสำหรับโน๊ตบุค 2.5 อีกทั้งแบ่งเป็นรุ่นๆเช่น WD Blue, WD Green, WD Red หรือ WD Black ซึ่งแต่ละรุ่นจะมีราคาและประสิทธิภาพต่างกันไป ซึ่งโดยอาการเสียหายทั่วไปของ WD Internal Harddisk จะเหมือนกันทุกรุ่น ดังนี้

  1. อาการที่พบได้บ่อยที่สุดสำหรับ WD Internal Harddisk คืออาการหัวอ่านเสื่อมสภาพ ( Head Degrade ) ซึ่งอาการเบื้องต้นที่จะพบได้เลยคือคอมพิวเตอร์จะเริ่มทำงานช้ามากขึ้นอย่างมาก การเข้าโฟรเดอร์ต่างๆภายในคอมพิวเตอร์จะโหลดช้าหรือขึ้นเป็นแถบโหลดสีเขียวนาน ถ้าอาการหนักมากกว่านี้อาจจะเห็นชื่อโฟรเดอร์แต่ไม่สามารถกดเข้าไปได้ หรือเมื่อได้ลองย้ายไฟล์ออกมาความเร็วในการย้ายไฟล์จะช้าลงจนหยุดอยู่ที่ 0 kb/s ซึ่งอาการนี้ควรจะหยุดใช้งานทันทีเพื่อป้องกันการเสียหายของแผ่นจานไม่ให้หัวอ่านที่เสียหายทำให้เกิด Bad Sector มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ข้อมูลเสียหายถาวร โดยการกู้ข้อมูลในอาการนี้จะต้องทำการเปลี่ยนหัวอ่านและ Reprogram พร้อมทั้งแก้ไขส่วน Service Area เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลและกู้ข้อมูลออกมาได้ โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่พบได้คือ
    1. กระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้หัวอ่านเสียหาย เกิดได้ทั้งจากการไฟตก ไฟดับ ฟ้าผ่า
    2. อายุการใช้งานตัวฮาร์ดดิสที่มีการใช้งานนานหรือหนักเกินไป ( ควรมีการสำรองข้อมูล Backup อยู่สม่ำเสมอ )
  2. อีกหนึ่งอาการเสียที่พบได้บ่อยคืออาการเสียบใช้งานแล้วมีเสียงดังแก๊กๆคล้ายเสียงเข็มนาฬิกาดังอยู่เป็นจังหวะเรื่อยๆ โดยสาเหตุของอาการนี้มาจากหัวอ่านเสียหายอย่างรุนแรง (Head Damage) ซึ่งบางครั้งอาจจะมีการขูดกับตัวแผ่นจานได้ซึ่งในกรณีที่แผ่นจานมีความเสียหายข้อมูลจะเสียหายไปอย่างถาวร ในอาการนี้ควรจะรีบส่งให้ทางศูนย์กู้ข้อมูลทำการกู้ข้อมูลทันทีและไม่ควรเสียบหรือพยายามลองเปิดใช้งาน เพราะมีโอกาสทำให้แผ่นจานเสียหายเป็นรอยขึ้น สำหรับในอาการนี้จะต้องมีการตรวจสอบสภาพแผ่นจานและเปลี่ยนหัวอ่านเพื่อทำการกู้ข้อมูลออกมา โดยสาเหตุหลักๆของอาการนี้คือ
    1. ตัวฮาร์ดดิสมีการตกหล่นหรือมีการกระแทก
  3. อีกอาการที่พบเจอได้คือตัว Harddisk มองไม่เห็นในคอมพิวเตอร์ ถึงแม้ว่าจะนำออกมาต่อแยกภายนอกก็ไม่สามารถมองเห็นได้ ซึ่งอาการนี้จะแบ่งได้อีกหลายอาการตั้งแต่เปิดใช้งานแล้ว ตัวฮาร์ดดิสมีเสียงจานหมุนทำงานปกติแต่มองไม่เห็น หรือแม้กระทั่งเปิดใช้งานแต่ตัวฮาร์ดดิสไม่มีเสียงแผ่นจานหมุนทำงาน ซึ่งสาเหตุดังกล่าวมาจากทั้งอาการเสียของทั้ง PCB หรือแผงวงจรและหัวอ่านควบคู่กับเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งอาการนี้บ่อยครั้งสามารถกู้ข้อมูลกลับมาได้เกิน 95% ถ้าไม่ได้มีการทดลองกู้ข้อมูลหรือเปิดใช้งานต่อบ่อยๆและส่งให้ทางศูนย์กู้ข้อมูลได้ทันในทันที ซึ่งสาเหตุของอาการส่วนใหญ่คือ
    1. กระแสไฟฟ้าลัดวงจรทำให้หัวอ่านเสียหาย เกิดได้ทั้งจากการไฟตก ไฟดับ ฟ้าผ่า

ซึ่งจะเห็นว่าอาการเสียหายหลักๆของ Harddisk ยี่ห้อ WD ของแต่ละรุ่นนั้นจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากนัก แต่แท้จริงแล้วในส่วนที่ทำให้ขั้นตอนในการกู้ข้อมูลออกมาได้สำเร็จนั้นต้องมาจากความเชี่ยวชาญในการกู้ข้อมูลของศูนย์กู้ข้อมูลที่จะต้องรู้วิธีในการรับมือและแก้ไขอาการเสียและประเมิณอาการเสียของฮาร์ดดิสแต่ละประเภทได้ เพื่อที่จะใช้วิธีที่ถูกต้องในการกู้ข้อมูลอีกทั้งอะไหล่และเครื่องมือในการกู้ข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะจะต้องใช้อะไหล่และเครื่องมือเฉพาะสำหรับฮาร์ดดิสแต่ละรุ่นโดยเฉพาะ ซึ่งทั้งอะไหล่และขั้นตอนการทำงานของแต่ละรุ่น แต่ละอาการนั้นมีมากมายกว่าร้อยวิธี ซึ่งจะต้องใช้วิธีที่ถูกต้องเพราะถ้าการกู้ข้อมูลผ่านการกู้ข้อมูลที่ผิดวิธีจะทำให้ข้อมูลเสียหายไปอย่างถาวรทันทีและไม่สามารถกู้ข้อมูลได้อีกต่อไป

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

ตัวอย่างอาการ Drive ไม่โชว์ความจุ

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

ตัวอย่าง Drive ขึ้นให้กด Format ตลอดเวลา

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

ตัวอย่าง อาการ Drive เข้าไม่ได้

ทั้งนี้หายมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ไฟล์ข้อมูลหาย ฮาร์ดดิสเปิดไม่ติดหรือต้องการกู้ข้อมูลสามารถปรึกษาเราได้ฟรี ได้ที่ศูนย์กู้ข้อมูล CR Data Recovery ศูนย์กู้ข้อมูล Harddisk อันดับหนึ่งที่กู้ข้อมูลได้สำเร็จมากที่สุดด้วยวิศวะทางด้าน Harddisk ที่เชี่ยวชาญและเครื่องมือที่ได้มาตรฐานและทันสมัยที่สุด ปรึกษาและส่งตรวจเช็คอาการเสียและประเมิณราคาได้ฟรีที่ LINE ID: @crecover หรือ โทรสายด่วน: 093-093-5553

ติดต่อสอบถาม

นโยบายรักษาความลับ:

ทุกข้อมูลจะเป็นความลับ 100 % ข้อมูลที่กู้ขึ้นมาได้จะถูกเก็บเป็นความลับและปลอดภัย เราคือศูนย์กู้ข้อมูลที่เน้นความจริงใจและซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญ เราได้ให้บริการแก่ลูกค้าทั้งภาครัฐและภาคเอกชนชั้นนำมากกว่า 100 บริษัทในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นกระทรวง, บริษัททางกฏหมาย, ธนาคารและองค์กรต่างๆ เป้าหมายของเราคือช่วยให้ข้อมูลของคุณกลับมาและปกป้องความลับและข้อมูลให้ปลอดภัย

ขั้นตอนในการกู้ข้อมูล

โทรปรึกษาและแจ้งอาการเพื่อให้ทางศูนย์กู้ข้อมูลประเมิณราคาและอัตราความสำเร็จในการกู้ข้อมูล ติดต่อโทร: 062-919-7966

ข้อมูลเบื้องต้นที่ต้องใช้ในการประเมิณราคาและความเสียหาย

  1. ประเภทของ Operation System ที่ใช้งาน: Window, Mac OS, Linux เป็นต้น
  2. ความจุของตัว Hard drive ที่ต้องการกู้ข้อมูล ( ในกรณีที่ลูกค้าไม่ทราบ ทางศูนย์สามารถช่วยลูกค้าในการหาได้) หรือประเภทการใช้งานของตัว Harddisk เป็น Raid หรือไม่ ( ทางศูนย์สามารถกู้ข้อมูลได้แม้ในอาการที่ Fat Table เกิดความเสียหาย )
  3. ในกรณีที่ตัว Harddisk มีการเข้ารหัสจาก Software เช่น Bitlocker ให้ทำการแจ้งให้ทางศูนย์ทราบซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการกู้ข้อมูลให้สำเร็จ
  4. แจ้งอาการเสียหายของตัว Harddisk หรือสาเหตุของอาการเสียหายซึ่งทางร้านจะสามารถประเมิณอาการเบื้องต้นได้ ซึ่งข้อมูลและสาเหตุในการเสียเป็นเรื่องสำคัญมากซึ่งจะช่วยให้การกู้ข้อมูลมีโอกาสสำเร็จได้สูงขึ้นและรวดเร็วขึ้น

ผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้า SSL Certificate

วิธี ดึงข้อมูลจากฮาร์ด ดิ ส เสีย

สำหรับ Rate ราคาในการกู้ข้อมูลกับศูนย์กู้ข้อมูลสามารถดูได้ตามลิ้งด้านล่าง

CR Data Recovery ดูอัตราค่าบริการกู้ข้อมูล