วิธี การ ผ่อน บ้าน กับ ธนาคาร

พี่ทุยได้ยินหลาย ๆ คนที่กำลัง “ผ่อนบ้าน” หรือคอนโด มาบ่นอยู่บ่อย ๆ ว่าเมื่อไหร่จะผ่อนบ้านหมดสักที อยากผ่อนบ้านหมดไว ๆ มีวิธีแนะนำมั้ย ถ้าพี่ทุยบอกไปว่า “ขายไตไปโปะเลย จะได้หมดไว ๆ” พี่ทุยคงโดนเพื่อนเขวี้ยงหนามทุเรียนใส่แน่นอน (ฮ่า)

แต่ความเป็นจริงแล้ว พี่ทุยมีเทคนิคที่จะช่วยทำให้โปะได้เร็วขึ้น เพื่อที่จะทำให้เราผ่อนบ้านหรือคอนโดให้หมดไวแบบรวดเร็วทันใจ

เทคนิคที่ 1 : โปะเพิ่มทุก ๆ  เดือน

ก่อนซื้อบ้านหรือคอนโดทุกครั้ง พี่ทุยมักจะแนะนำเสมอว่า ถ้าอยากผ่อนบ้านให้หมดไว ๆ ต้องโปะไปอีกเท่าตัวเสมอถ้าทำได้ เช่น เราจะต้องผ่อน 12,000 บาท/เดือน ก็จ่ายธนาคารไปเป็น 24,000 บาทไปเลย เทคนิคนี้จะช่วยทำให้เราผ่อนบ้านหมดภายใน 8 – 9 ปีเท่านั้น จากเดิม 30 ปี การโปะเพิ่ม 1 เท่าจะช่วยทำให้เราผ่อนบ้านเสร็จเร็วได้มากกว่า 70% พี่ทุยว่าเจ๋งมาก ๆ เลยนะ

ดังนั้น ข้อควรระวังในการซื้อบ้านหรือคอนโดอย่างหนึ่ง ก็คือ เราควรเลือกบ้านให้เหมาะกับสถานะการเงินของเรา ไม่ควรเลือกบ้านที่ราคาสูงเกินว่าที่จะผ่อนไหว แต่ถ้าใครพลาดตรงนี้ไปแล้ว พี่ทุยบอกเสมอว่ายาผีบอกสำหรับการแก้ไขปัญหาเรื่องเงิน คือ การหารายได้เพิ่ม! คำนี้พูดง่ายแต่ทำยากสักหน่อยแต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับตัวเราคนเดียวเท่านั้น

เพราะถ้าเรามองจากตัวอย่างในการผ่อนช่วงแรก ๆ เงินที่ผ่อนไป 12,000 บาท กลายเป็นดอกเบี้ยไปแล้วประมาณ 10,000 บาท เหลือไปลดเงินต้นแค่ 2,000 บาทเอง ซึ่งถ้าเราโปะเงินเพิ่มไป 2 เท่าหรือ 24,000 บาท ส่วนนี้จะไปช่วยลดเงินต้นลง และช่วยลดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในเดือนถัด ๆ ไปลงตามไปด้วย ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดระยะเวลาการผ่อนจาก 30 ปี เหลือแค่ 8-9 ปีเท่านั้น

แต่ถ้าใครคิดว่าวิธีนี้มันดูทรมานเกินไปหรืออยากผ่อนบ้านแบบมีความสุข ไม่กดดันตัวเองมากเกินไป ก็อาจจะไม่ต้องโปะเยอะขนาดที่พี่ทุยบอกไปก็ได้ แต่อาจจะโปะเพิ่มขึ้น 10 – 20% ของเงินผ่อนไปทุกเดือนแทน เช่น โปะเพิ่ม 10% ก็ผ่อนเดือนละ 13,200 บาท และถ้าสิ้นปีมีโบนัส ก็อาจจะเอาเงินก้อนมาโปะไปบางส่วน ก็จะช่วยร่นระยะเวลาในการผ่อนบ้านของเราได้เช่นกัน

เทคนิคที่ 2 : รีไฟแนนซ์ (Refinance) หรือขอปรับอัตราดอกเบี้ยผ่อนบ้านหรือคอนโดกับธนาคารเดิม (Retention)

อธิบายการรีไฟแนนซ์ง่าย ๆ คือ การไปกู้เงินจากธนาคารอื่นที่จ่ายดอกเบี้ยถูกกว่ามาจ่ายคืนธนาคารเดิมที่เคยกู้ เพราะเมื่อเราผ่อนครบ 3 ปี เราจะหมดโปรโมชันดอกเบี้ยต่ำกับธนาคารแล้ว ในปีที่ 4 ดอกเบี้ยจะลอยตัวขึ้นตาม MRR แต่เราจะทำรีไฟแนนซ์ได้ตอนไหนอย่าลืมดูเงื่อนไขสัญญาที่ทำกับธนาคารเดิมนะ ส่วนใหญ่จะทำได้ตอนหลัง 3 ปี หากเรารีไฟแนนซ์ก่อนระยะเวลาที่กำหนดในสัญญากู้ก็จะเสียค่าปรับ แบบนี้ถือว่าไม่คุ้มเลยล่ะ

ทีนี้ตอนเราหาธนาคารใหม่ก็ทำเหมือนเดิม เหมือนตอนที่กู้ซื้อบ้านครั้งแรก คือ หาโปรโมชันจากแต่ละธนาคารมาเปรียบเทียบดูว่าธนาคารไหนดอกเบี้ยถูกที่สุด และถูกกว่าดอกเบี้ยที่เราจ่ายอยู่ปัจจุบัน เราก็ย้ายไปกู้กับธนาคารนั้น แต่อย่าลืมดูเงื่อนไขค่าธรรมเนียมและค่าจดจำนองด้วยว่าย้ายไปแล้วจ่ายน้อยลงจริงหรือไม่

แต่อีกสิ่งหนึ่งที่พี่ทุยอยากแนะนำสำหรับคนที่ผ่อนบ้านหรือคอนโด คือพยายามสร้างประวัติการผ่อนที่ดีไว้เสมอ เพราะหากเรามีประวัติการผ่อนดีอย่างน้อย 3 ปี เราสามารถเข้าไปคุยเพื่อปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้จ่ายถูกลงได้เลย โดยเราไม่ต้องไปรีไฟแนนซ์ เสียค่าธรรมเนียมค่าจดจำนองอีกครั้งกับธนาคารอื่น เราสามารถที่จะคุยขอลดดอกเบี้ยได้ ถ้าคุยดี ๆ ไม่แน่อาจจะได้ดอกเบี้ยถูกกว่าย้ายไปรีไฟแนนซ์ธนาคารอื่นอีกด้วยนะ ยิ่งเครดิตเราดีเท่าไหร่ เราก็สามารถที่จะต่อรองได้ง่ายขึ้นเท่านั้น

เทคนิคที่ 3 : “ผ่อนบ้าน” ควรจ่ายชำระให้ตรงเวลาเสมอ 

อีกหนึ่งเรื่องที่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามไปก็อื่นการจ่ายให้ตรงเวลาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างเครดิตที่ดี จะช่วยเวลาที่ขอรีไฟแนนซ์หรือรีเทนชันกับธนาคารเดิม ถ้าเขาเห็นว่าเราจ่ายหนี้ตรงมาโดยตลอด การเสนอดอกเบี้ยมาให้กับเราก็มีโอกาสที่จะได้รับข้อเสมอที่ดีมากขึ้น ยิ่งเรามีเครดิตที่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีอำนาจในการต่อรองที่มากขึ้น

เป็นอย่างไรกันบ้าง 3 เทคนิคที่พี่ทุยแนะนำ ไม่ได้สลับซับซ้อนอะไรเลยใช่ไหม สิ่งสำคัญคือเราต้องมีวินัยทางการเงินอยู่ไม่ขาด เมื่อถึงเวลาชำระก็ต้องชำระให้ครบ ระหว่างเดือนใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง มีแบ่งเงินส่วนหนึ่งไว้ “ผ่อนบ้าน” และควรมีการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบ เพื่อที่เราจะได้มีบ้านในฝันแบบไม่มีภาระเกินตัว

รูปบน ของ desktop
รูปล่าง ของ mobile

วิธี การ ผ่อน บ้าน กับ ธนาคาร

“หนี้บ้าน 30 ปี” เป็นหนี้ก้อนใหญ่ที่ผ่อนกันอย่างยาวนาน ทำยังไงนะเราถึงจะปลดหนี้ได้ไวขึ้น จะได้มีเงินไปทำอย่างอื่นได้ซะที แล้วรู้ไหมคะ? ว่าหากเราตัดสินใจผ่อนกับธนาคารถึง 30 ปี จริงๆ นะ ราคาบ้านหลังนั้นที่คุณซื้อมันเกือบจะเท่านึงเลยทีเดียว จากที่ซื้อบ้าน 5 ล้านบาท ลองบวกดอกเบี้ยดูสิคะ ราคามันเกือบเป็น 10 ล้านบาท เลยนะ วันนี้เรารวม “เทคนิค โปะบ้าน 3 วิธี” ง่ายๆ ที่ถ้าทำทั้ง 3 วิธีนี้แล้วรับประกันได้เลยว่า เราจะหมดภาระหนี้กับธนาคารเร็วขึ้น ความฝันที่จะผ่อนธนาคารจาก 30 ปี ให้เหลือ 15 ปี อยู่ไม่ไกลแล้วค่ะ

มาดู 3 วิธีที่จะช่วยให้ทุกคนหมดภาระนี้บ้านได้เร็วขึ้นกันเลยค่ะ

  1. โปะเงินต้น คือ การจ่ายค่าผ่อนบ้านให้มากขึ้นในทุกๆ เดือน หรือจะจ่ายปีละ 1-2 ครั้งในช่วงโบนัสออกก็ได้ เช่น หากธนาคารกำหนดให้ผ่อนเดือนละ 20,000 บาท เราก็โปะเพิ่มลงไป 10-50% เอาตามที่เราจ่ายไหวนะคะ จากที่ลองคำนวณดูหากเราโปะเพิ่มทุกๆ เดือน เดือนละ 50% ถ้าจากเดิมเคยผ่อน 20,000 บาทก็เพิ่มเป็น 30,000 บาท จะสามารถลดเวลาผ่อนบ้านได้ครึ่งนึงเลยทีเดียว
  2. Refinance or Retention วิธีนี้จะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยให้กับเราได้ ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะได้อัตราดอกเบี้ยต่ำๆ แค่ในช่วง 3 ปีแรก หลังจากนั้นจะสูงขึ้นมากทีเดียว การขอ Refinance กับธนาคารใหม่ ก็คือการเปลี่ยนเจ้าหนี้นั่นแหละ ซึ่งเจ้าหนี้รายใหม่ก็มักจะเสนออัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่าเจ้าเดิม เพื่อให้เราย้ายไปเป็นลูกหนี้เค้าค่ะ หรืออีกวิธีคือการ Retention กับธนาคารเดิม ก็ไม่ต้องเปลี่ยนเจ้าหนี้ เพียงแต่ยื่นเรื่องขอลดดอกเบี้ยเท่านั้น
  3. จ่ายหนี้ให้ตรงเวลา เพื่อให้เราไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มอีกและเป็นเรื่องของการรักษาเครดิตให้กับตัวเราเอง เมื่อถึงเวลาที่เราต้องการ Refinance หรือ Retention ธนาคารก็จะดูประวัติการจ่ายเงินของเราด้วย หากเป็นลูกหนี้ที่ดี เรามีโอกาสต่อรองได้สูงนะคะ ถ้าจ่ายตรงเวลาตลอดไม่ว่าธนาคารเดิมหรือธนาคารใหม่ก็จะยินดีต้อนรับค่ะ

1. โปะเงินต้น

เนื่องจากการผ่อนบ้านเป็นการ “ผ่อนแบบลดต้นลดดอก”การโปะจึงเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราสามารถลดเงินต้นได้มากที่สุดและเมื่อเงินต้นลด ดอกเบี้ยที่จะตามมาก็ลดลงไปด้วยเช่นกัน หรือพูดง่ายๆ ว่ายิ่งผ่อนมากเท่าไหร่จึงยิ่งหมดไวเท่านั้น และถ้าเรายิ่งผ่อนในช่วงเวลาที่ดอกเบี้ยถูกด้วยนะ เงินที่เราจ่ายไปก็จะไปช่วยลดเงินต้นได้มากขึ้นค่ะ

สำหรับมือใหม่ที่สงสัยว่า “ผ่อนแบบลดต้นลดดอก” เป็นอย่างไร ไปดูตัวอย่างของคุณเฮเคียวกันเลยค่ะ

  • งวดที่ 1 : จากยอดกู้ 5 ล้านบาท คุณเฮเคียวผ่อนงวดแรกมา 26,350 บาท เงินก้อนนี้จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเลยจะไปหักดอกเบี้ยก่อนจำนวน 12,329 บาท และส่วนที่เหลือจึงไปหักเงินต้น 14,021 บาท ทำให้เหลือเงินต้นที่คุณเฮเคียวกู้กับธนาคารอยู่ที่ 4,985,979 บาท
  • งวดที่ 2 : ยอดกู้จะเหลือ 4,985,979 บาทแล้ว เมื่อคุณเฮเคียวผ่อนงวดที่ 2 มา 26,350 บาท ก็จะไปตัดดอกเบี้ย 12,294 บาท (สังเกตดูว่าดอกเบี้ยจะลดลงตามยอดเงินกู้ที่เหลือนะคะ) และไปตัดเงินต้น 14,056 บาท คุณเฮเคียวก็จะมียอดกู้คงเหลือกับธนาคารอยู่ที่ 4,971,923 บาท
  • งวดที่ 3 : จะมียอดกู้เหลือ 4,971,923 บาท ดอกเบี้ยที่ถูกหักเหลือ 12,260 บาท ก็ลดลงตามเงินต้นไปด้วย และสังเกตดูว่าเงินผ่อนของคุณเฮเคียวที่ไปตัดเงินต้น 14,090 บาท ก็จะเพิ่มขึ้นทุกงวดๆ ทำให้ยิ่งจ่ายมากยิ่งตัดเงินต้นได้มาก ภาระหนี้ก็จะยิ่งหมดไวขึ้นค่ะ

เรามาลองคิดกันเล่นๆ ดีกว่าว่า ถ้าเราผ่อนบ้านโดยไม่โปะเลย เงินที่เราต้องจ่ายไปกับค่าบ้านทั้งหมดจะเป็นราคาเท่าไหร่

คำนวณให้ดูว่าถ้าจ่ายตามแผนปกติของธนาคารที่ 30 ปี คุณเฮเคียวจะต้องจ่ายค่าผ่อนบ้านไปทั้งหมด เท่ากับ 9,467,673 บาท ประมาณเท่านึงของราคาบ้านเลยนะคะ เราจึงแนะนำว่าหากใครอยากผ่อนบ้านให้หมดเร็วๆ เนี่ย ก็ใช้วิธีโปะช่วยได้นะคะ แล้วโปะกี่ % จะช่วยลดภาระได้เท่าไหร่บ้าง เราคำนวณมาให้แล้ว ไปดูกันเลยค่ะ

เราลองคำนวณการโปะเพิ่มออกมาให้ดูตั้งแต่ 10% – 50% นะคะ จากแบบผ่อนปกติ ถ้าไม่โปะเลย จะใช้เวลาผ่อน 30 ปี ต้องจ่ายเงินทั้งหมด 9,467,673 บาท

  • โปะเพิ่ม 10% (2,635 บาท) ใช้เวลาผ่อนเหลือ 24 ปี 3 เดือน ประหยัดไป 1,058,737 บาท
  • โปะเพิ่ม 20% (5,270 บาท) ใช้เวลาผ่อนเหลือ 20 ปี 5 เดือน ประหยัดไป 1,720,773 บาท
  • โปะเพิ่ม 30% (7,905 บาท) ใช้เวลาผ่อนเหลือ 18 ปี 1 เดือน ประหยัดไป 2,152,332 บาท
  • โปะเพิ่ม 40% (10,540 บาท) ใช้เวลาผ่อนเหลือ 16 ปี 1 เดือน ประหยัดไป 2,477,821 บาท
  • โปะเพิ่ม 50% (13,175 บาท) ใช้เวลาผ่อนเหลือ 14 ปี 6 เดือน ประหยัดไป 2,727,194 บาท

2. Retention or Refinance

วิธี Retention และ Refinance มีเป้าหมายเพื่อลดดอกเบี้ยในการผ่อนบ้านเหมือนกัน จะต่างกันแค่ Retention เป็นการขอปรับลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้เราปัจจุบัน ส่วน Refinance เป็นการขอย้ายไปผ่อนกับธนาคารอื่นที่ให้อัตราดอกเบี้ยถูกกว่าธนาคารเดิมของเรา ซึ่งทั้ง 2 แบบก็มีข้อดีข้อเสีย ดังนี้

  • Retention

  • ข้อดี คือ ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ใหม่ และไม่ต้องไปเสียเวลายื่นเรื่องกับธนาคารใหม่ เพราะเราขอลดดอกเบี้ยจากธนาคารเดิมเลย
  • ข้อเสีย คือ ธนาคารเดิมมักจะลดดอกเบี้ยลงให้ไม่เยอะ ไม่ดึงดูดใจเท่ากับ Refinance แต่อันนี้ก็ขึ้นกับประวัติในการชำระของเราด้วยนะ ถ้าตรงต่อเวลาทุกครั้งก็อาจสามารถต่อรองได้อีก
  • Refinance
    • ข้อดี คือ ธนาคารใหม่ที่เราไปขอยื่นกู้มักจะให้ดอกเบี้ยที่ถูกกว่าธนาคารเดิม ยิ่งถ้าเรามีประวัติเป็นลูกหนี้ที่ดีด้วยแล้ว เราก็จะมีสิทธิในการต่อรองอัตราดอกเบี้ยให้ถูกได้มากกว่า
    • ข้อเสีย คือ Refinance จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นกู้ใหม่ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียม* เหมือนตอนที่เรายื่นกู้ครั้งแรกแหละค่ะ ต้องรอเวลาให้ธนาคารพิจารณาและดูประวัติการจ่ายเงินของเราร่วมด้วย

    *ค่าธรรมเนียมสำหรับการ Refinance ก็จะมี

    • ค่าประเมินราคา = ประมาณ 2,000-3,000 บาท
    • ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้
    • ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินกู้
    • ค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ หรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ ของธนาคาร
    • ค่าประกัน MRTA = แล้วแต่เรทของบริษัทประกันที่ร่วมกับธนาคารนั้นๆ
    • ค่าประกันอัคคีภัย = แล้วแต่เรทของธนาคารนั้นๆ

    **แต่ส่วนใหญ่ธนาคารจะมีโปรโมชั่น ฟรีค่าประเมินราคา, ค่าอากรแสตมป์ เป็นต้น

    ตัวอย่างของคุณเฮเคียวคนดีคนเดิม ผ่อนบ้านกับธนาคาร A ยอดเงินต้นอยู่ที่ 5 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 1-3 ปีแรก อยู่ที่ 3% ต่อปีคงที่ จากนั้นปีที่ 4 เป็นต้นไปอัตราดอกเบี้ยขึ้นเป็น 5.5% คงที่ คุณเฮเคียวจะต้องจ่ายเงินผ่อนทั้งหมด 30 ปีอยู่ที่ 9,467,673 บาท

    แต่ถ้าคุณเฮเคียวเลือก Refinance กับธนาคารใหม่ สมมติว่าต่อรองได้อัตราดอกเบี้ยเขยิบขึ้นมาจากเดิมนิดหน่อยที่ 4% ต่อปีคงที่ แล้วเมื่อครบทุกๆ 3 ปี  ก็ทำการ Refinance ใหม่ จะช่วยให้คุณเฮเคียวผ่อนบ้านได้หมดภายใน 23 ปี 9 เดือน และประหยัดเงินไปได้ 1,963,362 บาท เลยนะคะ อย่างไรก็ตามก็จะมีค่าธรรมเนียมในการ Refinance ด้วย ก็ลองเทียบดูว่าจะคุ้มกันไหม ซึ่งต้องดูเป็นทีละกรณีไปนะคะ


    3. จ่ายหนี้ให้ตรงเวลา

    ข้อนี้ไม่ได้มีความซับซ้อนเหมือนแบบวิธีในข้อ 1 และ 2 นะคะ แต่เป็นวิธีที่จะทำให้เราไม่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มอีก ก็จ่ายให้ตรงเวลาไปนะคะ เราจะได้มีเงินเหลือมาโปะเงินต้นได้เยอะๆ แถมการจ่ายหนี้ให้ตรงเวลาเนี่ย ก็จะช่วยให้เรามีเครดิต มีประวัติการจ่ายเงินที่ดี ทำให้เรามีโอกาสต่อรองเวลาที่ต้องการ Refinance หรือ Retention ได้ง่ายด้วยค่ะ


    สำหรับบทความนี้เรามีตัวอย่างของคุณยูจินที่ใช้ทั้ง 3 วิธีควบคู่กัน คือทั้งโปะเพิ่ม, Refinance ทุกๆ 3 ปี และจ่ายหนี้ให้ตรงเวลา ทำให้สามารถปลดภาระหนี้บ้านได้ภายใน 15 ปีค่ะ

    ตัวอย่างของคุณยูจิน กู้ธนาคารซื้อบ้านราคา 5 ล้านบาท ธนาคารให้ผ่อนงวดละ 26,350 บาท ซึ่งคุณยูจินตัดสินใจโปะเพิ่มงวดละ 9,650 บาท (ประมาณ 27%) รวมเป็นเงินผ่อนงวดละ 36,000 บาท ใน 1-3 ปีแรกธนาคารให้อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปีคงที่ ผ่อนมา 3 ปี คุณยูจินได้ทำการ Refinance กับธนาคารใหม่ ได้อัตราดอกเบี้ย 4% ต่อปีคงที่ และเมื่อครบ 3 ปีก็จะ Refinance ใหม่เรื่อยๆ ซึ่งคุณยูจินบอกว่าเธอจ่ายหนี้ตรงตามเวลาตลอดเลยนะคะ ทำให้เธอสามารถทำเรื่อง Refinance ได้อัตราดอกเบี้ยที่ไม่สูงมากได้อยู่ตลอด

    คุณยูจินสามารถหมดภาระหนี้บ้าน 5 ล้านภายใน 15 ปี โดยเสียค่าผ่อนบ้านทั้งหมด 6,457,045 บาท และมีค่าธรรมเนียมในการ Refinance ประมาณ 125,911 บาท (เป็นยอดที่ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการยื่นกู้ ค่าทำประกัน MRTA และค่าประกันอัคคีภัย เพราะแล้วแต่เรทของธนาคารนั้นๆ) รวมทั้งหมดเป็นราคาบ้านที่แท้จริง คือ 6,582,956 บาท


    เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับ 3 วิธีดีๆ ที่จะช่วยให้หมดภาระหนี้บ้านได้รวดเร็ว หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้ผู้ที่กำลังหาวิธีผ่อนบ้านให้ประหยัดดอกเบี้ยมากที่สุด และอยากปิดหนี้บ้านให้ได้ไวที่สุด และหากผู้อ่านคนไหนที่เคยมีประสบการณ์ในการโปะบ้านและ Refinance ก็สามารถมาแชร์กันได้นะคะ ^^ เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับคนอื่นๆ ได้แน่นอนค่ะ


    วิธี การ ผ่อน บ้าน กับ ธนาคาร

    ผ่อนบ้านกันยังไง

    8 เทคนิคผ่อนบ้านให้หมดไวในชาตินี้ ใครๆ ก็ทำได้.
    1.ผ่อนเกินค่างวดทุกงวด หรือบ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ ... .
    2.มีความสม่ำเสมอในการผ่อน อย่าดึงหนี้นาน ... .
    3. มีเงินก้อนต้องโปะบ้าน ... .
    4.รีไฟแนนซ์บ้าน (Refinance Home) ช่วยได้ ... .
    5.เลือกรีไฟแนนซ์ (Refinance) บ้านกับข้อเสนอดอกเบี้ยต่ำ.

    ผ่อนบ้านยังไงให้หมดเร็ว

    วิธีการหนึ่งที่จะช่วยทำให้ภาระดอกเบี้ยลดลงและทำให้เราปิดหนี้ได้เร็วมากขึ้นนั้นก็คือ "การโปะ" หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการชำระคืนในแต่เดือนให้มากกว่าเงินงวดปกติ หรือกรณีนี้ คือ มากกว่า 6,000 บาทต่อเดือน เพราะเงินที่จ่ายหรือโปะเพิ่มเข้าไปนั้นจะไปหักเงินต้น 100% ก็จะทำให้ยอดหนี้เราลดลงเร็วมากขึ้น แล้วก็จะทำให้เราโดนคิดดอกเบี้ย ...

    ผ่อนบ้านโปะได้ไหม

    โปะเงินต้น คือ การจ่ายค่าผ่อนบ้านให้มากขึ้นในทุกๆ เดือน หรือจะจ่ายปีละ 1-2 ครั้งในช่วงโบนัสออกก็ได้ เช่น หากธนาคารกำหนดให้ผ่อนเดือนละ 20,000 บาท เราก็โปะเพิ่มลงไป 10-50% เอาตามที่เราจ่ายไหวนะคะ จากที่ลองคำนวณดูหากเราโปะเพิ่มทุกๆ เดือน เดือนละ 50% ถ้าจากเดิมเคยผ่อน 20,000 บาทก็เพิ่มเป็น 30,000 บาท จะสามารถลดเวลาผ่อนบ้าน ...

    กู้เงินซื้อบ้านอย่างไรให้ผ่าน

    เทคนิคในการขอกู้สินเชื่อให้ผ่าน.
    1. ประเมินรายได้ ... .
    2. ควรมีเงินเก็บ ... .
    3. สร้างประวัติทางการเงินให้สวย ... .
    4. สร้างประวัติทางการเงินให้ดี ... .
    5. เคลียร์หนี้ให้หมด ... .
    6. หลีกเลี่ยงการมีประวัติค้างชำระ ... .
    7. ห้ามเผลอไปผ่อนสินค้าก่อนกู้ ... .
    8. เตรียมเอกสารให้พร้อม.