วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip

เลือกอ่านตามหัวข้อ

• อาการคนท้องระยะเริ่มต้น
• อาการเตือนคนเริ่มท้อง
• อาการคนท้อง 3 วันแรก
• อาการของคนท้องมารัวๆ ท้องชัวร์ไหมนะ
• ลักษณะหน้าท้องของคนท้อง 1 สัปดาห์ - 1 เดือนแรก
• เตรียมตัวอย่างไรเมื่อร่างกายเริ่มแสดงอาการคนท้อง
• อาการคนท้องระยะแรกจะดีขึ้นเมื่อไหร่
• อาการคนท้องไม่มีสักนิด แต่ตรวจแล้วท้อง
• ไขข้อข้องใจเรื่องอาการคนท้องกับ Enfa Smart Club

Show

วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip

อาการคนท้อง เป็นกลุ่มอาการที่จะบอกให้คุณแม่ทราบและสังเกตตัวเองได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ว่า นี่ฉันอาจจะกำลังตั้งครรภ์รึเปล่านะ? แต่อาการคนท้องที่สามารถสังเกตได้ มีอะไรบ้าง และอาการคนท้องจะเริ่มขึ้นตอนไหน บทความนี้จาก Enfa ได้รวบรวมเอาสารพันอาการคนท้องที่คุณแม่ควรรู้ มาฝากแล้วค่ะ

เมื่อเราตั้งท้อง จะเริ่มมีอาการคนท้องเมื่อไหร่ หรืออาการคนท้องระยะแรกจะเป็นยังไง หลายครั้งที่เราอาจจะมีคำถามกับเรื่องเหล่านี้ สิ่งที่เราสามารถสังเกตได้อย่างแรก สำหรับอาการคนท้องระยะเริ่มต้น ในช่วง 1 สัปดาห์แรก นั่นคือ การขาดประจำเดือน

หากเรามีประจำเดือนที่มาสม่ำเสมอ และตรงเวลา การที่ประจำเดือนขาดหาย ไม่มาตามปกติ หรือมาล่าช้าเกิน 12 – 16 วัน ก็อาจจะเป็นไปได้ว่า เราอาจจะกำลังตั้งท้อง แต่การขาดประจำเดือนไม่ใช่อาการคนท้องระยะเริ่มต้นอย่างเดียวที่สังเกตได้ ยังมีอาการอื่น ๆ ที่สามารถสังเกตว่าเราตั้งท้องระยะเริ่มต้นได้เช่นกัน

อาการคนท้องระยะเริ่มต้น ในช่วง 1-3 สัปดาห์แรก


วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip
วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip

  1. เต้านม และหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการคัดเต้านม

    อาการคนท้องระยะเริ่มต้น ในช่วง 1 สัปดาห์แรก ที่สังเกตได้คือ เต้านม และหัวนมของเรามีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เต้านมจะมีอาการบวม เปราะบาง อ่อนไหว และอาจจะมีความรู้สึกเสียวแปลบ ๆ การเปลี่ยนแปลงนี้ จะเริ่มหลังจากการขาดประจำเดือนไปประมาณ 1 สัปดาห์

    นอกจากนี้ยังอาจจะมีอาการคัดเต้านม คล้าย ๆ อาการช่วงก่อนมีประจำเดือนอีกด้วย ซึ่งเกิดขึ้นจากฮอร์โมนที่กำลังสร้างใหม่ และปรับให้เข้ากับสภาพร่างกายเพื่อเตรียมพร้อมในการสร้างน้ำนม

    เต้านม และหัวนมจะเปลี่ยนแปลงก็ต่อเมื่อเราขาดประจำเดือน เนื่องจากมีการตั้งท้อง หากขาดประจำเดือนเนื่องด้วยสาเหตุอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงของเต้านม และหัวนมก็จะไม่เกิดขึ้น ทั้งนี้ เรายังสามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของเต้านมได้อีกเช่นกัน อาทิ บริเวณวง ๆ รอบหัวนมจะคล้ำขึ้นและขยายใหญ่ขึ้น อาจพบหลอดเลือดบริเวณรอบ ๆ เต้านมนูนขึ้นชัดเจนขึ้น รวมทั้งมีตุ่มเล็ก ๆ บริเวณรอบหัวนมเพิ่มจำนวนมาก

  2. ตกขาวมากกว่าปกติ

    ตกขาวเป็นเรื่องปกติทั่วไปที่เกิดขึ้นในผู้หญิง และเมื่อเริ่มตั้งท้อง การตกขาวก็อาจจะมีปริมาณมากกว่าปกติ หรือในคุณแม่มือใหม่อาจจะพบว่ามีการตกขาวแทนการมีประจำเดือนในระหว่างการตั้งท้อง

    โดยการตกขาวเกิดจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ที่ทำให้มีเลือดมาคั่งที่ช่องคลอด และที่คอมดลูก ส่งผลให้ต่อมต่าง ๆ ที่คอมดลูกทำงาน และหลั่งสารคัดหลั่งออกไปที่ช่องคลอดมากขึ้น ส่งผลให้แบคทีเรียที่มีตามปกติในช่องคลอดเจริญเติบโตมากกว่าเดิม จนกลายเป็นตกขาว

    อย่างไรก็ตาม การตกขาวสามารถบอกสัญญาณการตั้งท้องได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในระหว่างการตั้งท้อง จะส่งผลให้ต่อปริมาณของตกขาว ทำให้มีการตกขาวออกมาในปริมาณมากกว่าปกติ แต่ก็ถือเป็นเรื่องปกติ และไม่เป็นอันตรายใด ๆ

    ลักษณะของตกขาวคนท้องระหว่างการตั้งท้องอ่อน ๆ จะมีลักษณะเป็นมูกใส สีขาวขุ่น คล้ายแป้งเปียก แต่ไม่มีกลิ่น และไม่มีอาการคัน หากมีอาการผิดปกตินอกจากนี้ เช่น มีกลิ่น มีอาการคัน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

  3. ปัสสาวะบ่อย

    ปัสสาวะบ่อยเป็นอีกหนึ่งอาการคนท้องที่พบได้ ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างการตั้งท้อง ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือด และของเหลวในร่างกาย ทำงาน และเพิ่มระดับจากเดิม ส่งผลให้ไตต้องทำหน้าที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อกำจัดของเสียออกจากร่างกาย นอกจากนี้ การที่มดลูกขยายตัวระหว่างการตั้งท้อง และไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ยังส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยอีกด้วย

  4. อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง

    ในช่วงตั้งท้องใหม่ ๆ ร่างกายจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายมีการปรับเปลี่ยนระบบต่าง ๆ เพื่อให้พร้อมสำหรับการเติบโตของลูกน้อย ไม่ว่าจะเป็นการสร้างเนื้อเยื่อ เพิ่มการสร้างเลือดเพื่อลำเลียงอาหารไปให้ลูกน้อย การขยายและปรับเปลี่ยนเต้านมให้พร้อมสำหรับการสร้างน้ำนม เป็นต้น

    คุณแม่อาจจะรู้สึกเหมือนมีไข้ต่ำ ๆ ในตอนเย็น แต่อาการเหล่านี้ไม่ได้เป็นอันตราย สามารถพบได้ปกติ แนะนำให้ดื่มน้ำให้มาก และพักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้อาการดีขึ้นได้

  5. เหนื่อยล้า

    อาการเหนื่อยล้า เป็นอาการแรก ๆ ของการตั้งท้อง สาเหตุเกิดจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนมีระดับที่สูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความรู้สึกง่วงนอน และเหนื่อยล้าได้ง่าย เคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยแก้อาการเหนื่อยล้าในคนท้องคือ การพักผ่อนให้เพียงพอ รวมทั้งควรปรับอุณหภูมิห้องให้เย็น เนื่องจากร่างกายของคุณแม่ตั้งท้องจะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นในระยะแรกของการตั้งท้อง

  6. อาการคลื่นไส้ หรืออาการแพ้ท้อง

    สำหรับผู้ที่เพิ่งตั้งท้องได้ 1 สัปดาห์มักจะยังไม่ค่อยมีอาการแพ้ท้องมากนัก ในบางรายอาจจะมีอาการปวดหัว หรือเวียนหัวเล็กน้อย เนื่องจากร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทั้งนี้ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละคน

  7. อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย

    การผันผวนและการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนในช่วงแรก ๆ ของการตั้งครรภ์นั้น อาจมีผลต่อความรู้สึกและอารมณ์ คุณแม่ที่ตั้งท้อง จึงอาจมีอาการหงุดหงิดได้ง่ายในช่วงไตรมาสแรก

  8. ท้องอืด

    การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ในระยะแรก อาจทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง และท้องอืด ซึ่งอาการท้องอืดนี้จะมีลักษณะที่คล้ายกับช่วงเริ่มมีประจำเดือน

  9. เลือดออกกะปริดกะปรอย

    โดยเลือดนี้เราอาจจะรู้จักกันในชื่อของ เลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งเกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว จากนั้นจึงเคลื่อนตัวไปฝังในมดลูก กระบวนการฝังตัวในโพรงมดลูกนี้แหละ ที่ทำให้มีเลือดไหลออกมากะปิดกะปรอย อย่างไรก็ตาม ่อาการนี้ไม่ได้เกิดกับคนท้องทุกคน

  10. ปวดหน่วงท้องน้อย

    คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หลายคนมักมีอาการปวดหน่วงที่ท้องน้อย หรือมีอาการคล้ายกับเป็นตะคริวบริเวณท้องน้อย ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการที่มดลูกเริ่มมีการขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน จึงส่งผลให้รู้สึกปวดหน่วง ๆ หรือปวดคล้ายเป็นตะคริวที่บริเวณท้องน้อย

  11. ท้องผูก

    อาการท้องผูกสามารถพบได้บ่อยในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ นั่นเพราะว่าระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มระดับขึ้น ส่งผลให้กระบวนการย่อยอาหารทำได้ช้าลง จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก

  12. พะอืดพะอมจากอาหารการกิน

    คุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีความไวต่อกลิ่นและรสสัมผัสมากกว่าปกติ อีกทั้งการรับรสอาหารก็เปลี่ยนไปด้วย อาหารที่เคยชอบตอนนี้ก็อาจจะไม่ชอบแล้ว หรืออาจจะไวต่อกลิ่นของอาหารบางอย่างจนทำให้รู้สึกพะอืดพะอม ซึ่งโดยมากแล้วมักเป็นผลพวงมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์

  13. ไวต่อกลิ่น

    คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนมีความรู้สึกไวต่อกลิ่นมากขึ้น ไม่เฉพาะแค่เพียงกลิ่นอาหารเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงกลิ่นต่าง ๆ รอบตัวด้วย ไม่ว่าจะเป็นกลิ่นตัวของสามี กลิ่นน้ำหอม หรือกลิ่นสิ่งของต่าง ๆ

  14. อาการคัดจมูก

    การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายระหว่างการตั้งครรภ์ สามารถทำให้เยื่อเมือกในโพรงจมูกมีอาการบวม แห้ง และมีเลือดออกได้ง่าย ทำให้คุณแม่เกิดอาการคัดจมูก และน้ำมูกไหลได้

  15. น้ำลายไหลมากผิดปกติ

    อาการน้ำลายไหลมากผิดปกตินี้ เป็นอาการโดยทั่วไปที่สามารถพบได้ทั้งคนที่ท้องและไม่ท้อง เนื่องจากเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายที่จะขับน้ำลายออกมาเพื่อปกป้องปาก ฟัน และลำคอ จากการกัดกร่อนของกรดในกระเพาะอาหาร แต่ว่าอาการนี้อาจจะพบได้มากหน่อยในคนท้อง โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่บางคนอาจจะมีน้ำลายไหลออกมามากกว่าปกติจนสังเกตได้

  16. ปวดหลัง

    คุณแม่ตั้งครรภ์หลาย ๆ คนเริ่มรู้สึกว่ามีอาการปวดหลังตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ทั้งนี้เป็นเพราะการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย และส่งผลต่อเส้นเอ็น ไขข้อ และกระดูกเชิงกราน ทำให้คุณแม่อาจจะรู้สึกปวดหลังได้

  17. ปวดหัว

    อาการปวดหัวและอาการวิงเวียนศีรษะถือเป็นเรื่องปกติในช่วงตั้งครรภ์ เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงปริมาณการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มขึ้นด้วย จึงทำให้เกิดอาการปวดหัวได้ง่ายในช่วงแรกของการตั้งครรภ์

  18. มีรสโลหะในปาก

    ในช่วงแรกของการตั้งครรภ์คุณแม่หลายคนสัมผัสได้ว่ามีรสโลหะในปาก ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจน ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อรสชาติของอาหารที่กินเข้าไป อาจทำให้รู้สึกว่ามีรสโลหะอยู่ในปากเวลาที่กินอาหาร

  19. หายใจถี่

    เมื่อตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับทารกในครรภ์ที่กำลังเติบโต บางครั้งอาจทำให้คุณแม่ผู้หญิงบางคนรู้สึกหายใจไม่ออก หรือหายใจถี่ ๆ แต่โดยมากแล้วอาการนี้มักจะพบได้บ่อยในระยะหลังของการตั้งครรภ์ หรือบางครั้งก็อาจเกิดจากการอ่อนเพลียง่าย ทำให้หายใจไม่สะดวก หรือมีอาการหายใจถี่มากขึ้นในเวลาที่รู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย

  20. เป็นสิว

    เนื่องจากระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง จึงอาจส่งผลต่อกระบวนการผลิตไขมันในต่อมใต้ผิวหนัง และทำให้เป็นสิว หรือมีสิวเห่อในช่วงตั้งครรภ์ได้

อาการเตือนคนเริ่มท้องมักจะเริ่มเมื่อไหร่


คุณแม่หลายคนอาจจะสงสัยกันว่า “อาการคนท้องเริ่มเมื่อไหร่?” เมื่อไหร่กันนะที่จะเริ่มรู้สึกว่านี่เป็นอาการตั้งครรภ์ ซึ่งจริง ๆ แล้วอาการคนท้องของคุณแม่แต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนอาจจะมีอาการตั้งแต่สัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ขณะที่บางคนไปเริ่มรู้สึกเมื่อตั้งครรภ์ผ่านไปแล้ว 2 เดือน

ดังนั้น อาการเตือนคนท้องของคุณแม่แต่ละคนจึงแตกต่างกันออกไป เริ่มช้าหรือเร็วไม่เหมือนกัน

อาการคนท้อง 3 วัน: เป็นไปได้ไหมที่คุณแม่จะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ภายใน 2-3 วันแรก


อาจเป็นไปได้ แต่...ก็ถือว่าน้อยมากที่คุณแม่จะรู้ตัวตั้งแต่วันแรก ๆ เลย เพราะอย่างน้อย ๆ ก็อาจจะต้องใช้เวลาตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์ขึ้นไป กว่าที่คุณแม่จะเริ่มสังเกตเห็นอาการผิดปกติบางอย่างที่อาจบอกว่ากำลังตั้งครรภ์

อาการของคนท้อง มารัวๆ ท้องชัวร์ไหมนะ


ระยะเวลาในการตรวจครรภ์นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคำนวณวันตกไข่ไว้ได้อย่างแม่นยำหรือไม่ เพราะถ้าหากคำนวณวันตกไข่เอาไว้แล้ว หลังจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ไปอีก 12-14 วัน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิเสร็จสมบูรณ์พอดี ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

ดังนั้น การตรวจตั้งครรภ์จึงอาจให้ผลลัพธ์ที่เป็นบวกภายใน 10-12 วันหลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด

แต่เพื่อผลลัพธ์ที่แม่นยำมากขึ้น ควรตรวจอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์หลังจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด เพื่อให้มีระดับฮอร์โมนเอชซีจีในปัสสาวะมากเพียงพอที่จะทำให้ตรวจพบการตั้งครรภ์ เพราะการตรวจครรภ์เร็วเกินไป อาจทำให้ผลลัพธ์การตั้งครรภ์คลาดเคลื่อนได้

วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip


ลักษณะท้องของคนท้องในช่วง 1 สัปดาห์ ไปจนถึง 1 เดือนแรก ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่ต่างไปจากเดิมที่เป็นอยู่ เพราะถึงแม้ในช่วงเดือนแรกนั้นมดลูกจะเริ่มกระบวนการขยายตัวเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตัวอ่อน แต่ขนาดมดลูกในระยะนี้ก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะทำให้ขนาดท้องยื่นออกมา

เมื่อร่างกายเริ่มแสดงอาการคนท้องแรก ๆ คุณแม่ควรวางแผนอะไรบ้าง


เมื่อมีอาการคนท้องแสดงออกมา สิ่งสำคัญที่ควรทำหลังจากนั้นคือ

ตรวจครรภ์

  • เป็นการตรวจครรภ์เบื้องต้นด้วยตัวเอง โดยใช้ที่ตรวจครรภ์ เพื่อยืนยันว่าอาการดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะการตั้งครรภ์จริง ๆ

ไปพบแพทย์

  • หากผลลัพธ์ออกมาว่าตั้งครรภ์ ขั้นตอนต่อไปคือการไปพบแพทย์ เพื่อทำการตรวจยืนยันการตั้งครรภ์อีกครั้ง และทำการฝากครรภ์

  • เมื่อทำการฝากครรภ์ แพทย์จะให้คำแนะนำในการเริ่มดูแลตัวเอง มอบสมุดสำหรับการฝากครรภ์ รวมถึงทำการนัดหมายเพื่อทำการตรวจครรภ์ในครั้งต่อไปด้วย

อาการคนท้องระยะแรกจะดีขึ้นเมื่อไหร่ คุณแม่จะมีอาการไปจนถึงวันคลอดเลยหรือไม่


อาการเริ่มแรก ของคนท้องในคุณแม่แต่ละคนนั้นเริ่มและจบไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนมีอาการตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ แต่พอเข้าไตรมาสที่สองก็เริ่มดีขึ้น ขณะที่คุณแม่บางคนไม่มีอาการอะไรเลย กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตั้งครรภ์ไตรมาสสองแล้ว หรือคุณแม่บางคนไม่เคยมีอาการใด ๆ เลยตลอดการตั้งครรภ์

คุณแม่มีอาการท้องไม่รู้ตัวอยู่หรือเปล่า


อาการท้องไม่รู้ตัวนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ คุณแม่บางคนอาจจะมีอาการคนท้องตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ จึงสังเกตได้ว่าอาจจะกำลังตั้งครรภ์ ขณะที่คุณแม่บางคนไม่มีอาการใด ๆ ที่บ่งบอกว่าตั้งครรภ์เลย

โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่ที่มีปัญหาประจำเดือนมาไม่ค่อยปกติอยู่แล้ว กรณีนี้ยิ่งทำให้การรับรู้้ หรือการสังเกตว่ากำลังตั้งครรภ์เป็นไปได้ยากขึ้นกว่าเดิม เพราะถึงแม้ประจำเดือนขาดจะเป็นหนึ่งในสัญญาณแรก ๆ ที่บอกว่าตั้งครรภ์ แต่สำหรับคนที่ประจำเดือนมาไม่ปกติแล้ว สิ่งนี้อาจจะเป็นเรื่องปกติ

ไขข้อข้องใจเรื่องอาการคนท้องกับ Enfa Smart Club


 อาการคนตั้งครรภ์เหมือนกันทุกคนไหม

อาการตั้งครรภ์ในคุณแม่แต่ละคนนั้นจะมีความคล้ายกัน จะต่างก็เพียงมีอาการมากหรือน้อย คุณแม่บางคนอาจมีอาการชัดเจนมากที่รู้ได้ทันทีว่ามีการตั้งครรภ์ คุณแม่บางคนก็มีอาการน้อยจนดูไม่ออกว่าอาจจะกำลังตั้งครรภ์ หรือคุณแม่บางคนไม่มีอาการใด ๆ เลย กว่าจะรู้ตัวว่าตั้งครรภ์ก็ผ่านไปหลายเดือนแล้ว

 อาการของคนท้องแรกๆ เช่น ง่วงนอน เหนื่อยล้า จะหายเมื่อไหร่

โดยมากแล้วกลุ่มอาการแพ้ท้องมักจะเริ่มดีขึ้นเมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์

อย่างไรก็ตาม อาการเริ่มแรกของคนท้องในคุณแม่แต่ละคนนั้นเริ่มและจบไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนมีอาการตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ แต่พอเข้าไตรมาสที่สองก็เริ่มดีขึ้น ขณะที่คุณแม่บางคนไม่มีอาการอะไรเลย กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตั้งครรภ์ไตรมาสสองแล้ว หรือคุณแม่บางคนไม่เคยมีอาการใด ๆ เลยตลอดการตั้งครรภ์

 อาการคนเริ่มท้องจะมาหลังปฏิสนธิกี่วัน

อาการคนท้องอาจเริ่มตั้งแต่ 1-2 สัปดาห์หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด ซึ่งอาจจะเริ่มพบจากอาการขาดประจำเดือนก่อน แล้วจึงมีอาการอื่น ๆ ตามมา

อย่างไรก็ตาม อาการเริ่มแรกของคนท้องในคุณแม่แต่ละคนนั้นเริ่มและจบไม่เหมือนกัน คุณแม่บางคนมีอาการตั้งแต่เดือนแรก ๆ ของการตั้งครรภ์ แต่พอเข้าไตรมาสที่สองก็เริ่มดีขึ้น ขณะที่คุณแม่บางคนไม่มีอาการอะไรเลย กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็ตั้งครรภ์ไตรมาสสองแล้ว หรือคุณแม่บางคนไม่เคยมีอาการใด ๆ เลยตลอดการตั้งครรภ์

 วิธีสังเกตคนท้องระยะแรกที่แม่นยำที่สุดคืออะไร

สัญญาณที่ชัดเจนที่สุดที่สามารถสันนิษฐานได้ว่าอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้น ก็คืออาการขาดประจำเดือน

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณแม่ที่ประจำเดือนมาไม่ปกติเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ก็อาจจะคิดว่าอาการเช่นนี้เป็นอาการปกติของตัวเอง ไม่ใช่การตั้งครรภ์แต่อย่างใด

 อาการเหมือนคนท้อง แต่มีประจําเดือน เกิดจากอะไร

การมีประจำเดือนกะปริดกะปรอย ก็สามารถเป็นสัญญาณแรกของการตั้งท้องได้เหมือนกัน โดยเกิดขึ้นระหว่างการเคลื่อนตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว เคลื่อนตัวไปฝังในมดลูก ซึ่งเป็นเวลาคาบเกี่ยวระหว่างช่วงที่จะมีประจำเดือน ทำให้มีเลือดไหลออกมากะปิดกะปรอย แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดกับผู้หญิงทุกคน แม้จะเกิดได้ แต่ก็ถือว่าน้อย

อย่างไรก็ตาม เลือดที่ออกมานั้น บางครั้งก็อาจจะไม่ใช่เลือดประจำเดือน แต่เป็นเลือดที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ดังนี้

  • การแท้งคุกคาม

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

  • ท้องลม

  • การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก

  • การแท้ง

ดังนั้น หากมีอาการเลือดออกขณะตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจยืนยันว่าเป็นประจำเดือน หรือเป็นสัญญาณสุขภาพอื่น ๆ

 อาการที่บอกว่าท้องลูกสาวคืออะไร

ไม่มีผลการวิจัยหรือผลการศึกษาที่มากพอจะรองรับได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าอาการแพ้ท้องหรืออาการตั้งครรภ์สามารถบอกเพศลูกได้

 อาการเหมือนคนท้องแต่ไม่ท้อง เป็นเพราะอะไร

หากมีอาการคล้ายคนท้อง แต่เมื่อตรวจดูแล้วไม่มีการท้องเกิดขึ้น อาจเกิดจากการตั้งท้องลม ซึ่งเป็นหนึ่งในความผิดปกติของการตั้งครรภ์ คือมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นจริง แต่จู่ ๆ ตัวอ่อนที่ได้รับการปฏิสนธิและฝังตัวในมดลูกก็ฝ่อไป เหลือไว้แต่ถุงตั้งครรภ์เปล่า ๆ

 อาการคนท้องระยะแรกจะมีปัสสาวะสีอะไร

จริง ๆ แล้วปัสสาวะของคนท้องกับคนที่ไม่ท้องนั้นไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างกันมากถึงขนาดนั้น และการเปลี่ยนแปลงสีของปัสสาวะก็ไม่ได้เป็นตัวกำหนดการตั้งครรภ์ด้วย

การที่ปัสสาวะมีสีเข้ม หรือสีจาง อาจหมายถึงปัญหาสุขภาพมากกว่าจะหมายถึงการตั้งครรภ์ ปัสสาวะที่สีเข้มมากอาจหมายถึงการดื่มน้ำน้อย หรือร่างกายขาดน้ำ หรือถ้าปัสสาวะมีเลือดปนออกมาด้วย ก็อาจหมายถึงการอักเสบหรือติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะ อาการเช่นนี้แนะนำให้ไปพบแพทย์

 ปฏิสนธิกี่วันถึงจะรู้ว่าท้อง

ระยะเวลาในการตรวจครรภ์นั้น ขึ้นอยู่กับว่าคำนวณวันตกไข่ไว้ได้อย่างแม่นยำหรือไม่ เพราะถ้าหากคำนวณวันตกไข่เอาไว้แล้ว หลังจากวันที่มีเพศสัมพันธ์ไปอีก 12-14 วัน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิเสร็จสมบูรณ์พอดี ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

 ตรวจครรภ์หลังมีอะไรกับแฟน 1 อาทิตย์ มีโอกาสตรวจเจอไหม

การตรวจครรภ์ 1 สัปดาห์หลังจากที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิดนั้น ถือว่ายังเร็วเกินกว่าที่จะตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ ระยะเวลาเร็วที่สุดในการตรวจพบการตั้งครรภ์คือ 12-14 วัน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิเสร็จสมบูรณ์พอดี ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

 ท้องกี่สัปดาห์ตรวจเจอ

ระยะเวลาเร็วที่สุดในการตรวจพบการตั้งครรภ์คือ 12-14 วัน ถือว่าเป็นระยะเวลาที่เร็วที่สุดที่จะสามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ เพราะเป็นระยะเวลาที่มีการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิเสร็จสมบูรณ์พอดี ก็จะให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Enfa Smart Club วันนี้ พร้อมให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลคุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วงสัปดาห์แรก รวมทั้งพัฒนาการของทารกในครรภ์ และโภชนาการที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญ พร้อมสิทธิพิเศษมากมาย เฉพาะสมาชิกเท่านั้น คลิกเลย!

วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip


บทความแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • เมนส์ไม่มากี่วันถึงท้อง ประจำเดือนไม่มาแปลว่าท้องใช่ไหม
  • ที่ตรวจครรภ์ แม่นยำแค่ไหน และใช้อย่างไรให้ถูกวิธี
  • อาการแพ้ท้อง รับมืออย่างไรให้ไม่แพ้
  • อยากมีลูกต้องทำไง? อยากท้องไวๆ ต้องมาดูเคล็ดลับนี้เลย
  • ท้องลม ท้องหลอก คือท้องจริงๆ หรือว่าท้องเทียม
  • รู้เพศตอนกี่เดือน อัลตราซาวนด์เพศลูก เริ่มทำได้ตอนไหน
  • เลือดล้างหน้าเด็ก สัญญาณแรกสู่การตั้งครรภ์ที่คุณแม่ควรรู้
  • อาการเจ็บเต้านม ปวดเต้านมตอนท้องแบบนี้ ปกติหรือควรระวัง?
  • วิธีกำจัดเหา ล้างบางไข่เหา จบปัญหาลูกเป็นเหา เกาหัวยิกๆ
  • ภูมิแพ้ในเด็ก คุณแม่ควรรับมืออย่างไรเมื่อลูกน้อยเป็นภูมิแพ้

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์แล้ว สิ่งที่คุณแม่ควรใส่ใจก็คือการได้รับโภชนาการที่ดี มีคุณภาพ ซึ่งไม่เพียงสำคัญกับพัฒนาการลูกในครรภ์ แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพ และช่วยสร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้คุณแม่เองด้วย

โภชนาการที่ดีหมายถึง การที่คุณแม่ได้รับสารอาหารอย่างสมดุล คือได้รับทั้งสารอาหารหลัก (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน) และสารอาหารรอง (เกลือแร่ และวิตามิน) ซึ่งช่วยส่งเสริมการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ของคุณแม่ นอกจากนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเสริมสารอาหารอย่างกรดโฟลิก และวิตามินบี 12 ที่มีบทบาทสำคัญในระบบภูมิคุ้มกัน รวมไปถึงการออกกำลังกาย การดูแลสุขภาพใจให้ดี เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่ และเจ้าตัวน้อย

วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip

วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip
วิธี สังเกต ว่าท้องหรือไม่ pantip

จะรู้ได้ไงว่าท้อง 1 อาทิตย์ Pantip

เต้านม และหัวนมมีการเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการคัดเต้านม ....
ตกขาวมากกว่าปกติ ....
ปัสสาวะบ่อย ....
อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง ....
เหนื่อยล้า ....
มีอาการคลื่นไส้ หรืออาการแพ้ท้อง.

คนท้องมีอาการยังไง Pantip

อาการของคนท้องเริ่มแรกมีอาการคัดตึงเต้านมค่ะ ลานนมกว้างและมีสีคล้ำ เหนื่อยหอบง่าย ง่วงนอนอย่างเดียว บางคนอยากกินแต่ของเปรี้ยวของดอง บางคนก็ไม่มีอาการอยากกินค่ะ แก้ไขข้อความเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09:28:18 น. 0.

ท้องแรกๆจะรู้สึกยังไง

อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น จะมีอาการรู้สึกตัวร้อนรุม คล้ายจะเป็นไข้ เนื่องจากร่างกายจะมีการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากมดลูกที่โตขึ้นไปกดกระเพาะปัสสาวะ จึงทำให้แม่ตั้งครรภ์ปวดปัสสาวะบ่อย อาการปัสสาวะบ่อย จะเริ่มดีขึ้นเมื่อมดลูกขยายเข้าในท้อง

จะรู้ได้ยังไงว่าท้องหรือไม่ท้อง

หมอ สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงและสงสัยว่าตั้งครรภ์อันดับแรก คือ การขาดหายไปของประจำเดือน หากเกิน 2 สัปดาห์ แล้วประจำเดือนยังไม่มา ให้สงสัยไว้ก่อนว่าท้อง” ซึ่งอาจมีอาการอื่นแสดงร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้อาเจียน เวียนหัว ปวดท้อง หน้าอกคัดตึงขยาย อารมณ์แปรปรวน กินอาหารไม่ได้ เบื้องต้นแนะนำว่าหากสงสัยให้ทำการตรวจสอบการตั้งครรภ์ ...