การดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าควรทำอย่างไร

และเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ ชนิด ก็มีราคาแพง และทำให้เราต้องสิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากขึ้นโดยไม่จำเป็น หากใช้งานผิดวิธี หรือไม่ดูแลรักษาให้ดี

Show

ดังนั้น วันนี้ เราจึงรวบรวมเคล็ดลับในการใช้งาน และดูแลรักษาเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เพื่อให้เราใช้งานได้นานๆ และช่วยประหยัดไฟได้ด้วยค่ะ

 

การดูแลรักษาพัดลม

ควรเปิดพัดลมเปิดเฉพาะเวลาใช้งาน

หรือเปิดเท่าที่จำเป็น ถ้าไม่มีเหตุต้องใช้ก็ควรจะปิดเสมอ หรือใช้วิธีเปิดหน้าต่าง ใช้ลมธรรมชาติแทนได้ก็จะดีค่ะ และเวลาเปิด ให้เปิดที่ความเร็วลมพอสมควร อย่าเปิดแรงเกินไปถ้าไม่จำเป็น

 

การดูแลรักษาตู้เย็น

ควรเริ่มจากการเลือกตู้เย็น

โดยเลือกขนาดของตู้เย็น ให้เหมาะกับขนาดครอบครัวหรือสมาชิกในบ้าน และตู้เย็นแบบที่มีประตูเดียว จะกินไฟน้อยกว่าแบบที่มี 2 ประตู

สำหรับการวางตู้เย็นนั้น

ควรวางตู้เย็นให้ห่างจากผนัง หรือกำแพงไม่ต่ำกว่า 15 ซ.ม. เพื่อให้ตู้เย็นสามารถระบายความร้อนได้สะดวก และอย่าลืมทำความสะอาดแผงระบายความร้อน ที่อยู่ด้านหลังตู้เย็นบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ตู้เย็นทำงานหนักเกินไป

นอกจากนี้ ก็ไม่ควรแช่ของต่างๆ ไว้มากเกินไป

จนแน่นหรือล้นตู้เย็น และอย่านำของร้อนๆ ไปแช่ในตู้เย็นทันที โดยควรรอให้อาหารเย็นลงเสียก่อน ค่อยนำไปแช่ ส่วนอะไรที่ไม่จำเป็น ก็อย่านำไปแช่ในตู้เย็น เพื่อเป็นการลดภาระการทำงานของตู้เย็นนั่นเองค่ะ

สำหรับการตั้งอุณหภูมิของตู้เย็น

ควรตั้งให้เหมาะสม และพอเหมาะของปริมาณของที่แช่ เมื่อเห็นว่าน้ำแข็งในช่องแช่แข็งเกาะหนา ก็ควรกดปุ่มละลายน้ำแข็งเสมอ

อย่าเปิด-ปิดตู้เย็นบ่อย หรือเปิดคาไว้นานเกินไป

เมื่อปิดแล้วก็ต้องตรวจดูว่าปิดสนิทดีหรือไม่ หากขอบยางประตูเกิดการรั่ว ทำให้ประตูปิดได้ไม่สนิทก็ควรทำการเปลี่ยน และหมั่นทำความสะอาดขอบยางประตูตู้เย็นด้วยนะคะ

 

การดูแลรักษาหม้อหุงข้าวไฟฟ้า

ควรเริ่มจากการเลือกขนาดหม้อหุงข้าว

ให้เหมาะกับจำนวนสมาชิกในบ้าน และหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนคนรับประทานทุกครั้ง

และก่อนที่จะนำตัวหม้อไปใส่ลงบนแท่นหุง

ควรเช็ดน้ำออกให้แห้ง และตรวจดูว่าไม่มีเม็ดข้าวตกหล่น หรือติดอยู่บนแท่นหุง

การใส่น้ำในการหุงข้าว

ควรใส่ในปริมาณที่เหมาะสม ไม่น้อยเกินไป และปิดฝาหม้อให้สนิททุกครั้งที่หุง เมื่อข้าวสุกแล้วให้ดึงปลั๊กไฟออกทุกครั้ง

 

การดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ

แอร์หรือเครื่องปรับอากาศนั้น

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟมากอีกชิ้นหนึ่ง ดังนั้น ควรเริ่มจากการเลือกซื้อแอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง และเหมาะสมกับขนาดของห้อง

ตอนติดตั้ง

ควรติดตั้งให้อยู่ในระดับสูง และมีการระบายความร้อนได้เป็นอย่างดี

ควรเปิดใช้เท่าที่จำเป็น

และเปิดที่อุณหภูมิ 25-26 องศาเซลเซียส ถ้าไม่มีใครอยู่ก็ต้องปิดทุกครั้ง และสามารถปิดล่วงหน้าได้หลายสิบนาที ก่อนออกจากห้องหรือออกจากบ้าน เพราะในระหว่างนั้น อุณหภูมิในห้องก็จะยังเย็นอยู่ หรือจะใช้การเปิดพัดลมช่วยในระหว่างนั้นก็ได้

สำหรับตัวห้องนั้น

เราสามารถช่วยให้แอร์ไม่ทำงานหนักมาก ด้วยการติดตั้งผ้าม่าน เพื่อช่วยกันความร้อนจากด้านนอกในระดับหนึ่ง รวมทั้งปิดประตูหน้าต่างให้สนิท เพื่อไม่ให้ความเย็นรั่วไหลออกไป

อย่าลืมบำรุงรักษา

หรือตรวจสภาพของเครื่องปรับอากาศ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ และทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศเป็นประจำ

 

การดูแลรักษาเตารีด

เตารีด

ป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่กินไฟมากอีกชิ้นหนึ่งของบ้าน การใช้งานอย่างประหยัด และเท่าที่จำเป็น ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยดูแลรักษาเตารีดให้มีสภาพดีใช้งานได้นานขึ้น

ส่วนการดูแลรักษาเตารีดในเรื่องอื่นๆ นั้น

ควรเริ่มจากตรวจดูสภาพสายไฟ ตัวเครื่อง ว่าเป็นปกติอยู่หรือไม่ ก่อนการใช้งาน และตั้งความร้อนให้เหมาะกับชนิดของผ้าที่จะรีด

โดยเริ่มรีดจากผ้าบางๆ ก่อน ในขณะที่เตารีดยังไม่ร้อนจัด และสำหรับการฉีดน้ำหรือน้ำยารีดผ้า ให้ฉีดพอประมาณ อย่าฉีดจนแฉะ เพราะจะทำให้เตารีดทำงานหนักขึ้น

และควรรีดผ้าครั้งละมากๆ ทีเดียว เพื่อประหยัดค่าไฟ อย่ารีดบ่อยๆ เพียงแค่ครั้งละตัวหรือสองตัว

เมื่อใช้งานใกล้เสร็จ

ควรดึงปลั๊กออก ก่อนรีดเสื้อผ้าเสร็จประมาณ 2-3 นาที เพราะระหว่างนั้น เตารีดจะยังคงความร้อนไว้อยู่ ทำให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่า

 

การดูแลรักษาเครื่องซักผ้า

การใช้เครื่องซักผ้าแบบถนอมการใช้งานนั้น

เริ่มจากการใช้งานเครื่องอย่างเหมาะสม ไม่ใส่ผ้ามากจนเกินกำลังการทำงานของเครื่อง และหากมีเสื้อผ้าที่ต้องซักน้อยชิ้น เช่น เสื้อผ้าแค่ชิ้น-สองชิ้น และสามารถซักด้วยมือได้ในเวลาอันรวดเร็ว ควรซักด้วยมือแทนการใช้เครื่อง

การใช้น้ำซักผ้า

ควรใช้น้ำเย็น ยกเว้นเสื้อผ้าที่มีคราบสกปรก หรือคราบไขมันมากผิดปกติเท่านั้น ถึงจะใช้น้ำอุ่น และหากเป็นวันที่มีแสงแดดจัด เหมาะแก่การตากผ้า ก็ควรนำผ้าออกไปตากทันทีหลังซักเสร็จ แทนที่จะใช้เครื่องอบผ้า

          โคมไฟที่ใช้งานมานานจะมีคราบไขมัน และคราบสกปรกติดอยู่ที่หลอดไฟ จึงเป็นที่สะสมของฝุ่น ทำให้แสงไฟไม่ส่องสว่างเท่าที่ควร ฉะนั้น เราควรทำความสะอาด โดยปิดสวิชต์ไฟให้เรียบร้อยก่อน จากนั้นสวมถุงมือหรือใช้ผ้าเนื้อนิ่มรองก่อนแล้วถอดหลอดไฟออกมา ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่าพอหมาดเช็ดบริเวณรอบ ๆ โคมไฟและที่ตัวหลอดไฟ เป่าลมจนแห้ง แล้วประกอบกลับเข้าที่เดิม

ถึงเวลา ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า กันหรือยังคะ ? อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้กันมานาน ก็ต้องการการดูแลรักษาและทำความสะอาดอยู่เสมอ my home ได้นำเคล็ดลับทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้ง 10 ชนิดมาบอกค่ะ

มา ทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้า กันเถอะ !

การดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าควรทำอย่างไร

 

1. โทรทัศน์

วิธีกันฝุ่นจับจอโทรทัศน์จัดการได้โดยการฉีดสเปย์ต้านไฟฟ้าสถิต และใช้น้ำยาเช็ดกระจกเช็ดให้สะอาด จากนั้นเช็ดแห้งด้วยกระดาษเช็ดมือ เพียงเท่านี้ก็สามารถดูทีวีแบบไร้ฝุ่นกวนจอแล้วล่ะค่า

การดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าควรทำอย่างไร

 

2. เตารีด

แน่นอนว่าต้องถอดปลั๊กเตารีดก่อนทำความสะอาดนะคะ และต้องให้แน่ใจว่าเตารีดไม่ร้อนแล้ว ถ้าเตารีดของคุณเป็นชนิดไม่เคลือบให้ใช้ผ้านุ่ม ๆ แตะยาสีฟันเช็ดตรงส่วนที่ใช้รีดผ้า ถ้ามีคราบขจัดยากติดอยู่ให้ขัดด้วยแผ่นใยขัดเนื้อละเอียดค่ะ เพียงเท่านี้ก็ได้เตารีดสะอาด ๆ ไม่มีคราบกลับมาใช้แล้ว คุณสามารถอ่านวิธีทำความสะอาดเตารีด เพิ่มเติมได้เลยค่ะ

การดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าควรทำอย่างไร

3. เครื่องดูดฝุ่น

ใช้น้ำอุ่นซักทำความสะอาดถุงเก็บฝุ่นแล้วปล่อยให้แห้ง ใช้แปรงปัดฝุ่นทำความสะอาดแผ่นรองกระดาษ แต่ถ้าทำจากกำมะหยี่ให้ใช้น้ำเย็นล้างทำความสะอาดแล้วปล่อยให้แห้ง ส่วนตรงข้อต่อของตัวเครื่องให้แกะออกมาทำความสะอาดก่อน แล้วหยดน้ำมันหล่อลื่นหรือจาระบีก่อนประกอบให้เป็นแบบเดิม

การดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าควรทำอย่างไร

4. เครื่องซักผ้า

เติมน้ำลงในเครื่องซักผ้าจนเต็มถังแล้วละลายสารฟอกขาวกลุ่มคลอรีนลงไปแล้วเดินเครื่องจนคราบดำหลุดออก ทำความสะอาดซอกเล็กซอกน้อยในถังซักผ้าด้วยการใช้สำลีพันปลายไม้จิ้มฟันแคะเศษขยะออก และทำความสะอาดขอบถังซักผ้าเป็นครั้งคราวโดยการใช้แปรงสีฟันเก่าขัดตรงซอกขอบถัง สามารถอ่านวิธีทำความสะอาดเครื่องซักผ้าแบบละเอียดได้เลยนะคะ

5. ตู้เย็น

ก่อนทำการล้างตู้เย็นให้ปูผ้าเช็ดตัวเก่ารองพื้นตู้เย็นไว้ก่อนนะคะ เพราะจะช่วยซับน้ำจากการทำความสะอาดและละลายน้ำแข็ง วางกะละมังใส่น้ำร้อนไว้ในช่องแช่แข็งจะทำให้น้ำแข็งละลายเร็วขึ้นค่ะ จากนั้นเช็ดภายในตู้เย็นและช่องแช่แข็งด้วยเบคกิ้งโซดาผสมน้ำอุ่น จะช่วยดับกลิ่นและทำให้คราบสกปรกก็หลุดออกไปอย่างง่ายดาย ไม่ควรใช้สบู่หรือน้ำยาล้างจานนะคะ เพราะจะทำให้ตู้เย็นมีกลิ่นและทำให้อาหารเน่าเสีย และควรทำความสะอาดตู้เย็นทุก 2-3 เดือนนะคะ เพื่อความสะอาดและการถนอมอาหารอย่างเต็มประสิทธิภาพค่า

6. เตาอบ

ใช้ผ้าชุบเบคกิ้งโซดาเช็ดเตาอบขณะที่ยังอุ่นอยู่ และใช้น้ำยาทำความสะอาดแบบกัดสีขจัดคราบเปื้อนบนกระจกทนความร้อน เช็ดในขณะที่กระจกเย็นตัว เพียงเท่านี้ก็จะทำให้เตาอบสะอาดไร้คราบเปื้อนแล้วล่ะค่ะ

7. ไมโครเวฟ

นำน้ำมะนาวใส่แก้วแล้วเอาไปวางไว้ในไมโครเวฟ กดปุ่มให้ไมโครเวฟทำงานโดยใช้ไฟสูงประมาณ 1 นาที กรดจากน้ำมะนาวจะช่วยดับกลิ่นคาและกำจัดคราบสกปรกที่เกิดจากอาหารอีกด้วย เมื่อเสร็จแล้วก็ใช้ผ้าบิดหมาดเช็ดเก็บความเรียบร้อยทั้งในและนอกตัวไมโครเวฟเพียงเท่านี้ ไมโครเวฟของเราก็จะกลับมาสะอาดพร้อมใช้เหมือนเดิมแล้วค่ะ

 8. เครื่องปั่นน้ำ/อาหาร

เมื่อใช้เครื่องปั่นเสร็จควรล้างทันทีหลังใช้งานเพราะจะทำความสะอาดได้ง่ายและไม่มีกลิ่นอาหาร เทน้ำยาล้างจานเล็กน้อยผสมกับน้ำอุ่น แล้วเปิดเครื่องปั่นเพื่อทำความสะอาดภายในให้ได้ทุกซอกทุกมุม เสร็จแล้วเทน้ำออกแล้วทำซ้ำอีกครั้งด้วยน้ำเปล่า จะทำให้เครื่องปั่นของคุณสะอาดทุกซอกทุกมุมเลยล่ะค่ะ

การดูแลรักษาและทำความสะอาดเครื่องใช้ไฟฟ้าควรทำอย่างไร

9. เครื่องปิ้งขนมปัง

เรื่องปิ้งขนมปังเป็นอีกอย่างที่ควรทำความสะอาดบ่อย ๆ เพราะว่าเศษขนมปังชอบติดอยู่ตรงตะแกรงเหล็กนั่นเอง วิธีทำก็ง่าย ๆ ด้วยการถอดฐานล่างออกก่อน คว่ำตัวเครื่องแล้วก็เขย่าเอาเศษออกให้หมดค่ะ อาจจะใช้แปรงช่วยปัดเบาๆ จากนั้นก็ทำความสะอาดฐานและด้านนอกตัวเครื่องให้เรียบร้อย แล้วก็เช็ดให้แห้งก่อนจะประกอบกลับไปแบบเดิมค่ะ

10. โคมไฟ

โคมไฟที่ใช้งานมานานจะมีละอองน้ำหรือน้ำมันมาจับแล้วฝุ่นจะมาเกาะทับอีกชั้นหนึ่งหากปล่อยไว้จะเกิดเป็นคราบสกปรก ติดแน่น ควรปัดฝุ่นออกด้วยไม้ปัดฝุ่นใยสังเคราะห์ เวลาปัดฝุ่นหาถุงก๊อบแก๊บใบใหญ่ๆ รองไว้ เพื่อช่วยให้ฝุ่นไม่ฟุ้งหากเกิดเป็นคราบสกปรกให้ใช้ผ้าขี้ริ้วชุบสารชะล้างภายในบ้านเช็ดออก