ปรับโครงสร้างหนี้ต้องทำยังไง

การปรับโครงสร้างหนี้ ดีหรือไม่แล้วต้องทำอย่างไร

10th March 2017 รีไฟแนนซ์

สำหรับลูกหนี้ทั้งหลายฟังทางนี้ ใครที่มีภาระหนี้สินมากเกินตัวจนไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ได้ตามกำหนด ทางเลือกหนึ่งที่เห็นว่ากำลังเป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ นั่นก็คือ “การปรับโครงสร้างหนี้” คุณรู้หรือไม่ว่า การปรับโครงสร้างหนี้นั้นดีอย่างไร และต้องทำอย่างไรถึงจะเป็นประโยชน์กับคุณมากที่สุด วันนี้เราหาคำตอบมาฝากค่ะ มาดูกันว่าการปรับโครงสร้างนี้เขาทำกันอย่างไร

ปรับโครงสร้างหนี้ต้องทำยังไง

การปรับโครงสร้างหนี้คืออะไร

การปรับโครงสร้างหนี้ คือ การขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ ซึ่งอาจจะเป็นเจ้าหนี้รายใหม่ หรือเจ้าหนี้เดิมก็ได้ แต่หนี้ของคุณไม่หมดไป เพียงแต่ยืดระยะเวลาในการผ่อนให้นานขึ้นเท่านั้น สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้สามารถทำได้ 2 แบบ ดังนี้

  • เป็นการแปลงหนี้ใหม่

หมายถึง หนี้เดิมจะถูกระงับ และคู่สัญญาผูกพันกันตามหนี้ใหม่ ซึ่งรูปแบบนี้ จะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับหนี้ เป็นการเพิ่มจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดชอบและเปลี่ยนประเภทหนี้

  • ไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่

หมายถึง หนี้เดิมไม่ระงับ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนแปลงการชำระหนี้ เปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย แต่ไม่เปลี่ยนสาระสำคัญเกี่ยวกับหนี้


หลักเกณฑ์ในการทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้

  • คุณต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นเจ้าหนี้มีหลักประกัน หรือเจ้าหนี้ไม่มีหลักประกัน
  • จำนวนหนี้ของแต่ละเจ้าหนี้ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับจำนวนหนี้ ได้รับชำระหนี้มากกว่าการบังคับคดีกับทรัพย์สิน
  • ลูกหนี้ร่วม หรือผู้ค้ำประกันนำมาหักจากจำนวนหนี้

ประโยชน์จากการปรับโครงสร้างหนี้

การปรับโครงสร้างหนี้ จะทำให้หนี้ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ยังไม่เป็นหนี้เสีย และสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ไว้ได้ ถือเป็นการให้โอกาสลูกหนี้ ในการแก้ไขปัญหาภายในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายทนายความ และค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องคดีทางแพ่ง ทำให้การปรับโครงสร้างหนี้ เป็นผลดีกับทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ คุณต้องรู้ว่าหนี้อะไรบ้างทีไม่ควรนำมาปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ เพราะอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีก็ได้


หนี้ที่ไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ใหม่

หนี้ที่คุณไม่ควรนำมาปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ นั่นก็คือ หนี้ที่เกิดจากการทุจริจ คดโกง ลูกหนี้หมดความสามารถในการชำระหนี้ หรือในกรณีที่ลูกหนี้เสียชีวิต ทายาทไม่มีความประสงค์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการชำระหนี้ หนี้ที่เล็งให้เห็นอยู่แล้วว่า ลูกหนี้ไม่มีความสามารถชำระหนี้ หรือกิจการไม่มีโอกาสฟื้นฟูได้



คุณจะเห็นว่าหนี้ที่เราได้กล่าวมากข้างต้นนั้น ก็ไม่ทำให้หนี้ที่เป็นอยู่หายไปได้ ยิ่งมีการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ ก็จะทำให้คุณมีภาระหนี้เพิ่ม ซึ่งหากคุณเกิดปัญหาเกี่ยวกับการชำระหนี้อีก ก็ยิ่งเป็นผลเสียต่อทรัพย์สินของคุณเอง

ดังนั้น เมื่อคุณผิดนัดชำระหนี้ เจ้าหนี้จะต้องพิจารณาว่า จะให้โอกาสคุณในการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่หรือไม่ ถ้าให้โอกาสคุณก็จะมีความสามารถในการหาเงินมาชำระคืนได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปฟ้องคดีต่อศาลเป็นคดีแพ่ง นั่นเพราะการฟ้องศาลเป็นคดีแพ่ง สิ่งแรกที่คุณต้องเสีย ก็คือ สูญเสียความสัมพันธ์อันดีระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ สิ่งที่ตามมาก็คือ เสียเงินค่าวางศาล เสียเงินค่าทนายความ และเสียเวลาในการดำเนินคดี ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1 ปี

ถึงแม้จะจบคดีแล้ว แต่ก็ต้องไปสืบหาทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งเป็นเรื่องยาก หลังจากนั้นต้องไปยึดทรัพย์ของลูกหนี้มาขายทอดตลาด ในกรณีนี้ก็หาคนซื้อทรัพย์ยากเช่นกัน กว่าเจ้าหนี้จะได้เงินคืนอาจจะใช้เวลานานมาก แต่สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ทั้งลูกหนี้ และเจ้าหนี้ แต่การปรับโครงสร้างหนี้ก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียค่ะ ทั้งนี้คุณต้องพิจารณาเปรียบเทียบเอาเองว่า คุณจะได้รับประโยชน์จากการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ในครั้งนี้หรือไม่

อ่านเพิ่มเติม : ‘ลดดอกเบี้ย-ปรับโครงสร้างหนี้’ ของขวัญปีใหม่ให้ประชาชนจาก 3 ธนาคารรัฐ


ข้อดีของการปรับโครงสร้างหนี้

สามารถยืดระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไปได้ กรณที่คุณไม่สามารถชำระได้ตามข้อสัญญาครั้งแรก และเป็นการรวมหนี้ บางธนาคาร หรือเจ้าหนี้บางแห่ง อาจจะมีข้อเสนอพิเศษ ให้คุณรวมหนี้บัตรเครดิตกับสินเชื่อส่วนบุคคล มาเป็นยอดหนี้เดียวกัน และคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าเดิม


ข้อเสียของการปรับโครงสร้างหนี้

การทำสัญญาเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ทางเจ้าหนี้เดิมจะรวมยอดหนี้ทั้งหมด บวกกับดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าทวงถามต่าง ๆ ที่ลูกหนี้หยุดชำระหนี้มาเป็นยอดใหม่ และทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตรา 12% ต่อปี ผู้ที่ได้รับประโยชน์สุดสุดก็คือเจ้าหนี้ โดยไม่ต้องนำเงินมาจ่ายให้กับคุณเพิ่ม แต่เป็นการต่อยอดหนี้ให้กับลูกหนี้ออกไปอีก

สำหรับการรวมหนี้ โดยนำหนี้บัตรเครดิต มารวมกับสินเชื่อส่วนบุคคล และนำยอดทั้งหมดมาทำสัญญาใหม่ ในตอนที่คุณทำสัญญาคุณมีความสามารถและยังจ่ายใหว แต่พอระยะเวลาหนี้ คุณอาจติดปัญญาจนไม่สามารถชำระได้ตามที่ตกลงไว้ ทางเจ้าหนี้จะใช้สัญญาฉบับใหม่ในการส่งฟ้อง โดยการฟ้องจะไม่ใช้สัญญาเก่าของหนี้แต่ละตัว และทำให้พอถึงตอนถูกฟ้องคุณไม่มีข้อต่อสู้ เนื่องจากเป็นสัญญาใหม่ และทำได้เพียงยื่นคำให้การต่อสู้เพื่อขอระยะเวลาเท่านั้น เมื่อศาลนัดครั้งท่ 2 ก็จะต้องไกล่เกลี่ย แต่ยอดหนี้ก็ไม่สามารถลดลงได้ เนื่องจากเจ้าหนี้ทำสัญญาใหม่ดอกเบี้ยต่ำ ลูกหนี้จะหมดข้อต่อสู้

ในกรณีหนี้บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล มีอายุความต่างกัน การคิดดอกเบี้ยก็อยู่ในอัตราที่ต่างกัน ในปัจจุบันคุณก็ทราบดีอยู่แล้วว่า ถ้าไม่มีเงินชำระหนี้ในกรณีที่มีหนี้หลายตัว ก็ไม่ควรปรับโครงสร้างหนี้ และหากจะปรับโครงสร้างหนี้ก็ควรเป็นเฉพาะหนี้แต่ละตัว เนื่องจากเจ้าหนี้ในปัจจุบันมีการปล่อยทั้งบัตรเครดิต และสินเชื่อ เวลาเสนอปรับโครงสร้างหนี้ก็จะเสนอให้เห็นว่า คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ แต่ในความเป็นจริงนั่นไม่ใช่ค่ะ เพราะคุณก็ยังมีหนี้ที่ต้องชำระอยู่ และหากลองคำนวณดี ๆ คุณอาจจะเสียเปรียบเจ้าหนี้ก็ได้

อย่างไรก็ตามหากมีการฟ้องแล้วไปไกล่เกลี่ยที่ศาล และมีการตกลงชำระหนี้ตามที่ตกลงกันที่ศาล และมีการบันทึก ก็ถือว่าคดีสิ้นสุดแล้ว หากคุณไม่สามารถชำระหนี้ก็มีผมาถึงการอายัดทรัพย์ อายุเงินเดือนเร็วขึ้น ซึ่งทั้งนี้เราก็อยากให้คุณคิดและดูรายละเอียดข้อตกลงต่าง ๆ ให้ดี เน้นให้ดูเกี่ยวกับยอดหนี้ ในกรณียอดหนี้สูง คุณควรยื่นคำให้การต่อสู้เพื่อจะได้ใช้ระยะเวลาในการเก็บเงิน และสุดท้ายคุณก็สามารถชำระหนี้ได้เช่นเดียวกันค่ะ