การอ่านออกเสียงร้อยแก้วและบทร้อยกรองผู้อ่านควรปฏิบัติอย่างไร

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วต้องออกเสียงให้ชัดเจน อ่านคำถูกต้อง เว้นวรรคตอนเหมาะสม น้ำเสียง น่าฟัง สอดแทรกอารมณ์การอ่านให้สัมพันธ์กับเนื้อเรื่อง และต้องมีมารยาทในการอ่าน

Show

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ป.5/1 อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและบทร้อยกรองได้ถูกต้อง                                                           

ป.5/8 มีมารยาทในการอ่าน

 จุดประสงค์                                                                                                                    

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)                                                                                                         

1. บอกหลักการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้                                                                                  

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)                                                                                                         

2. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วได้                                                                                         

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)                                                                                                 

 3. มีมารยาทในการอ่าน

การวัดผลและประเมินผล

 การประเมินผล

      1. ประเมินการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

      2. ประเมินการทำใบงานที่ 1 การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว (เป็นใบงานทบทวน สามารถทำเป็นการบ้านได้)

การอ่านออกเสียงร้อยแก้วและบทร้อยกรองผู้อ่านควรปฏิบัติอย่างไร
สาระสำคัญ

        การอ่านออกเสียง  เป็นการอ่านให้ผู้อื่นฟัง  เพื่อให้เข้าใจอรรถรสเกิดอารมณ์และจินตนาการไปตามเนื้อเรื่อง  ผู้ที่อ่านออกเสียงจึงต้องมีน้ำเสียงสดใสไพเราะ  อ่านเว้นวรรคตอนและสะกดการันต์ได้ถูกต้อง  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอ่านร้อยกรองผู้อ่านต้องรู้จักฉันทลักษณ์ และท่วงทำนองการอ่านคำประพันธ์แต่ละชนิดด้วย  ดังนั้นผู้อ่านจึงควรฝึกฝนการอ่านออกเสียงให้ชำนาญไปตามความสามารถของตนบทหลักการที่ถูกต้อง  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่นอีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมทางภาษาของชาติอีกทางหนึ่ง

  ๑. ความหมายของร้อยแก้ว

              ตามพจนานุกรมหมายความว่า “ความเรียงที่สละสลวย  ไพเราะด้วยเสียงและความหมาย” หรือ  หมายถึง  “ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นโดยไม่มีข้อบังคับหรือข้อแท้ต่างๆ  เช่น สัมผัส  เอก  โท  ครุ  ลหุ  คณะ  ฯลฯ  เป็นความเรียงที่เกลี้ยงเกลาสละสวย  ไพเราะงดงาม  ประหนึ่งการร้อยดวงแก้วที่แสนงามเข้าด้วยกัน”  

              ถึงแม้ว่าร้อยแก้วจะไม่บังคับว่าต้องใช้คำที่สัมผัสกัน  แต่บางครั้งร้อยแก้วที่มีสัมผัสซึ่งก็จะทำให้เกิดความไพเราะและแสดงถึงการเรียบเรียงร้อยแก้วนั้นอย่างพิถีพิถัน  เช่น  “...กรุงสุโขทัยนี้ดี  ในน้ำมีปลา  ในนามีข้าว  เจ้าเมืองบเอาจกอบในไพร่ลู่ทาง  เพื่อนจูงวัวไปค้าขี่ม้าไปขาย...”  เป็นข้อความในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑  ของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่ใช้คำคล้องจองทำให้เกิดความไพเราะ

        ๒. รูปแบบของร้อยแก้ว                รูปแบบของร้อยแก้วแบ่งเป็น  ๒  ประเภท  คือ

                ๑. บันเทิงคดี   คือ  งานเขียนที่แต่งขึ้นโดยจินตนาการ   มีความมุ่งหมายให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงเป็นสำคัญ   แต่ก็อาจให้ความรู้ความจรรโลงใจ  คติ  และแง่คิดต่างๆ  ด้วย  งานเขียนประเภทนี้ได้แก่  นิทาน  เรื่องสั้น  นวนิยาย  บทละครพูด  นิยายอิงพงศาวดาร  ตำนานต่างๆ  เป็นต้น

การอ่านออกเสียงร้อยแก้วและบทร้อยกรองผู้อ่านควรปฏิบัติอย่างไร

                ๒. สารคดี  คือ  งานเขียนที่แต่งขึ้นจากข้อเท็จจริง   เป็นงานเขียนที่มุ่งให้ความรู้และข้อเท็จจริงเป็นสำคัญ  เช่น  สารคดีเชิงท่องเที่ยว  สารคดีเชิงชีวประวัติ  รายงานการประชุม ความเรียง  บทความ  ตำราทางวิชาการ  พงศาวดาร  กฎหมาย  จดหมายเหตุ  พระราชหัตถเลขา  พระคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา  เป็นต้น

        ๓. หลักการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว                การอ่านออกเสียงร้อยแก้วเป็นการอ่านออกเสียงเหมือนเสียงพูดธรรมดา  เพื่อรับสารจากเรื่องที่อ่าน  โดยมีหลักการอ่านดังนี้

                ๑. ศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ  เพื่อให้ทราบถึงสาระสำคัญของเรื่อง  อารมณ์และความรู้สึกที่ผู้เขียนตั้งใจจะสื่อให้ผู้อ่านทราบ  แล้วแบ่งวรรคตอนในการอ่านให้ถูกต้องว่าตอนใดควรเว้นวรรคน้อย  ตอนใดควรเว้นวรรคมาก

                ๒. ศึกษาหลักการอ่านคำในภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขรวิธี  การอ่านคำที่นิยมมาจากภาษาต่างประเทศ  ต้องอ่านให้ถูกต้องโดยยึดพจนานุกรม

                ๓. ต้องมีสมาธิในการอ่าน  คือ  ต้องมีความมั่นใจตัวเอง  ไม่อ่านผิด  อ่านตก  อ่านเติม  หรืออ่านผิดบรรทัด  ต้องควบคุมสายตาจากซ้ายไปขวาและย้อยกลับมาอีกบรรทัดหนึ่งอย่างว่องไวและแม่นยำ

                ๔. อ่านด้วยน้ำเสียงที่เป็นธรรมชาติ   คือ  การอ่านให้มีน้ำเสียงเหมือนเสียงพูด  ไม่ดัดเสียงหรือใช้เสียงแหลมเกินไป เน้นเสียงหนักเบา  สูงต่ำ  ให้เป็นไปตามธรรมชาติโดยสอดคล้องกับเรื่องที่อ่าน

                ๕. อ่านออกเสียงให้ดังพอประมาณ  ไม่ตะโกนหรือเสียงแผ่วเกินไป  หากอ่านเสียงดังผ่านไมโครโฟนควรให้ปากห่างจากไมโครโฟนของแต่ละคน  และระมัดระวังอย่าให้เสียงหายใจเข้าไมโครโฟน  เพราะเสียงจะพร่าไม่น่าฟัง

                ๖. อ่านเว้นวรรคตอนให้ถูกต้อง  เป็นการกำหนดการอ่านให้เหมาะสม  ไม่อ่านเร็วหรือช้าเกินไป  ต้องอ่านให้จบคำและจบความ  ถ้าเป็นคำยาวหรือคำหลายพยางค์ไม่ควรหยุดกลางคำหรือตัดประโยคจนเสียความ

                ๗. อ่านอย่างมีลีลาและอารมณ์ตามเนื้อเรื่องที่อ่าน   คือ  เน้นคำสำคัญและคำที่ต้องการเพื่อให้เกิดภาพพจน์หรือจินตนาการ  การเน้นควรเน้นเฉพาะคำไม่ใช่เน้นทั้งวรรคหรือเน้นทั้งประโยค  เช่น  “แม่  คือผู้ให้กำเนิดและผู้มีพระคุณต่อเรา”  เน้นคำว่า “แม่”  เป็นต้น

                ๘. อ่านเครื่องหมายวรรคตอนให้ถูกต้อง  เช่น  คำที่ใช้อักษรย่อต้องอ่านให้เต็มคำดังตัวอย่าง  “คณะกรรมการแม่บ้าน ทบ. ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม”  ต้องอ่านออกเสียงว่า  “สมาคมแม่บ้านกองทัพบก  ลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม”

                ๙. การผ่อนลมหายใจ  เมื่ออ่านจบย่อหน้าหนึ่งๆ  ควรผ่อนลมหายใจเล็กน้อย   เมื่ออ่านย่อหน้าใหม่จึงเน้นเสียงหรือทอดเสียง  เพื่อดึงดูดความสนใจ   จากนั้นก็อ่านตามปกติตามเนื้อหาที่อ่าน

                ๑๐. การจับหนังสือ  ควรวางหนังสือหรือบทอ่านบนฝ่ามือซ้าย  ยกขึ้นให้ได้ระดับตามความเหมาะสม  มือขวาคอยพลิกหนังสือหน้าถัดไปไม่ควรใช้นิ้วชี้ตามตัวหนังสือ

        ๔. การอ่านออกเสียงร้อยกรอง

                การอ่านออกเสียงร้อยแก้วเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การอ่านทำนองเสนาะ  พจนานุกรมพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๔๒  ให้ความหมายไว้ว่า  “วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของบทร้อยกรองประเภท  โคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน”  ดังนั้นการอ่านทำนองต่างๆ ตามลักษณะของฉันทลักษณ์จึงเกิดขึ้น  เพราะฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรองแต่ละประเภทมีการกำหนดทำนองให้แตกต่างกันออกไป  บทร้อยกรองบางชนิดผู้อ่านสามารถอ่านได้หลายทำนอง  เช่น

                กาพย์ยานี  ๑๑  สามารถอ่านได้หลายทำนอง  โดยจะอ่านเป็นทำนองกาพย์ยานี  หรือทำนองสรภัญญะ  หรือทองนองโอ้เอ้วิหารราย  เป็นต้น การอ่านร้อยกรองแต่ละประเภทนั้นสามารถอ่านได้หลายวิธีดังนี้

                ๑. การขับ  ได้แก่  การขับเสภา  การขับลำนำสู่ขวัญ  การขับลำนำกล่อมช้าง

       ๒. การร้อง  การร้องเพลงทำนองต่างๆ  ได้แก่  เพลงไทยเดิม  เพลงไทยสากล  หรือเพลงลูกทุ่ง  เป็นต้น

       ๓. การกล่อม  ได้แก่  การกล่อมเด็ก  การกล่อมพระบรรทม

       ๔. การเห่  ได้แก่  การเห่เรือ  การเห่ชมสิ่งต่างๆ

       ๕. การแหล่  ไก้แก่ การแหล่เทศน์  แหล่งเพลงต่างๆ  เช่น  เพลงขอทาน เป็นต้น

       ๖. การสวด  ได้แก่  การสวดคำฉันท์บูชาพระคุณครู  สวดสรภัญญะ  สวดโอ้เอ้วิหารราย

       ๗. การพากย์  ได้แก่  การพากย์โขน  หรือทำนองพากย์ในบทพากย์ต่างๆ 

       ๘. การว่า  ได้แก่  การว่าเพลงพื้นบ้าน  เช่น  เพลงโคราช  หมอลำกลอน ฯลฯ  เพลงปฏิพากย์ต่างๆ

การอ่านออกเสียงร้อยแก้วและบทร้อยกรองผู้อ่านควรปฏิบัติอย่างไร



            การอ่านวรรณคดีเป็นทำนองเสนาะมีคุณค่า  คือ  ทำให้ผู้เรียนสามารถจดจำเนื้อเรื่องได้และเกิดอารมณ์คล้อยตามต่างๆ  เช่น สนุกสนาน  เจ็บแค้น  เศร้าโศก  ตามเนื้อเรื่อง  ได้เห็นภาพ ได้ยินเสียง  เกิดความประทับใจในรสวรรณคดีและจำบทกวีได้เองโดยไม่ต้องท่องจำ  นอกจากผู้อ่านจะได้รับรสไพเราะจากการอ่านแล้ว  ผู้ฟังก็ได้รับรสไพเราะด้วยเช่นกัน

            ทำนองเสนาะของร้อยกรองแต่ละชนิดมีทำนองและให้อารมณ์ที่แตกต่างกัน  เหมือนกับการร้องแพลง  หรือขับลำนำตามท่วงทำนองเพลงแต่ละประเภท  การอ่านทำนองเสนาะจึงเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทยและคนไทย  ดังนั้นคนไทยทุกคนจึงควรฝึกอ่านทำนองเสนาะในวรรณคดีเพื่อสืบทอดมรดกทางภูมิปัญญานี้ด้วยความภาคภูมิใจ 

         ๕. กลวิธีการอ่านออกเสียงร้อยกรอง

                ๑. ผู้อ่านทำนองเสนาะได้ไพเราะต้องเป็นผู้มีแก้วเสียงดี  น้ำเสียงแจ่มใส  คือ   มีเสียงใส  กังวานไม่แหบแห้งหรือแตกพร่า  เนื่องจากการอ่านเป็นเรื่องของการใช้เสียง  เมื่อจะคัดเลือกผู้อ่านเข้าแข่งขันการประกวดการอ่านทำนองเสนาะ  ผู้ที่มีเสียงดีย่อมสามารถใช้น้ำเสียงอ่านได้ไพเราะจับใจกว่าผู้ที่มีเสียงแหบแห้ง  สำหรับผู้มีน้ำเสียงไม่แจ่มใสถ้าฝึกหัดออกเสียงให้ถูกต้อง  จดจำทำนอง  ลีลา  ลักษณะฉันทลักษณ์ของคำประพันธ์แต่ละประเภทได้  ก็สามารถอ่านออกเสียงให้น่าฟังได้แม้ไม่ไพเราะเท่ากับคนเสียงดีแต่คนที่อ่านได้ถูกต้องก็ยังนับว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่ง 

                   ๒. ต้องมีความรู้เรื่องฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรองที่จะอ่าน เช่น ถ้าทราบว่าเป็นฉันท์ก็ต้องอ่านให้ถูกต้องตามครุ ลหุ ของฉันท์ชนิดนั้นๆ

       

                ๓. จำทำนองเสนาะของร้อยกรองแต่ละชนิดได้อย่างแม่นยำ  ไม่หลงทำนอง  บางคนอ่านกลอนจบแล้วต่อด้วยกาพย์แต่อาจหลงอ่านกาพย์เป็นทำนองเดียวกับกลอนอยู่เป็นต้น 
       

                ๔. มีสมาธิในการอ่าน  ไม่อ่านตกหล่น  อ่านผิดหรืออ่านข้าม  บางคนอ่านข้ามบรรทัด ทำให้ข้อความไม่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน
       

                ๕. รักการอ่านทำนองเสนาะ  หมั่นฝึกฝนและมีความเชื่อมั่นในตนเอง

                ๖. เป็นผู้รักษาสุขภาพดี  รักษาแก้วเสียงและน้ำเสียง  ไม่นอนดึกจนเกินไป  ดื่มน้ำอุ่นเสมอ  ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  ชา  หรือกาแฟ  ไม่ตะโกนหรือกรีดร้องเสียงดังจนเกินไป
   
                    ๗. เป็นผู้มีบุคลิกดี  แต่งตัวสุภาพเหมาะสมกับโอกาส  เดินหรือนั่งตัวตรง  ไม่นั่งหลังค่อมหรือเดินห่อตัว  ยืนยืดอกสง่าผ่าเผย  จับหนังสือหรือบทอ่านให้มั่นคงโดยใช้แขนซ้ายหรือมือซ้ายจับหนังสือ  มือขวาช่วยพลิกเปลี่ยนหน้าหนังสือ  ให้หนังสือห่างจากระดับสายตาประมาณ  ๑  ฟุต  หากสายตาสั้นต้องสวมแว่นตา  ไม่ควรสวมแว่นตาดำเพราะไม่สุภาพ


                ๘. ซ้อมการอ่าน   เมื่อได้รับบทอ่านผู้อ่านจะต้องพิจารณาบทอ่านก่อนว่า  เป็นร้อยกรองประเภทใด  จำข้อบังคับ  ครุ  ลหุ  และลีลาการอ่านให้แม่นยำ  ลองฝึกอ่านในใจเพื่อจับใจความและอารมณ์ของเรื่อง  แล้วแบ่งวรรคตอน  แบ่งช่วงการอ่านให้ถูกต้อง  เมื่ออ่านต้องให้ได้อารมณ์ตามเนื้อเรื่อง

                ๙. ระมัดระวังการออกเสียงอักขระให้ชัดเจน  ไม่อ่านออกเสียงเลียนเสียงภาษาต่างประเทศ  ออกเสียงตัว  ร  ล  และคำควบกล้ำให้ชัดเจน  อ่านตามทำนองต้องพิจารณาด้วยว่าท้ายเสียงช่วงใดควรใช้เสียงสูง  ช่วงใดควรหลบเสียงต่ำ


การอ่านออกเสียงร้อยแก้วและบทร้อยกรองผู้อ่านควรปฏิบัติอย่างไร

                ๑๐. ศิลปะการใช้เสียง ผู้อ่านจะต้องรู้จักการผ่อนเสียง ทอดเสียง หลบเสีย เอื้อนเสีย ครั่นเสีย ครวญเสียง กระแทกเสีย ดังนี้
                    ๑๐.๑ การใช้ไมโครโฟน ไม่จ่อปากชิดไมโครโฟนจนเกินไปจะทำให้เสียงไม่ไพเราะ และได้ยินเสียงลมหายใจ อาจทำให้ผู้ฟังเกิดความรำคาญ
                    ๑๐.๒ การใช้เสียง  ควรออกเสียงให้ดังพอเหมาะ  ไม่ตะโกน  หรือดัดเสียงจนไม่เป็นธรรมชาติ  รู้จักใช้จังหวะในการอ่านเหมาะสมกับอารมณ์ของเรื่องที่อ่าน  เช่น  เมื่ออ่านถึงการปลอบโยน   ต้องอ่านช้าๆ  เนิบๆ  เมื่อแสดงอารมณ์โกรธจะต้องอ่านอย่างรวดเร็วกระแทกกระทั้น  เมื่อเกิดอารมณ์อ่อนหวาน

                    ๑๐.๓  การทอดเสียง คือ เมื่ออ่านใกล้จะจบต้องอ่านทอดเสียงผ่อนจังหวะให้ช้าลง

                    ๑๐.๔  การหลบเสียง  คือ การเปลี่ยนเสียงหรือหักเสียง  หลบจากเสียงสูงไปเสียงต่ำเพื่อไม่ต้องออกเสียงที่สูงเกินไป

                    ๑๐.๕  การเอื้อนเสียง  คือ การลากเสียงช้าๆ  และไว้หางเสียงเพื่อให้เข้าจังหวะและไพเราะ

                    ๑๐.๖  การครั่นเสียง  คือ  การทำเสียงให้สะดุดเมื่ออ่านถึงตอนที่สะเทือนอารมณ์

                    ๑๐.๗  การครวญเสียง  คือ  การเอื้อนเสียงให้เกิดความรู้สึกตามอารมณ์ของการคร่ำครวญ  รำพัน  วิงวอนหรือโศกเศร้า

                    ๑๐.๘  การกระแทกเสียง  คือ  การลงเสียงให้หนักเป็นพิเศษ  เมื่อต้องแสดงอารมณ์โกรธ  หรือแสดงความเข้มเข็ง

ข้อใดควรปฏิบัติในการอ่านออกเสียงร้อยแก้ว

1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ เพื่อแบ่งวรรคตอน 2. อ่านให้คล่อง และเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจานวนผู้ฟัง 3. อ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คาควบกลาต้องออกเสียงให้ชัดเจน 4. เน้นเสียงและถ้อยค า ตามน าหนักความส าคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตาม เนือเรื่อง เช่น ดุอ้อนวอน จริงจัง ฯลฯ ...

การอ่านออกเสียงบทร้อยกรองที่ดีมีวิธีการอ่านอย่างไร

๑. อ่านออกเสียงคำให้ชัดเจนและถูกต้องตามอักขรวิธี ๒. อ่านให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ของบทร้อยกรองนั้น ๓. การอ่านออกเสียงทำนองเสนาะต้องรู้จักทอดจังหวะ เอื้อนเสียง หรือหลบเสียง มีเสียงสูงต่ำตามลักษณะของบทร้อยกรองแต่ละชนิด ๔. อ่านด้วยน้ำเสียงชัดเจน นุ่มนวลน่าฟัง เสียงไม่ค่อยหรือดังเกินไป

การอ่านออกเสียงร้อยแก้วที่ถูกต้องตามหลักปฏิบัติให้ประโยชน์แก่ผู้เรียนอย่างไรบ้าง

1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจ เพื่อเเบ่งวรรคตอน 2. อ่านให้คล่อง และเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง 3. อ่านให้คล่องและถูกต้องตามอักขรวิธี โดยเฉพาะ ร ล คำควบกล้ำต้องออกเสียงให้ชัดเจน 4. เน้นเสียงและถ้อยคำ ตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ ใช้เสียงและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ดุ อ้อนวอน จริงจัง ฯลฯ

ในการอ่านทำนองเสนาะบทร้อยกรองเมื่อถึงวรรคจบควรปฏิบัติอย่างไร

๑. กาพย์ยานี๑๑ หนึ่งบทมี๔ วรรค เริ่มอ่านวรรคที่๑ ด้วยเสียงปกติวรรคที่๒ อ่านเสียงสูงกว่า วรรคที่๑ แต่ถ้าคำท้ายวรรคที่๒ เป็นคำพื้นเสียงจัตวาให้ปัดเสียงขึ้นสูง ๒. วรรคที่๓ อ่านเสียงสูงกว่าวรรคที่๒ (อ่านออกเสียงสูงกว่าทุกวรรค) วรรคที่๔ ลดเสียงลงจาก วรรคที่๓ ๓. เมื่ออ่านจนจะจบด้วยวรรคที่๔ ผู้อ่านต้องทอดเสียงยาวเพื่อให้ผู้ ...