แอร์เคลื่อนที่ 12000 btu กินไฟเท่าไหร่

เชื่อว่าหนึ่งปัจจัยที่ทำให้หลายคนลังเลไม่กล้าติดเครื่องปรับอากาศเพื่อใช้งานภายในบ้านนั้นก็หนีไม่พ้นเรื่องค่าใช้ไฟฟ้า ที่ถึงแม้ว่าหลายคนจะยืนยันว่าการติดเครื่องปรับอากาศทำให้เสียไฟฟ้าเพิ่มมากกว่าเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากความก้าวหน้าของนวัตกรรมทำให้ระบบการทำงานมีความทันสมัยและประหยัดไฟฟ้าได้มากขึ้น นอกจากนั้นสมัยนี้คนส่วนใหญ่ยังเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องหมายไฟเบอร์ 5 ที่ออกโดยกระทรวงพลังงาน ซึ่งเป็นการยืนยันการันตีว่าแอร์เครื่องนี้ประหยัดพลังงานแน่นอน แต่ถึงอย่างนั้นหากสามารถคำนวณว่า แอร์ 9000 BTU แอร์ 12000 BTU แอร์ 18000 BTU กินไฟกี่บาท ก็จะช่วยให้ประเมินค่าไฟฟ้าต่อเดือนคร่าวๆ ได้ ดังนั้น วันนี้เราจึงมีวิธีการคำนวณค่าไฟแอร์ตามขนาด BTU มาฝาก แต่จะคำนวณได้อย่างไรนั้น มาดูกันเลย

แอร์เคลื่อนที่ 12000 btu กินไฟเท่าไหร่

การคำนวณค่าไฟแอร์

สำหรับการคำนวณอย่างแรกต้องรู้ก่อนว่าเป็นแอร์ประเภทไหน ระบบแอร์อินเวอร์เตอร์ (Inverter) หรือระบบแอร์รุ่นธรรมดา (Non-Inverter) หากเป็นระบบอินเวอร์เตอร์จะประหยัดกว่า โดยสูตรการคำนวณค่าไฟฟ้าของแอร์ต่อปี

แอร์อินเวอร์เตอร์

ค่าไฟต่อปีจะเท่ากับจำนวนชั่วโมงที่ใช้งานตลอดทั้งปี คูณ Cooling Capacity (btu/hr) หารด้วย ค่า SEER (btu/hr/w) คูณกับค่าไฟต่อหน่วย จากนั้นนำผลรวมทั้งหมดหารด้วย 1000 ก็จะได้ค่าไฟฟ้าต่อปีของแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

ซึ่งค่า Cooling Capacity และค่า SEER หรือค่าประสิทธิภาพพลังงานตามฤดูกาลนั้น สามารถดูจากข้อมูลจำเพาะของสินค้าหรือสอบถามจากพนักงานผู้ขาย

ระบบแอร์รุ่นธรรมดา

ค่าไฟฟ้าจากการใช้งานแอร์ต่อปีจะคำนวณได้จากสูตร ค่าไฟต่อปีเท่ากับ จำนวนชั่วโมงการใช้งานตลอดทั้งปีคูณด้วย ค่ากำลังไฟฟ้า (วัตต์) คูณด้วยค่าไฟต่อหน่วย จากนั้นนำค่าทั้งหมดมาหารด้วย 1000 เท่านี้ก็จะได้ค่าไฟทั้งหมดตลอดทั้งปีของการใช้แอร์รุ่นธรรมดา

ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ต้องรู้คือ กำลังไฟฟ้าที่ใช้ เพราะฉะนั้นต้องมีข้อมูลว่า

  • แอร์ 9000 BTU กินไฟกี่วัตต์
  • แอร์ 12000 BTU กินไฟกี่วัตต์
  • แอร์ 18000 BTU กี่วัตต์

ขึ้นอยู่กับขนาดของแอร์ที่จะเลือกใช้ด้วย

แอร์เคลื่อนที่ 12000 btu กินไฟเท่าไหร่

เมื่อเห็นสูตรค่าไฟต่อปีที่ใช้คำนวณแล้ว หลายคนอาจถอดใจและงงว่าทำไมการคำนวณสำหรับค่าไฟแอร์ถึงได้ดูยากขนาดนี้ แถมในกรณีระบบแอร์อินเวอร์เตอร์ต้องรู้ข้อมูลหรือสอบถามข้อมูลจำเพาะของแอร์จากผู้ขายอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายคนไม่นำเรื่องนี้คำนวณไฟฟ้าก่อนตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ สุดท้ายก็ต้องมานั่งสงสัยอยู่ดีว่าทำไมค่าไฟที่บ้านถึงได้สูงจังทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ค่อยได้เปิดใช้งาน

แต่ถึงอย่างนั้นเพื่อให้หลายคนนำข้อมูลนี้ไปประกอบการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น จึงมีการคำนวณไฟฟ้าคร่าวๆ ต่อเดือนไว้ในอินเทอร์เน็ต ทำให้สะดวกในการประเมินค่าไฟฟ้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งในกรณีเลือกซื้อเป็นแอร์แบบติดผนังระบบอินเวอร์เตอร์

  • แอร์ 9000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 433 บาท
  • แอร์ 12000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 594 บาท
  • แอร์ 18000 BTU เสียค่าไฟประมาณเดือนละ 733 บาท

โดยค่าไฟจะขยับสูงขั้นตามขนาด BTU ในขณะที่หากเป็นแอร์ติดผนังรุ่นธรรมดา ขนาด 9000 BTU จะเสียค่าไฟฟ้าเริ่มต้นประมาณเดือนละ 678 และขยับสูงขึ้นไปตามขนาด BTU ของแอร์เช่นเดียวกัน

แอร์เคลื่อนที่ 12000 btu กินไฟเท่าไหร่

แต่หากเป็นแอร์แบบแขวนใต้ฝ้า ถ้าเป็นแอร์ระบบอินเวอร์เตอร์

  • 12000 BTU มีการคำนวณไว้คร่าวๆ ว่าต้องเสียค่าไฟต่อเดือนประมาณ 650 บาท
  • แอร์ 18000 BTU ประมาณ 940 บาท และจะขยับขึ้นหลักพันเมื่อใช้
  • แอร์ 24000 BTU ค่า ไฟ จะอยู่ที่ราวๆ 1,360 บาท
  • และถ้าใช้แอร์ 40000 BTU จะต้องเสียค่าไฟฟ้าอยู่ที่ราวๆ 2,260 บาทต่อเดือนเลยทีเดียว

ซึ่งแน่นอนว่าหากเป็นแอร์รุ่นธรรมดาต้องเสียค่าไฟฟ้ามากกว่า เพราะแอร์รุ่นธรรมดา

  • ขนาด 12000 BTU เสียค่าไฟฟ้าต่อเดือนอยู่ที่ 950 บาท
  • และสูงสุดที่ 3,100 บาท สำหรับแอร์รุ่นธรรมดาขนาด 40000 BTU

แอร์เคลื่อนที่ 12000 btu กินไฟเท่าไหร่

อย่างไรก็ตามการคำนวณค่าไฟแอร์จากการใช้งานเครื่องปรับอากาศ ไม่ว่าจะใช้สูตรคำนวณหรือเทียบเคียงจากข้อมูลในอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นเพียงค่าใช้จ่ายคร่าวๆ ที่ใช้หลักการคำนวณประเมินเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ค่าไฟแอร์ที่แท้จริงมาจากปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ไม่ว่าจะเป็น ขนาดห้อง เวลาในการใช้งาน การตั้งอุณหภูมิ โหมดการทำงานที่เลือกใช้ การดูแลรักษา ที่สำคัญต้องรู้ว่า แอร์ใช้กระแสไฟกี่แอมป์ โดยเฉพาะที่ขนาด BTU สูง เพราะหากไม่รู้ว่า

  • แอร์ 24000 BTU กินไฟกี่แอมป์
  • แอร์ 30000 BTU กิน ไฟ กี่ แอมป์
  • แอร์ 36000 BTU กินไฟกี่แอมป์

อาจทำให้กระแสไฟฟ้าภายในบ้านไม่เพียงพอต่อการใช้งานได้

สูตรคำนวณค่าไฟแอร์

วันนี้เราจะมาสอนวิธีคำนวณค่าไฟแอร์ง่ายๆ กัน เป็นวิธีที่คำนวณไม่ยากเลยไปดูวิธีคำนวณกันเลยดีกว่า! ซึ่งการใช้สูตรคำนวณนี้ก็จะได้รู้ค่าไฟแอร์แบบคร่าวๆ โดยหน่วยค่าไฟนั้นสามารถเปลี่ยนไปตามอัตราค่าไฟของการไฟฟ้าด้วย การคำนวณค่าไฟของแอร์แต่ละเครื่องนั้น จะถูกทำการคำนวณจากการเปิดแอร์ 8 ชม.ต่อวัน แต่สูตรนี้ยังไม่คำนวณรวมกับสภาพของแอร์ หากเป็นแอร์ที่ใช้งานมานานมากแล้ว อัตราการกินไฟอาจจะสูงกว่านี้เล็กน้อย ดังนั้นอย่าลืมหมั่นตรวจดูสภาพแอร์อยู่เสมอ แอร์จะได้มีอายุการใช้งานและได้ประสิทธิภาพที่ดีอีกด้วย

  • ค่าBTU / ค่า SEER / 1000 x ชั่วโมงการใช้งาน x จำนวนวันใช้งาน x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย

ตัวอย่าง X-Inverter : 42TVAA013 / 38TVAA013

ขนาดแอร์ 12,200 BUT /ค่า SEER 22.50 / 1000 x 8 ชั่วโมงต่อวัน x 365 วัน x ค่าไฟฟ้า 3.96 บาท/หน่วย 

ค่าไฟฟ้าต่อปี = 6,270 บาท

เทคนิคเปิดแอร์ยังไงให้ประหยัดไฟ เย็นสบาย ไม่เปลืองไฟ

แม้จะรู้วิธีคำนวณค่าไฟแอร์กันไปแล้ว แต่หลายคนก็อาจจะยังมีความกังวล เกี่ยวกับค่าไฟกันอยู่ ดังนั้นเราจึงมีเคล็ดลับดีๆ ที่ช่วยประหยัดค่าไฟจากการเปิดแอร์ให้รู้กัน มาดูกันว่าหน้าร้อนนี้เปิดแอร์ยังไงให้ไม่เปลืองไฟกันบ้าง

  • หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ที่ให้ความร้อนในขณะที่เปิดแอร์ : การเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายๆ อย่างพร้อมกันย่อมกินไฟมากกว่าเดิมเป็นธรรมดา ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ควรเปิดพร้อมกันกับการเปิดแอร์มากที่สุดก็คือเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่ปล่อยความร้อนต่างๆ เช่น เครื่องทำน้ำอุ่น หม้อ กระทะ เตาอบ เพราะหน้าที่ของแอร์คือการทำให้อุณหภูมิในห้องนั้นลดลง และเย็นขึ้น ดังนั้นการมีความร้อนเกิดขึ้นภายในห้อง ก็จะยิ่งทำให้แอร์ทำงานหนักขึ้นและเปลืองไฟมากขึ้นนั่นเอง
  • ตั้งอุณหภูมิสที่ 25 องศาหรือสูงกว่า 25 องศาเล็กน้อย : จริงอยู่ที่ว่าอุณหภูมิที่ 25 องศาเป็นอุณหภูมิที่ช่วยประหยัดไฟได้มาก แต่ในความจริงแล้วเราสามารถลดการทำงานของแอร์ด้วยการเพิ่มอุณหภูมิให้อยู่ที่ 26-27 องศา ก็ยังสามารถทำให้อากาศภายในห้องเย็นสบายได้ไม่น้อยกว่าตอนเปิด 25 องศาเลย แถมยังประหยัดไฟกว่าด้วย
  • หลีกเลี่ยงใช้แอร์ในห้องพื้นที่เปิด หรือพื้นที่ที่มีขนาดกว้าง : สำหรับคนที่มีแอร์หลายห้อง อยู่บ้านขนาดกลางขึ้นไป ย่อมรู้กันดีว่าการเปิดแอร์ในห้องโถงหรือห้องนั่งเล่นนั้นเป็นอะไรที่กินไฟมากๆ ดังนั้นถ้าไม่จำเป็นก็ไม่ควรที่จะติดแอร์บริเวณห้องโถงเลย แต่หากจำเป็นจริงๆ ควรติดตั้งฉากกั้นระหว่างทางขึ้นบันได หรือทางเดินไปห้องต่างๆ ภายใรบ้าน รวมถึงปิดหน้าต่างและผ้าม่านให้สนิท ก็จะช่วยประหยัดไฟไปได้มากเลยทีเดียว
  • ใช้พัดลมช่วยไล่ความร้อนภายในห้องก่อนเปิดแอร์ : หากห้องนั้นไม่ได้เปิดแอร์หรือเปิดพัดลมมาทั้งวัน และมีอากาศอบอ้าวอยู่การเปิดแอร์ทันทีอาจทำให้แอร์กินไฟเพราะต้องทำงานหนักเพื่อปรับอุณหภูมิห้องให้เย็นขึ้น ดังนั้นก่อนเปิดแอร์การเปิดพัดลมไล่และระบายอากาศออกก่อนจะช่วยทำให้อุณหภูมิภายในห้องเย็นขึ้น และยังช่วยทำให้คุณไม่ต้องเปิดแอร์ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 25 องศาเลย

แอร์เคลื่อนที่12000 btu กินไฟกี่วัตต์

- หากเปิดแอร์ติดต่อกันนาน 8-10 ชั่วโมง แอร์เคลื่อนที่ขนาด 12,000 btu กินไฟที่ 1.04 หน่วยต่อชั่วโมงในขณะที่ทำงานที่พัดลมแรงสุด #เปรียบเทียบราคาค่าไฟบ้านจะตกประมาณ 3.8-4 บาท ต่อชั่วโมง ถ้าเปิด 8 ชั่วโมงจะอยู่ประมาณ 32 บาท

แอร์เคลื่อนที่ 12000 btu กินไฟกี่แอมป์

12,000 BTU - 4.0-5.0 A.

แอร์เคลื่อนที่กินไฟกี่บาท

แอร์เคลื่อนที่รุ่นปกติ อัตราการกินไฟ จะกินไฟมากกว่าแอร์บ้าน ถึง 3 เท่า เมื่อเทียบ บีทียู ต่อ บีทียู เช่น แอร์เคลื่อนที่ 9000 บีทียู กินไฟวันละ 30 บาท แอร์บ้าน 9000 บีทียู กินไฟวันละ 10 บาท

แอร์ 12000 BTU กินไฟไหม

12000 BTU มีการคำนวณไว้คร่าวๆ ว่าต้องเสียค่าไฟต่อเดือนประมาณ 650 บาท