ค่าลิขสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่

การจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ มีภาระภาษีอะไรบ้าง?

ค่าลิขสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่

          กรณีนี้ขอกล่าวถึงการหักภาษี ณ ที่จ่ายก่อน เพราะคนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าการจ่ายค่าบริการไปต่างประเทศ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%  ซึ่งความเป็นจริงจะต้องพิจารณารายละเอียด ดังนี้

1. จ่ายค่าบริการเป็นเงินได้ประเภทใด

2. จ่ายไปประเทศใดมีอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทยหรือไม่

วิธีดูการหักภาษีหัก ณ ที่จ่าย สำหรับค่าบริการ ให้ดูที่กฏหมาย  มาตรา 70 ซึ่งมีใจความว่า

1. เป็นบริษัทต่างประเทศ

2. ที่ไม่ได้ประกอบกิจการในประเทศไทย

3. แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย

4. เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2)(3)(4)(5) หรือ (6)

ให้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายภายใน 7 วันของเดือนถัดไป (ภ.ง.ด.54)

วิธีการดูเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการจ่ายค่าบริการให้ดูที่กฏหมาย มาตรา 83/6 ซึ่ง มีใจความว่า

1. ผู้ประกอบการที่ได้ให้บริการในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร

( ดูคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.104/2544 )  ต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 7 วันของเดือนถัดไป(ภ.พ.36)

ตัวอย่าง 1.การจ่ายค่าโฆษณา

บริษัทในประเทศไทยมีการจ่ายค่าโฆษณา Google ให้กับบริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา   เรามาพิจารณาว่า ค่าโฆษณา จัดอยู่ในเงินได้ประเภทใด  และค่าบริการดังกล่าว  เป็นให้บริการในต่างประเทศ และมีการใช้บริการในประเทศไทยหรือไม่

คำตอบ

1. ค่าโฆษณา  จัดอยู่ในเงินได้ประเภท 40(8) ไม่ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย

2. การโฆษณา Google  แน่นอนต้องมีคนในประเทศไทยเห็น  ถือว่าเป็นบริการในต่างประเทศและมีการใช้บริการในประเทศไทย  ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภ.พ.36)  และบริษัทผู้จ่ายเงินได้สามารถนําใบเสร็จที่ได้จากกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อของบริษัทตนเองได้

ตัวอย่าง 2 การจ่ายค่า Software

บริษัทในประเทศไทยซื้อโปรแกรม Software จากคู่ค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา  เรามาพิจารณาว่า โปรแกรม Software จัดอยู่ในเงินได้ประเภทใด  และค่าบริการดังกล่าว เป็นให้บริการในต่างประเทศ และมีการใช้บริการในประเทศไทยหรือไม่

คำตอบคือ 

1. ค่าโปรแกรม Software จัดเป็นเงินได้ประเภท 40(3) ค่าสิทธิ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ในการหัก ณ ที่จ่าย 5%

(เพราะประเทศสหรัฐอเมริกา มีการจดอนุสัญญาภาษีซ้อนกับประเทศไทย  ระบุว่าถ้าจ่ายค่า Software ให้หักภาษี ณ ที่จ่ายเพียง 5%) และนําส่งกรมสรรพากรด้วยแบบ (ภ.ง.ด.54)

2. ค่าโปรแกม Software นั้นถูกนํามาใช้ในประเทศไทย ดังนั้นต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% (ภ.พ.36) และบริษัทผู้จ่ายเงินได้สามารถนําใบเสร็จที่ได้จากกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อของบริษัทตนเองได้เช่นกัน

IDG บริการรับทำบัญชีและภาษี ให้คำแนะนำพื้นฐานทางด้านการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีและภาษี 


สอบถามเพิ่มเติม Click !

OUR BLOG

ค่าลิขสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่

ค่าสิทธิ (Royalty Fee ) คืออะไร แล้วนอกจากจะต้องเสียภาษีเงินได้แล้ว จะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มไหม วันนี้ IDG จะพาคุณไปรู้จักเกี่ยวกับค่าสิทธิกัน !
         ค่าสิทธิ (royalty Fee) คือค่าตอบแทน โดยฝ่ายที่เป็นผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ได้รับสัมปทาน จ่ายให้อีกฝ่ายที่เป็นเจ้าของสินทรัพย์โดยส่วนใหญ่ (ผู้อนุญาตหรือผู้ให้สัมปทาน) เพื่อเป็นสิทธิ์ในการใช้สินทรัพย์นั้น ๆ
ค่าสิทธิ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) (ซึ่งจะประกอบด้วย ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล)  อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย
ค่าสิทธิที่ต้องเสียภาษีเงินได้นั้น หากผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ผู้จ่ายค่าสิทธิมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ในอัตรา 15% ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70  แต่อย่างไรก็ดีหากผู้มีเงินได้จากค่าสิทธิเป็นผู้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศที่มี อนุสัญญาภาษีซ้อน (Double Taxation Agreement) กับประเทศไทย ก็อาจได้รับการลดอัตราภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อน
ค่าสิทธินอกจากจะอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้แล้ว ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย หมายถึง ผู้รับค่าสิทธิที่เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลเพิ่มมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลเพิ่มในอัตรา 7% จากผู้จ่ายค่าสิทธิพร้อมออกใบกำกับภาษีให้ด้วย แต่ถ้าผู้รับค่าสิทธิมิได้เป็นผู้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย และมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย เมื่อได้รับเงินค่าสิทธิผู้จ่ายในประเทศไทย ผู้จ่ายมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 7% ของค่าสิทธิตามประมวลรัษฎกร มาตรา 83/6
ภาษีที่เกี่ยวกับกับค่าสิทธิ มี 2 แบบคือ

  1. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด. 54)
  2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ. 36)

ข้อสะกิดใจ

  • หากผู้จ่ายค่าสิทธินั้นได้หักภาษีไว้เกิน ทางผู้รับค่าสิทธิต่างประเทศมีสิทธิขอคืนจำนวนภาษีที่ถูกหักไว้เกินได้โดยยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร แบบ ค.10 ภายในสามปีนับแต่วันสุดท้ายของกำหนดเวลายื่นรายการภาษี ตามมาตรา 27 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร
  • แต่ถ้าหากผู้จ่ายค่าสิทธินั้นได้หักภาษีไว้ขาด ผู้จ่ายค่าสิทธิต้องยื่นแบบภาษีเพิ่มเติมนับตั้งแต่วันที่ยื่นแบบภาษี และคิดเบี้ยปรับเงินเพิ่มอีกด้วย ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร
  • หากผู้รับค่าสิทธินั้นไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายค่าสิทธิต้องเป็นผู้รับภาระจ่ายภาษีแทน !!! OMGGGGG

IDG บริการรับทำบัญชีและภาษี ให้คำแนะนำพื้นฐานทางด้านการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีและภาษี 


สอบถามเพิ่มเติม Click !

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

ค่าลิขสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่

ความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายการค้า

ก่อนที่เราจะเริ่มทำธุรกิจจำหน่ายหรือผลิตสินค้าสักหนึ่งอย่าง สิ่งสำคัญที่เราต้องมีก่อนอันดับแรกเลยคือชื่อเครื่องหมายการค้า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อใช้เป็นตราสินค้าของเราและเป็นที่จดจำของผู้ใช้สินค้า

อ่านต่อ »

ค่าลิขสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่

ค่าลิขสิทธิ์ หัก ณ ที่จ่ายเท่าไหร่

ค่าลิขสิทธิ์ยื่นภาษีอะไร

70,745 views. โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร เงินได้ประเภทที่ 3 คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญาหรือค่า Goodwill และเงินรายปีอื่นๆ ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(3)

ค่าลิขสิทธิ์ ต้องเสียภาษีไหม

ค่าสิทธิ ถือเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (3) (ซึ่งจะประกอบด้วย ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น เงินปี หรือเงินได้มีลักษณะเป็นเงินรายปีอันได้มาจากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น หรือคำพิพากษาของศาล) อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้ และภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่จะได้รับยกเว้นภาษีตามกฎหมาย

ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

ค่าใช้จ่ายที่ต้องทำ หัก ณ ที่จ่าย มีอะไรบ้าง.
หัก 1% สำหรับค่าขนส่ง.
หัก 2% สำหรับค่าโฆษณา.
หัก 3% สำหรับจ้างรับเหมาหรือบริการต่างๆ.
หัก 5% สำหรับค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์.
ไม่หัก สำหรับยอดที่ไม่เกิน 1,000 บาท.