เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ประกันสังคม ได้เท่าไหร่

ประกันสังคม ได้ให้สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีเสียชีวิต ให้กับผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39 และมาตรา 40 มาโดยตลอด และปรับเพิ่มสิทธิ์ล่าสุดในเดือน กุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา

เสียชีวิต จ่ายเท่าไหร่

เงินประกันสังคมกรณีเสียชีวิตนั้น จะมีทั้งหมด 3 สิทธิ์ด้วยกันคือ ค่าทำศพ, เงินสงเคราะห์กรณีตาย และเงินชราภาพ

1. ค่าทำศพ 50,000 บาท

  • มาตรา 33 และ 39 (ลูกจ้าง) ได้ 50,000 บาทแก้ผู้จัดการศพ ถ้าขาดส่งต้องมีจ่าย 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
  • มาตรา 39 (ลาออกแล้วส่งต่อ) ได้ 50,000 บาทแก้ผู้จัดการศพ ถ้าขาดส่งต้องมีจ่าย 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต
  • มาตรา 40 (อาชีพอิสระ)
    • ได้ 25,000 บาท กลุ่มที่จ่ายสมทบเดือนละ 70-100 บาท
    • ได้ 50,000 บาท กลุ่มที่จ่ายสมทบเดือนละ 300 บาท และสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายใน 12 เดือนก่อนเสียชีวิต

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ประกันสังคม ได้เท่าไหร่

2. เงินสงเคราะห์ กรณีตาย

  • มาตรา 33 และ 39 (ลูกจ้าง,ลาออกแล้วส่งต่อ)
    • จ่ายสมทบ 36-119 เดือน: ได้เงินสงเคราะห์ 2 เท่า ของรายได้ที่นำส่ง (50% ของค่าจ้าง เฉลี่ย 4 เดือน)
    • จ่ายสมทบ 120 เดือนขึ้นไป: ได้เงินสงเคราะห์ 6 เท่า ของรายได้ที่นำส่ง (50% ของค่าจ้าง เฉลี่ย 12 เดือน)
  • มาตรา 40 (อาชีพอิสระ) ได้ 8,000 บาท เมื่อสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 60 เดือนก่อนเสียชีวิต
  • จ่ายให้กับผู้ได้รับผลประโยชน์ โอนเงินเข้าภายใน 4 วันหลังจากอนุมัติจ่าย

3. เงินชราภาพ เสียชีวิตก่อน-หลังอายุ 55 ปี

  • ผู้ประกันตนเสียชีวิต ก่อน อายุ 55
    • จ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน ได้เงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนจ่าย
    • จ่ายสมทบมากกว่า 12 เดือน ได้เงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตน และ นายจ้าง จ่าย
  • ผู้ประกันตนเสียชีวิต หลัง อายุ 55 ได้เงิน 10 เท่าของเงินบำนาญรายเดือน ถ้าเสียชีวิตภายใน 5 ปี หลังรับเงินบำนาญชราภาพ
  • จ่ายให้กับผู้ได้รับผลประโยชน์

ใครเป็นผู้รับผลประโยชน์

  • ค่าทำศพใครได้? จ่ายให้ผู้จัดการศพ ตามที่ทำหนังสือรับรองเป็นผู้จัดงานศพ ซึ่งจะระบุเป็นสามีภรรยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน หรือคนอื่นที่มีหลักฐานว่า เป็นผู้จัดการศพก็ได้
  • เงินสงเคราะห์กรณีตาย ใครได้? 
    • ผู้ตายระบุไว้ ผู้ที่จะได้เงินสงเคราะห์คือคนที่ผู้เสียชีวิตระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์
    • ผู้ตายไม่ได้ระบุว่าให้ใคร ถ้าไม่ได้ทำหนังสือไว้ให้นำมาเฉลี่ยให้แก่สามีภรรยา บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตน แบ่งเท่า ๆ กัน
    • ผู้ตายไม่มีญาติ ถ้าไม่มีทายาทตามกฎหมาย ให้ทำหนังสือระบุสิทธิว่าให้ใครเป็นผู้มีสิทธิรับผลประโยชน์ให้ชัดเจน พร้อมพยานบุคคล 2 คน ทำเอกสารและเก็บไว้กับผู้ให้ผลประโยชน์และผู้รับผลประโยชน์ถือไว้คนละฉบับเพื่อใช้เป็นหลักฐาน
  • เงินชราภาพ ใครได้? ให้ทายาทผู้มีสิทธิรับเงินแบ่งเท่า ๆ กัน

ยื่นเบิก ใช้เอกสารอะไรบ้าง

ให้เตรียมเอกสารต่อไปนี้

  1. สปส.2-01 แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม แยกตามกรณีที่จะเบิก
  2. สำเนามรณะบัตร
  3. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ของผู้ตาย
  4. บัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน ของผู้รับผลประโยชน์
    • สงเคราะห์กรณีตาย/เงินชราภาพ
    • ผู้จัดงานศพ ให้แนบพร้อมหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดงานศพ
  5. หนังสือระบุสิทธิ์ผู้รับผลประโยชน์ (ถ้ามี)
  6. เอกสารอื่นๆ ถ้ามีเพื่อใช้ระบุสิทธิ์ เช่น สำเนาทะเบียนสมรสผู้ตาย / สำเนาทะเบียนสมรสพ่อแม่ผู้ตาย / สูติบัตรลูก / ใบเปลี่ยนชื่อ

ยื่นเอกสารได้ที่ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพพื้นที่ 1-12 หรือสำนักงานประกันสังคมจังหวัดและสาขาทั่วประเทศ โดยการเบิกในแต่ละกรณีให้แยกเอกสารตามกรณีที่จะเบิก

อ้างอิง ประกันสังคม,ราชกิจานุเบกษา ,ราชกิจานุเบกษา,4,5,6

ใช้แรงทำเงิน & ให้เงินทำงาน กด Subscribe รอเลย…

Facebook | Line | Youtube | Instagram

เวลาเราเจอเพื่อนที่ทั้งปีทั้งชาติไม่เคยทัก ไม่เคยเจอ มาทักมาเจอ ก็มักจะเป็นตัวแทนประกันชีวิตซะแล้ว หลายคนอาจถึงกับมองเพื่อนเป็นแมลงสาปไปเลย เพราะมีอคติกับประกันชีวิต เลยไม่ได้มีประกันชีวิตกับเขาซักที

แต่รู้หรือไม่ ถึงแม้ไม่ได้ซื้อประกันชีวิตเอาไว้ เราก็ยังมีประกันชีวิตจากประกันสังคม ซึ่งหลายคนไม่รู้ เพราะเรามักจะรู้กันแค่ว่า ประกันสังคมมีประโยชน์มากๆ กรณีว่างงาน เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร  สงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ โดยผลประโยชน์กรณีเสียชีวิต ประกันสังคมจะให้ มีดังนี้

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ประกันสังคม ได้เท่าไหร่

1.ค่าทำศพ | 40,000 บาท

กรณีที่เราในฐานะผู้ประกันตนเสียชีวิต อันมิใช่เนื่องจากการทำงาน และจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 1 เดือน ภายในระยะเวลา 6 เดือนก่อนเดือนถึงแก่ความตาย ผู้จัดการศพจะได้ค่าทำศพ 40,000 บาท  

ผู้จัดการศพ คือ บุคคลซึ่งผู้ประกันตนทำหนังสือระบุให้เป็นผู้จัดการศพและได้เป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน กรณีไม่ได้ทำหนังสือระบุให้ใครเป็นผู้รับ ประกันสังคมจะจ่ายให้ผู้มีสิทธิตามกฎหมาย คือคู่สมรส บิดามารดา หรือบุตรของผู้ประกันตนที่มีหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้จัดการศพผู้ประกันตน อย่างเช่น หลักฐานจากฌาปนสถานหรือมัสยิดที่แสดงว่าเป็นผู้จัดการศพ

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ประกันสังคม ได้เท่าไหร่

2.เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต | 2-6 เท่าของค่าจ้าง

ประกันสังคมจะจ่ายให้จ่ายแก่คนที่เราระบุให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์นั้น แต่ถ้าเราไม่ได้ระบุไว้ก็ให้นำมาเฉลี่ยจ่ายให้แก่ สามีหรือภรรยา พ่อแม่ หรือลูกของเราในจำนวนที่เท่ากัน ตามอัตราดังนี้

  1. หากตอนเราเสียชีวิต เราจ่ายเงินสมทบเกินกว่า 36 เดือน แต่ไม่ถึง 120 เดือน ทายาทหรือผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ 2 เท่าของค่าจ้างที่นายจ้างนำส่งเงินสมทบ เช่น เงินค่าจ้าง 10,000 บาท รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 20,000 บาท
  2. หากตอนเราเสียชีวิต เราจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 120 เดือนขึ้นไป ทายาทหรือผู้มีสิทธิจะได้รับเงินสงเคราะห์ 6 เท่าของค่าจ้างที่นายจ้างนำส่งเงินสมทบ เช่น เงินค่าจ้าง 10,000 บาท รับเงินสงเคราะห์กรณีตาย 60,000 บาท 

เงินสงเคราะห์กรณีเสียชีวิต ประกันสังคม ได้เท่าไหร่

3.เงินบำเหน็จชราภาพ | เท่าเงินสมทบที่จ่าย  

กรณีเสียชีวิตก่อนอายุ 55 ปีบริบูรณ์จะได้รับเป็นเงินบำเหน็จชราภาพ ดังนี้

  1. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน ผู้รับผลประโยชน์จะได้เงินบำเหน็จชราภาพจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ
  2. กรณีที่มีการจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป ผู้รับผลประโยชน์จะได้เงินบำเหน็จชราภาพจำนวนเท่ากับจำนวนเงินสมทบที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ เพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรและกรณีชราภาพ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

ทั้งนี้ กรณีเราเสียชีวิตภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพจากประกันสังคม  ผู้รับผลประโยชน์จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ 10 เท่า ของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย

#WealthMeUp