นายกสภาวิชาชีพบัญชีและกรรมการตามมาตรา 22 (3) และ (4) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละกี่ปี *

  1. พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547มีกี่หมวด  กี่มาตรา
  • 9 หมวด 78 มาตรา  1 บทเฉพาะกาล            ค. 6  หมวด 78 มาตรา  1 บทเฉพาะกาล
  • 9 หมวด 87 มาตรา  1 บทเฉพาะกาล            ง. 7  หมวด 78 มาตรา  1 บทเฉพาะกาล

ตอบ   ก. 9  หมวด 78 มาตรา  1 บทเฉพาะกาล

  1. ข้อใด ไม่ได้หมายถึง”วิชาชีพบัญชี”
  • วิชาชีพในด้านการทำบัญชี
  • วิชาชีพในด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี
  • วิชาชีพในด้านการวางระบบบัญชี
  • เป็นวิชาชีพบัญชีทุกข้อ

ตอบ   ง. เป็นวิชาชีพบัญชีทุกข้อ

“วิชาชีพบัญชี” หมายความว่า วิชาชีพในด้านการทำบัญชี ด้านการสอบบัญชี ด้านการบัญชีบริหาร ด้านการวางระบบบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยีการบัญชี และบริการเกี่ยวกับการบัญชีด้านอื่นตามที่กำหนดโดยกฎกระทรวง

  1. สภาวิชาชีพบัญชีมีฐานะเป็นอะไร
  • มหาชน ค. เอกชน
  • นิติบุคคล ง. หน่วยงานอิสระ

ตอบ   ข. นิติบุคคล    

มาตรา ๖ ให้มีสภาวิชาชีพบัญชี มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพบัญชี

  1. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชี
  • กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
  • กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี
  • รับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการและการศึกษาต่อเนื่องในด้านต่างๆของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
  • เป็นหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชี

ตอบ   ง. เป็นหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชี

มาตรา ๗ สภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) ส่งเสริมการศึกษา การอบรม และการวิจัยเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

(๒) ส่งเสริมความสามัคคีและผดุงเกียรติของสมาชิก จัดสวัสดิการและการสงเคราะห์ระหว่างสมาชิก

(๓) กำหนดมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี และมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

(๔) กำหนดจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

(๕) รับขึ้นทะเบียนการประกอบวิชาชีพบัญชี ออกใบอนุญาต พักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

(๖) รับรองปริญญาหรือประกาศนียบัตรในวิชาการบัญชีของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการรับสมัครเป็นสมาชิก

(๗) รับรองความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพบัญชี

(๘) รับรองหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นผู้ชำนาญการและการศึกษาต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

(๙) ควบคุมความประพฤติและการดำเนินงานของสมาชิกและผู้ขึ้นทะเบียนอันเกี่ยวกับการประกอบวิชาชีพบัญชีให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพบัญชี

(๑๐) ช่วยเหลือ แนะนำ เผยแพร่ และให้บริการวิชาการแก่ประชาชนเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี

(๑๑) ออกข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

(๑๒) เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

(๑๓) ให้คำปรึกษาและเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับนโยบายและปัญหาของวิชาชีพบัญชี

(๑๔) ดำเนินการอื่นเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้

  1. สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีมีกี่ประเภท
  • 5 ประเภท                                                                            ค. 3  ประเภท
  • 4 ประเภท                                                                            ง. 2  ประเภท

ตอบ   ข. 4  ประเภท   

มาตรา ๑๒ สมาชิกสภาวิชาชีพบัญชีมีสี่ประเภท ดังนี้

(๑) สมาชิกสามัญ

(๒) สมาชิกวิสามัญ

(๓) สมาชิกสมทบ

(๔) สมาชิกกิตติมศักดิ์

  1. สมาชิกสามัญต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
  • ไม่ต่ำกว่า 30 ปี                                                   ค. ไม่ต่ำกว่า 20 ปี
  • ไม่ต่ำกว่า 25 ปี                                                   ง. ไม่ต่ำกว่า 18 ปี

ตอบ   ค. ไม่ต่ำกว่า 20 ปี 

  1. สมาชิกสมทบต้องมีอายุไม่ต่ำกว่ากี่ปี
  • ไม่ต่ำกว่า 30 ปี                                                   ค. ไม่ต่ำกว่า 20 ปี
  • ไม่ต่ำกว่า 25 ปี                                                   ง. ไม่ต่ำกว่า 18 ปี

ตอบ  ง. ไม่ต่ำกว่า 18 ปี 

  1. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของสมาชิกกิตติมศักดิ์
  • ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีและปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547
  • แสดงความคิดเห็นในการประชุมใหญ่
  • ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมใหญ่
  • ชำระค่าบำรุงสมาชิกหรือค่าธรรมเนียม

ตอบ   ค. ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมใหญ่

สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญมีดังต่อไปนี้

(1) แสดงความคิดเห็นในการประชุมใหญ่

(2) ออกเสียงลงคะแนนในการประชุมใหญ่

(3) เลือกตั้ง รับเลือกตั้ง หรือรับแต่งตั้ง เป็นกรรมการหรือดำรงตำแหน่งอื่นอันเกี่ยวกับกิจการของสภาวิชาชีพบัญชี

(4) สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนเข้าชื่อเสนอร่างข้อบังคับต่อสภาวิชาชีพบัญชีได้

(5) สมาชิกสามัญไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยคนเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้นายกสภาวิชาชีพบัญชีเรียกประชุมใหญ่วิสามัญได้

(6) ชำระค่าบำรุงสมาชิกหรือค่าธรรมเนียม

(7) ผดุงไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพบัญชีและปฏิบัติตนตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547

(8) สิทธิและหน้าที่อื่นตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด
สมาชิกวิสามัญ สมาชิกสมทบ และสมาชิกกิตติมศักดิ์ มีสิทธิและหน้าที่ตาม (1) (6) (7) และ (8)

  1. ใครเป็นประธานในคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
  • เลขาธิการสภาวิชาชีพบัญชี ค. นายกสภาวิชาชีพบัญชี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ง. ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้ง

ตอบ   ค. นายกสภาวิชาชีพบัญชี 

มาตรา ๒๒ ให้มีคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี ประกอบด้วย

(๑) นายกสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญ

(๒) กรรมการโดยตำแหน่ง ได้แก่ ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชีทุกด้าน ประธานคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี และประธานคณะกรรมการจรรยาบรรณ

(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกสภาวิชาชีพบัญชีและกรรมการโดยตำแหน่งตาม (๒) มีมติแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับวิชาการบัญชีสองคน และผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านกฎหมายหนึ่งคน

(๔) กรรมการซึ่งที่ประชุมใหญ่เลือกตั้งจากสมาชิกสามัญ มีจำนวนไม่เกินห้าคน

ให้เลขาธิการสภาวิชาชีพบัญชีเป็นกรรมการและเลขานุการ และจะให้มีผู้ช่วยเลขานุการก็ได้ตามความจำเป็นและตามมติของคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี

  1. คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีมีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี
  • 3 ปี                                                                        ค. 1  ปี
  • 2 ปี                                                                        ง. 4  ปี

ตอบ   ก. 3  ปี               

มาตรา ๒๓ นายกสภาวิชาชีพบัญชี และกรรมการตามมาตรา ๒๒ (๓) และ (๔) มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี

  1. ข้อใด ไม่ใช่ หน้าที่ของคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี
  • บริหารกิจการของสภาวิชาชีพบัญชีให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
  • จัดให้มีการประชุมใหญ่
  • เสนอร่างข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีในกิจการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ต่อที่ประชุมใหญ่สภาวิชาชีพบัญชี
  • กำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี

ตอบ   ง. กำหนดและปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี

มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(๑) บริหารกิจการของสภาวิชาชีพบัญชีให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

(๒) กระทำกิจการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้

(๓) เสนอร่างข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีในกิจการต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้ต่อที่ประชุมใหญ่สภาวิชาชีพบัญชี

(๔) จัดให้มีการประชุมใหญ่

(๕) ออกระเบียบเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้

  1. คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี มีจำนวนเท่าใด
  • ไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 11 คน ค. 12  คน
  • ไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 10 คน ง. 10  คน

ตอบ  ก. ไม่น้อยกว่า 7 คน แต่ไม่เกิน 11 คน        

มาตรา ๓๓ ให้มีคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชีประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์เกี่ยวกับการบัญชี มีจำนวนไม่น้อยกว่าเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบเอ็ดคน และผู้แทนกรมการประกันภัย ผู้แทนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ผู้แทนกรมสรรพากร ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นกรรมการ

กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี

  1. มาตรฐานการบัญชีต้องจัดทำเป็นภาษาใด
  • ภาษาอังกฤษ ค. ภาษาอังกฤษและภาษาไทย
  • ภาษาไทย ง. ภาษาใดก็ได้

ตอบ   ข. ภาษาไทย

  1. ผู้ใดจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องได้รับใบอนุญาตจากใคร
  • สภาวิชาชีพบัญชี
  • คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานการบัญชี
  • คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชี
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ตอบ   ก. สภาวิชาชีพบัญชี        

มาตรา ๓๘ ผู้ใดจะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชี

  1. ข้อใดคือคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
  • เป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญ
  • ผ่านการทดสอบหรือฝึกอบรมหรือฝึกงานหรือเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีมาแล้วตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี
  • กรณีเป็นสมาชิกวิสามัญซึ่งเป็นคนต่างด้าวต้องเป็นผู้มีความรู้ภาษาไทยดีพอที่จะสามารถสอบบัญชีและจัดทำรายงานเป็นภาษาไทยได้ และมีภูมิลำเนาในประเทศไทย
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ  ง. ถูกทุกข้อ

มาตรา ๓๙ ผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

(๑) เป็นสมาชิกสามัญหรือสมาชิกวิสามัญตามมาตรา ๑๔ วรรคสอง แต่ในกรณีเป็นสมาชิกวิสามัญซึ่งเป็นคนต่างด้าวต้องเป็นผู้มีความรู้ภาษาไทยดีพอที่จะสามารถสอบบัญชีและจัดทำรายงานเป็นภาษาไทยได้ และมีภูมิลำเนาในประเทศไทย และเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้วต้องได้รับใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวด้วย จึงจะปฏิบัติงานเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้

(๒) ผ่านการทดสอบหรือฝึกอบรมหรือฝึกงานหรือเคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีมาแล้วตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

(๓) ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากกระทำความผิดตามมาตรา ๒๖๙ มาตรา ๓๒๓ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์เว้นแต่ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์และความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี กฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยการกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ เฉพาะที่เกี่ยวกับการรับรองงบการเงินหรือบัญชีอื่นใดอันไม่ถูกต้องหรือทำรายงานเท็จหรือความผิดตามหมวด ๕ และหมวด ๖ แห่งพระราชบัญญัตินี้ เว้นแต่ต้องคำพิพากษาหรือพ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี

(๔) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย

(๕) มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี

คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีมีวาระการดำรงตำแหน่งกี่ปี *

ติดต่อกันไม่ได้ ไม่ให้นำความในข้อ 1. และ 2. มาใช้บังคับ 3. วาระการดำรงตำแหน่ง 1. กรรมการจรรยาบรรณมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี แต่จะดำรงตำแหน่งเกินสองวาระ 2. การพ้นจากตำแหน่งกรรมการจรรยาบรรณ เมื่อ 2.1 ครบวาระ 2.2 ตาย 1/4 Page 2 2.3 ลาออก 2.4 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี

คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี มีกี่คน

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ บริหารงานโดย คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี (มาตรา 22) ซึ่งมีวาระการดำรง ตำแหน่งคราวละ 3 ปี โดยนายกสภาวิชาชีพบัญชี จะดำรง ตำแหน่งเกินสองวาระติดต่อกันไม่ได้ คณะกรรมการสภาวิชาชีพ บัญชีมีทั้งสิ้น 17 คน ประกอบด้วย

ประธานในคณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชี คือข้อใด

นายวินิจ ศิลามงคล ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี

คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีมีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง

มาตรา ๒๘ ให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพบัญชีมีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (๑) บริหารกิจการของสภาวิชาชีพบัญชีให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ (๒) กระทํากิจการที่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของสภาวิชาชีพบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ (๓) เสนอร่างข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีในกิจการต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัตินี้ต่อที่ประชุมใหญ่สภาวิชาชีพบัญชี (๔) จัด ...