Lithium แรงดันเซลล์มีกี่โวลต์

Lithium แรงดันเซลล์มีกี่โวลต์

แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออน  (Lithium Ion Batteries)

   จุดเริ่มต้นของแบตเตอรี่ชนิดลิเธียม มาจากการวิจัยในปี 1912 แต่กว่าจะออกมาเป็นแบตเตอรี่ให้ได้ใช้กันจริงๆ ก็เป็นปี 1970 ซึ่งตอนนั้นก็เป็นชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือที่เรียกว่า ไพรมารีเซลล์ (Primary Cell) ลิเธียม เป็นโลหะที่เบาที่สุด ให้แรงดันไฟฟ้าสูงที่สุด และยังมีความหนาแน่นพลังงานสูงที่สุดในน้ำหนักที่เท่ากัน

   การนำโลหะลิเธียมมาใช้ในแบตเตอรี่ ในระยะแรกของการวิจัย พบปัญหาในเรื่องของความปลอดภัย มันไวต่อปฏิกิริยาเคมีมากๆ (ระเบิด!) โดยเฉพาะในขณะชาร์จไฟ ต่อมา จึงได้เปลี่ยนจากการใช้ลิเธียมในรูปของโลหะ มาเป็นรูปของไอออน แทน ซึ่งมีความปลอดภัยกว่า ในปี 1991 บริษัทโซนีเป็นผู้นำแบตเตอรี่ชนิดลิเธียมไอออนออกสู่ตลาดเป็นรายแรก

   ความหนาแน่นพลังงานของเซลลิเธียมไอออน มีค่าสูงกว่าเซลชนิดนิเกิลแคดเมียม 2 เท่า เนื่องด้วยมีแรงดันที่มากกว่า และข้อดีตรงแรงดันที่สูงนี้เอง ปัจจุบันนี้ เซลในแพคแบตเตอรี่จึงใช้เพียงแค่เซลเดียวก็สามารถให้พลังงานกับโทรศัพท์มือถือได้อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาเรื่องความจำของแบตเตอรี่ จึงไม่ต้องมีการ “ล้างแบตเตอรี่” หรือการใช้แบตเตอรี่ให้หมดเกลี้ยงประมาณเดือนละครั้ง อย่างที่ต้องทำในแบตเตอรี่ชนิดนิเกิลเมทัลไฮไดรต์ และนิเกิลแคดเมียม 

   แต่อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ลิเธียมก็มีข้อจำกัด คือ เสียหายได้ง่าย ถ้าใช้งานไม่ถูกวิธี จึงจำเป็นต้องมีวงจรป้องกันประกอบอยู่ในแพคแบตเตอรี่ เพื่อให้แบตเตอรี่ทำงานอยู่ในช่วงที่ปลอดภัย วงจรป้องกันจะจำกัดแรงดันสูงสุดของเซลขณะชาร์จ รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีการใช้งานจนแรงดันต่ำลงจนเกินไป และป้องกันการลัดวงจร แรงดันที่ต่ำเกินไป สูงเกินไป และกระแสไหลที่สูงผิดปกติ เช่นการลัดวงจร ทำให้เซลลิเธียมสูญเสียความจุ หรือเสียหายเป็นการถาวร นอกจากนี้ ยังมีการวัดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้งานที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำผิดปกติ

   ผู้ผลิตเซลแบตเตอรี่ มักไม่พูดถึงเรื่องอายุการใช้งานเลย แต่ตามปกติแล้วแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนจะสูญเสียความจุบางส่วนให้เป็นที่สังเกตได้เมื่อผ่านระยะเวลาไปประมาณ 1 ปี ไม่ว่าจะใช้งานมันหรือไม่ก็ตาม และก็จะใช้ไม่ได้หลังจากผ่านไป 2 หรือ 3 ปี 

   ถ้าต้องเก็บแบตเตอรี่เป็นเวลานาน การเก็บในที่เย็นจะชะลอการเสื่อมของแบตเตอรี่ทุกชนิดลงได้ ผู้ผลิตแบตเตอรี่แนะนำว่า อุณหภูมิการเก็บรักษาแบตเตอรี่ลิเธียมที่ดีอยู่ที่ 15 องศาเซลเซียส และต้องมีไฟประจุอยู่ 40 % (ประมาณ 3.7-3.8 โวลต์)

ประเภท กลุ่มที่ 2 (กลุ่มแรก Ni-Cad)
ปฏิกริริยาทางเคมี แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอิเล็กโทรไลท์
อุณภูมิในการปฏิบัติการ 4º F ถึง 140º F ( -20º C ถึง 60º C)
เหมาะแก่การใช้งานกับ มือถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือ (สมาร์ทโฟนนั่นเอง)
แรงดันเริ่มต้น 3.6 & 7.2
ความจุ แตกต่างกันไป แต่ปกติเป็น 2 เท่าของ Ni-Cad
อัตราการคลายประจุ น้อย
อายุการใช้งาน 300 – 400 cycles ทุก 100%
อุณภูมิในการชาร์จ 32º F ถึง 140º F (0º C ถึง 60º C)
อายุการเก็บรักษา สูญเสียประจุน้อยกว่า 0.1% ต่อเดือน
อุณหภูมิในการเก็บ -4º F ถึง 140º F ( -20º C ถึง 60º C)
การกำจัด
  • สามารถนำไปรีไซเคิลได้
หมายเหตุอื่นๆ
  • เหมาะแก่การชาร์จภายในอุปกรณ์มากกว่าการชาณืจภายนอก
  • การผลิตขึ้นมา ถูกจำกัดในรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า
  • เบากว่าแบตเตอรีจำพวกนิกเกิล (Ni-Cad และ NiHM)

ข้อดีของลิเธียมไอออน

  •  ความหนาแน่นพลังงานสูง
  •  ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นก่อนใช้ หลังจากเก็บเป็นเวลานาน
  •  มีอัตราการคายประจุตัวเองต่ำ
  •  ไม่ต้องดูแลรักษามาก


ขีดจำกัดของลิเธียมไอออน

  •  จำต้องใช้วงจรป้องกันแรงดันและกระแสให้อยู่ในเขตปลอดภัย
  •  มีการเสื่อมอายุตามเวลาแม้ว่าจะไม่มีการใช้งาน 
  •  อัตราการจ่ายกระแสไม่สูงมาก ไม่เหมาะกับงานที่ใช้โหลดหนักๆ

แบตเตอรี่ชนิดลิเธียมโพลีเมอร์ (Lithium Polymer Batteries)

   ลิเธียมโพลีเมอร์ ต่างจากลิเธียมไอออนธรรมดาตรงที่ชนิดของสารอิเลกโตรไลท์ ลิเธียมโพลีเมอร์ ใช้ฟิล์มคล้ายพลาสติกร่วมกับอิเลกโตรไลท์ชนิดเจล แทนที่จะใช้แผ่นเมมเบรนที่มีรูพรุน เป็นตัวส่งผ่านไอออน ลิเธียมโพลีเมอร์ง่ายต่อการผลิต มีความแข็งแรง ปลอดภัย และบาง สามารถทำให้บางได้ถึง 1 มิลลิเมตร สามารถผลิตให้เป็นรูปทรงต่างๆ ได้ตามความต้องการของการใช้งาน 

ประเภท กลุ่มที่ 2
ปฏิกิริยาทางเคมี แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับอิเล็กโทรไลท์
อุณภูมิในการปฏิบัติการ ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ
เหมาะแก่การใช้งานกับ มือถือ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือ (สมาร์ทโฟนนั่นเอง)
แรงดันเริ่มต้น 3.6 & 7.2
ความจุ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแบตเตอรี่
อัตราการคลายประจุ น้อย
อายุการใช้งาน 300 – 400 cycles
อุณภูมิในการชาร์จ 32º F ถึง 140º F (0º C ถึง 60º C)
อายุการเก็บรักษา สูญเสียประจุน้อยกว่า 0.1% ต่อเดือน
อุณหภูมิในการเก็บ -4º F ถึง 140º F ( -20º C ถึง 60º C)
การจัดการ
  • รีไซเคิลได้
อื่นๆ 
  • เหมาะแก่การชาร์จภายในอุปกรณ์มากกว่าการชาณืจภายนอก
  • เบากว่าแบตเตอรีจำพวกนิกเกิล (Ni-Cad และ NiHM)
  • การผลิต ไม่จำกัดในด้านรูปทรง
  •  สามารถทำให้บางมากๆ ได้ เช่น แบตเตอรี่ขนาดบางเท่าบัตรเครดิต
  •  ไม่จำกัดรูปแบบ ผู้ผลิตไม่จำต้องจำกัดอยู่แค่ขนาดเซลมาตรฐาน ขนาดที่ต้องการสามารถสั่งผลิตได้
  •  น้ำหนักเบา ใช้เพียงห่อแล้วซีลแบบง่ายๆ ไม่ต้องใช้ตัวถังโลหะ
  •  ปลอดภัย รับการชาร์จไฟเกินได้มากกว่า โอกาสของการรั่วของอิเลกโตรไลท์ลดลง

ขีดจำกัดของลิเธียมโพลีเมอร์

  •  ความหนาแน่นพลังงานต่ำกว่า และจำนวนรอบการใช้งานที่ต่ำกว่าลิเธียมไอออนธรรมดา
  •  ราคาแพงกว่า
  •  ไม่มีขนาดมาตรฐานให้เลือก จึงจำต้องสั่งจำนวนมากๆ
  •  อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อพลังงานที่เก็บได้ มีค่าสูงกว่าลิเธียมไอออน


ข้อเปรียบเทียบการใช้งานระหว่างแบตเตอรี่ทั้ง 2 ชนิด

  • Lithium Polymerมีการคายประจุช้ากว่า
    Lithium Polymer ของเหลวด้านในเป็นเจล ไม่ติดไฟ ปลอดภัย ลดความเสี่ยงเรื่องการระเบิด
  • Lithium Polmer น้ำหนักเบากว่าที่ความจุเท่ากัน และไม่จำกัดรูปทรงในการผลิต
  • Lithium Polymer รับการชาร์จไฟเกินได้มากกว่า
  • Lithium Polymer ไม่จำเป็นต้องกระตุ้นก่อนใช้ หลังจากเก็บเป็นเวลานาน
  • Lithium Polymer ใช้งานได้ยาวนานกว่าแม้ไม่ได้ใช้งาน ไม่เสื่อมตามกาลเวลา
  • Lithium Polymer มีอัตราการจ่ายกระแสที่สูงกว่า สามารถใช้งานที่ใช้โหลดหนักๆได้
  • Lithium Ion มีราคาถูกกว่า
  • Lthium Ion ใช้ระเวลาในการประจุไฟน้อยกว่า