เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้งานด้านโลจิสติกส์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้งานด้านโลจิสติกส์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันของผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น และยังมีการนำเทคโนโลยี เช่น หุ่นยนต์ ระบบอัตโนมัติ ปัญญาประดิษฐ์ โมบายล์แอปพลิเคชันแบบเรียลไทม์ มาเป็นตัวช่วยบริการจัดการเพิ่มประสิทธิภาพงานขนส่งและโลจิสติกส์ ให้สอดคล้องกับกระแสการปรับเปลี่ยนสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล 

เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้งานด้านโลจิสติกส์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

สิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องตระหนักเพื่อรับความเปลี่ยนแปลงหรือเรียกได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ นั่นคือ “บริหารต้นทุนให้ต่ำ ทำให้เร็วกว่าเดิม เพิ่มการลงทุนเทคโนโลยี”

โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องคำนึงถึงคือความเร็วในการจัดส่งสินค้า การส่งมอบสินค้าตรงเวลา สินค้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ พนักงานให้บริการอย่างมืออาชีพ เพื่อให้ผู้รับสินค้ามีความพึงพอใจ ขณะที่ธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ไทยที่กำลังเติบโตท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือด ได้เร่งปรับตัว นำเทคโนโลยีเข้ามาบริหารงานมากขึ้น การแข่งขันจึงไม่ใช่แค่การใช้เทคโนโลยี แต่คือการลงทุนเทคโนโลยีด้วยการอ่านเกมให้ขาด ลงทุนให้ถูกจุด เพื่อครองชัยชนะบนสมรภูมิยุค Digital Disruption

เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้งานด้านโลจิสติกส์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

คุณวรินทร สีสุขดี ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บริษัท จีไอเอส จำกัด ในเครือ CDG Group ผู้ให้บริการด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบครบวงจรแก่องค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ดำเนินธุรกิจมายาวนานกว่า 50 ปี ได้เปิดเผยถึง 5 เทรนด์ท้าทายของโลกขนส่งและโลจิสติกส์ ที่ต้องเผชิญในปี 2563 นี้ ประกอบด้วย

1. Digital logistics การบริหารงานโลจิสติกส์ด้วยข้อมูลดิจิทัล โดยมีข้อมูลเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเอาชนะคู่แข่งได้ ดังนั้น การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานเข้าสู่ระบบดิจิทัลเป็นเรื่องที่เลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เพราะดิจิทัลมีผลต่อการทำงานแบบ day-to-day ในธุรกิจ ข้อมูลในระบบดิจิทัลช่วยสนับสนุนการตัดสินใจได้ดีและเร็วขึ้น ทำให้มองเห็นซัพพลายเชนทั้งระบบ และสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในทุกวันนี้ได้ง่ายขึ้น

2. Real time supply chain visibility หรือ การจัดการทัศนวิสัยในห่วงโซ่อุปทานแบบทันที เจ้าของธุรกิจจึงจำเป็นต้องรู้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าสินค้าจะอยู่ที่ไหน จำนวนเท่าไร เคลื่อนย้ายเมื่อใด ตลอดจนการใช้ IoT Sensor เพื่อการติดตามการขนส่ง เช่น เส้นทาง จุดส่งสินค้า เงื่อนไขพิเศษต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้เร็วที่สุดและควบคุมค่าใช้จ่ายภายในธุรกิจ การเชื่อมโยงข้อมูลเหล่านี้ในกระบวนการธุรกิจช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและการคาดการณ์อนาคต เพื่อปรับเปลี่ยนการจัดการออเดอร์และซัพพลายเชนให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้งานด้านโลจิสติกส์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

3. Consolidation of goods เป็นการรวบรวมสินค้าจากหลายบริษัทในการบรรทุกจัดส่งไม่ว่าทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เป็นเทรนด์การจัดการขนส่งที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการขนส่ง และ ช่วยให้กระบวนการโลจิสติกส์มีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน ปัจจัยหลักคือขนาดของตลาดขนส่งที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับขนาดของการบรรทุกจัดส่ง เมื่อทุกสิ่งสามารถสั่งซื้อได้แบบออนไลน์ ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของจำนวนสินค้าที่จะถูกจัดส่งจำนวนมาก ขนาดของการโหลดบรรทุกการจัดส่งของบริษัทจึงเล็กลงเพื่อส่งออกสินค้าได้รวดเร็วมากขึ้น

4. Artificial and Augmented Intelligence AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ กำลังจะมาแทนที่งานบางส่วนของมนุษย์ที่ทำซ้ำ ๆ ซึ่งสามารถถูกแทนที่ด้วยระบบ เพราะเป็นระเบียบและวัดผลได้มากขึ้น แต่งานบางประเภทเป็นงานที่จำเป็นต้องใช้ทักษะของมนุษย์ จึงเกิดเทรนด์ใหม่ที่เรียกว่า“Augmented Intelligence” หรือ “ปัญญาเสริม” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ว่า “มนุษย์” กับ “AI” สามารถทำงานร่วมกันได้ คือ การเลียนแบบความฉลาดของมนุษย์และขยายขีดความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ลงในซอฟต์แวร์ เช่น หน่วยความจำการจัดลำดับ การรับรู้ การคาดการณ์ การแก้ปัญหา ไปจนถึงการตัดสินใจ เพื่อให้สามารถเข้าใจความต้องการของมนุษย์ได้ง่ายขึ้นและเพิ่มความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ เข้าด้วยกัน

เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้งานด้านโลจิสติกส์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง

ตัวอย่างเช่น การวางแผนงานโลจิสติกส์ สามารถใส่ข้อมูลที่มนุษย์เป็นผู้สร้าง เช่น แผนงาน ความรับผิดชอบของส่วนงานการบริการลูกค้า ความยืดหยุ่นในการทำงาน ซึ่งต้องใช้ประสบการณ์ ความรู้สึกหรือสามัญสำนึก และอื่น ๆ ผสานเข้ากับการวิเคราะห์ประเมินผลโดย AI ที่สามารถทำนายและทำความเข้าใจสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ช่วยวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการตัดสินใจจากการเรียนรู้ข้อมูลในอดีต อะไรจะเกิดขึ้นหากเลือกเดินในแต่ละเส้นทาง ทำให้มีวิธีรับมือกับเหตุการณ์เหล่านั้นได้

5. Data Standardization and Predictive analytics Platform เทคโนโลยีแพลตฟอร์มสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงและจัดการข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว คือ เครื่องมือที่จะช่วยรวบรวมข้อมูลโลจิสติกส์ขนาดใหญ่ในโลกดิจิทัล สิ่งที่ธุรกิจโลจิสติกส์ควรทำคือ การศึกษากระบวนการทำงานของโซลูชันแพลตฟอร์มและนำมาใช้กับธุรกิจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการงานขนส่งได้ดีขึ้น เพิ่มสมรรถนะการใช้รถขนส่งได้มากขึ้น และจัดการการใช้เชื้อเพลิงการขนส่งได้น้อยลง ข้อมูลและการวิเคราะห์พยากรณ์ด้วยแพลตฟอร์มจะทำให้เห็นรูปแบบของความเสี่ยงรวมถึงโอกาสที่อาจเกิดขึ้นด้วยข้อมูลที่มีในระบบ และอาจใส่เงื่อนไขเฉพาะลงไป ทำให้ได้ข้อมูลพยากรณ์ล่วงหน้า เช่น อุบัติเหตุ การใช้น้ำมัน การซ่อมบำรุงรถ การใช้จ่าย เส้นทางขนส่งและจุดจอดรถที่เหมาะสม

เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้งานด้านโลจิสติกส์มีกี่ชนิดอะไรบ้าง


เทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้งานด้านโลจิสติกส์มีกี่ชนิด

เทคโนโลยีที่จ าเป็นส าหรับโลจิสติกส์ในยุคใหม่ทั้ง 7 ระบบ ในบทความนี้ประกอบด้วย 1) ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทาง อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange System: EDI) 2) ระบบบาร์โค้ด (Barcode System) 3) รหัสบ่งชี้โดยใช้ความถี่ ของคลื่นวิทยุ (Radio Frequency Identification: RFID) 4) ระบบ ก าหนดพิกัดที่ตั้งดาวเทียม ( ...

เทคโนโลยีใดที่นำมาประยุกต์ใช้ร่วมกับการจัดการโลจิสติกส์ *

เทคโนโลยีที่นิยมนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโลจิสติกส์ภายในองค์กรธุรกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สำคัญคือ GPS (Global Positioning System) Barcode RFID (Radio Frequency Identification) EDI (Electronics Data Interchange) การวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ (Enterprise Resource Planning: ERP) ระบบการจัดการคลังสินค้า ( ...

เทคโนโลยีมีส่วนช่วยในกิจกรรมโลจิสติกส์ด้านใดบ้าง

การนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์โดยส่วนใหญ่จะมีการแบ่งกลุ่ม 3 งาน ซึ่งได้แก่ 1) การเคลื่อนย้ายวัสดุและผลิตภัณฑ์2) การไหลของข้อมูลสารสนเทศ 3) การตัดสินใจและวางแผนเชิงโลจิสติกส์โดย งานส่วนใหญ่จะมีการน าเทคโนโลยีทางด้านระบบสารสนเทศทั่วทั้งองค์กร (ERP)เป็นหลักเนื่องจากระบบ ERP ใน ปัจจุบันมีความสามารถบริหาร ...

เทคโนโลยีใดที่นักการจัดการโลจิสติกส์นำมาใช้ในการวางแผนและการจัดการขนส่งสินค้า

Warehouse Management System: WMS เป็นระบบโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยบริหารการจัดการโลจิสติกส์ระบบคลังสินค้า ที่ครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในคลังสินค้า ได้แก่ การรับสินค้า (Receiving) การจัดเก็บ (Putaway) และการจัดและการเติมสินค้า (Picking & Replenishment)