รูปแบบการส่งออกมีกี่ประเภท

พิธีการศุลกากรส่งของออกทางบก

1. การยื่นใบขนสินค้าขาออก

          ผู้ส่งของออกที่ประสงค์จะส่งสินค้าทั่วไป* ออกจากราชอาณาจักรผ่านเขตแดนทางบก จะต้องจัดทำข้อมูล “ใบขนสินค้าขาออก (กศก. 101/1)” ตามรูปแบบและมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด โดยจะต้องจัดทำข้อมูลใบขนฯ ดังกล่าวในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ แล้วส่งมายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ก่อนการขนย้ายของมายังด่านศุลกากรที่จะส่งของออก เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ได้ตรวจสอบข้อมูลใบขนฯ ที่ส่งมาแล้ว หากไม่พบข้อผิดพลาด ระบบจะแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าขาออกตอบกลับไปยังผู้ส่งของออก เพื่อให้ผู้ส่งออกไปดำเนินการชำระค่าภาษีอากร (ถ้ามี) และทำการขนย้ายของไปยังด่านศุลกากรเพื่อรับการตรวจปล่อยต่อไป

          1.1 ข้อมูลที่ควรจัดเตรียมเพื่อใช้ประกอบการยื่นใบขนสินค้าขาออก
                     - บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
                     - บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)         
                     - ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาต (กรณีเป็นของต้องกำกัดหรือสินค้าที่ต้องควบคุมการส่งออก)

1.2 วิธีการส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกมายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร สามารถทำได้ 4 ช่องทางดังนี้
                     - ผู้ส่งของออกส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาออกด้วยตนเอง โดยจะต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรหรือดำเนินการในกระบวนการศุลกากรกับกรมศุลกากรก่อน
                     - ผู้ส่งของออกมอบหมายให้ตัวแทนออกของ (Customs Broker) เป็นผู้ส่งข้อมูลแทน
                     - ผู้ส่งของออกให้เคาน์เตอร์บริการ (Service Counter) เป็นผู้ส่งข้อมูล
                     - ผู้ส่งของออกยื่นใบขนสินค้าขาออกในรูปแบบเอกสาร พร้อมทั้งแบบรายละเอียดข้อมูลใบขนสินค้าขาออก (ใบนําคีย์) ณ ด่านศุลกากรที่ส่งออก

2. การชำระค่าภาษีอากร

          เมื่อผู้ส่งของออกได้ยื่นข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรและได้รับการตอบกลับเลขที่ใบขนสินค้าแล้ว ผู้ส่งของออกจะต้องดำเนินการชำระค่าภาษีอากร (ถ้ามี) และค่าธรรมเนียมศุลกากรให้แล้วเสร็จก่อนไปดำเนินการรับการตรวจปล่อย โดยผู้ส่งของออกสามารถชำระค่าภาษีอากรและค่าธรรมเนียมศุลกากรได้ 3 ช่องทางดังต่อไปนี้

          2.1 ชำระด้วยตนเองที่หน่วยรับชำระเงินทุกแห่งของกรมศุลกากร ทั้งในรูปแบบเงินสด บัตรภาษี บัตรเดบิต บัตรเครดิต และเช็คของผู้ประกอบการที่มีธนาคารค้ำประกันและได้รับอนุมัติจากกรมศุลกากร

          2.2 ชำระในระบบ e-Payment คือ การชำระเงินค่าภาษีอากรพร้อมกับการส่งข้อมูลใบขนสินค้า โดยการตัดยอดบัญชีธนาคารของผู้ส่งของออกตามที่ได้แจ้งไว้กับกรมศุลกากร

          2.3 ชำระในระบบ e-Bill Payment คือ การใช้เอกสารของกรมศุลกากร (เช่น ใบขนสินค้า ใบสั่งเก็บ) ซึ่งมี QR Code หรือ Bar Code หรือเลขอ้างอิงตามที่ปรากฏในเอกสารนั้น ไปชำระ ณ เคาน์เตอร์ของธนาคารหรือ Internet Banking หรือ ATM หรือช่องทางการรับชำระเงินอื่น ๆ ของธนาคาร หรือ ผ่านตัวแทนรับชำระเงิน ที่ทำความตกลงกับกรมศุลกากร ได้แก่ เคาน์เตอร์เซอร์วิสของ 7-11 และ บิ๊กซี

3. การส่งข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าขาออก

          เมื่อผู้ส่งของออกได้ทำการบรรจุสินค้าลงในยานพาหนะแล้วเสร็จ ผู้ส่งของออกต้องจัดทำข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าตามรูปแบบและมาตรฐานที่กรมศุลกากรกำหนด แล้วส่งข้อมูลใบกำกับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มายังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร หากระบบตรวจสอบแล้วไม่พบข้อผิดพลาด ระบบจะกำหนดเลขที่ใบกำกับการขนย้ายสินค้าแล้วตอบกลับไปยังผู้ส่งของออกเพื่อทำการขนย้ายต่อไป ทั้งนี้การส่งข้อมูลข้างต้นจะต้องทำก่อนการขนย้ายของมายังด่านศุลกากรที่จะส่งของออก 

            โดยในการจัดทำข้อมูลใบกำกับดังกล่าว ผู้ส่งของออกจะต้องทำข้อมูลใบกำกับตามบัญชีสินค้าที่ทำการบรรจุจริงเป็นรายยานพาหนะที่ใช้ขนย้าย และให้ใช้ใบกำกับการขนย้ายสินค้าหรือเลขที่ใบกำกับดังกล่าวเป็นบัญชีสินค้า (แบบ ศ.บ.3) สำหรับแสดงต่อเจ้าพนักงานศุลกากรที่ด่านพรมแดนก่อนนำยานพาหนะผ่านเขตแดนทางบกออกไปนอกราชอาณาจักร

4. การตรวจสอบและตัดบัญชีใบกำกับการขนย้ายสินค้า

เมื่อทำการบรรจุสินค้าและส่งข้อมูลใบกำกับการขนย้ายสินค้าแล้วเสร็จ ผู้ส่งของออกจะต้องควบคุมยานพาหนะมายังด่านศุลกากรที่จะส่งของออก แล้วแจ้งเลขที่ใบกำกับการขนย้ายต่อเจ้าพนักงานศุลกากร เจ้าพนักงานศุลกากรจะทำการตรวจสอบความถูกต้องและทำการตัดบัญชีใบกำกับการเคลื่อนย้าย พร้อมทั้งตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้าขาออกที่ระบุไว้ในใบกำกับ และดำเนินการตามคำสั่งการตรวจตามผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงของระบบคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้

4.1 กรณีมีคำสั่ง “ยกเว้นการตรวจ (Green Line)" ผู้ส่งของออกสามารถไปติดต่อเจ้าพนักงานศุลกากรเพื่อนำยานพาหนะไปยังด่านพรมแดนเพื่อผ่านเขตแดนทางบกออกไปนอกราชอาณาจักรได้ทันที

4.2 กรณีมีคำสั่ง “ให้เปิดตรวจ (Red Line) ผู้ส่งของออกจะต้องติดต่อเจ้าพนักงานศุลกากรเพื่อทำการตรวจสอบของก่อนนำยานพาหนะไปยังด่านพรมแดน

หมายเหตุ* กรณีเป็นการส่งของออกซึ่งมีปริมาณเล็กน้อยตามแนวชายแดน คือเป็นของที่มีมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาท และไม่เป็นของที่ต้องเสียภาษีอากร หรือของต้องห้าม หรือต้องกํากัดในการส่งออก และไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรเว้นแต่ภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ผู้ส่งของออกยื่นใบแจ้งรายละเอียดสินค้าขาออก (กศก.153) ต่อพนักงานศุลกากร ณ ด่านพรมแดน หรือจุดผ่านแดนถาวร หรือจุดผ่านแดนชั่วคราว หรือจุดผ่อนปรนทางการค้า เพื่อตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนก่อนนำของออกไปนอกราชอาณาจักร

รูปแบบการส่งออกมีกี่ประเภท

รูปแบบการส่งออกมีกี่ประเภท

วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 20 มีนาคม 2563 10:35:27
จำนวนผู้เข้าชม : 334,488

รูปแบบของการส่งออกมีกี่รูปแบบ

การส่งออกสินค้า (Export).
พิธีการส่งออกทางบก ... .
พิธีการส่งออกทางเรือ ... .
พิธีการส่งออกทางอากาศ ... .
คู่มือสำหรับการส่งออก (e-Export) ... .
การคืนอากรตามมาตรา 28 (Re-export).

ความสําคัญของการส่งออกมีอะไรบ้าง

ความสำคัญของภาคการส่งออกสามารถแบ่งได้ดังนี้ 1. ผลักดันในด้านการขยายการลงทุนและสร้างความต้องการแรงงาน 2. ช่วยในการนำเข้าเงินตราต่างประเทศ 3. ก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 4. ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพยากร (Value Added)

ใบขนสินค้า ขาออก มี กี่ ประเภท

1.ประเภทใบขนสินค้าขาออก เป็นแบบพิมพ์ที่กรมศุลกากรกำหนดให้ผู้ส่งออกต้องยื่นต่อกรมศุลกากรในการส่งออกสินค้า ซึ่งจำแนกออกเป็น 4 ประเภท ตามลักษณะการส่งออก ดังนี้ (1) แบบ กศก.101/1 ใบขนสินค้าขาออก ใช้สำหรับการส่งออกในกรณี ดังต่อไปนี้ – การส่งออกสินค้าทั่วไป – การส่งออกของส่วนบุคคลและเอกสิทธิ์

สินค้าที่นำเข้าและส่งออกแบ่งเป็นกี่ประเภท

สินค้าน าเข้าและสินค้าส่งออกอาจจ าแนกได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือสินค้า อุปโภคบริโภค (Consumer goods) และสินค้าอุตสาหกรรม (Industrial goods)