สังเวชนียสถานมีทั้งหมดกี่แห่ง

สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รัก หลายคนที่ได้ติดตามคุณครูลิลลี่ทั้งทางอินสตาแกรม และเฟซบุ๊ก คงจะได้เห็นว่าช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาคุณครูลิลลี่ได้เดินทางไปประเทศอินเดีย เพื่อไปสัมผัสสังเวชนียสถาน ที่ว่ากันว่าเรารับนับถือศาสนาพุทธก็ควรที่จะไปกราบสักการะสักครั้งหนึ่งในชีวิต และการเดินทางครั้งนั้นจึงเป็นที่มาของความรู้ภาษาไทยในไทยรัฐออนไลน์ครั้งนี้ค่ะ “สังเวชนียสถาน” พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า เป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาอันเนื่องกับเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ในชีวิตของพระพุทธเจ้า ได้แก่ ที่ประสูติ ที่ตรัสรู้ ที่ใช้แสดงปฐมเทศนา และที่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้พุทธศาสนิกชนไปนมัสการเพื่อจะได้เกิดความสังเวช คือ รู้สึกสลดใจและระลึกถึงว่าแม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระมหากรุณาต่อชาวโลก และได้เสด็จออกประกาศพระศาสนาเพื่อประโยชน์สุขของชาวโลกก็ยังหนีความตายไม่พ้น เป็นการเตือนสติพุทธศาสนิกชนไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาท เพื่อจะได้บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ทั้งต่อตัวเอง และต่อชาวโลกต่อไป

ทีนี้เรามาดูความรู้ภาษาไทยจากเรื่องนี้กันนะคะ คำว่า สังเวชนียสถาน อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน ค่ะ คำนี้ถ้าเราแยกศัพท์จะแยกได้เป็น สังเวชนีย + สถาน คำว่า “สังเวชนีย” เป็นภาษาบาลีมาจากคำว่า “สํเวชนิย” ประกอบด้วย สํเวชน + อิย ซึ่งคำว่า “สํเวชน” ในภาษาไทยนิยมใช้เป็น “สังเวช” ถ้าเราไปเปิดพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานจะมีคำแปลคำว่า สังเวช ไว้ว่า เป็นคำกริยา แปลว่า รู้สึกเศร้าสลดหดหู่ต่อผู้ที่ได้รับทุกขเวทนา หรือต้องตายไป หรือต่อผู้ที่ตนเคารพนับถือซึ่งประพฤติตนไม่เหมาะสมเป็นต้น เช่น เห็นผู้คนประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกแล้วสังเวช พอรู้ข่าวว่าญาติผู้ใหญ่ของตนพัวพันคดีฉ้อราษฎร์บังหลวงก็สังเวช เป็นต้น ส่วนเมื่อนำเอา สํเวชน รวมกับ อิย จึงกลายเป็น สํเวชนิย ซึ่งเมื่อเราแปลตามศัพท์ก็จะได้ความว่า “อันเป็นที่ตั้งแห่งความรู้สึกร่วมกัน” หรือ “อันควรแก่การรู้สึกสังเวช” คือ เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, มักจะทำให้เกิดความสังเวช นั่นเอง ส่วนคำว่า สถาน เป็นคำนาม หมายถึง ที่ตั้ง เช่น สถานเสาวภา สถานพยาบาล สถานพักฟื้น ถ้าใช้ประกอบคำอื่นหมายถึง ที่, แหล่ง เช่น โบราณสถาน ศาสนสถาน ฌาปนสถาน ปูชนียสถาน สังเวชนียสถาน เป็นต้น

สังเวชนียสถานมีทั้งหมดกี่แห่ง

โดยสรุปจากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่า สังเวชนียสถาน จึงเป็นคำนาม หมายความถึง สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑.สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒.สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓.สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔.สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย ค่ะ

ทั้งหมดก็คือความรู้ภาษาไทยที่คุณครูนำมาฝาก พร้อมกันนี้ก็ขอนำบุญกุศลจากการได้เดินทางไปสังเวชนียสถานในครั้งนี้มาฝากให้กับกัลยาณมิตรคุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์ที่รักทุกท่านนะคะ ขอให้เจริญด้วยบุญ เจริญด้วยศีล สมาธิ และปัญญา ทุกคนทุกท่านเทอญ สวัสดีค่ะ

instagram : kru_lilly , facebook : ครูลิลลี่

สังเวชนียสถาน (อ่านว่า สัง-เว-ชะ-นี-ยะ-สะ-ถาน) แปลว่า สถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช เป็นคำที่ใช้เรียกสถานที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้าโดยเฉพาะ เป็นสถานที่ทำให้เกิดความรู้สึกระลึกถึงพระพุทธเจ้า เกิดความแช่มชื่น เบิกบาน เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำความดี http://winne.ws/n8149

สังเวชนียสถานมีทั้งหมดกี่แห่ง

โดย ayira_V

23 ก.ย. 2559 - 18.32 น. , แก้ไขเมื่อ 24 ก.ย. 2559 - 17.10 น.

2.0 พัน ผู้เข้าชม

Tags :

สังเวชนียสถาน มี 4 แห่ง คือ

                             1.สถานที่ประสูติ

                             2.สถานที่ตรัสรู้

                             3.สถานที่แสดงปฐมเทศนา

                             4.สถานที่ปรินิพพาน

สังเวชนียสถาน 4 แห่งนี้ ท่านว่าเป็นสถานที่ควรไปเคารพสักการะ ควรไปแสวงบุญ เพื่อให้เกิดความสังเวชและเกิดพุทธานุสติ อันจักนำมาซึ่งบุญกุศลและความปลาบปลื้มแช่มชื่นใจ 

จากเนื้อความในมหาปรินิพพานสูตร แสดงให้เห็นว่าสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้ได้เกิดขึ้นโดยคำแนะนำของพระพุทธองค์ ที่ได้ตรัสว่า ผู้ใดระลึกถึงพระองค์ พึงจาริกไปยังสังเวชนียสถานทั้งสี่นี้ 

สถานที่เนื่องด้วยการประสูติ (ลุมพินีวัน หรือที่ชาวอินเดียเรียกว่า รุมมินเด)

ที่ตั้ง

ลุมพินีวันเป็นพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 1 ใน 4 สังเวชนียสถานของชาวพุทธ เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้ซึ่งต่อมาตรัสรู้เป็นพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งอยู่ที่อำเภอไภรวา แคว้นอูธ ประเทศเนปาล เป็นพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบลเพียงแห่งเดียวที่อยู่นอกประเทศอินเดีย ตัวลุมพินีวันอยู่ใกล้กับชายแดนประเทศอินเดียตอนเหนือ ห่างจากสิทธารถนคร[3] (หรือ นครเทวทหะ) ทางทิศตะวันตกประมาณ 22 กิโลเมตร และห่างจากเมืองติเลาราโกต (หรือ นครกบิลพัสดุ์) ทางทิศตะวันออก 22 กิโลเมตร ซึ่งถูกต้องตามตำราพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าลุมพินีวันสถานที่ประสูติ ตั้งอยู่ระหว่างเมืองกบิลพัสดุ์และเมืองเทวทหะ ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโกให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540[4]

ลุมพินีวันในสมัยพุทธกาล

ในสมัยพุทธกาล ลุมพินีวันอยู่ในเขตแห่งดินแดนที่เรียกว่าชมพูทวีป ตั้งอยู่ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ เมืองหลวงของพระเจ้าสุทโธทนะ และกรุงเทวทหะ เมืองหลวงของพระเจ้าชนาธิป เป็นพระราชอุทยานลาดลุ่มร่มรื่นกึ่งกลางระหว่างทางสำหรับพักผ่อนหย่อนใจของกษัตริย์และประชาชน สภาพของลุมพินีวันในสมัยนั้นอาจจะพิจารณาได้จากคัมภีร์วิสุทธชนวิลาสินี อรรถกถาขุททกนิกาย อปทาน ได้พรรณนาเป็นภาษาบาลีไว้ว่า

"ทวินฺนํ ปน นครานํ อนฺตเร อุภยนครวาสีนมฺปิ ลุมพินีวนํ นาม มงฺคลสาลวนํ อตฺถิ, ตสฺมึ สมเย มูลโต ปฏฺฐาย ยาว อคฺคสาขา สพฺพํ เอกปาลิผุลฺลํ อโหสิ สาขนฺตเรหิ เจว ปุปฺผนฺตเรหิ จ ปญฺจวณฺณา ภมรคณา นานปฺปการา จ สกุณสงฺฆา มธุรสฺสเรน วิกูชนฺตา สกลํ ลุมฺพินีวนํ จิตฺตลตาวนสทิสํ ฯเปฯ"แปลว่า: "ในระหว่างเมืองทั้งสอง มีป่าสาละชื่อลุมพินีวันอันเป็นมงคล สมัยนั้นสาละทั้งหมดล้วนมีดอกออกสะพรั่งเป็นแนวเดียวกัน แต่รากจนสุดปลายกิ่ง ตามกิ่งก้านสาขาและดอกนั้นล้วนมีหมู่ภมรนานาชนิด และหมู่นกหลากหลายชนิดส่งเสียงกู่ร้องประสานสำเนียง ดังทั่วทั้งป่า ลุมพินีวันนั้นจึงประดุจเช่นเดียวกับสวนจิตรลดา (อันมีในดาวดึงสเทวโลก) ฉะนั้น ฯลฯ"
— วิสุทฺธชนวิลาสินี ๑, หน้า ๖๔

หลังจากการประสูติของพระพุทธองค์แล้ว ไม่ปรากฏหลักฐานอื่นว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมา ณ ที่แห่งนี้แต่อย่างใด แม้พระพุทธเจ้าจะได้เสด็จมา ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ก็ประทับที่นิโครธารามที่พระประยูรญาติจัดถวายหาได้มาประทับหรือแสดงธรรม ณ ลุมพินีวันอีกไม่ เนื่องเพราะลุมพินีวันนั้นเป็นอุทยานไม่มีผู้คนอาศัยนั่นเอง

ชาวพุทธนมัสการ เสาพระเจ้าอโศกมหาราช เครื่องหมายสถานที่พระพุทธเจ้าประสูติ ณ ลุมพินีวัน ประเทศเนปาล

ลุมพินีวันหลังพุทธปรินิพพาน


หลังพุทธปรินิพาน กษัตริย์ซึ่งได้รับส่วนแบ่งแห่งพระบรมสารีริกธาตุ ได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในสถูปแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากลุมพินีวันนัก จวบจนพุทธศักราชได้ 294 ปี พระเจ้าอโศกมหาราชได้เสด็จนมัสการพุทธสังเวชนียสถานทั่วทั้งชมพูทวีป พร้อมด้วยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ (หรือพระอุปคุต) ได้เสด็จมานมัสการ ณ ลุมพินีนี้ พระองค์โปรดฯ ให้พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระนำทางและชี้จุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ แล้วทรงสร้างอาราม พระเจดีย์และเสาศิลาจารึกไว้เป็นสัญลักษณ์ว่า ลุมพินีวันนี้มีความสำคัญอย่างไร ซึ่งเสาศิลาหินทรายของพระเจ้าอโศกยังคงตั้งอยู่ ณ ที่เดิมจนถึงปัจจุบัน[6]]

สระสรงสนาน และ มหามายาเทวีวิหาร หลังการบูรณะ

หลังจากยุคของพระเจ้าอโศกมหาราช เรื่องราวของลุมพินีวันได้หายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาเกือบ 700 ปี โดยไม่ปรากฏหลักฐานเอกสารที่สามารถสืบค้นถึงความเป็นไปของลุมพินีวันในช่วงนี้ได้ จนในประมาณ พ.ศ. 900 สมณะฟาเหียนได้เดินทางจากประเทศจีนมาถึงลุมพินีวัน ท่านได้กล่าวไว้สั้น ๆ เพียงว่าได้พบบ่อสรงสนาน และระบุที่ตั้งของลุมพินีวันว่าอยู่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ไปทางทิศตะวันออกประมาณ 14-16 กิโลเมตร[6]

ต่อมา ในปี พ.ศ. 1181 สมณะเฮี้ยนจัง หรือ พระถังซำจั๋ง ได้เดินทางมาถึงลุมพินีวัน โดยได้ทำการการจดบันทึกระบุที่ตั้งสถานที่ต่าง ๆ ในลุมพินีวันไว้คร่าว ๆ ท่านได้กล่าวถึงบ่อสรงสนาน ซึ่งคงเป็นบ่อเดียวกับที่สมณะฟาเหียนกล่าวไว้ในบันทึก ซึ่งบ่อนี้ยังคงมีอยู่มาจนปัจจุบัน และกล่าวว่าไม่ไกลจากบ่อนั้นไปประมาณ 24 ก้าว มีต้นสาละต้นหนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นจุดที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จากจุดนั้นไปทางใต้มีเจดีย์องค์หนึ่ง เชื่อกันว่าเป็นจุดที่พระอินทร์เสด็จจากสวรรค์ลงมาต้อนรับพระราชโอรสที่ประสูติใหม่ ใกล้ ๆ กันมีเจดีย์อีกสี่องค์ ที่สร้างไว้เพื่อถวายแก่ท้าวจตุโลกบาล ที่ทำหน้าที่ถวายอภิบาลพระโอรสประสูติใหม่ และใกล้กันนั้นมีเสาอโศกรูปสิงห์ประดิษฐานอยู่บนยอด[7]

จวบจน พ.ศ. 2438-2439 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมและคณะ ได้ค้นพบเสาศิลาพระเจ้าอโศกซึ่งถูกฝังดินไว้และพบจารึกเป็นอักษรพราหมีระบุว่าที่แห่งนี้คือสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ จากนั้นจึงเริ่มมีการขุดค้นทางโบราณคดี โดยพบซากปรักหักพังจำนวนมาก ซากสถูปกว่า 50 องค์ และซากวิหารอาราม มีอายุตั้งแต่สมัยราชวงศ์โมริยะ ราชวงศ์ศุงคะ ราชวงศ์กุษาณะ และสมัยคุปตะ (ประมาณ พ.ศ. 300 - พ.ศ. 950) [8]

สระสรงสนาน และ มหามายาเทวีวิหาร หลังการบูรณะ

จุดแสวงบุญและสภาพของลุมพินีวันในปัจจุบัน

ปัจจุบัน ลุมพินีวันได้รับการบูรณะและมีถาวรวัตถุสำคัญที่ชาวพุทธนิยมไปสักการะ คือ "เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช" ที่ระบุว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ นอกจากนี้ ยังมี "วิหารมายาเทวี" ภายในประดิษฐานภาพหินแกะสลักพระรูปพระนางสิริมหามายาประสูติพระราชโอรส โดยเป็นวิหารเก่ามีอายุร่วมสมัยกับเสาหินพระเจ้าอโศก ปัจจุบัน ทางการเนปาลได้สร้างวิหารใหม่ทับวิหารมายาเทวีหลังเก่า และได้ขุดค้นพบศิลาจารึกรูปคล้ายรอยเท้า สันนิษฐานว่าเป็นจารึกรอยเท้าก้าวที่เจ็ดของเจ้าชายสิทธัตถะที่ทรงดำเนินได้เจ็ดก้าวในวันประสูติ

ลุมพินีวันได้รับการพัฒนาจากชาวพุทธทั่วโลก โดยเฉพาะจากโครงการฟื้นฟูพุทธสถานลุมพินีวันให้เป็น "พุทธอุทยานทางประวัติศาสตร์ของโลก" ซึ่งเป็นดำริของ ฯพณฯ อู ถั่นชาวพุทธพม่า ในสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ท่านตั้งใจเริ่มโครงการฟื้นฟูให้ลุมพินีวันเป็นศูนย์รวมจิตใจชาวพุทธบนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้ากว่า 6,000 ไร่ (ขนานตามแนวเหนือใต้) แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนสำหรับปลูกป่าและสร้างวัดพุทธนานาชาติจากทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ โดยโบราณสถานลุมพินีวันตั้งอยู่ทางด้านใต้ ปัจจุบัน มีวัดไทยและวัดพุทธทั่วโลกไปสร้างอยู่จำนวนมากและมีขนาดใหญ่โต เพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาสักการะแสวงบุญ

ในปี พ.ศ. 2540 ลุมพินีวันได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก ภายใต้ชื่อ "ลุมพินี สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า" ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 21 ที่เมืองนาโปลี ประเทศอิตาลี อีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลและภาพจากhttps://th.wikipedia.org/

รอยพระพุทธบาทหินสลัก ภายในวิหารมหามายาเทวี (ใหม่)

อู ถั่น อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ดำริให้ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันบูรณะลุมพินีวันให้เป็นพุทธอุทยานประวัติศาสตร์ของโลก

สังเวชนียสถาน 4 มีความสำคัญอย่างไร

สังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่งนั้นนับว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ชาวพุทธผู้ศรัทธา ตั้งใจว่าจะต้องเดินทางไปสักการะให้ได้สักครั้งในชีวิต เป็นการตามรอยพระพุทธเจ้าในดินแดนต้นกำเนิดศาสนาพุทธยังสถานที่ทั้ง 4 ที่อยู่ในประเทศอินเดีย และเนปาล ซึ่งก็มีความสำคัญตรงกับวันวิสาขบูชา อันได้แก่ วันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน รวม ...

สังเวชนียสถานมีกี่แห่ง

สังเวชนียสถานแห่ง (หรือ ๔ ตำบล) จึงเป็นอนุสรณียสถาน ที่ทำให้ระลึกถึงพระราชประวัติของพระพุทธเจ้าที่พุทธศาสนิกชน ให้ความสำคัญและสนใจ ควรจะได้ไปศึกษาคำสั่งสอนที่พระพุทธองค์ ทรงค้นพบ ซึ่งได้เริ่มต้น ณ ดินแดนแห่งนี้ กับเพื่อจะได้ระลึกถึง พุทธคุณที่ทรงมีต่อมวลมนุษย์ การได้ไปกราบไหว้บูชาพระพุทธเจ้า

สังเวชนียสถานอยู่ที่ใดบ้าง

๑. สถานที่พระตถาคตเจ้าบังเกิดแล้วคือ ประสูติจากพระครรภ์มารดา ตำบลหนึ่งคืออุทยานลุมพินี ๒. สถานที่พระตถาคตเจ้าตรัสรู้ พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณตำบลหนึ่งคือ ควงไม้โพธิ์ พุทธคยา ๓. สถานที่พระตถาคตเจ้าให้พระอนุตรธัมมจักเป็นไป หรือแสดงปฐมเทศนาตำบลหนึ่ง คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี (ปัจจุบันเรียก สารนาถ)