แผ่นดินไหว กี่ ริก เตอร์ เกิด สึ น่า มิ

ก่อน วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 เชื่อว่าคนไทยน้อยคนนักจะรู้จักคลื่นแห่งการทำลายล้างที่เรียกว่า “ สึนามิ (Tsunami)” มันคืออะไร มันมีความรุนแรงขนาดไหน และมันเกิดมาจากอะไร ภาพนักท่องเที่ยววิ่งลงไปในทะเลเพื่อดูระดับน้ำที่ลดลงรวดเร็วอย่างผิดปกติ สื่อให้เห็นได้ชัดเจนว่าคนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจถึงเหตุภัยพิบัติชนิดนี้

จุดกำเนิดคลื่นสึนามิ

คลื่นสึนามิมีจุดกำเนิดจากจุดเกิดแผ่นดินไหวบริเวณเขตมุดตัว (Subduction zone) ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent plate boundary) เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนปะทะกัน หรือชนเข้ากับแผ่นธรณีทวีป แผ่นมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นจะจมตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึก โดยปกติต้องมีขนาดใหญ่กว่า 7.5 จึงทำให้เกิดสึนามิได้

เมื่อเปลือกโลกใต้มหาสมุทร ยุบตัวลงเป็นร่องลึกก้นสมุทร (Oceanic trench) น้ำทะเลที่อยู่ด้านบนก็จะไหลยุบตามลงไป ส่วนน้ำทะเลในบริเวณข้างเคียงมีระดับสูงกว่า จะไหลเข้ามาแทนที่แล้วปะทะกัน ทำให้เกิดคลื่นสะท้อนกลับในทุกทิศทุกทาง ไม่สามารถตรวจวัดได้ขณะอยู่ในทะเลเปิด แต่เมื่อเคลื่อนที่เข้าใกล้ชายฝั่งความสูงของคลื่นจะเพิ่มขึ้นหลายเท่าตามสภาพภูมิลักษณ์ของชายฝั่งนั้นๆ โดย 80 % ของ สึนามิที่เกิดทั้งหมดมักอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก

คลื่นสึนามิบริเวณประเทศไทย

ผศ.ดร.ภาสกร ปนานนท์ (ตำแหน่งทางวิชาการขณะนั้น) หัวหน้าโครงการวิจัย “การจัดการองค์ความรู้เพื่อลดผลกระทบจากแผ่นดินไหวและสึนามิสำหรับบุคลากรทางการศึกษาในจังหวัดภูเก็ตและพังงา” ให้ความเห็นว่า ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย ต่างมีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวและสึนามิ เนื่องจากอยู่ในแนวมุดตัวของเปลือกโลก หรือ บริเวณรอยเลื่อนที่ยังมีพลัง และอยู่ติดชายฝั่งทะเลทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งเป็นพื้นน้ำขนาดใหญ่ ครอบคลุมเนื้อที่ถึงประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นผิวโลก

แผ่นดินไหว กี่ ริก เตอร์ เกิด สึ น่า มิ
วงแหวนแห่งไฟ

สอดคล้องกับความคิดเห็นของ ศ.เควิน เฟอลอง (Prof. Kevin Furlong) ผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหว จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวว่า ในส่วนของประเทศไทยและประเทศในอาเซียนถือว่ามีความเสี่ยง เพราะอาจได้รับผลกระทบจากแผ่นเปลือกโลกบริเวณวงแหวนแห่งไฟ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ครอบคลุมภูเขาไฟที่ยังมีพลังอยู่กว่า 452 ลูก และตั้งอยู่บนแผ่นเปลือกโลกบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก มีความยาวกว่า 40,000 กิโลเมตร และมีลักษณะเป็นแนวโค้งแบบเกือกม้า โดยแนวของวงแหวนเริ่มจากอเมริกาใต้ทางชายฝั่งของเมริกาเหนือข้ามช่องแคบเบริง (Bering Strait) จนมาถึงญี่ปุ่นและลงมาใต้สุดที่นิวซีแลนด์

คลื่นสึนามิที่อยู่ในความทรงจำของคนไทย เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2547 ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแผ่นดินไหวที่บริเวณร่องลึกซุนดรา (Sundra trench) ที่เกิดการยุบตัวของเปลือกโลกบริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีอินเดีย (Indian plate)​ กับแผ่นธรณีพม่า (Burma microplate) ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือน 9.1 ริกเตอร์ โดยมีจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหวอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา

การขยับตัวของรอยเลื่อนย้อนนี้ทำให้มีการยกตัวของพื้นมหาสมุทรอย่างฉับพลัน มวลน้ำที่อยู่เหนือตำแหน่งรอยเลื่อนมีการกระเพื่อมเป็นคลื่นน้ำ ก่อนที่จะขยายเป็นวงกว้าง โดยคลื่นน้ำจะเพิ่มความสูงมากขึ้นเมื่อเข้าสู่ชายฝั่งในรูปแบบของคลื่นสึนามิ

แผ่นดินไหว กี่ ริก เตอร์ เกิด สึ น่า มิ

เหตุการณ์นี้ทำให้คนตายมากกว่า 226,000 คน ตามชายฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ในจำนวนนี้เป็นคนไทยไม่น้อยกว่า 5,300 คน สูญหายมากกว่า 2,000 คน บาดเจ็บประมาณ 8,000 คน ส่วนอาคารบ้านเรือน โรงแรมที่พักเสียหายอย่างยับเยิน และพื้นที่ชายฝั่งทะเลไทยได้รับผลกระทบมากกว่า 475,000 ไร่

คลื่นสึนามิที่มีความรุนแรงแบบนี้จะเกิดขึ้นกับประเทศไทยอีกหรือไม่ ?

ภัยพิบัติจากคลื่นสึนามิในปี พ.ศ.2547 ที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงทะเลอันดามันของประเทศไทย เป็นจุดเริ่มต้นของการค้นคว้าวิจัยระดับลึกโดยเฉพาะในศาสตร์ธรณีวิทยาสึนามิ รวมถึงหลายคนยังมีคำถามว่าคลื่นสึนามิมีความรุนแรงแบบนี้จะเกิดขึ้นในประเทศไทยอีกหรือไม่ในอนาคต

รศ.ดร.มนตรี ชูวงษ์ (ตำแหน่งทางวิชาการขณะนั้น) หัวหน้าโครงการวิจัย “การติดตามการฟื้นฟูสภาพหาดทรายหลังจากเหตุการณ์สึนามิปี 2547 และการสำรวจสึนามิในอดีต ตามแนวชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย”

26 ธันวาคม 2547 วันนี้เมื่อ 18 ปีที่แล้ว ประเทศไทยต้องพบความสูญเสียรุนแรงจากคลื่นยักษ์หายนะที่เรียกว่า ‘สึนามิ’

เริ่มต้นเมื่อเวลา 07.58 น. (ตามเวลาประเทศไทย) เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ศูนย์กลางอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ห่างจากจังหวัดภูเก็ต ประมาณ 580 กิโลเมตร ที่ละติจูด 3.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 95.7 องศาตะวันออก ขนาดความรุนแรง 8.9 ริกเตอร์ ส่งผลกระทบเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้ รวมถึงอาคารสูงหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร

แผ่นดินไหว กี่ ริก เตอร์ เกิด สึ น่า มิ
ภาพหลังเหตุการณ์สึนามิถล่ม ปี พ.ศ. 2547 (ภาพจาก ห้องสมุดภาพมติชน)

ในเวลา 08.30 น. เกิดแผ่นดินไหวรู้สึกได้อีกครั้ง ศูนย์กลางอยู่บริเวณรัฐฉาน ประเทศพม่า ห่างจากจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 200 กิโลเมตร ที่ละติจูด 20.76 องศาเหนือ 98.04 องศาตะวันออก มีขนาดประมาณ 6.4 ริกเตอร์ ทำให้เกิดความสั่นสะเทือนในหลายจังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน

แผ่นดินไหวที่มีจุดศูนย์กลางบริเวณเกาะสุมาตรา ที่เกิดขึ้นใต้น้ำ ก่อให้เกิดคลื่นน้ำขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า ‘สึนามิ’ (TSUNAMI) ส่งผลกระทบต่อสถานที่ท่องเที่ยวบริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทย อาทิ หาดป่าตอง หาดกมลา หาดกะรน รวมถึงหาดในยาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามบินนานาชาติภูเก็ต รวมถึงประเทศอินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา มาเลเซีย อย่างรุนแรง

แผ่นดินไหว กี่ ริก เตอร์ เกิด สึ น่า มิ
ภาพหลังเหตุการณ์สึนามิถล่ม ปี พ.ศ. 2547 (ภาพจาก ห้องสมุดภาพมติชน)

เหตุการณ์สึนามิถล่มไทย 6 จังหวัดภาตใต้ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดระนอง จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดสตูล ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,400 คน บาดเจ็บกว่า 8,000 คน และสูญหายอีกจำนวนมาก

บ้านเรือนประชาชน รีสอร์ต และโรงแรม ตลอดจนระบบสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ ถนน มูลค่าความเสียหายหลายพันล้านบาท

แผ่นดินไหว กี่ ริก เตอร์ เกิด สึ น่า มิ
ภาพหลังเหตุการณ์สึนามิถล่ม ปี พ.ศ. 2547 (ภาพจาก ห้องสมุดภาพมติชน)

นอกจากนี้ยังสูญเสีย คุณพุ่ม เจนเซ่น พระโอรสในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ขณะที่คุณพุ่มเล่นเจ็ตสกีอยู่ชายหาดโรงแรมมันดะเลย์รีสอร์ต บ้านเขาหลัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา สิริอายุ 21 ปี

บริเวณที่จะเกิดสึนามิมากที่สุดบริเวณใด

สำหรับบริเวณแหล่งเกิดสึนามิ ส่วนใหญ่สึนามิเกิดบริเวณเดียวกับย่านที่เกิดแผ่นดินไหวในทะเลหรือชายฝั่งโดย 80% ของสึนามิที่เกิดทั้งหมดมักอยู่ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก กรมทรัพยากรธรณี ยกตัวอย่างการเกิดสึนามิ ครั้งรุนแรงในอดีต ไว้ดังนี้

แผ่นดินไหวแบบใดที่เป็นสาเหตุให้เกิดสึนามิ

คลื่นสึนามิมีจุดกำเนิดจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวบริเวณเขตมุดตัว (Subduction zone) ซึ่งอยู่บริเวณรอยต่อของแผ่นธรณีเคลื่อนที่เข้าหากัน (Convergent plate boundary) เมื่อแผ่นธรณีมหาสมุทรเคลื่อนปะทะกัน หรือชนเข้ากับแผ่นธรณีทวีป แผ่นมหาสมุทรซึ่งมีความหนาแน่นจะจมตัวลงสู่ชั้นฐานธรณีภาค ทำให้เกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรงที่ระดับลึกดัง ...

แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดกี่ริกเตอร์

ขนาดแผ่นดินไหวมีหน่วยวัดความสั่นสะเทือนเป็นริกเตอร์ เท่าที่เคยวัดได้ขนาดสูงสุดประมาณ 9.1 ริกเตอร์ ที่ประเทศญี่ปุ่น แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ๆ ขนาดนี้จะเกิดนาน ๆ ครั้ง อาจจะช่วงระยะ 1,000 ปีเกิดขึ้น 1 ครั้ง ไม่เหมือนแผ่นดินไหวขนาดปานกลาง เช่น 4 – 6 ริกเตอร์ จะเกิดบ่อย แต่ถ้าขนาด 1 – 3 ริกเตอร์ อาจจะแทบทุกวัน

การเกิดสึนามิเกิดขึ้นได้อย่างไร

เมื่อแผ่นดินใต้ทะเลเกิดการเปลี่ยนรูปร่างอย่างกะทันหัน จะทำให้น้ำทะเลเกิดเคลื่อนตัวเพื่อปรับระดับให้เข้าสู่จุดสมดุล และจะก่อให้เกิดคลื่นสึนามิ การเปลี่ยนรูปร่างของพื้นทะเลมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดแผ่นดินไหวเนื่องจากการขยับตัวของเปลือกโลก ซึ่งจะเกิดบริเวณที่ขอบของเปลือกโลกหลายแผ่นเชื่อมต่อกัน นอกจากการกระทบกระเทือนจากใต้น้ำ ...