ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์มีกี่ตระกูล

มารู้จักระบบปฏิบัติการแห่งมวลมนุษย์ชาติกันครับ

Logo ของ ​Linux จะเป็นรูปนกแพนกวินครับ

Linux คืออะไร

พูดสั้นๆมันก็คือระบบปฏิบัติการหนึ่ง (Operating System) ที่ใช้ควบคุมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ไปจนถึงอุปกรณ์ LOT ขนาดเล็กครับ โดยระบบปฏิบัติการ ถูกออกแบบมาให้เป็น open source กล่าวคือ เป็นระบบที่เปิดเผยโค้ด ใครๆก็สามารถเข้าถึงโค้ดและเข้าร่วมพัฒนาได้ มันจึงไม่ผูกขาด และไม่ได้ทำกำไรจากการหาเงินมากมายเหมือนระบบปฏิบัติการดังๆที่เราใช้กันครับ

Linux ต่างกับระบบปฏิบัติการอื่นๆอย่างไร

ความแตกต่างของลินุกซ์กับระบบปฏิบัติการอื่นๆนั้น แทบไม่แตกต่างกันเลยครับ จะแตกต่างกันในส่วนของ open source กับ close source เท่านั้นเอง การใช้งานก็อาจจะแต่ต่างกันนิดหน่อย แต่ถ้าใครใช้ linux เป็น ก็น่าจะใช้ระบบปฏิบัติการส่วนใหญ่ในโลกนี้เป็นครับ เพราะ linux มันเป็นพื้นฐานของระบบปฏิบัติการอื่นอยู่แล้ว อย่างเช่น MacOS หรือ Android เป็นต้น

กำเนิด Linux

สิ่งที่ไม่พูดไม่ได้คือ Linux นั้นพัฒนาต่อยอดมาจากระบบปฏิบัติการ Unix ครับ ดังนั้นถ้าใครใช้ Linux เป็น ก็จะใช้ Unix เป็นแน่นอน และยังต่อยอดไปสู่ระบบปฏิบัติการอื่นได้ เช่น BSD เป็นต้น

ตัวอย่างระบบปฏิบัติการ Unix

Linux นั้น มีกำเนิดมาจากนาย Linus Torvalds ชาวฟินแลนด์ เมื่อสมัยที่เขายังเป็นนักศึกษาคอมพิวเตอร์ โดยแรกเริ่ม Richard Stallman ได้ก่อตั้งโครงการ GNU ขึ้นจุดมุ่งหมายโครงการ GNU คือ ต้องการพัฒนาระบบปฏิบัติการคล้าย Unix ที่เป็น open source ทั้งระบบ โครงการ GNU ได้รับการพัฒนาจนมีส่วนโปรแกรมที่จำเป็นสำหรับระบบปฏิบัติการเกือบครบทั้งหมด ซึ่งขาดแต่เพียง Kernel (แกนของระบบ) เท่านั้น

Linus Torvalds

ภายหลัง Linus Torvalds เริ่มโครงการพัฒนาเคอร์เนล ขณะศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว โดยอาศัย Mixnix ซึ่งเป็นระบบที่คล้ายกับ Unix ซึ่งมากับหนังสือเรื่องการออกแบบระบบปฏิบัติการ มาเป็นเป็นต้นแบบในการเขียนขึ้นมาใหม่โดยเขาได้พัฒนามาเรื่อยๆจนกระทั่งสามารถบูทตัวเองได้ (กล่าวคือสามารถคอมไพล์ภายใน linux ได้เลย) และในปัจจุบันมีนักพัฒนาจากทั่วโลกพันกว่าคนได้เข้ามามีส่วนรวมในการพัฒนาโครงการ ทำให้ Kernel ซึ่งเป็นแกนของระบบปฏิบัติการถูกพัฒนาต่อยอดมาเรื่อยๆจนมาถึงปัจจุบัน

ทุกวันนี้ Linus Torvalds และทีม ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาระบบต่อไป ซึ่งต่อมาก็สามารถรันบน X Windows System (ระบบแสดงผลแบบกราฟฟิคชนิดหนึ่ง) และมีการเลือกนกเพนกวินที่ชื่อ Tux ให้เป็นตัวนำโชคหรือ Mascot ของระบบลินุกซ์ครับ

มี Linux กี่แบบบนโลกนี้?

หลายคนคงเคยได้ยินว่า Ubuntu ก็เป็น Linux, Mint ก็เป็น Linux, Redhat, Fedora ต่างๆ ล้วนก็เป็น Linux แล้วมันจะมีหลายแบบไปทำไม ทำไมไม่รวมเป็นอย่างเดียว ซึ่งข้อนี้ต้องอาศัยความเข้าใจตรงนี้นิดหนึ่งว่า Linux นั้นเป็นชื่อของระบบ Kernel ครับ ดังที่กล่าวไว้ข้างบน มีแต่เหล่า distribution (กลุ่มผู้แจกจ่าย) ทั้งฟรี และไม่ฟรี จะนำ Linux ไปรวมกับระบบใช้งานของตน ซึ่งก็ออกมาหลายชื่ออย่างที่เห็น ตรงนี้จะขอกล่าวเฉพาะ distribution ดังๆพอสังเขปนะครับ กล่าวหมดก็คงไม่ได้ เพราะมีมากมายหลายกลุ่มเหลือเกิน

ความหลากหลายของ Linux

กลุ่ม distribution ดังๆได้แก่

  • Slackware เป็น linux ตัวแรกที่ผู้เขียนเรียนรู้เลยก็ได้ ผมจะเรียกตัวนี้ว่าคุณปู่ครับ เพราะมีกำเนิดมานานและเก่ามาก การจะใช้งานโปรแกรมต้อง complie เอง ปรับแต่งเอง การจะใช้งานระบบกราฟฟิคก็ต้องทำทุกอย่างเอง ทุกวันนี้ก็ยังขอบคุณเจ้าคุณปู่ตัวนี้อยู่ เพราะถ้าไม่ผ่านตัวนี้มาก่อนก็คงไม่ถนัด linux มาจนถึงทุกวันนี้
  • Redhat ตัวนี้แรกเริ่มเดิมทีเป็นของฟรีครับเป็นที่นิยมอยู่พักนึง ภายหลังเก็บตังค่าบริการขึ้นมา คนเลยใช้กันน้อยลง ความเด่นของมันก็อยู่ที่มีระบบการจัดการที่เป็นแพคเกจ จัดการง่าย ลงโปรแกรมก็ง่ายๆ ดับเบิลคลิกไฟล์และรอติดตั้งได้เลย (ซึ่งสมัยนั้นการจะลงโปรแกรม ต้องไปโหลดโค้ดมาแล้วคอมไพล์อย่างเดียวเท่านั้น) คู่แข่งในสมัยนั้นก็มีอยู่อย่างเดียวคือ Mandrak Linux ครับ Linux ตัวนี้สร้างปรากฏการณ์หลายอย่างได้แก่ การพัฒนาระบบการติดตั้งไฟล์ การเลือกใช้ GNOME เป็น desktop manager (ระบบจัดการบนหน้าจอ) ทำให้ GNOME เป็นที่รู้จักกันในทุกวันนี้ ภายหลังเมื่อโครงการเริ่มเก็บเงินแล้ว ก็ทำให้ผู้พัฒนาได้แยกออกเป็นสองสายกลายเป็นโครงการ Fedora กับ CentOS ในปัจจุบันครับ
  • Mandrake หรือในปัจจุบันคือ Mandriva เป็น linux ที่ปัจจุบันเสื่อมความนิยมลงแล้ว แต่ไม่พูดไม่ได้เพราะก่อนหน้านั้นมันเป็นคู่แข่งของ Redhat ครับ โดย Mandriva นั้นได้เลือกใช้ KDE เป็น desktop manager ทำให้ KDE เป็นที่โด่งดังจนถึงทุกวันนี้เช่นเดียวกัน
  • Debian เป็น distro ที่ผมใช้อยู่เป็นประจำ และชอบมาเป็นพิเศษ เนื่องจากความง่ายในการทำงานและความเสถียรของซอร์ฟแวร์ ที่มีการทดสอบมาเป็นอย่างดี ระบบภายในเป็น open souce สุดๆครับ มีการรายงานบักและพัฒนาผ่านกลุ่มชุมชนอย่างเป็นระบบ ถึงทำให้ debian เหมาะสำหรับใช้เป็น desktop และ server ครับ
  • Ubuntu สารภาพตามตรงว่าก่อนที่ผมจะรู้จัก Debian ผมรู้จัก Ubuntu มาก่อน เนื่องจากในยุคสมัยที่ Redhat และ Mandrak ฟาดงวงงากันอยู่นั้น Ubuntu ก็ขออาศัยช่องว่างแจ้งเกิดเงียบๆ ผ่านระบบการจัดการที่เรียบง่าย หน้าจอที่เป็นมิตร การติดตั้งที่ง่ายและ และมีระบบการจัดการซอฟแวร์อย่างเป็นระบบ เรียกได้ว่าใครที่ไม่เคยใช้ linux มาก่อน มาเริ่มใช้ตัวนี้ก็ปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว ภายหลังเมื่อศึกษาเข้าไปลึกซึ้งก็พบว่า Ubuntu มีโครงการต้นน้ำมาจาก Debian จึงทำให้ผมมาลองใช้ Debian และตกหลุมรัก Debian ในที่สุดครับ
  • Mint เป็น linux ที่พัฒนามาจาก Ubuntu อีกทีหนึ่ง ซึ่ง Ubuntu เองก็พัฒนามาจาก Debian อีกที เป็นการต่อยอดของต่อยอดครับ พูดแล้วก็งง เอาเป็นว่าใครที่เลือกใช้ Ubuntu แล้วยังไม่พอใจ ก็ขยับมาลองใช้ Mint ได้ เนื่องจาก Mint เองก็เกิดจากความไม่พอใจของ Ubuntu เอง ก็เลยออก linux เอง จัดการเอง ให้ง่ายต่อผู้ใช้ มี desktop manager ที่หลากหลายให้เลือกใช้ เหมาะกับความต้องการของตัวเองครับ

(ของแถม) Desktop environment

เราปฏิเสธไม่ได้ว่าส่วนหนึ่งของการเลือกใช้ linux ก็มาจากการเลือกใช้ desktop environment (ศัพท์ เก่า Desktop manager) ของ distro นั้นๆเองด้วย ตรงส่วนนี้ก็จะขอพูด desktop environment ดังๆละกันนะครับ

GNOME

GNOME Desktop environment

เป็น desktop environment ที่มีความนิยมมานาน ง่ายต่อการเรียนรู้ การใช้งาน และมีความสวยงามในระดับหนึ่งครับ ใน Debian, Ubunt และ Mint ก็มีให้เลือกใช้ โดยจะเป็นค่า default มาให้ในระบบปฏิบัติการเลย แต่ถ้าเราไม่พอใจก็สามารถเลือกใช้ตัวอื่นๆได้

KDE

KDE Desktop environment

ตัวนี้โด่งดังมาพร้อมกับ Linux Mandrak ซึ่งภายหลังตัว desktop environment ก็ยังได้รับความนิยมอยู่ ใครที่พึ่งย้ายมาจาก Windows ก็จะสามารถใช้ตัวนี้ได้เลย เนื่องจากหลักและแนวทางในการพัฒนาจะยึดถือให้ใกล้เคียงกับวินโดวส์มากที่สุด (ไม่รู้ว่าตอนนี้ยังยึดแนวนี้อยู่รึเปล่านะ)

Mate

Mate Desktop environment

ตัวนี่ได้รับการพัฒนามาจาก GNOME 2 ซึ่งเหมาะสำรับคนที่มีเครื่องไม่แรง แต่ยังชอบการใช้งานที่ง่ายครับ

Cinnamon

Cinnamon Desktop environment

เช่นเดียวกัน ตัวนี้ได้รับการพัฒนามาจาก GNOME 3 ครับ เป็น desktop environment หลักของ linux Mint ครับ เน้นการใช้งานที่ง่าย กราฟฟิคและอนิเมชั่นที่สวยงาน หลายๆคนคงชอบ ผมเองก็ชอบครับ

Xfce

ตัวนี้ก็เป็นที่นิยมสำหรับคนที่มีเสปคเครื่องไม่แรงนัก เบา และทำงานได้รวดเร็วครับ หน้าตาก็สวยงาม ผมเองก็ยังเลือกใช้เป็นบางครั้งครับ

ก็เพียงเท่านี้ล่ะครับ สำหรับเรื่องราวของ Linux คร่าวๆ พอจะช่วยทำให้มองเห็นภาพของ Linux ได้บ้าง สำหรับมือใหม่หากอยากจะใช้งานจริงๆ ก็คงไม่มีอะไรไปมากกว่าการได้ทดลองใช้จริงๆ ซึ่งการใช้งานจะเป็นตัวบอกประสบการณ์ได้ดีที่สุดครับ สำหรับบทความคราวหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่องการติดตั้ง และการใช้งานคร่าวๆ เริ่มจาก command line แบบดิบๆกันเลยครับ เพื่อให้เกิดพื้นฐานที่ดี 😝 (รึเปล่า) ขอบคุณที่ติดตามครับ

ระบบปฏิบัติการใดที่พัฒนามาจากลินุกซ์

โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Torvalds) นักศึกษาภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science) ในมหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ โดยได้พัฒนามาจากระบบปฏิบัติการ Minix ที่เป็นระบบยูนิกซ์(Unix)บนพีซีในขณะนั้น ซึ่งตอนแรกเป็นเพียงโครงงานที่เขาทำส่งอาจารย์สมัยเรียนปริญญาตรีเท่านั้น แต่ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาต่อ เขาก็ได้ทำการชักชวนให้นักพัฒนา ...

Linuxมีลักษณะอย่างไร

ลักษณะเด่นที่สุดของ ระบบปฏิบัติการ Linux คือการที่ตัวระบบปฏิบัติการมีการพัฒนาแบบกระจายอำนาจ ไม่มีกลุ่มใดที่ครอบครองอำนาจในการพัฒนาเอาไว้เพียงลำพัง แม้ว่า Linux Kernel ที่เป็นแกนหลักของระบบปฏิบัติการ (หรือที่นิยมเรียกว่า Vanilla Kernel) จะพัฒนา และดูแลโดย Linus Torvalds แต่การพัฒนา และแก้ไขปรับปรุงเกิดขึ้นจากความร่วมมือ ...

องค์ประกอบของระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux) ประกอบด้วยกี่ส่วน

โครงสร้างของยูนิกซ์และลินุกซ์ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ คือ คือ ฮาร์ดแวร์ คือ ส่วนประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ เคอร์เนล คือ ซอฟต์แวร์ที่ท าหน้าที่ เชื่อมต่อและควบคุมการท างานระหว่างฮาร์ดแวร์กับผู้ใช้งาน เชลล์ คือ ซอฟต์แวร์ตัวกลางที่ท าหน้าที่ติดต่อระหว่างผู้ใช้กับเคอร์เนล และยูทิลิตี้กับ ...

Linux เกิดขึ้นใน ค.ศ. ใด

นุซ์ถือกำเนิดขึ้นในฟินแลนด์ ปี คศ. 1991 โดยลีนุส โทรวัลด์ส (Linus Torvalds)