ศูนย์ศึกษาการพัฒนามีกี่แห่ง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนามีกี่แห่ง
 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาพระราชทานเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขอาณาประชาราษฎร์ มีมากกว่า ๒,๐๐๐ โครงการ สำหรับโครงการแรก เกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๕ ที่บ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็ก  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้ตัด "ถนนสายห้วยมงคล" ออกสู่ตลาดหัวหินเพื่อให้เกษตรกรได้มีถนนเพื่อนำผลิตผลเกษตรออกไปสู่ตลาด ถนนสายนี้ถือเป็น"ถนนมงคล" สายแรกเริ่มเป็นเส้นทางบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ที่ทอดไปสู่ "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" อื่น ๆ ทั่วทุกภูมิภาคในเวลาต่อมา โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ นำพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแผ่ไปสู่ชนบทและชุมชนของไทย ตลอดจนของประเทศเพื่อนบ้าน จนกระทั่งมีคำกล่าวไว้ว่า "ไม่มีที่แห่งใดในประเทศไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยย่างพระบาทไปถึง"
ศูนย์ศึกษาการพัฒนามีกี่แห่ง
เมื่อโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริขยายออกไปนับร้อยนับพันโครงการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงพระราชทานพระราชดำริให้มี "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ" เพื่อเป็นศูนย์รวมของการศึกษาค้นคว้าทดลองวิจัยแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาด้านต่าง ๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของการประกอบอาชีพของราษฎรที่อาศัยในภูมิประเทศนั้น ๆ เมื่อค้นพบพิสูจน์ว่าได้ผลแล้ว จึงนำผลที่ได้ไปถ่ายทอดสู่ราษฎรเพื่อพัฒนาพื้นที่ใกล้เคียง จนกระทั่งขยายผลแผ่กระจายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ เพื่อให้การพัฒนามีความสำเร็จอำนวยประโยชน์สูงสุดแก่ราษฎร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาทุกแห่ง จึงเปิดโอกาสให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ ทำหน้าที่เสมือน "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต"

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำรินี้ ปัจจุบันมี ๖ ศูนย์ กระจายอยู่ตามภูมิภาคต่าง ๆ ทั้ง ๔ ภาค ได้แก่ ๑.  ศุนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ๒.  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ๓.  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ ๔.  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ๕.  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ๖.  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๘ ในบรรดาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเหล่านี้มีจำนวน ๒ ศูนย์ที่มีผลงานการวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมเกษตร สำหรับอุตสาหกรรมระดับครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมขนาดเล็ก ได้แก่ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนามีกี่แห่ง

ทอดพระเนตรการทำยางแผ่นของเกษตรกรบ้านตัวอย่าง สวนยางเขาสำนัก ศูนย์การศึกษาพัฒนาพิกุลทอง

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จังหวัดนราธิวาส
ศูนย์ศึกษาการพัฒนามีกี่แห่ง
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัย ทดสอบการกสิกรรมและเกษตรอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ที่ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ศูนย์ศึกษาฯ แห่งนี้ ศึกษาการปลูกยางพารา การพัฒนาการทำสวนยางตามหลักวิชาการ และศึกษาพัฒนาอุตสาหกรรมยางธรรมชาติครบวงจร เพื่อทำให้ผลผลิตมีมูลค่าเพิ่มขึ้นและเป็นประโยชน์ในทางอุตสาหกรรม โดยมีการจัดสร้างโรงงานผลิตภัณฑ์ยางขนาดเล็ก และโรงงานแปรรูปยางขึ้น ณ ศูนย์ศึกษาฯ แห่งนี้ การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการเกษตร ณ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง นอกจากการแปรรูปยางพาราแล้ว ยังมีการศึกษาวิจัยการแปรรูปผลผลิตจากถั่วเขียว โดยมีการศึกษาการออกแบบเครื่องมือแบบง่าย ๆ สำหรับชาวบ้านเพื่อใช้ในการผลิตแป้งจากถั่วเขียว แป้งที่ได้นี้นำมาผลิตวุ้นเส้นมาผลิตเป็นซีอิ้ว การผลิตน้ำซีอิ้วนี้ได้มีการเผยแพร่แก่บุคคลทั่วไปแล้วการศึกษาวิจัยเหล่านี้ต่อมาได้ขยายผลไปยังศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน และโครงการส่วนพระองค์เขาหินซ้อน

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชดำริให้จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานขึ้นที่ตำบลห้วยยาง จังหวัดสกลนคร เพื่อเป็นศูนย์ศึกษาและทดลองด้านพัฒนารูปแบบและกำหนดเทคโนโลยีแผนใหม่ให้แก่ราษฎร ส่งเสริมให้มีการบำรุงรักษาและพัฒนาป่าไม้ในเขตปริมณฑลของศูนย์ฯ ด้วยระบบชลประทาน ส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจ การแปรรูปผลผลิตเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม และส่งเสริมการพัฒนาอาชีพทางการเกษตรต่าง ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริให้มีการศึกษาทดลองที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตรดังนี้คือ ๑.  การแปรรูปผลผลิตจากถั่วเขียว ได้แก่ การผลิตวุ้นเส้นจากถั่วเขียวและน้ำซีอิ๊วจากโปรตีนถั่วเขียว ซึ่งได้รับการขยายผลมาจากศุนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง และการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลตอบแทนของการปลูกถั่วเขียวเพื่อขาย กับการนำถั่วเขียวมาแปรสภาพเป็นแป้งถั่วเขียวก่อน การแปรรูปดังกล่าว สามารถเพิ่มมูลค่าของถั่วเขียวได้ถึง ๘ เท่าต่อกิโลกรัม ๒.  การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เพื่อเป็นงานเสริมรายได้แก่ครอบครัวเกษตรกร และการศึกษาและพัฒนาการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ๓.  การจัดตั้งโครงการนมพาสเจอไรซ์ ที่สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ จังหวัดสกลนคร เพื่อใช้ดำเนินการผลิตนมพาสเจอไรซ์ ซึ่งได้มาจากโคซึ่งเลี้ยงที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนามีกี่แห่ง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระราชดำรัสเกี่ยวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนานี้ไว้ว่า "...เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกด้านของชีวิตประชาชน ที่จะหาเลี้ยงชีพในท้องที่ จะทำอย่างไร และจะได้เห็นวิทยาการแผนใหม่ จะสามารถที่จะหาดูวิธีการ จะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาฯ เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่ สภาพฝน ฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่าง ๆ กัน ก็มีลักษณะแตกต่างมากเหมือนกัน..."
ศูนย์ศึกษาการพัฒนามีกี่แห่ง
ดังนั้นวิธีการสาธิตและความรู้ต่าง ๆ ที่จัดแสดงไว้ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนา จึงเป็นวิธีการง่าย ๆ ที่เกษตรกรสามารถเข้าใจได้ และนำไปใช้วิธีการประกอบอาชีพได้อย่างกว้างขวาง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาทุกแห่ง เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าในภูมิภาคที่ศูนย์ตั้งอยู่เข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ หรือขอรับการอบรมตามหลักสูตรที่ศูนย์จัดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่เกษตรกร นับได้ว่า พระบารมีได้แผ่คุ้มเกล้าปวงประชาชาวไทยทุกภูมิภาคของประเทศโดยถ้วนหน้า

โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา|โรงงานอาหารสำเร็จรูป|โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
อุตสาหกรรมเกษตรอันเนื่องมาจาก พระปรีชาญาณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว