เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

ลำดับการจุดเบิดนั้้นมีความสำคัญมากในการซ่อมเครื่องยนต์ นอกจากจะให้เครื่องยนต์ติดได้แล้ว
การออกแบบการจุดระเบิดที่ดี ก็มีผลให้เครื่องยนต์นิ่ง ไม่สั่นสะท้านขณะเดินเครื่อง
ในบทความนี้ขอกล่างเฉพาะ เครื่องยนต์ 4 จังหวะ
สำหรับเครื่อง 4 จังหวะ 1 สูบ จะมีการจุดระบิด ทุก ๆ 720 องศา
หรืออีกความหมายนึง ก็คือ จะมีการจุดระเบิดทุก ๆการหมุน 2 รอบของเพลาข้อเหวี่ยง

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา
เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา
เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

องศาการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ต่อจำนวนสูบ
*** 1 รอบการหมุน = 360 องศา เครื่องยนต์ 1 สูบ จุดระเบิดทุกการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 720 องศา ( 2 รอบ)
เครื่องยนต์ 2 สูบ จุดระเบิดทุกการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 360 องศา ( 1 รอบ)
เครื่องยนต์ 3 สูบ จุดระเบิดทุกการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 240 องศา
เครื่องยนต์ 4 สูบ จุดระเบิดทุกการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 180 องศา ( 1/2 รอบ)
เครื่องยนต์ 5 สูบ จุดระเบิดทุกการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 144 องศา
เครื่องยนต์ 6 สูบ จุดระเบิดทุกการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 120 องศา ( 1 ใน 3 รอบ)
เครื่องยนต์ 8 สูบ จุดระเบิดทุกการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง 90 องศา ( 1 ใน4 ครึ่งรอบ)

การจุดระเบิดของเครื่องยนต์เบนซิล คือการจุดประกายไฟด้วยหัวเทียน เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ละอองน้ำมันเบนซิล ภายในกระบอกสูบ

การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ดีเซล คือการฉีดน้ำมันดีเซลให้เป็นฝอยละออง เพื่อให้เกิดการเผาไหม้กับอากาศที่ถูกอัดจนร้อน ภายในกระบอกสูบ
https://www.youtube.com/watch?v=ReeXgsHqOHI


คำค้นหา

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

                เครื่องยนต์ดีเซล (Diesel Engine) เป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine หรือ ICE) ชนิดหนึ่งถูกพัฒนาโดยรูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Diesel) ชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 1893  เครื่องยนต์ดีเซลมีอัตราส่วนการอัด 16 22 : 1 แต่ถ้ามีตัวอัดบรรจุอากาศเทอร์โบ (Turbocharger) อัตราส่วนการอัดจะต่ำกว่า 20 : 1  มีความดันในจังหวะอัด 30 55 บาร์ (bar) (30.59 – 56.08 kgf/cm2) ทำให้อุณหภูมิอากาศที่อัดตัวเป็น 700 900 o ซ. เมื่อเชื้อเพลิงดีเซลถูกฉีดด้วยความดันสูงเข้าไปในห้องเผาไหม้จะเกิดการจุดระเบิด โดยไม่ต้องใช้ประกายไฟเหมือนกับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน จึงถูกจัดอยู่ในประเภทของเครื่องยนต์จุดระเบิดด้วยการอัดตัว (Compression Ignition Engine)
หมายเหตุ  หลักการที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นหลักการพื้นฐานเหมือนกันทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้ปั๊มเชื้อเพลิงแบบแถวเรียง หรือจานจ่าย, รวมไปถึงเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล
                เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะมีหลักการทำงานคือใน 1 กลวัตร (Cycle) ของแต่ละสูบ เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุน 2 รอบ ต่อการจุดระเบิดให้กำลังงาน 1 ครั้ง นั่นหมายถึงลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้น-ลงรวม 4 ครั้ง (ขึ้น 2 ครั้ง และลง 2 ครั้ง) คือเพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบที่ 1 ลูกสูบเคลื่อนที่ลงในจังหวะดูด (Intake Stroke). ต่อมาลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด (Compression Stroke) เพลาข้อเหวี่ยงหมุนรอบที่ ลูกสูบเคลื่อนที่ลงในจังหวะกำลัง หรือจังหวะระเบิด (Power Stroke or Expansion Stroke) สุดท้ายลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะคาย (Exhaust Stroke) ถ้าเครื่องยนต์มีหลายสูบ แต่ละสูบจะทำงานเวียนตามลำดับการจุดระเบิด

                เครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ มีหลักการทำงานดังต่อไปนี้

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

รูปที่ จังหวะดูด

                จังหวะดูด (Intake Stroke) ลิ้นไอดีจะเริ่มเปิดก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน (ดังแสดงในรูปที่ 1 ในตำแหน่งที่ 1) เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ลงจากศูนย์ตายบน (TDC หรือ Top Dead Center) อากาศจะถูกดูดเข้ากระบอกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายล่าง (BDC  หรือ Bottom Dead Center) อากาศจะยังคงไหลเข้ากระบอกสูบด้วยแรงเฉื่อยจนกว่าลิ้นไอดีจะปิด (ดังแสดงในรูปที่ 1 ในตำแหน่งที่ 2)

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

รูปที่ จังหวะอัด

                จังหวะอัด (Compression Stroke) เมื่อลิ้นไอดีปิด (ดังแสดงในรูปที่ 2 ในตำแหน่งที่ 2) อันเป็นจุดเริ่มต้นของจังหวะอัดซึ่งลูกสูบจะเคลื่อนที่ขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบน จังหวะนี้อากาศประมาณ 16-22 ส่วนที่ถูกดูดเข้ากระบอกสูบมาในจังหวะดูดจะถูกอัดตัวให้มีปริมาตรเล็กลงเหลือประมาณ 1 ส่วน ดังนั้นอากาศจึงมีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้นพร้อมสำหรับการสันดาป

                หมายเหตุ  ช่วงปลายของจังหวะอัดคือก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบน (ดังแสดงในรูปที่ 2 ในตำแหน่งที่ 3) หัวฉีดจะเริ่มฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงก่อนที่หัวลูกสูบจะเคลื่อนถึงศูนย์ตายบนกี่องศานั้นขึ้นอยู่กับสภาวะต่างๆ เช่นความเร็วรอบ, อุณหภูมิ และภาระ (Load) ของเครื่องยนต์ เป็นต้น ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลบางรุ่นบางสภาวะอาจเริ่มฉีดน้ำมันที่ศูนย์ตายบน หรือหลังศูนย์ตายบนเล็กน้อย)

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

รูปที่ 3 จังหวะกำลัง

                จังหวะกำลัง (Power Stroke) (ซึ่งเริ่มนับจากหัวลูกสูบอยู่ที่ศูนย์ตายบน) หรือบางครั้งเรียกว่า จังหวะระเบิด (Expansion Stroke) (ซึ่งเริ่มนับจากหัวหัวฉีด ฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง) กำลังจากการระเบิดหรือการสันดาป (Combustion) ภายในห้องเผาไหม้จะผลักดันให้ลูกสูบเคลื่อนที่ลงมาเป็นกำลังงานขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ ในจังหวะนี้จะไปสิ้นสุดจนกว่าลิ้นไอเสียจะเปิด (ดังแสดงในรูปที่ 3 ในตำแหน่งที่ 5)

                หมายเหตุ  ในความเป็นจริงแล้วการจุดระเบิดถูกเริ่มต้นก่อนที่หัวลูกสูบจะถึงศูนย์ตายบนแล้วมาระเบิดรุนแรงที่สุดในช่วงที่หัวลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายบนมาแล้วเล็กน้อย 

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

รูปที่ จังหวะคาย

                จังหวะคาย (Exhaust Stroke) จังหวะนี้เริ่มต้นจากลิ้นไอเสียจะเริ่มเปิดก่อนที่ลูกสูบจะเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายล่าง (ดังแสดงในรูปที่ 4 ในตำแหน่งที่ 5) แก๊สไอเสียซึ่งยังมีความดันจากการขยายตัวอยู่จะระบายออกทางลิ้นไอเสีย เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่เลยจากศูนย์ตายล่าง (BDC) จะผลักดันให้ไอเสียไหลออกไปจากกระบอกสูบ

                หมายเหตุ  ขณะที่หัวลูกสูบเคลื่อนที่ถึงศูนย์ตายบนนั้น ลิ้นไอเสียยังไม่ปิดสนิทแต่จะเปิดเล็กน้อยแล้วไปปิดเมื่อเลยจากศูนย์ตายบนไปเล็กน้อย (ดังแสดงในรูปที่ 4 ในตำแหน่งที่ 6) ซึ่งในช่วงนี้ไอเสียจะสามารถไหลออกจากกระบอกสูบด้วยแรงเฉื่อย และขณะเดียวกันนี้จะเกิดแรงดูดอากาศให้เริ่มเข้ากระบอกสูบ ช่วงที่ลิ้นไอเสียเริ่มปิด และไอดีเริ่มเปิดนี้เรียกว่าซ้อนเหลื่อม (Overlap) 

หมายเหตุ  ลำดับการจุดระเบิดที่นิยมใช้ ดังแสดงในตาราง

จำนวนกระบอกสูบ

ลำดับการจุดระเบิด (Firing Order)

4 สูบแถวเรียง

1, 3, 4, 2

5 สูบแถวเรียง

1, 2, 4, 5, 3

6 สูบแถวเรียง

1, 5, 3, 6, 2, 4

6 สูบวางรูปตัว V

1, 2, 3, 4, 5, 6

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่องศา

คลิปที่ 1 การทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล 4 จังหวะ

จังหวะอัดข้อเหวี่ยงหมุนกี่องศา

2.จังหวะอัด (Compression stroke) ในจังหวะอัด (รูปที่ 6.3) ลูกสูบเคลื่อนที่ยังศูนย์ตายล่างลิ้นทั้งสองปิดสนิท ลูกสูบเริ่มเคลื่อนที่ขึ้นอัดไอดีจนถึงศูนย์ตายบน ไอดีลูกอัดจนปริมาตรเล็กลงส่งผลให้กำลังดันและอุณหภูมิเพิ่มขึ้น ขณะนี้เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปครบ 1 รอบ เป็นมุม 360 องศา

เครื่องยนต์4จังหวะครบ4กลวัตรเพลาข้อเหวี่ยงหมุนกี่รอบ

การทำงาน 4 จังหวะได้แก่ ดูด อัด ระเบิด และคาย แต่ละจังหวะใช้การทำงานเคลื่อนที่ของลูกสูบหนึ่งครั้ง ซึ่งหมายความว่าหนึ่งรอบการทำงานต้องใช้การหมุนเพลาข้อเหวี่ยงสองรอบ

เครื่องยนต์ 4 จังหวะหมุนกี่รอบ

สรุป การทางานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะคือ ลูกสูบเลื่อนขึ้นลง 4 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ เพลาลูกเบี้ยวหมุน 1 รอบ ได้งาน 1 ครั้ง Page 5 1.2 หลักการทางานของเครื่องยนต์2 จังหวะ จังหวะที่1 รูป 1 เมื่อลูกสูบเลื่อนลง ด้านบนหัวลูกสูบจะเปิดช่องส่งไอเสีย ด้านล่างของลูกสูบ ที่มีส่วนผสมของ น้ามันกับอากาศบรรจุอยู่ในห้องแคร้งและ ...

การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ เมื่อทำงานครบ 1 กลวัฎ เพลาข้อเหวี่ยงหมุนไปกี่องศา

วัฎจักรการทางานของเครื่องยนต์เล็กดีเซลแบบ 4 จังหวะ คือ ดูด อัด ระเบิด คาย ลูกสูบ จะขึ้นลง 4 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 2 รอบ คือ 720 องศา ดังรูปที่3.43.