กรดไหลย้อนขึ้นคอ กี่วันหาย

การรักษาภาวะกรดไหลย้อนขึ้นอยู่กับอาการและอายุของผู้ป่วย แพทย์อาจแนะนำให้ทานยาเพื่อลดปริมาณกรดในกระเพาะอาหารเบื้องต้น

ภาวะกรดไหลย้อน

  • ภาวะไหลย้อน (GER) เกิดจากสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารไหลเข้าสู่หลอดอาหาร

  • ภาวะไหลย้อน (GER) เกิดขึ้นเป็นปกติในทารกและเด็กและจะหายไปเองเมื่อเติบโตขึ้น

  • ภาวะไหลย้อน (GER) อาจทำให้เกิดการอาเจียน ไอ เสียงแหบ และเจ็บปวดขณะกลืน

  • การรักษาขึ้นอยู่กับอาการและอายุของผู้ป่วย มีวิธีการรักษาหลายวิธี เช่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้ยา และการผ่าตัด

ยารักษาภาวะกรดไหลย้อน 

1) ยาระดับที่ 1 ยาลดกรด (Antacids) หรือยาลดการผลิตกรด (H2-BLOCKERS) มักจะถูกใช้ก่อน ยาชนิดนี้ช่วยทำให้กรดไม่ไหลย้อนเข้าหลอดอาหาร มักจะใช้ในการรักษาผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากเป็นยาน้ำ เช่น ชื่อสามัญ (ชื่อทางการค้า)

  • Cimetidine (Tagamet)

  • Ranitidine (Zantac)

  • Famotidine (Pepcid)

  • Nizatidine (Axid)

***ยาทุกชนิดจะมี 2 ชื่อเสมอ คือ ชื่อสามัญและชื่อการค้า (ยี่ห้อ-Brand) ยาที่มีชื่อสามัญเดียวกันถือว่าเป็นยาชนิดเดียวกัน เช่น พาราเซตามอล เป็นชื่อสามัญของยา ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่ามีจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อและราคาต่างกัน

2) ยาระดับที่ 2 ยาที่ทำให้หยุดการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร คือ ยาในกลุ่ม Proton – Pump Inhibitors (PPIs) ซึ่งทำหน้าที่ยับยั้งการผลิตกรดของกระเพาะอาหารหรือไม่มีการผลิตกรดในกระเพาะอาหาร ยาประเภทนี้มีผลข้างเคียงน้อย แต่มีรายงานผลข้างเคียงว่า อาจเกิดการท้องผูก คลื่นไส้ และปวดศีรษะ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น

  • Esomeprazole (Nexium)

  • Omeprazole (Prilosec)

  • Lansoprazole (Prevacid)

  • Rabeprazole (Aciphex)

3) ยาระดับที่ 3 คือ Prokinetic Agents ยาในกลุ่ม Prokinetic Agents ทำหน้าที่ช่วยทำให้หูรูดกระเพาะอาหารปิดได้สนิทขึ้นเพื่อทำให้ไม่เกิดภาวะไหลย้อน ยาในกลุ่มนี้มักจะใช้ร่วมกันกับยาในกลุ่มที่ 1 หรือยาลดกรด ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ ได้แก่

  • Metoclopramide (Reglan)

  • Cisapride (Propulsid)

  • Erythromycin (Dispertab, Robimycin)

  • Bethanechol (Duvoid, Urecholine)

***มีการรายงานถึงผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงในเด็กและผู้ใหญ่จากการใช้ยา Metoclopramide และ Cisapride ผลข้างเคียงทางจิตคือ ภาวะสับสนกังวล ท้องเสีย คลื่นไส้ ยาในกลุ่มนี้มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาชนิดอื่น ซึ่งผู้ป่วยจะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบว่ากำลังทานยาชนิดอื่นอยู่ด้วยหรือไม่

วิธีลดภาวะกรดไหลย้อน 

นอกจากการใช้ยาแล้วยังมีวิธีอื่นที่จะใช้ลดอาการที่เกิดจากภาวะไหลย้อนได้ โดยการปฏิบัติดังนี้

  • รับประทานอาหารในปริมาณครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยขึ้น

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนเข้านอน 2 – 3 ชั่วโมง

  • นอนให้ศีรษะสูง 6 – 8 นิ้ว โดยใช้ท่อนไม้รองพื้นเตียงบริเวณด้านหัวเตียงที่ศีรษะนอนทับ การใช้หมอนหนุนให้สูงขึ้นจะไม่ได้ผลมากนัก เนื่องจากทำให้ลำตัวพับงอ

  • หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำอัดลม เครื่องดื่มช็อกโกแลต กาแฟ อาหารที่มีไขมันหรือกรดสูง น้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว

  • หากอาการไม่รุนแรงนัก การออกกำลังกายโดยการบริหารกล้ามเนื้อหน้าท้องจะช่วยให้การบีบรัดของกล้ามเนื้อกระเพาะอาหารทำงานได้ดีขึ้น

วิธีสุดท้ายที่จะใช้ในการรักษา คือ การผ่าตัด ซึ่งเป็นการแก้ไขทางกายภาพที่บริเวณหลอดอาหารและกระเพาะอาหารเพื่อเพิ่มแรงกดดันที่บริเวณส่วนล่างของหลอดอาหาร ทำให้ลดภาวะไหลย้อนกลับลง

กรดไหลย้อนขึ้นคอ กี่วันหาย

โรคกรดไหลย้อน…อันตรายหลังการทานอาหาร

โรคกรดไหลย้อนเป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย หรือก่อให้เกิดพยาธิสภาพของหลอดอาหารขึ้น

อาการสำคัญของโรคกรดไหลย้อน

ได้แก่ ความรู้สึกแสบร้อนบริเวณลิ้นปี่ขึ้นมาที่หน้าอกและคอ อาการนี้จะเป็นมากหลังรับประทานอาหารมื้อหนัก การโน้มตัวไปข้างหน้า การยกของหนัก และการนอนหงาย

อาการสำคัญอีกประการ

ได้แก่ การมีน้ำรสเปรี้ยวหรือรสขมไหลย้อนขึ้นมาในปาก อาการเหล่านี้พบได้บ่อยในคนตะวันตก แต่ในคนไทยส่วนใหญ่อาการแสบร้อนที่บริเวณหน้าอกพบได้ไม่บ่อย และไม่รุนแรงเท่าชาวตะวันตก ผู้ป่วยมักมีอาการเรอ และมีน้ำเปรี้ยวขึ้นมาในปาก ในผู้ป่วยที่มีการขย้อนน้ำและอาหารขึ้นมาขั้นรุนแรง อาจทำให้เกิดการสำลักเข้าไปในปอด จนเกิดอาการปอดอักเสบได้

ผู้ป่วยรายอื่นๆ อาจมาด้วยอาการอื่น เช่น

ท้องอืด แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียนหลังรับประทานอาหาร เจ็บหน้าอก จุกคล้ายมีอะไรติดหรือขวางอยู่บริเวณคอ ต้องพยายามกระแอมออกบ่อยๆ อาการหืดหอบ ไอแห้งๆ เสียงแหบ เจ็บคอ อาการเหล่านี้เกิดจากกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาบริเวณกล่องเสียงทำให้เกิดกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง

โรคกรดไหลย้อนมีอาการแตกต่างจากโรคกระเพาะอาหารดังนี้

ผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะอาหารมักมาพบแพทย์ด้วยอาการ ปวดแน่นท้อง แสบท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ ท้องอืด ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีการถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรืออาเจียนเป็นเลือดได้ ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารมักไม่มีอาการแสบร้อนหน้าอกขึ้นมาถึงคอ เหมือนผู้ป่วยโรคกรดไหลย้อน ผู้ป่วยบางรายอาจมีเรอบ่อย และมีน้ำขย้อนขึ้นมาได้บ้างหลังทานอาหารอิ่มใหม่ๆ ทำให้เกิดความลำบากในการวินิจฉัยแยกโรคในผู้ป่วยบางราย

ทั้งนี้ พฤติกรรมการทานอาหารและการดำเนินชีวิตก็มีผลทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ อาทิ

การดื่มน้ำชา กาแฟ น้ำอัดลม น้ำผลไม้หรืออาหารที่มีรสเปรี้ยวจัด เผ็ดจัด อาหารไขมันสูง ช็อกโกแลต สุรา รวมทั้งการสูบบุหรี่ เราควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อเย็นปริมาณมาก และไม่ควรนอนทันทีหลังรับประทานอาหาร โดยรออย่างน้อย 3 ชั่วโมง ควรรับประทานอาหารปริมาณน้อยแต่บ่อยครั้ง ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด ไม่ใส่เสื้อผ้ารัดรูปหรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป ระวังน้ำหนักตัวไม่ให้มากหรืออ้วนเกินไป

ผู้ป่วยที่มีอาการสำคัญออกมาชัดเจน สามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้เลย ส่วนผู้ป่วยที่ไม่มีอาการสำคัญออกมาชัดเจน มีอาการอื่นร่วม หรือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาเบื้องต้นแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยเป็นพิเศษเพิ่มเติม เช่น การส่องกล้องทางเดินอาหาร การเอ็กซเรย์กลืนสารทึบแสง การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ การตรวจพิเศษสำหรับโรคกรดไหลย้อนโดยเฉพาะ ได้แก่ การตรวจการบีบตัวของหลอดอาหารและการตรวจวัดความเป็นกรดด่างในหลอดอาหาร ซึ่งให้ผลจำเพาะในการวินิจฉัยโรคที่สุด

ถ้าปฏิบัติตัวเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องรับประทานยาร่วมด้วย

ปัจจุบันมียาหลายชนิดที่ใช้รักษาโรคนี้ เช่น ยาเคลือบและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ยากลุ่มนี้จะช่วยลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหารและใช้ได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง หรือ มีอาการแสบหน้าอกเป็นครั้งคราว อีกกลุ่มคือ ยาลดการหลั่งกรด ยาในกลุ่มนี้ต้องมีการปรับเปลี่ยนขนาดของยา และระยะเวลาในการรักษาอย่างใกล้ชิด จึงควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ส่วนยาเพิ่มการบีบตัวของหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร อาจได้ผลในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการท้องอืดแน่นท้องร่วมด้วย

ในปัจจุบันการรักษาด้วยยามักให้ผลการรักษาที่ดี แต่ต้องรับประทานยาเป็นเวลานานกว่า การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารทั่วไป และเมื่อหยุดยาผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมีอาการกลับขึ้นมาใหม่ การผ่าตัดรักษาในปัจจุบัน จึงอาศัยการผ่าตัดผ่านกล้องทำให้ลดอาการเจ็บจากการผ่าตัดได้ดีขึ้น และได้ผลการผ่าตัดที่ดี

การผ่าตัดมีข้อแนะนำในผู้ป่วยดังต่อไปนี้

ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถควบคุมอาการหรือหยุดยาได้และมีผลข้างเคียงจากยา ผู้ป่วยอายุน้อยที่จำเป็นต้องรับประทานยาเป็นเวลานาน และผู้ป่วยที่มีผลแทรกซ้อนที่รุนแรงจากโรค เช่น อาการสำลักอาหารและน้ำย่อยเข้าไปในปอดบ่อยๆ โดยเฉพาะในผู้ป่วยเด็ก

ข้อมูลจาก
อ. นพ.สุริยะ จักกะพาก
สาขาศัลยศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล