ต่อภาษีและพรบ.รถยนต์กี่บาท

ต่อภาษีและพรบ.รถยนต์กี่บาท

ราคาค่าบริการ ตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษี (ตรอ.) ราคา พ.ร.บ. และราคาค่าบริการฝากต่อภาษี หรือเสียภาษี ของ ตรอ. เมืองยอง (ในกรณีที่ฝากให้เราต่อภาษีให้) ซึ่งราคาค่าตรวจสภาพรถ และค่า พ.ร.บ. เป็นราคามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

ลูกค้าสามารถเลือกใช้บริการเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น จะตรวจสภาพอย่างเดียว หรือทำพ.ร.บ. อย่างเดียวก็ได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line : @m2277

ค่า พ.ร.บ. รถยนต์ และรถจักรยานยนต์

ราคา พ.ร.บ. รถประเภทต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนด เราควรทำ พ.ร.บ. ให้ถูกประเภท เช่น ถ้ารถใช้ส่วนตัว ควรทำแบบส่วนบุคคล และถ้ารับจ้าง หรือปล่อยให้เช่า ก็ควรทำในราคารับจ้าง เพื่อความคุ้มครองสูงสุดต่อผู้ใช้รถ สอบถามเพิ่มเติม หรือทำ พ.ร.บ. ออนไลน์ได้ที่ Line : @m2277


ค่าพรบ. รถบัส รถโดยสาร (ส่วนบุคคล)
รถโดยสาร 15 – 20 ที่นั่ง 2,203 บาท
รถโดยสาร 20 – 40 ที่นั่ง 3,438 บาท
รถโดยสาร เกิน 40 ที่นั่ง 4,018 บาท
ค่าพรบ. รถบัส รถโดยสาร (สำหรับรับจ้าง)
รถโดยสาร 15 – 20 ที่นั่ง 3,739 บาท
รถโดยสาร 20 – 40 ที่นั่ง 7,155 บาท
รถโดยสาร เกิน 40 ที่นั่ง 8,080 บาท


ค่าพ.ร.บ. รถบรรทุก หกล้อ สิบล้อ (ส่วนบุคคล)
รถบรรทุก 3 ถึง 6 ตัน 1,310 บาท
รถบรรทุก 6 ถึง 12 ตัน 1,408 บาท
รถบรรทุก เกิน 12 ตัน 1,826 บาท
ค่าพ.ร.บ. รถบรรทุก หกล้อ สิบล้อ (สำหรับรับจ้าง)
รถบรรทุก 3 ถึง 6 ตัน 1,967 บาท
รถบรรทุก 6 ถึง 12 ตัน 2,127 บาท
รถบรรทุก เกิน 12 ตัน 2,718 บาท

ต่อภาษีและพรบ.รถยนต์กี่บาท

ค่าบริการอื่นๆ ของเรา เช่น ฝากโอน ย้าย รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนสี เปลี่ยนเครื่องยนต์ แจ้งเสริมกระบะข้าง แจ้งเสริมตู้บรรทุก แจ้งต่อเติมรถ แจ้งเสริมแหนบ แจ้งติดคอกสเตนเลส แจ้งเสริมรั้ว แจ้งติดตั้งโครงหลังคา ติดตั้งโครงเหล็ก ติดตั้ง Carry Boy และอื่นๆ

อัพเดทข้อมูลสำหรับท่านที่ต้องการต่อทะเบียนหรือภาษีรถยนต์ประจำปี 2564  เพื่อที่ท่านจะสามารถเตรียมเงินต่อทะเบียนเท่าไรหรือเงินสำหรับเสียภาษีรถยนต์ประจำปี สามารถตรวจเช็ก วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ปี 2564 ที่ผู้ใช้รถต้องรู้ ได้ผ่านสูตรคำนวณดังต่อไปนี้


ประกันภัยภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. สิ่งที่รถทุกคันต้องมี

พรบ.ทำไมกฎหมายบังคับให้ต้องทำด้วย


ต่อภาษีและพรบ.รถยนต์กี่บาท

หลายๆ คนที่ใช้รถยนต์กันอยู่เป็นประจำย่อมรู้ดีว่าในทุกๆ ปีนั้นเราจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของรถยนต์ที่สำคัญๆ อยู่ประมาณ 3 ส่วนด้วยกันก็คือ

  • ค่าพ.ร.บ.
  • ค่าภาษีรถ
  • ค่าประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

ซึ่งแต่ละอย่างนั้นถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก และก่อนหน้านี้เราได้เคยพูดถึงเรื่องของ พ.ร.บ. กันไปแล้ววันนี้เราจึงจะมาพูดถึงเรื่อง ภาษีรถยนต์กันว่ามีความจำเป็นอย่างไร  ทำไมเราต้องมีการต่อภาษีรถของเรา และเคยสงสัยกันไหมว่าเราจะคำนวณภาษีส่วนนี้ล่วงหน้าด้วยตัวเองได้ไหม เพื่อที่จะได้เตรียมเงินให้พร้อม เมื่อถึงเวลาจ่ายจะได้ไม่ลำบาก หากอยากรู้ก็ไม่ต้องไปหาอ่านที่ไหน เพราะวันนี้ MoneyGuru.co.th จะมาแนะนำ วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ ให้ได้ทราบกันว่า รถที่เราใช้ๆ กันอยู่นั้นจะต้องจ่ายภาษีเท่าไหร่

สิ่งที่ต้องมีในการต่อภาษีรถยนต์

ก่อนจะพูดถึง วิธีคำนวณภาษีรถยนต์ เราก็ควรที่จะเรียนรู้ในเรื่องของเอกสารที่ใช้ในการต่อภาษีไว้ด้วย เพื่อที่เวลาไปทำเรื่องจะได้ไม่มีเอกสารอะไรตกหล่นจนทำให้เราเสียเวลานั่นเอง

  • สมุดเล่มทะเบียนรถ
  • หลักฐานการทำ พ.ร.บ.
  • ใบรับรองการตรวจสภาพรถ

เพียงแค่เราเตรียมเอกสารทั้ง 3 อย่างนี้ให้พร้อม ก็สามารถยื่นเรื่องขอต่อภาษีรถยนต์ได้แล้ว ซึ่งในปัจจุบันก็มีการอำนวยความสะดวกเพิ่มมากขึ้นไปอีกด้วยการเพิ่มช่องทางการต่อภาษีรถยนต์อีกช่องทางหนึ่งนั่นก็คือ ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ นั่นเอง ที่ทำให้เราอยู่บ้านก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ แต่เรื่องในส่วนนี้เราจะขอข้ามไปก่อน เพราะว่าวันนี้นั้นเราจะมาคุยกันเรื่องวิธีคำนวณภาษีรถยนต์ ส่วนเรื่องออนไลน์นี้ขอยกยอดไปคราวหน้านะครับ



วิธีคำนวณภาษีรถยนต์

อัตราการเสียภาษีรถยนต์นั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ประเภทรถ รุ่นรถ ขนาดเครื่องยนต์ (ซีซี) น้ำหนักรถ หรืออายุรถ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะนำมาเป็นตัวกำหนดว่าเราต้องเสียภาษีประจำปีละเท่าไร โดยวิธีคำนวณภาษีรถยนต์ต่างๆ จะมีรายละเอียดดังนี้

1.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ (รถปกติทั่วไป) คือ  รถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ไม่เกิน 7 ที่นั่ง เช่น รถกระบะ 4 ประตู รถเก๋ง เป็นต้น โดยการคำนวณภาษีรถจะขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง (cc) โดยรายละเอียดมีดังนี้

  • 1-600 cc – cc ละ 50 สตางค์
  • 601-1800 cc – cc ละ 50 บาท
  • 1801 cc ขึ้นไป – cc ละ 4 บาท

ส่วนรถยนต์ที่มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปก็จะมีส่วนลดค่าภาษีดังนี้

  • อายุการใช้งานเกิน 6 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 10%
  • อายุการใช้งานเกิน 7 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 20%
  • อายุการใช้งานเกิน 8 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 30%
  • อายุการใช้งานเกิน 9 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 40%
  • อายุการใช้งานเกิน 10 ปี จะได้รับส่วนลดค่าภาษี 50%

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์

รถยนต์ ยี่ห้อ BMW รุ่น 330 อายุรถ 4 ปี เครื่องยนต์ 2,979 cc

  1. ช่วง 600 cc แรก / cc ละ 0.5 สตางค์ = 600 x 0.5 = 300 บาท
  2. 2. ช่วง 601-1800 cc / cc ละ 1.50 บาท = (1,800 - 600) = 1200 x 1.50 = 1,800 บาท
  3. 3. ส่วนที่เกินจาก 1800 cc / cc ละ 4 บาท = (2,979 - 1,800) x 4 = 1179 x 4.00 = 4,716 บาท

รวมค่าภาษีทั้งหมดที่ต้องจ่าย = 300 + 1,800 + 4,716 บาท = 6,816 บาท

*หากเสียภาษีช้าต้องเสียค่าปรับ 1% ต่อเดือน (เศษของวันนับเป็น 1 เดือน)

2.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือเขียว คือ รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถ 501- 750 กิโลกรัม - อัตราภาษี 450 บาท
  • น้ำหนักรถ 751 – 1000 กิโลกรัม - อัตราภาษี 600 บาท
  • น้ำหนักรถ 1001 – 1250 กิโลกรัม - อัตราภาษี 750 บาท
  • น้ำหนักรถ 1251 – 1500 กิโลกรัม - อัตราภาษี 900 บาท
  • น้ำหนักรถ 1501 – 1750 กิโลกรัม - อัตราภาษี 1,050 บาท
  • น้ำหนักรถ 1751 – 2000 กิโลกรัม - อัตราภาษี 1,350 บาท
  • น้ำหนักรถ 2001 – 2500 กิโลกรัม - อัตราภาษี 1,650 บาท

3.รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน

รถป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือน้ำเงิน คือ รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง การคำนวณภาษีจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักรถ แต่จะมีการคิดอัตราภาษีแตกต่างจากแบบรถบรรทุก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • น้ำหนักรถไม่เกิน 1800 กิโลกรัม - อัตราภาษี 1,300 บาท
  • น้ำหนักรถเกิน 1800 กิโลกรัม - อัตราภาษี  1,600 บาท

เงื่อนไขสำหรับยื่นชำระภาษี รถยนต์ ที่กรมขนส่ง

รถที่สามารถยื่นชำระภาษีประจำปีผ่านระบบอินเตอร์เน็ตมีเงื่อนไขดังนี้

ประเภทรถ รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1), รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์

  • บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12)

ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 อายุรถไม่เกิน 7 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถาน

  • ตรวจสภาพรถเอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)

รถจักรยานยนต์ อายุรถไม่เกิน 5 ปี (ถ้าอายุรถเกินให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถ

  • เอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)

รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี (รถค้างชำระภาษีเกิน 1 ปี ให้ดำเนินการตรวจสภาพรถที่สถานตรวจสภาพรถ เอกชนหรือตรอ. และยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)

  • ชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน
  • ประเภทรถ รย.1 รย.2 และ รย.3 น้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม (ถ้าน้ำหนักรถเกิน 2,200 กิโลกรัม ให้

ดำเนินการตรวจสภาพรถและยื่นชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)

  • รถที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด (รถติดตั้งแก๊สให้ดำเนินการตรวจสภาพถังแก๊สตามประกาศกรมฯ และยื่น

ชำระภาษีรถที่สำนักงานขนส่งจังหวัด/สาขา เท่านั้น)

  • รถทุกจังหวัดทะเบียน
  • สถานะรถ “ปกติ” เท่านั้น
  • รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี/ ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ
  • รถที่ไม่ถูกอายัด (อายัดโดยระบบงานของกรมการขนส่งทางบก)

เงื่อนไข พ.ร.บ. ประกอบการยื่นชำระภาษี

ระบบชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต ผู้ยื่นชำระสามารถซื้อกรมธรรม์ได้ทั้งจากในระบบ และซื้อผ่าน ผู้ให้บริการภายนอก ทั้งนี้ต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้องตรงตามความจริง และข้อมูล พ.ร.บ. ที่ระบุจะถูกตรวจสอบ และเป็นหลักฐานทางกฎหมาย ถ้าระบุข้อมูลอันเป็นเท็จ ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นความจริง มีผลต่อความ คุ้มครองของกรมธรรม์

  • กรณีซื้อกรมธรรม์ผ่านระบบ มีผู้ให้บริการ 2 ราย คือ บริษัทเทเวศประกันภัย จำกัด และบริษัทวิริยะ ประกันภัย จำกัด
  • กรณีซื้อกรมธรรม์จากภายนอก โดยกรอกข้อมูลบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ และวันสิ้นสุดอายุ ความคุ้มครอง (วันสิ้นอายุความคุ้มครองต้องไม่น้อยกว่า 90 วัน นับจากวันที่ยื่นชำระภาษีถึงวันสิ้น อายุคุ้มครองของ พ.ร.บ.)
  • กรมการขนส่งทางบก ขอแจ้งปรับปรุงเงื่อนไขการให้บริการยื่นชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต

สำหรับรถจักรยานยนต์ (รย.12) “ยกเลิก” การให้บริการซื้อกรมธรรม์ ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ผ่านระบบตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป  โดยผู้ยื่นชำระสามารถซื้อกรมธรรม์จากผู้ให้บริการภายนอกและนำข้อมูลมากรอกในระบบให้ถูกต้อง  เพื่อประกอบการยื่นชำระภาษีรถประจำปีต่อไป สอบถามเพิ่มเติม โทร.1584 หมายเหตุ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2562 เป็นต้นไป กรมการขนส่งทางบก ขอแจ้งปรับปรุง เงื่อนไขการให้บริการยื่นชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเทอร์เน็ต โดยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1) ,รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2), รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3) และรถจักรยานยนต์ (รย.12) สามารถซื้อกรมธรรม์ตาม พรบ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้ทั้งจากในระบบ หรือซื้อผ่าน ผู้ให้บริการภายนอกได้ตามปกติ เพื่อประกอบการยื่นชำระภาษีรถประจำปีต่อไป สอบถามเพิ่มเติม กรมการขนส่งทางบก โทร. 1584 บริษัทเทเวศประกันภัยฯ ในเวลาทำการ 08.30 - 17.00 น โทร 02-670-4444 ต่อ 8571 - 8576 นอกเวลาทำการ โทร 02-670-4444 ต่อ 1291 บริษัทวิริยะประกันภัย ในเวลาทำการ 8.30-17.00 น. โทร 02-273-8240-50 ต่อ 222 ,223 ,261 ,262 คุณวรรณา คุณอรวรรณ

สุดท้ายนี้ก่อนจากกันพิเศษรับเดือนธันวาคม 63 MoneyGuru พร้อมช่วยคุณประหยัดจัดโปร Shocking Sale 12.12 ลดร้อนแรงเพียงแค่ทำประกันรถยนต์ชั้น 1 พร้อมรับส่วนลดเบี้ยประกันทันที 12% เพื่อเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับช่วยเหลือประชาชนสำหรับการจ่ายเบี้ยประกันรถยนต์ ในราคาพิเศษที่หาที่ไหนไม่ได้อีกแล้วในเวลานี้…!!  เนื่องจากในทุกวันนี้ การใช้รถใช้ถนนมีโอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ตลอดเวลา ดังนั้นนอกจากผู้ใช้รถทุกคนต้องไม่ประมาทและควรระมัดระวังในการขับขี่แล้ว การทำประกันภัยรถนั้นก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะช่วยให้ท่านเพิ่มความอุ่นใจในการใช้รถใช้ถนนมากขึ้น

ต่อภาษีและพรบ.รถยนต์กี่บาท

ไม่พลาดทุกเรื่องราวข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @MoneyGuruThailand

ต่อภาษีและพรบ.รถยนต์กี่บาท

ต่อภาษีรถยนต์ราคากี่บาท

1. ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋งทั่วไป หรือ กระบะ 4 ประตู 600 ซีซี (CC) แรก = ซีซี (CC) ละ 0.50 บาท 601 – 1800 ซีซี (CC) ต่อมา = ซีซี (CC) ละ 1.50 บาท ส่วนเกิน 1800 ซีซี (CC) = ซีซี (CC) ละ 4 บาท

ต่อภาษีรถยนต์ราคา 2564 กี่บาท

ตัวอย่างการคำนวณภาษีรถยนต์ 600 cc แรก = ฿300 (จำนวน 600 cc x อัตราภาษี ฿0.50) ส่วนเกิน 600 cc ถึง 1,600 cc = ฿1,500 (จำนวน 1,000 cc x อัตราภาษี ฿1.50) คำนวณค่าภาษีรถยนต์ 1,600 cc อายุ 1 ปี ได้ ฿1,800 (฿300 + ฿1,500)

ทำพรบ.รถยนต์กี่บาท

พรบ.รถยนต์แต่ละประเภทราคาเท่าไหร่ รถส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 600 บาท รถส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 15 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 1,100 บาท รถส่วนบุคคลเกิน 15 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 20 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 2,050 บาท รถส่วนบุคคลเกิน 20 ที่นั่ง แต่ไม่เกิน 40 ที่นั่ง ราคาอยู่ที่ 3,200 บาท

ต่อ พรบ รถยนต์ ราคา 2565 กี่บาท

พรบ รถยนต์ ราคาปี 2565.