รูปร่าง ต่าง กับ รูป ทรง อย่างไร

 รูปร่าง (Shape)

            คือ ตามความเข้าใจทั่วไป หมายถึง การล้อมรอบ หรือการบรรจบกัน ของเส้น บนพื้นที่ว่าง มีรูปลักษณะ แบนราบเป็น 2 มิติ แต่ในทางทัศนศิลป์แล้ว รูปร่าง มีความหมายมากกว่านั้น เพราะรูปร่าง เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ ของส่วนประกอบ ขั้นมูลฐานของศิลปะ (Element) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือ หลาย ๆ อย่างพร้อม กันซึ่งได้แก่ จุด เส้น สี หรือพื้นผิว ฯลฯ รูปร่าง ไม่แสดงน้ำหนักแสงเงา ให้เห็นเป็น ปริมาตรหรือมวล ดังเช่นรูปทรง แต่ทั้งรูปร่าง และรูปทรง จะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เพราะการจะกำหนดว่า สิ่งนั้นคือรูปร่าง หรือรูปทรง ก็อยู่ที่ การพิจารณา จากองค์ประกอบอื่น ๆ ด้วยรูปแบน ๆ มี 2 มิติ มีความกว้างกับความยาวไม่มีความหนาเกิดจากเส้นรอบนอกที่แสดงพื้นที่ขอบเขตของรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม รูปสามเหลี่ยม หรือ รูปอิสระที่แสดงเนื้อที่ของผิวที่เป็นระนาบมากกว่าแสดงปริมาตรหรือมวล 

รูปร่างบวกและรูปร่างลบ
        ในการปรากฎของรูปร่างบนพื้นระนาบนั้น จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ส่วนที่เป็นรูป และส่วนที่เป็นพื้น ส่วนที่เป็นรูป ก็คือส่วนที่เป็นเนื้อหา และส่วนที่เป็นพื้นคือส่วนที่รองรับรูป แต่บางครั้งอาจมีการสับสน ว่าส่วนใดคือรูป ส่วนไดเป็นพื้น จึงมีการกำหนดรูปร่าง ที่ปรากฎ นั้นออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
        1. รูปร่างบวก (Positive Shape)
    หมายถึงรูปร่าง ที่เกิดจากการ ล้อม รอบด้วยเส้น หรือเกิดจากส่วนประกอบสำคัญ ของศิลปะ อื่น ๆ ได้แก่ สี ระนาบแบนราบของน้ำหนัก พื้นผิว ฯลฯ มีลักษณะ 2 มิติ ปรากฎ อยู่บนพื้นที่ว่างเปล่า(Empty Space) หรือพื้น (Ground) รูปร่างบวก มักจะเป็นส่วนเนื้อหา (Subject)
        2. รูปร่างลบ (Negative Shape)
    หมายถึงบริเวณพื้น (Ground) หรือเนื้อที่บริเวณว่างเปล่า ที่ถูกแทนที่หรือรอง รับรูปร่างบวก บริเวณเนื้อที่เหลือ จากรูปร่างบวก จะมีค่า เป็นรูปร่างลบ
            สำหรับข้อพิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดว่าเป็นรูปร่างบวก และรูปร่างลบ อาจเกิดขึ้นได้พร้อม ๆ กันในงานทัศนนศิลป์ และอาจสับเปลี่ยนเป็นได้ทั้ง 2 นัยคือเป็นได้ทั้งรูปร่างบวกและ รูปร่างลบ ขึ้นอยู่กับเนื้อหา หรือความสำคัญของรูปร่างนั้น
รูปทรง (Form)

            คือ  จะมีความสัมพันธ์ กันอย่างใกล้ชิดกับรูปร่าง แต่รูปทรง มีความแตกต่าง อย่างเห็น ได้ชัดเจนที่สุดก็คือ รูปทรงมีลักษณะเป็น 3 มิติ คือนอกจากจะมีส่วน กว้าง และ ส่วนยาว แล้ว จะแสดงส่วนหนา หรือส่วนลึกเพิ่มขึ้น อีกมิติหนึ่ง การที่จะศึกษาเรื่องรูปทรงอย่างลึกซึ้ง ควรจะศึกษาถึงลักษณะ ที่เด่นชัด อีกประการหนึ่ง ของรูปทรงก็คือ มวลและปริมาตร (Mass and Volume) เพราะสิ่งนี้ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สร้างความแตกต่างระหว่างรูปร่าง และ รูปทรง ก็คือ รูปทรงจะมีมวล และปริมาตร เพราะสิ่งนี้ ทำให้เกิตมิติจริง (Physical Space) ที่ทำให้วัตถุนั้นมีความกว้าง ยาว ลึก ทำให้เกิดความรู้สึก แน่นทึบหรือเป็นกลุ่มเป็นก้อน ที่จับต้องได้ วัดระยะได้รูปที่ลักษณะเป็น 3 มิติ โดยนอกจากจะแสดงความกว้าง ความยาวแล้ว ยังมีความลึก หรือความหนา นูน ด้วยเช่น รูปทรงกลม ทรงสามเหลี่ยม ทรงกระบอก เป็นต้น ให้ความรู้สึกมีปริมาตร ความหนาแน่น มีมวลสาร ที่เกิดจากการใช้ค่าน้ำหนัก หรือการจัดองค์ประกอบของรูปทรง หลายรูปรวมกัน

รูปร่าง ต่าง กับ รูป ทรง อย่างไร

รูปร่างและรูปทรง เป็นรูปธรรมของงานศิลปะ ที่ใช้สื่อเรื่องราวจากงานศิลปะไปสู่ผู้ชม รูปร่างและรูปทรงที่มีอยู่ในงานศิลปะมี 3 ลักษณะ คือ 

รูปเรขาคณิต (Geometric Form)

        มีรูปที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถวัดหรือคำนวณได้ง่าย มีกฎเกณฑ์ เกิดจากการสร้างของมนุษย์ เช่น รูปสี่เหลี่ยม 
รูปอินทรีย์ (Organic Form) 

        เป็นรูปของสิ่งที่มีชีวิต หรือ คล้ายกับสิ่งมีชีวิต ที่สามารถ เจริญเติบโต เคลื่อนไหว หรือเปลี่ยนแปลงรูปได้ เช่นรูปของคน สัตว์ พืช 
รูปอิสระ (Free Form) 

        เป็นรูปที่ไม่ใช่แบบเรขาคณิต หรือแบบอินทรีย์ แต่เกิดขึ้นอย่างอิสระ ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอน ซึ่งเป็นไปตามอิทธิพลและการกระทำจากสิ่งแวดล้อม

รูปร่าง ต่าง กับ รูป ทรง อย่างไร
รูปร่าง ต่าง กับ รูป ทรง อย่างไร

รูปร่าง ต่าง กับ รูป ทรง อย่างไร

        จากการจำแนกรูปร่างรูปทรงออกเป็น 3 ประเภท ดังกล่าวมาแล้ว หากพิจารณา จากผลงานทัศนศิลป์ที่ปรากฎ โดยเฉพาะ ผลงาน ในยุคปัจจุบันแล้ว ก็จะพบว่า รูปร่าง รูปทรง แต่ละประเภท ไม่อาจ แยกกันอย่างเด็ดขาด เช่นรูปทรงเรขาคณิต หรืออิสระ อาจมีเค้าโครง รูปทรงธรรมชาติปรากฎอยู่ ฉนั้น เพื่อให้ถูกต้อง ตามสภาพความเป็นจริง จึงได้จำแนก ประเภทของรูปร่าง รูปทรง ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
            1. รูปร่าง รูปทรง ในความเป็นจริง
        หมายถึง”รูป”ที่ดูแล้ว สามารถ ระบุได้ว่าเป็นรูปอะไร หรือเหมือนกับอะไร ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง รูปทรงธรรมชาต เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น หรือเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น การระบุว่าเป็น หรือเหมือนสิ่งใดสิ่งหนึ่งนี้ นี้เกิดจากสัญชาติญาณ การเรียนรู้ ประสบการณ์ ของมนุษย์ ซึ่งไม่เท่ากัน ทำให้ บางรูป สามารถเข้าใจได้”ทันที” จากสัญชาติญาณ เช่นรูปเหมือนจริง ในธรรมชาติ รูปพื้นฐานทางเรขาคณิตบางรูป อาจต้องใช้ความรู้ ประสบการณ์ และจินตนาการเข้าไป ร่วมพิจารณาด้วย เพราะรูปนั้น อาจจะไม่เหมือนจริง เพราะมีการดัดแปลง เพิ่ม ลด จนเกิดรูปใหม่ แต่ไม่ว่าจะดัดแปลงอย่างไร ในที่สุดแล้ว ก็ยังสามารถระบุได้ว่า รูปนั้น “เป็น” หรือ “เหมือน” สิ่งหนึ่งสิ่งใดอยู่ เพราะยังมี เค้าโครงเดิมของสิ่งนั้นเหลืออยู่

 
2. รูปร่าง รูปทรง ในจินตนาการ
        ได้แก่รูปร่าง รูปทรง ที่ไม่สามารถระบุได้ว่า เป็น หรือเหมือนกับอะไร อาจมีลักษณะอิสระ หรือนามธรรม รูปร่างรูปทรงในลักษณะนี้ อาจมีที่มาจาก จินตนาการของศิลปินเอง หรือมาจาก ธรรมชาติ หรือ เรขาคณิต แต่ถูกดัดแปลง เพิ่ม ลด จนไม่เหลือเค้าโครงเดิมอยู่เลย เกิดเป็นรูปร่าง รูปทรงใหม่ มี่ไม่สามารถ ระบุได้ว่า รูปนั้น “เป็น” หรือ “เหมือน” อะไร ซึ่งผู้ดูงานออกแบบทัศนศิลป์ประเภทนี้ จะต้องใช้จินตนาการ ร่วมกับความรู้ ประสบการเข้าช่วย จึงจะค้นพบความ ”เป็น” หรือความ “ เหมือน” ในงานชิ้นนั้นได้