มะเร็งต่อมน้ําเหลือง รักษายังไง

การปลูกถ่ายไขกระดูกชนิดที่เหมือนกันเพียงครึ่งเดียว (Haploidentical Stem cell Transplantation) ทางเลือกที่เพิ่มโอกาสในการรักษาให้กับผู้ป่วยโรคในระบบเลือดที่ ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ “การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็งทางระบบเลือด ที่เป็นเหมือนความหวังผู้ป่วยที่จะหายขาดจากโรคได้ แต่โอกาสที่จะหาไขกระดูกที่เหมือนกันกับผู้ป่วยได้ 100% นั้นมีน้อยมาก การได้ไขกระดูกที่เหมือนผู้ป่วยเพียงแค่ครึ่งเดียว ก็รักษาได้แล้วในตอนนี้ และโอกาสหายค่อนข้างสูง” คำแนะนำในการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งและโลหิตวิทยา รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล

การปลูกถ่ายไขกระดูกมะเร็งเม็ดเลือดขาวมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อ่านเพิ่มเติม

“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” เป็นมะเร็งที่พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยเกิดขึ้นจากระบบน้ำเหลือง แต่ถึงจะได้รับการวินิจฉัยว่าอยู่ในระยะที่ 4 แล้ว ก็มีโอกาสรักษาให้หายขาดได้

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองคืออะไร?

ระบบน้ำเหลืองประกอบด้วยน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากสิ่งแปลกปลอม เช่น เชื้อโรค เชื้อไวรัส แบคทีเรีย แต่เมื่อเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะทำให้ตำแหน่งของต่อมน้ำเหลืองบวมโตแต่คลำแล้วไม่มีอาการเจ็บ โดยพบบ่อยที่บริเวณลำคอ รักแร้และขาหนีบ

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด แต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อ HIV การรับประทานยากดภูมิคุ้มกันต่อเนื่องเป็นเวลานาน การปลูกถ่ายอวัยวะ การติดเชื้อบางชนิด เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียแล้วส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบ รวมถึงสภาวะแวดล้อม เช่น การได้รับสารเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน หรืออยู่ในบริเวณที่มีธาตุกัมมันตรังสี เป็นต้น

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) คือมะเร็งที่เกิดขึ้นกับระบบน้ำเหลือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกัน และเป็นระบบที่กระจายอยู่ทั่วร่างกาย ประกอบไปด้วยน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง และต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรค โดยการทำลายสิ่งมีชีวิตที่ลุกล้ำเข้ามาในร่างกาย เช่น ไวรัส แบคทีเรีย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดขึ้นกับระบบน้ำเหลืองทุกบริเวณในร่างกาย อาการบ่งชี้ที่สำคัญ คือ ต่อมน้ำเหลืองบวม โต และมักไม่มีอาการเจ็บร่วมด้วย

มะเร็งต่อมน้ําเหลือง รักษายังไง

องค์ประกอบของระบบน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลืองประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลัก 3 ส่วน ดังนี้

  • น้ำเหลือง น้ำเหลืองมีลักษณะเป็นของเหลวใส ประกอบไปด้วยเม็ดเลือดขาว โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ซึ่งมีหน้าที่ช่วยทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
  • ท่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำเหลืองไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
  • ต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองจะกระจายอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ภายในประกอบไปด้วยน้ำเหลืองและสสารต่าง ๆ ที่ถูกลำเลียงมาโดยท่อน้ำเหลือง โดยบางบริเวณของร่างกายจะมีต่อมน้ำเหลืองอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เช่น บริเวณข้าง ๆ คอ รักแร้ ขาหนีบ

ประเภทของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ๆ คือ มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน (Hodgkin's Lymphoma: HL) และมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin's Lymphoma: NHL) โดยมะเร็งทั้ง 2 กลุ่มนี้มีอัตราการแพร่กระจายและอาจมีการตอบสนองต่อการรักษาที่แตกต่างกัน ดังนั้นในกระบวนการรักษา ชนิดของมะเร็งจึงเป็นสิ่งจำเป็นมากที่ต้องวินิจฉัย

  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กิน โดยปกติแล้วน้ำเหลืองจะประกอบไปด้วยเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ทำหน้าที่ดักจับและทำลายเชื้อโรค ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ ลิมโฟไซต์ชนิด B หรือ B Cells และลิมโฟไซต์ชนิด T หรือ T Cells ซึ่งมะเร็งต่อมน้ำเหลืองฮอดจ์กินมักเกิดมาจากลิมโฟไซต์ชนิด B เป็นหลัก เมื่อลิมโฟไซต์ชนิด B เกิดความผิดปกติและทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ สุดท้ายจะสะสมจนกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลือง ซึ่งสามารถเกิดได้ในระบบน้ำเหลืองทุกส่วนของร่างกาย โดยส่วนมากจะพบระเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาว
  • มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน เป็นมะเร็งที่พบในคนไทยมากกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน เกิดเมื่อลิมโฟไซต์ชนิด B หรือชนิด T เกิดความผิดปกติและทำการแบ่งตัวโดยไม่สามารถควบคุมได้ สุดท้ายจะถูกสะสมจนกลายมาเป็นเซลล์มะเร็งในระบบน้ำเหลือง ซึ่งสามารถเกิดได้ในระบบน้ำเหลืองทุกส่วนของร่างกาย โดยส่วนมากจะพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนี้ในวัยผู้ใหญ่หรือผู้ที่มีเชื้อเอชไอวี

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กิน มักเป็นมะเร็งกลุ่มที่พบในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองส่วนใหญ่ ดังนั้นหากกล่าวถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลือง บทความนี้จึงจะนำเสนอข้อมูลของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนอนฮอดจ์กินเป็นหลัก

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาการทั่วไปที่บ่งชี้ถึงมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคือ เกิดการบวมที่ต่อมน้ำเหลือง ส่วนมากบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ และมักไม่มีอาการเจ็บร่วมด้วย ซึ่งอาการบวมเกิดจากการสะสมของลิมโฟไซต์ที่ผิดปกติในต่อมน้ำเหลืองบริเวณนั้น ๆ ทั้งนี้อาการบวมที่เกิดขึ้นไม่จำเป็นต้องเป็นอาการบ่งชี้ของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเสมอไป แต่อาจบ่งชี้ถึงโรคชนิดอื่นหรือการติดเชื้อบริเวณต่อมน้ำเหลือง ดังนั้นหากพบว่าต่อมน้ำเหลืองมีลักษณะบวม โต ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่ถูกต้องทันที

นอกจากการบวม โต ของต่อมน้ำเหลือง ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจมีอาการอื่นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  • มีไข้
  • มีอาการเหงื่อออกตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนเพลีย
  • มีอาการติดเชื้อรุนแรง
  • เป็นแผลและเลือดออกง่าย

สาเหตุของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า เซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเกิดขึ้นเมื่อ DNA ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ในน้ำเหลืองเกิดการกลายพันธุ์ ทำให้ลิมโฟไซต์เปลี่ยนเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ และเกิดการแบ่งตัวที่ไม่สามารถควบคุมได้ ถูกสะสมในระบบน้ำเหลือง จนกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุแท้จริงที่ทำให้ DNA เกิดการกลายพันธุ์และเจริญเป็นเซลล์มะเร็งได้

อย่างไรก็ตาม พบว่ามีปัจจัยบางอย่างที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ ทำให้บุคคลที่ต้องประสบกับปัจจัยต่อไปนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าบุคคลอื่น

  • อายุ แม้มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะมีโอกาสเกิดขึ้นกับบุคคลทุกช่วงอายุ แต่โดยส่วนใหญ่บุคคลที่มีอายุมากกว่าอาจมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งมากกว่าบุคคลที่มีอายุน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม มะเร็งต่อมน้ำเหลืองบางชนิดก็มีโอกาสเกิดกับบุคคลที่มีอายุน้อยมากกว่าบุคคลที่มีอายุมากเช่นกัน
  • เพศ มะเร็งต่อมเหลืองมีแนวโน้มที่จะเกิดกับเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  • โรคทางระบบภูมิคุ้มกัน บุคคลที่เป็นโรคทางระบบภูมิคุ้มกัน หรือได้รับยาระงับภูมิคุ้มกัน อาจมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากกว่าบุคคลที่ไม่เคยเป็นโรคหรือไม่เคยได้รับยามาก่อน
  • การติดเชื้อ เชื้อโรคบางตัวเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วอาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เช่น เชื้อไวรัสเอ็บสไตบาร์ (Epstein-Barr Virus) เชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) เป็นต้น

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

หากพบความผิดปกติของต่อมน้ำเหลือง ต่อมน้ำเหลืองบวม โต หรือมีอาการที่บ่งชี้ถึงความผิดปกติของร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากมะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นนอกระบบน้ำเหลืองได้ ฉะนั้นการรับการรักษาแต่เนิ่น ๆ ขณะที่มะเร็งยังไม่ลุกลาม จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษา ซึ่งการวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีดังนี้

  • การตรวจร่างกายเบื้องต้น: แพทย์จะทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยเบื้องต้นเพื่อตรวจสอบต่อมน้ำเหลืองที่บวม และตรวจหาสัญญาณอื่น ๆ ของโรคมะเร็ง
  • การตรวจเลือด: หากคาดการณ์ว่าผู้ป่วยอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะนำเลือดของผู้ป่วยไปตรวจสอบจำนวนและรูปร่างของเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งในบางครั้ง แพทย์อาจใช้การตรวจเลือดแบบพิเศษที่เรียกว่า Flow Cytometry เพื่อใช้ตรวจสอบและวิเคราะห์เซลล์ต่าง ๆ รวมถึงเซลล์มะเร็งในเลือด
  • การตัดเนื้อเยื่อไปตรวจ (ฺBiopsy): เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แพทย์จะตัดเนื้อเยื่อบางส่วนหรือทั้งหมดของต่อมน้ำเหลืองที่ผิดปกติ แล้วนำไปตรวจโดยใช้กล้องจุลทรรศน์เพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  • การสร้างภาพทางด้านรังสีวิทยา (Imaging Tests): แพทย์จะตรวจหาสัญญาณหรือวินิจฉัยระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยใช้วิธีการสร้างภาพเพื่อตรวจหาเซลล์มะเร็งในส่วนอื่นของร่างกาย เช่น การใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) การใช้เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือการใช้โพซิตรอนอีมิสชันโทโมกราฟี (PET)
  • การผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery): การผ่าตัดผ่านกล้องถูกนำมาใช้ตรวจสอบการลุกลามและวินิจฉัยระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง โดยแพทย์จะผ่าช่องท้องเป็นแผลขนาดเล็ก และสอดแลปปาโรสโคป (Laparoscope) ซึ่งเป็นท่อเล็ก ๆ ที่มีกล้องและแหล่งกำเนิดแสงเข้าไป เพื่อทำการตรวจสอบการลุกลามของเซลล์มะเร็ง

ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่แตกต่างกันส่งผลให้การรักษาแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งมะเร็งได้ออกเป็น 4 ระยะ ดังนี้

  • ระยะที่ 1: เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองเหลืองเพียงต่อมเดียว
  • ระยะที่ 2: เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลือง 2 จุดขึ้นไป โดยทุกจุดเกิดขึ้นบริเวณเหนือกระบังลมหรือใต้กระบังลมส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากทางการแพทย์ได้แบ่งร่างกายออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้กล้ามเนื้อใต้อกหรือกระบังลมเป็นเส้นแบ่ง คือด้านบนซึ่งเป็นส่วนตั้งแต่กระบังลมขึ้นไป และด้านล่างซึ่งเป็นส่วนตั้งแต่กระบังลมลงมา
  • ระยะที่ 3: เซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลือง 2 จุดขึ้นไป โดยกระจายอยู่ทั้งร่างกายส่วนบนกระบังลมและส่วนใต้กระบังลม
  • ระยะที่ 4: เซลล์มะเร็งลุกลามสู่อวัยวะอื่นภายนอกระบบน้ำเหลือง เช่น ตับ ปอด กระดูก เป็นต้น

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้นแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง และเป้าหมายในการรักษาเป็นหลัก โดยวิธีการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีดังนี้

  • การเฝ้าระวังเชิงรุก (Active Surveillance)

ในผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดที่มะเร็งมีการเจริญเติบโตของเซลล์ช้า และผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการของโรค แพทย์จะใช้วิธีการตรวจสอบและติดตามอาการเป็นระยะ ๆ ทั้งนี้เพราะการใช้วิธีการรักษาแบบเชิงรุก (Aggressive Therapy) ในทันทีนั้นยังไม่จำเป็น เนื่องจากไม่ได้ส่งผลให้ผู้ป่วยมะเร็งชนิดนี้มีอัตราการรอดชีวิตที่สูงขึ้น

  • การใช้เคมีบำบัด (Chemotherapy)

การใช้เคมีบำบัดคือการใช้ยาทางเคมีฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย โดยการใช้เคมีบำบัดนั้นมีหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับตัวยาแต่ละชนิดที่ผู้ป่วยได้รับ บางชนิดมีลักษณะเป็นยาเม็ด บางชนิดต้องใช้การฉีดผ่านหลอดเลือดดำ

  • การใช้ตัวยาชนิดอื่น

การใช้ตัวยาชนิดอื่น เช่น การใช้ยาแบบมุ่งเป้า (Targeted Drugs) ซึ่งเป็นการใช้ยาเพื่อไปรบกวนการทำงานของโมเลกุลที่มีความจำเพาะต่อการเจริญเติบโตและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ หรือการรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) โดยใช้ยาเพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในตัวผู้ป่วย ให้ทำลายหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การใช้รังสีรักษา (Radiation Therapy)

การใช้รังสีรักษาคือการใช้รังสีพลังงานสูง เช่น รังสีเอกซเรย์ หรือรังสีโปรตอน เพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งในร่างกาย

  • การปลูกถ่ายไขกระดูก (Bone Marrow Transplant)

แพทย์จะปลูกถ่ายไขกระดูก โดยใช้รังสีปริมาณสูงหรือยาทางเคมีกดการทำงานของไขกระดูกของผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ร่างกายเกิดกระบวนการต่อต้านไขกระดูกใหม่ที่จะได้รับ ต่อไปจึงนำสเต็มเซลล์ที่ดีเซลล์ใหม่ซึ่งอาจได้มาจากการบริจาคหรือจากตัวผู้ป่วยเอง ฉีดเข้าไปในเลือดเพื่อสร้างไขกระดูกใหม่

ภาวะแทรกซ้อนของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจประสบกับอาการที่นอกเหนือจากอาการทั่วไปที่บ่งชี้การเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เนื่องจากระบบน้ำเหลืองจะกระจายอยู่ทั่วร่างกาย ดังนั้นอาการจึงแตกต่างกันตามอวัยวะในบริเวณที่พบหรือใกล้เคียงเซลล์มะเร็ง โดยอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีดังนี้

  • ไอ หายใจลำบาก หรือรู้สึกเจ็บหน้าอก เมื่อเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่ต่อมไทมัสหรือระบบน้ำเหลืองบริเวณหน้าอก
  • ปวดหัว พฤติกรรมเปลื่ยนไป หรือบางครั้งเกิดอาการชัก เมื่อเซลล์เกิดขึ้นที่ระบบน้ำเหลืองในสมอง
  • เห็นภาพซ้อน ชาที่ใบหน้า มีปัญหาทางการพูด เมื่อเซลล์มะเร็งต่อมน้ำเหลืองลุกลามไปยังบริเวณอื่นรอบสมองและไขสันหลัง
  • รู้สึกคัน มีก้อนนูนแดงหรือม่วงบริเวณใต้ผิวหนัง เมื่อเซลล์มะเร็งเกิดขึ้นที่ระบบน้ำเหลืองบริเวณผิวหนัง

การติดตามผลภายหลังการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ภายหลังเสร็จสิ้นการรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะนัดเพื่อติดตามผลการรักษา ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแต่ละรายจะมีแนวโน้มของผลลัพธ์ในการรักษาแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สุขภาพของตัวผู้ป่วย และวิธีการรักษาที่ได้รับ การติดตามผลอาจนานต่อเนื่องหลายปี เพื่อสังเกตว่ามีสัญญาณการกลับมาของมะเร็งหรือไม่ หากผู้ป่วยพบอาการที่ผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองควรปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็ง ดังนี้

  • รักษาน้ำหนักตัวให้เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากน้ำหนักตัวที่เกินมาตรฐานสามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคและมะเร็งได้ โดยสามารถตรวจสอบน้ำหนักตัวว่าเป็นไปตามมาตรฐานหรือไม่ผ่านการคำนวณค่าดัชนีมวลกายหรือค่า BMI
  • ออกกำลังกาย ซึ่งในที่นี้การออกกำลังกายอาจเป็นการทำกิจกรรมบางอย่างที่ได้ใช้กำลังก็ได้ เช่น การทำงานบ้าน
  • รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ รับประทานผักและผลไม้ เลือกรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่ต่ำ รับประทานน้ำตาลแต่น้อย รวมถึงการรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเหมาะ
  • จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์ หรือหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ การสูบบุหรี่และควันบุหรี่เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยมะเร็งควรหลีกเลี่ยง เนื่องจากควันบุหรี่จะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด

นอกจากนั้น ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพศหญิงที่มีอายุไม่เกิน 30 ปี และเคยได้รับการรักษาโดยใช้รังสีรักษา (Radiation Therapy) บริเวณหน้าอก จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมมากกว่าบุคคลที่ไม่เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้มาก่อน จึงควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของเต้านมและเข้ารับการตรวจเต้านม โดยแพทย์จะใช้วิธีตรวจร่างกายเพื่อหาก้อนเนื้อที่ผิดปกติร่วมกับการทำแมมโมแกรม (Mammogram) ซึ่งหากพบสัญญาณของมะเร็ง แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรับการตรวจพิเศษต่อไป

การป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

การป้องกันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่มีวิธีที่แน่นอน เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยใดออกมาพิสูจน์ถึงสาเหตุของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่แน่ชัด อีกทั้งบุคคลที่ไม่เข้าข่ายมีปัจจัยเสี่ยง ก็อาจเป็นมะเร็งได้ ดังนั้นควรหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่ายกาย และรีบปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อพบความผิดปกติ เนื่องจากการรับการรักษาตั้งแต่มะเร็งยังอยู่ในระยะต้น ๆ จะส่งผลให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพมากกว่าการรักษาเมื่อมะเร็งเริ่มลุกลาม

รักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไง

แพทย์จะทำการซักประวัติคนไข้ และตรวจร่างกายเป็นลำดับ หรือตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองออกไปตรวจทางพิษวิทยา ส่วนการรักษาจะใช้วิธีการให้ยาเคมีบำบัด จำนวนครั้งในการให้ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ดูแลในเคสนั้นๆ ซึ่งการรักษาโรคนี้จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลอยู่ หากตัวโรคมีความรุนแรงมากจะใช้วิธีการฉายแสงจากภายนอก หรือในคนไข้ที่มีข้อห้าม ...

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง รักษากี่ปี

วิทยาการการรักษาในปัจจุบัน ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะหายขาดได้ ถ้าหากเป็นระยะเริ่มแรก และได้รับการรักษาอย่างครบถ้วน รวมถึงร่างกายมีการตอบสนองดี จะสามารถหยุดการรักษาได้เกินกว่า 5 ปี เพราะโดยปกติ ผู้ป่วยจะเข้าใจว่าหายขาดเมื่อได้รับการรักษาอย่างครบถ้วนแล้ว การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองมีอาการยังไง

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จะพบก้อนที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนเหล่านั้นจะไม่มีอาการเจ็บ ต่างจากการติดเชื้อที่จะมีอาการเจ็บที่ก้อนเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น มีเหงื่อออกมากในกลางคืน เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ​ไอเรื้อรัง

ตรวจมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไง

การวินิจฉัยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง.
ตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจทางพยาธิวิทยา (Biopsy).
ตรวจไขกระดูก เพื่อประเมินว่ามีการกระจายเข้าไปในไขกระดูกหรือไม่.
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan).
เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI).
การตรวจกระดูก (Bone Scan).
การตรวจ PET Scan..