การเขียน มีความสําคัญอย่างไร

การเขียน มีความสําคัญอย่างไร

ความหมายของการเขียน        

การเขียน   คือการถ่ายทอดความรู้สึก ความรู้ ความคิด ประสบการณ์ จินตนาการ และข่าวสารโดยใช้ตัวหนังสือและเครื่องหมายต่างๆเป็นสัญลักษณ์

การเขียนเป็นทักษะหนึ่งในสี่ทักษะที่มีความสำคัญยิ่งต่อชีวิต เพราะเป็นเครื่องมือบันทึกและถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆ ทั้งสำหรับตนเองและผู้อื่นอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร จุดเริ่มต้นของการเขียนอยู่ที่ความคิด เพราะฉะนั้นประสิทธิภาพของการเขียนย่อมขึ้นอยู่กับสมรรถภาพทางความคิด นอกจากนี้ความสามารถในเชิงภาษาก็เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะถ้ามีความคิดที่ดีแต่ไม่สามารถใช้ภาษาในการสื่อความคิดได้ตรงตามที่ต้องการ ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด ดังนั้นจึงควรใช้ภาษาที่สามารถถ่ายทอดความคิดให้ผู้อ่านเข้าใจตรงตามความต้องการของผู้เขียน

จุดมุ่งหมายของการเขียน

๑.การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง   คือการเขียนเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆที่ผู้เขียนประสบมาด้วยตนเอง เช่น การเขียนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของตนเองที่เรียกว่า อัตชีวประวัติ การเขียนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของบุคคลอื่นที่เรียกว่า ชีวประวัติ การเขียนข่าว และการเขียนสารคดีต่างๆ เป็นต้น วิธีเขียนเขียนเพื่อเล่าเรื่อง ผู้เขียนต้องเล่าเรื่องตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และให้ข้อมูลถูกต้องตามความเป็นจริง

๒.การเขียนเพื่ออธิบาย   คือการเขียนเพื่อบอกวิธีทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น การเขียนอธิบายวิธีประดิษฐ์สิ่งของ เครื่องมือต่างๆวิธีใช้ยา หรือการเขียนเพื่อชี้แจง ไขความ ตอบปัญหาความรู้ หรือความคิดที่เข้าใจยาก เช่น การเขียนอธิบายศัพท์ ข้อธรรมะต่างๆ เป็นต้น วิธีเขียนเพื่ออธิบาย ผู้เขียนต้องลำดับเรื่องราวตามขั้นตอน โดยใช้ภาษาให้รัดกุมและชัดเจน ในการเขียนควรแบ่งเป็นย่อหน้าย่อยๆหรือเป็นข้อๆเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจและจำได้ง่าย

๓.การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น   คือการเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้เขียนในเรื่องต่างๆ เช่น ในเรื่องการศึกษา การเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นต้น วิธีเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น จำเป็นต้องแสดงข้อเท็จจริง ชี้แจงเหตุผล ข้อดีข้อเสียอย่างชัดเจน เพื่อให้ความคิดเห็นของผู้เขียนมีน้ำหนักและน่าเชื่อถือ

๔.การเขียนเพื่อโฆษณา   คือการเขียนเพื่อโน้มน้าว จูงใจ หรือเชิญชวนให้ผู้อ่านสนใจสิ่งที่เขียนแนะนำ เช่น การเขียนคำโฆษณา คำขวัญ เป็นต้น วิธีเขียนเพื่อโฆษณาควรเขียนให้สั้น ใช้คำคล้องจอง แปลกใหม่ ซึ่งสามารถแสดงลักษณะของสินค้าที่ต้องการเน้นอย่างชัดเจน เพื่อให้ผู้อ่านจดจำได้ในเวลาอันรวดเร็ว

๕.การเขียนเพื่อสร้างจินตนาการ   คือการเขียนเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก จินตนาการ ให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกและเห็นภาพตามผู้เขียน เช่น การเขียนเรื่องสั้น นวนิยาย บทละคร กวีนิพนธ์ เป็นต้น วิธีเขียนเพื่อสร้างจินตนาการ ผู้เขียนต้องเลือกใช้ภาษาอย่างประณีต ละเอียดลออ ลึกซึ้ง ใช้ภาษาที่ทำให้เกิดภาพพจน์ เป็นต้น

การเขียนที่ดีนอกจากจะต้องคำนึงถึงความมุ่งหมายของการเขียนแล้ว ยังต้องพิจารณาด้วยว่า ผู้อ่านข้อเขียนนั้นๆเป็นใคร ทั้งนี้เพื่อจะได้ใช้ถ้อยคำ ภาษา สำนวน รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะกับวัย ระดับความรู้ ประสบการณ์ และความสนใจของผู้อ่าน

องค์ประกอบของการเขียน

๑.เนื้อหา   คือ  เนื้อเรื่องหรือเรื่องราวที่ผู้เขียนต้องการจะให้ผู้อ่านได้รับทราบ อาจจะเป็นเรื่องของบุคคล เหตุการณ์ สถานที่ หรืออาจจะเป็นข้อคิดเห็น จินตนาการ อารมณ์ ความรู้สึก ฯลฯ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างประกอบกันก็ได้

๒.ภาษา   คือ  ถ้อยคำ สำนวน โวหารต่างๆ ซึ่งมีทั้งรูปแบบตามหลักภาษา และตามความนิยมของผู้ใช้ภาษา ในการเขียนเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ผู้เขียนควรคำนึงถึงการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับเพศ วัย อายุ ระดับการศึกษา ความสนใจของผู้อ่าน รวมทั้งคำนึงถึงกาลเทศะและรูปแบบในการนำเสนอด้วย

นอกจากนี้ ผู้เขียนควรให้ความสำคัญกับเครื่องหมายวรรคตอนต่างๆที่ใช้ในการเขียน เพราะเครื่องหมายเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านอ่านได้สะดวก และเป็นการป้องกันความเข้าใจผิดได้อีกด้วย เครื่องหมายวรรคตอนบางชนิดเมื่อใช้แล้วจะสามรถสื่ออารมณ์และความรู้สึกได้ดีขึ้น เช่น การใช้เครื่องหมายปรัศนีย์ และอัศเจรีย์ เป็นต้น แต่ทั้งนี้ควรใช้อย่างระมัดระวังและเหมาะสมกับเนื้อหาและรูปแบบ

๓.รูปแบบ   รูปแบบในการเขียนแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้ ๒ ประเภท คือ

๓.๑.รูปแบบร้อยแก้ว   เช่น เรียงความ บทความ บันทึก จดหมาย รายงาน เป็นต้น การเขียนในรูปแบบร้อยแก้วนี้ ผู้เขียนจะไม่ถูกจำกัดด้วยลักษณะบังคับทางฉันทลักษณ์ แต่ในการนำถ้อยคำมาเรียบเรียงให้เป็นประโยคหรือข้อความนั้น จะอยู่ในแบบ ( FORM ) ที่กำหนดหรือตามความนิยม

๓.๒.รูปแบบร้อยกรอง   เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน เป็นต้น การเขียนในรูปแบบร้อยกรองนี้นอกจากผู้เขียนจะต้องมีศิลปะในการใช้ถ้อยคำแล้ว ยังจะต้องนำคำเหล่านั้นมาเรียบเรียงให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์แต่ละชนิดอีกด้วย

เมนูนำทาง เรื่อง

คุณคิดว่าทักษะอะไรที่สำคัญในอนาคต?

เมื่อโลกกว้างขึ้น เปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น ทักษะที่เรามีอาจจะไม่เพียงพออีกต่อไป ถ้าพูดถึงทักษะจำเป็นแห่งศตวรรษที่ 21 คนส่วนใหญ่อาจจะนึกถึงทักษะด้านเทคโนโลยี Soft Skills อย่างการเข้าสังคม หรือทักษะด้านอาชีพเป็นอันดับแรกๆ (ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามันสำคัญมาก) แต่สำหรับบทความนี้เราจะพูดถึงหนึ่งในทักษะที่ทุกคนควรมี แต่อาจจะถูกมองข้ามไปนั่นก็คือ “ทักษะการเขียน” นั่นเอง

ใช่…ถูกแล้ว “การเขียน” แต่เราไม่ได้พูดถึงการฝึกเขียนคัดลายมือ หรือการเขียนเรียงความเพื่อส่งอาจารย์ อันที่จริงการเขียนเป็นทักษะหนึ่งที่จะช่วยดึงศักยภาพในตัวคุณออกมา และผลักดันให้ชีวิตก้าวไปข้างหน้ามากกว่าที่คุณคิด

เราในฐานะผู้เขียนบทความชอบการขีดๆ เขียนๆ มาตั้งแต่เด็ก แล้วก็นึกแปลกใจที่ทักษะนี้ช่วยชีวิตตัวเองไว้หลายครั้งทีเดียว สำหรับบทความนี้เราจึงได้สรุป 5 เหตุผลหลักๆ ทำไมคุณควรฝึกเขียนอย่างจริงจัง เรามาดูกันเลย!

เลือกอ่านเฉพาะหัวข้อที่สนใจ

  • เหตุผลที่คุณควรมีทักษะการเขียน
    • 1. การเขียนช่วยจัดระบบความคิด
    • 2. ทำให้มีสมาธิ
    • 3. เข้าใจตัวเองมากขึ้น
    • 4. เป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญ  
    • 5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
  • ฝึกเขียนอย่างไรดี?
    • 1. เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดี
    • 2. ฝึกเขียนไดอารี่
    • 3. เขียนสม่ำเสมอ
  • สรุป

เหตุผลที่คุณควรมีทักษะการเขียน

1. การเขียนช่วยจัดระบบความคิด

เคยรู้สึกว่าตัวเองอยู่ในภาวะ ‘Overload’ ไหม? อาจจะเป็นตอนที่คุณกำลังวางแผนการทำงานอันซับซ้อน หรือวันที่เจอปัญหาถาโถมจนความคิดสับสน ช่วงเวลาที่ความคิดยุ่งเหยิงทำให้ปัญหาขยายใหญ่โดยไม่รู้ตัว กลายเป็นความรู้สึกวิตกกังวล หรือ ‘ตัน’ ไม่รู้จะเริ่มต้นทำอะไรก่อนดี

การเขียนลิสต์ของเรื่องที่คุณรู้สึกกังวล ปัญหาที่กำลังเผชิญ สิ่งที่ต้องทำ และอื่นๆ จะช่วยจัดระบบความคิดของคุณ ทำให้เห็นปัญหาชัดเจนมากขึ้น หรือเห็นภาพรวมการทำงานทั้งหมด ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการทำงานและแก้ไขปัญหา เพราะอย่าลืมว่า ‘ความสามารถ’ อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการบรรลุเป้าหมาย คนที่มองเห็น ‘หัวใจ’ ของปัญหาต่างหากที่จะกลายเป็นนักแก้ปัญหาที่ดี

ดังนั้นครั้งต่อไปที่คุณรู้สึกความคิดในหัวยุ่งเหยิง ลองฝึกเรียบเรียงความคิดด้วยการหยิบกระดาษมาหนึ่งแผ่น แล้วจับปากกาเขียนปัญหาหรือสิ่งที่ต้องทำลงไป คุณอาจจะแปลกใจที่ความคิดในหัวถูกเรียบเรียงให้เป็นระบบมากขึ้น สุดท้ายก็ค้นพบว่าต้นตอของปัญหาจริงๆ มีเพียงไม่กี่ข้อเท่านั้นเอง

2. ทำให้มีสมาธิ

สิ่งที่ดึงให้เราวอกแวก เสียสมาธินั้นมีรอบตัวเต็มไปหมด หลายๆ คนจึงเกิดอาการสมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่ออะไรได้นาน การเขียนช่วยฝึกสมาธิ เนื่องจากจะทำให้คุณได้จดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ที่สำคัญการเขียนเป็นงานที่ต้องใช้สมาธิสูง ในหัวของนักเขียนต้องทำหลายอย่าง ทั้งประมวลผลข้อมูลจากคลัง คิดว่าจะเรียบเรียงหรือลำดับเรื่องอย่างไร หาคำพูดและข้อความที่สามารถสื่อสารได้ดี รวมถึงขัดเกลาข้อความให้น่าอ่าน

จะเห็นได้เลยว่าคนที่เขียนได้ดีนั้นต้องมีสมาธิเพื่อดึงความคิดสร้างสรรค์ออกมา เหมือนกับแว่นขยายอันเล็กๆ ที่สามารถรวมแสงอาทิตย์เป็นจุดเดียวแล้วเผาไหม้กระดาษได้ นี่ล่ะคือพลังของการจดจ่อ

3. เข้าใจตัวเองมากขึ้น

ทุกวันนี้เราอยู่บนโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสาร เรื่องของคนรอบข้างไหลเข้ามาในชีวิตเราทุกวินาที จนกลายเป็นว่าเรารู้จักคนอื่นๆ แทบจะทุกแง่มุม แต่จริงหรือไม่ที่เรากลับรู้จักตัวเองน้อยลงไปทุกที…

การเขียนจึงเข้ามามีบทบาททำให้เราได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น เพราะเมื่อคุณนั่งลงเขียน (โดยเฉพาะหากเขียนเรื่องราวของตัวเอง) มันจะกลายเป็นช่วงเวลาที่คุณได้อยู่กับตัวเองอย่างมีคุณภาพ ได้กลั่นกรองความคิด อารมณ์และความรู้สึกให้ออกมาเป็นตัวอักษร

ทำไมเราจึงให้ความสำคัญกับการเข้าใจตัวเอง? ในอนาคตคนที่จะอยู่รอดคือคนที่กล้าเปลี่ยนแปลงและรู้จักปรับตัว คนที่เข้าใจตัวเองจะรู้จักข้อดี ข้อเสีย รู้จักจุดมุ่งหมายของชีวิต มันไม่มีประโยชน์เลยหากคุณมีทักษะครบทุกอย่าง แต่ไม่สามารถตอบได้ว่าตัวเองต้องการอะไร หรือรู้สึกอย่างไร

วุฒิการศึกษาสูงแค่ไหนก็ไม่ช่วยให้คุณเข้าใจตัวเองได้มากขึ้น ถ้าคุณไม่ “ตั้งคำถาม” ให้ถูกต้อง การเขียนก็คือการเปิดโอกาสให้คุณได้คุยกับตัวเองนั่นเอง

แทนที่จะใช้เวลาทั้งวันง่วนกับการใช้ชีวิตในโลกภายนอก คุณอาจจะจัดเวลาเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวันเขียนทบทวนเกี่ยวกับตัวเองเพื่อทำให้ ‘โลกภายใน’ ของคุณนั้นชัดเจน

“จุดเริ่มต้นสำคัญของการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงเกิดจากการค้นหาตนเอง”
—CHALMERS BROTHERS

4. เป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญ  

เรารู้อยู่แล้วว่าทักษะสื่อสารนั้นมีประโยชน์มากมายเพียงไร เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม การเขียนคือการสื่อสารรูปแบบหนึ่งที่ใช้ ‘ตัวอักษร’ เป็นเครื่องมือ

ดังนั้นไม่แปลกที่การสมัครงาน สมัครเรียนหลายๆ ที่จะใช้การเขียนเรียงความเป็นหนึ่งในเกณฑ์พิจารณา เรียงความหนึ่งเรื่องสามารถสะท้อนกระบวนการคิดของผู้เขียนได้เป็นอย่างดี มันบอกได้ว่าคุณลำดับเรื่องราวอย่างไร มีความเป็นเหตุเป็นผลหรือไม่ คุณค้นคว้าหาข้อมูลดีแค่ไหน

การพัฒนาทักษะการเขียนก็จะส่งผลดีต่อการสื่อสารรูปแบบอื่นๆ ด้วยเช่นกัน คุณอาจจะเรียบเรียงเวลาพูดดีขึ้น สื่อสารได้ตรงประเด็น ไม่พูดสะเปะสะปะจนทำให้ผู้ฟังสับสน  

5. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน

มาถึงตรงนี้ทุกคนน่าจะเห็นภาพกันแล้วว่าการเขียนเป็น ‘เครื่องมือ’ หนึ่งที่ทำให้คุณได้พัฒนาตัวเองตั้งแต่ภายใน (Personal growth) ซึ่งอาจส่งผลให้คุณสามารถดึงดูดโอกาสต่างๆ เข้ามาในชีวิตได้อย่างมากมาย

แต่อาจจะมีบางคนเถียงในใจ (อ้ะ แอบได้ยิน) ว่าไม่ได้ทำงานให้สายงานที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเป็นหลัก มันสำคัญขนาดนั้นเลยหรือ? เรา (ผู้เขียน) มีพื้นฐานการเรียนวิศวะมาก่อน ยืนยันอีกเสียงได้ว่าการเขียนจะทำให้คุณทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่ว่าคุณจะอยู่ในสายงานใด

เพราะมันไม่ใช่เรื่องของ “งานเขียน” แต่เป็น “กระบวนการคิด” ที่คุณใช้ในการเขียนต่างหากที่ทำให้คุณทำงานได้ดีขึ้น

ฝึกเขียนอย่างไรดี?

เอาล่ะ ถ้าคุณเป็นมือใหม่อยากเขียน หรือกำลังอยู่ในช่วงฝึกเขียน เรามีเทคนิคง่ายๆ 3 ข้อสำหรับนำไปปรับใช้กัน ถ้าผู้อ่านมีเทคนิคการเขียนดีๆ สามารถแชร์ในคอมเมนต์ได้เลยนะคะ

1. เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดี

“ก็แค่เขียนเอง ไม่น่าจะยาก…” ทั้งๆ ที่เหมือนจะเป็นทักษะง่ายๆ แต่พอจับปากกา (หรือใครถนัดพิมพ์ก็ว่ากันไป) เท่านั้นล่ะ สมองกลับว่างเปล่า นึกอะไรไม่ออกซะอย่างนั้น…ทำอย่างไรดี?

ถ้าเปรียบเทียบสมองเป็นเหมือนโกดังเก็บข้อมูล การอ่านก็คือการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในโกดัง ในขณะที่การเขียนคือการดึงข้อมูลจากโกดังออกมาใช้

ปัญหาของคนที่ “ไม่รู้จะเขียนอะไร” อาจจะเป็นเพราะมีคลังข้อมูลในโกดังน้อยเกินไป จนไม่สามารถดึงอะไรออกมาเขียนได้ การเขียนที่ดีจึงเริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดีก่อน นอกจากจะเป็นการเพิ่มข้อมูลในโกดังแล้ว คุณยังได้ศึกษาวิธีการเขียนของคนอื่นอีกด้วย

“ยิ่งเราอ่านมากเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้เยอะมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งเราเรียนรู้มากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีสถานที่ที่เราจะไปมากขึ้นเท่านั้น”
– ดร.ซูสส์ นักสร้างสรรค์หนังสือเด็ก จากหนังสือ I Can Read With My Eyes Shut!

2. ฝึกเขียนไดอารี่

การเขียนเรื่องราวของตัวเองมีประโยชน์ในแง่ที่เราได้ทบทวนตัวเอง และยังเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนกำลังฝึกเขียน ถ้าคุณไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นเขียนอะไรดี ลองเขียนอะไรง่ายๆ อย่างการเล่าเรื่องราวชีวิตตัวเอง เช่น ประสบการณ์ทั้งดีและแย่ที่คุณได้เผชิญ บทเรียนที่คุณได้รับจากเหตุการณ์ต่างๆ ฝึกอธิบายความรู้สึกและความคิดของคุณออกมา เป็นต้น

3. เขียนสม่ำเสมอ

สุดท้ายไม่มีอะไรสามารถแทนที่การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอได้ ทักษะต่างๆ ก็เหมือนมีด ยิ่งลับยิ่งคม

ดังนั้นตั้งเป้าหมายเขียนทุกวัน เขียนอะไรก็ได้วันละนิดวันละหน่อย อาจจะเริ่มต้นจากการเขียนสเตตัสลงโซเชียลมีเดีย เขียนบล็อก แล้วค่อยๆ ขยับขยายไปเขียนประเด็นอื่นๆ ที่ไกลตัวออกไป นอกจากทักษะการเขียนจะดีขึ้นแล้ว คุณจะมีวิธีการคิดที่เฉียบคมขึ้นด้วย

สรุป

ทักษะที่จำเป็นต้องมีเพื่อการ “อยู่รอด” ในอนาคตจะไม่จำกัดแค่ด้านวิชาการหรือด้านวิชาชีพอย่างเดียว ปัจจุบันหลายๆ ทักษะถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี AI ดังนั้นทักษะที่จะมีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ คือ ทักษะการเข้าสังคม (เช่น การสื่อสาร, การจัดการอารมณ์, ภาวะผู้นำ, เป็นต้น) ทักษะการแก้ไขปัญหา (เช่น การวิเคราะห์ปัญหา, ความคิดสร้างสรรค์, การสื่อสาร, เป็นต้น)

การเขียนเสมือนเป็นที่ลับคมทักษะเหล่านี้ไปในตัว เพราะเมื่อคุณเขียน สมองจะถูกกระตุ้นให้ตกผลึกความรู้ หรือประสบการณ์ออกมาเป็นตัวอักษร เมื่อคุณเขียน คุณจะต้องอ่านหนังสือ ค้นคว้าข้อมูลเยอะขึ้น และการเขียนจะทำให้คุณดึงความคิดสร้างสรรค์ออกมา

ดังนั้นไม่ว่าจะผ่านไปกี่ยุค การเขียนก็ยังคงเป็นทักษะสำคัญที่นักเรียนและคนทำงานควรฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ ไม่สำคัญว่าจะอยู่ในสายงานอาชีพใด

ว่าแต่ว่า…วันนี้คุณได้เขียนอะไรแล้วหรือยัง?
New call-to-action

การเขียนเพื่อการศึกษามีความสําคัญอย่างไร

การเขียนเป็นเรื่องสําคัญของผู้ที่กําลังศึกษาเพราะการเขียนเป็นการถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด จากผู้เขียนสู่ผู้อ่านโดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการชักนําความคิด ความรู้ ประสบการณ์ ความรู้สึก อารมณ์และทัศนคติ ถ้าผู้เขียนมีความสามารถในการเขียนผู้อ่านย่อมเข้าใจความหมายได้ดี ตรงกัน

ทักษะการเขียนมีความสําคัญอย่างไร

การเขียนเป็นทักษะที่สาคัญในการสื่อสาร เป็นทักษะการส่งสารที่ซับซ้อนและต้องอาศัยทักษะและ กระบวนการอื่นประกอบ เช่น ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน กระบวนการคิดและทักษะการใช้ภาษา เพราะ ผู้ที่จะเขียนได้ดีจะต้องเป็นผู้ฟังมาก อ่านมาก มีความรู้และประสบการณ์กว้างขวาง มีกระบวนการคิดที่ดี และที่สาคัญต้องมีทักษะการใช้ภาษาที่ดีสามารถเลือก ...

การเขียนมีอิทธิพลอย่างไร

1. การเขียนช่วยจัดระบบความคิด 2. ทำให้มีสมาธิ 3. เข้าใจตัวเองมากขึ้น 4. เป็นหนึ่งในทักษะการสื่อสารที่สำคัญ.
1. เริ่มต้นจากการเป็นนักอ่านที่ดี.
2. ฝึกเขียนไดอารี่.
3. เขียนสม่ำเสมอ.

การเขียนคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

การเขียน คือการสื่อสารชนิดหนึ่งของมนุษย์เรา การเขียนเป็นการแสดงความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ เป็นลายลักษณ์อักษรต่อผู้ที่อ่าน เพื่อให้ผู้รับสารสามารถอ่านได้เข้าใจ ได้ทราบความรู้ ความคิด ความรู้สึก ความต้องการ แล้วสามารถนำมาบอกบอกต่อกับบุคคลอื่นให้ได้ความรู้ที่ผู้รับสารได้รับ เครื่องมือในการเขียนเช่น ดินสอ ปากกา ...