แดน ข้าวโพด corn belt มีความ สำคัญ อย่างไร และ ตั้ง อยู่บริเวณ ใด ในทวีปอเมริกาเหนือ

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

ประวัติของข้าวโพด

              ถิ่นกำเนิดและการแพร่กระจายของข้าวโพด

นักภูมิศาสตร์และนักโบราณคดีหลายท่านสันนิษฐานว่า มนุษย์รู้จักปลูกข้าวโพดกันมานานมากกว่า 4,500 ปี ซึ่งจากการศึกษาข้อสันนิษฐานต่างๆ พบว่า ข้าวโพดอาจมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ 2 แหล่ง โดยอาศัยหลักฐานของการเพาะปลูก (สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560) คือ

(1) พื้นที่แถบที่ราบสูงซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศเปรู โบลิเวีย เอกวาดอร์ ชิลี อาร์เจนตินา และบราซิล ในทวีปอเมริกาใต้ เนื่องจากมีผู้พบข้าวโพดพันธุ์พื้นเมืองหลายพันธุ์มีความปรวนแปรทางพันธุกรรม และยังพบข้าวโพดบางชนิดมีลักษณะคล้ายข้าวโพดป่าที่ขึ้นอยู่ในแถบนั้นด้วย

(2) พื้นที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกา แถบอเมริกากลาง ประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา โคลัมโบ และ เวเนซูเอลา เนื่องจากมีหญ้าพื้นเมืองของบริเวณนี้ 2 ชนิด คือ หญ้าทริพซาคัม (Trip sacum) และหญ้าทิโอซินเท (Teosinte) ซึ่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์หลายประการคล้ายคลึงกับข้าวโพด อีกทั้ง นักโบราณคดีได้ขุดพบ ซากซังของข้าวโพดปนอยู่กับซากของโบราณวัตถุต่างๆ ซึ่งฝังอยู่ใต้ดินลึกถึง 28 เมตร ภายในถ้ำและสุสานหลายแห่งบริเวณเมืองหลวงของประเทศเม็กซิโก จากการพิสูจน์ตามหลักวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบว่า ซากสิ่งของเหล่านี้มีอายุนานกว่า 4,000 ปี ซึ่งแสดงว่า มีข้าวโพดปลูกอยู่ในแถบนี้เป็นเวลานานนับพันปีมาแล้ว

อีกทั้ง ยังมีบางท่านสันนิษฐานว่า ข้าวโพดอาจมีถิ่นฐานดั้งเดิมอยู่ในเอเชีย เนื่องจากพืชพื้นเมืองหลายชนิดในแถบนี้มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์คล้ายกับข้าวโพด เช่น ลูกเดือย และอ้อน้ำ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเหล่านี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐาน เพราะปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานที่แน่ชัดเกี่ยวกับถิ่นฐานดั้งเดิมของข้าวโพด นอกจากนี้ นักพฤกษศาสตร์และนักพันธุศาสตร์ได้ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับพืชดั้งเดิมของข้าวโพดไว้หลากหลาย โดยบางท่านเชื่อว่าหญ้าทริพซาคัม และหญ้าทิโอซินเท เป็นบรรพบุรุษของข้าวโพด เนื่องจากมีส่วนใกล้เคียงกัน และบางท่านเชื่อว่าหญ้าทั้งสองชนิดนี้ไม่ได้เป็นพืชดั้งเดิมของข้าวโพด แต่ข้าวโพดที่ปลูกคงวิวัฒนาการมาจากข้าวโพดพันธุ์ป่า และหญ้าทั้งสองชนิดก็ควรเป็นพืชดั้งเดิมเดียวกับข้าวโพด แต่ได้วิวัฒนาการมาคนละสาย จึงทำให้มีลักษณะแตกต่างกันในปัจจุบัน 

สำหรับการแพร่กระจายของข้าวโพดไปยังส่วนต่างๆ ของโลก คาดว่าเกิดจากชาวอินเดียนแดงเจ้าถิ่นเดิมของทวีปอเมริกาเป็นผู้นำจากอเมริกากลางไปปลูกในส่วนต่างๆ ของทวีปอเมริกาและหมู่เกาะแคริบเบียน ซึ่งชาวอินเดียนแดงเป็นชนชาติที่มีส่วนสำคัญในด้านวิวัฒนาการเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพด ในปี พ.ศ. 2035 เมื่อโคลัสบัสเดินทางมาพบทวีปอเมริกา ก็พบว่า มีการปลูกข้าวโพดอยู่ทั่วไปในบริเวณนี้ และปี พ.ศ. 2036 ได้ลองนำเมล็ดกลับไปปลูกในประเทศสเปน ทวีปยุโรป หลังจากนั้นจึงแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ ของทวีปแอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย

              ข้าวโพดในประเทศไทย 

การนำข้าวโพดเข้ามาในประเทศไทยคาดว่าเกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2223 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่เป็นพันธุ์ใดไม่ปรากฏ จากหลักฐานพบว่าในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 การผลิตข้าวโพดเพื่อการค้ายังมีอยู่อย่างจำกัด พันธุ์ที่เริ่มทดลองปลูกมีอยู่ 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์พื้นเมืองของไทย พันธุ์เม็กซิกันจูน พันธุ์นิโคลสัน เยลโล่ เด้นท์ และพันธุ์อินโดจีน ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ข้าวโพดเริ่มขยายการปลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ไม่ได้เพิ่มมากนัก จนกระทั่งหลังจากที่มีการนำข้าวโพดพันธุ์ทิกิเสท โกลเดน เยลโลว์ (Tiquisate golden yellow) จากประเทศกัวเตมาลา เข้ามาทดสอบปลูกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2496 โดยเรียกชื่อพันธุ์นี้ว่า พันธุ์กัวเตมาลา ข้าวโพดพันธุ์นี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมของประเทศได้ดี และให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์เดิม ส่งผลให้มีการปลูกข้าวโพดในประเทศเพิ่มมากขึ้น แต่ในปี พ.ศ. 2508 เกิดการระบาดของโรคราน้ำค้างทำให้การผลิตข้าวโพดในประเทศไทยประสบปัญหา กรมกสิกรรม (ปัจจุบันคือ กรมวิชาการเกษตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิรอกกีเพลเลอร์ (Rockefeller foundation) จึงได้ร่วมมือกันจัดประสานงานการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพด โดยมีสถานีทดลองกสิกรรมพระพุทธบาท ในอำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี เป็นสถานีวิจัย และเริ่มพัฒนาไร่สุวรรณ ในอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งต่อมาได้จัดตั้งศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่ไร่สุวรรณ ในปี พ.ศ. 2512-2513 และที่ศูนย์แห่งนี้ โดยการนำของ ดร.สุจินต์ จินายน ได้เริ่มพัฒนาข้าวโพดพันธุ์สุวรรณ 1 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ต้านทานโรคราน้ำค้าง และได้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์กัวเตมาลา โดยในปี พ.ศ. 2518 ทางราชการได้ให้การรับรองพันธุ์สุวรรณ 1 อย่างเป็นทางการ และเริ่มผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปลูกกันในปีถัดไป (วัชรินทร์, 2558) ทั้งนี้ ปัจจุบันข้าวโพดที่ปลูกในประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ข้าวโพดฝักสด และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ โดยข้าวโพดฝักสดปลูกเพื่อใช้สำหรับบริโภคและส่งออก ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นพืชที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ เนื่องจากใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งจังหวัดที่เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ นครราชสีมา เลย ลพบุรี และนครสวรรค์ (ภาพที่ 1) (โชคชัย และเกตุอร, 2561)

แดน ข้าวโพด corn belt มีความ สำคัญ อย่างไร และ ตั้ง อยู่บริเวณ ใด ในทวีปอเมริกาเหนือ

(ที่มา : http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=3&chap=2&page=t3-2-infodetail03.html)

ภาพที่ 1

แผนที่แสดงแหล่งผลิตข้าวโพดในประเทศไทย

แดนข้าวโพดของทวีปอเมริกาเหนืออยู่บริเวณใด

(2) พื้นที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกา แถบอเมริกากลาง ประเทศเม็กซิโก กัวเตมาลา โคลัมโบ และ เวเนซูเอลา เนื่องจากมีหญ้าพื้นเมืองของบริเวณนี้ 2 ชนิด คือ หญ้าทริพซาคัม (Trip sacum) และหญ้าทิโอซินเท (Teosinte) ซึ่งมีลักษณะทางพฤกษศาสตร์หลายประการคล้ายคลึงกับข้าวโพด อีกทั้ง นักโบราณคดีได้ขุดพบ ซากซังของข้าวโพดปนอยู่กับซากของ ...

บริเวณพื้นที่สำคัญในการปลูกข้าวโพดของสหรัฐอเมริกา หรือ Corn Belt คือรัฐใด

ถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นพืชหมุนเวียนในการปลูกข้าวโพด แหล่งผลิตสำคัญของสหรัฐฯคือพื้นที่ Corn Beltในเขต ตะวันตกตอนกลาง (Midwest) เขต Midsouth หรือ Lower Mississippi River Delta และเขต Southeast และ Atlantic Coast รัฐที่เป็นแหล่งผลิตสำคัญคือไอโอวา อิลินอยส์ และมินิโซต้า ซึ่งพื้นที่เหล่านี้กำลังประสบภัยแล้ง

ที่ราบเกรตเพลนส์(Great Plain) มีความสำคัญอย่างไรต่อทวีปอเมริกาเหนือ

The Great plain. ปัจจุบันเป็นที่ราบ ที่มีความส าคัญทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ เป็นบริเวณที่เป็น เขตปศุสัตว์โดยเฉพาะ เป็นเขตเลี้ยงวัวเนื้อที่ส าคัญ ของทวีปอเมริกาเหนือ และ เขตปลูกข้าวสาลี(wheat) ที่ส าคัญของทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปอเมริกาเหนือมีลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญอย่างไร

(2) ลักษณะภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนใหญ่มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูง และที่ราบสูงทางทิศตะวันตก และ ทิศตะวันออกมีที่ราบอยู่บริเวณภาคกลาง