การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างไร

การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญอย่างไร

วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน  นับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการบริหารงานบุคคล  เพราะเหตุว่าการประเมินผลการปฏิบัติงานตามวิธีการสมัยใหม่  ช่วยให้การเลือกสรรบุคคล  และการวินิจฉัยเกี่ยวกับนโยบายบุคคล  ดำเนินไปด้วยความมีเหตุผลและเชื่อถือได้  ประโยชน์ที่สำคัญของวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ได้แก่

1.  เพื่อให้การปูนบำเหน็จแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ดำเนินไปด้วยความยุติธรรม  มีเหตุมีผล  มีระบบเป็นระเบียบแบบแผน  ซึ่งใช้ต่อบุคคลในองค์การเดียวกันโดยเสมอและทั่วถ้วน  เป็นการป้องกันการเล่นพรรคเล่นพวก

2.  เพื่อให้การเลื่อนชั้น  เลื่อนตำแหน่งเป็นไปโดยยุติธรรม มีข้อเปรียบเทียบ เป็นหลักฐานในการพิจารณา  ป้องกันการกินแหนงแคลงใจแก่ผู้ที่มิได้รับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่ง  ให้ได้ทราบข้อบกพร่องด้วยความยุติธรรม

3.  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพิจารณาว่า  บุคคลใดมีสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน หรือผู้ใดหย่อนสมรรถภาพ ไม่สมควรจะให้ปฏิบัติงานในองค์การต่อไป  ซึ่งเท่ากับเป็นการลดค่าใช้จ่ายอันไม่จำเป็นขององค์การออกไป  ทั้งก่อให้เกิดความเป็นธรรมในระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้วยกัน

4.  เพื่อประโยชน์ในการกำหนดวิธีการฝึกอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามความจำเป็น และความต้องการในการฝึกอบรมของเจ้าหน้าที่แต่ละประเภท  แต่ละหน้าที่  และแต่ละสาขาวิชาชีพที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์การ

5. เพื่อประโยชน์ในการสับเปลี่ยนโยกย้ายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงหน้าที่ให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของตน   เพื่อเกิดประสิทธิผลแก่งาน

6.  เพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงวิธีการสรรหาบุคคล  ที่องค์การใช้เลือกสรรบุคคลเข้ามาปฏิบัติในองค์การให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  กล่าวคือ  จะได้ทราบว่าวิธีการทดสอบที่ใช้อยู่  สามารถวัดและเลือกสรรบุคคลได้ต้องตามความประสงค์ขององค์การหรือไม่  หากมีข้อบกพร่องจะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที

7.  เพื่อเป็นเครื่องจูงใจให้พนักงานเจ้าหน้าที่ในองค์การ  ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเต็มใจ  เต็มกำลังความรู้ความสามารถ  ไม่ต้องคอยกังวลที่จะประจบผู้บังคับบัญชาด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง  แต่จะประจบผู้บังคับบัญชาด้วยการปฏิบัติงานโดยปราศจากความกังวลใจ

การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีความเป็นธรรม ถูกต้อง โปร่งใส ในกระบวนการของการประเมินผลการปฏิบัติงาน และให้มีความเข้าใจร่วมกันระหว่างผู้รับการประเมินและผู้ประเมิน ว่าจะมีการประเมินผลการปฏิบัติงานในงานชิ้นใด จะประเมินเรื่องใด และประเมินอย่างไร เป็นสิ่งท้าทายผู้บริหาร และทีมบริหารอย่างยิ่ง

หลักการเบื้องต้นของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1. เน้นการประเมินเพื่อการพัฒนา

2. มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้

3. มีความเป็นธรรมกับผู้รับการประเมิน

4. เป็นที่ยอมรับของบุคลากรส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นผู้บริหาร ผู้ประเมิน และผู้รับการประเมิน

5. มีประสิทธิภาพและสามารถนำไปใช้ปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรได้จริง

6. การประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นส่วนเดียวกับระบบทรัพยากรมนุษย์

วัตถุประสงค์ของการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1. เพื่อพัฒนาบุคลากร และเพื่อเป็นการปรับปรุงงาน

2. เพื่อทราบว่าบุคลากรปฏิบัติงานสำเร็จตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้เพียงใด

3. เพื่อเป็นการประเมินพัฒนาสายอาชีพของบุคลากร

4. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาความดี ความชอบประจำปี

5. เพื่อพัฒนาทักษะ และสมรรถนะของบุคลากรให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กร

6. เพื่อให้เห็นสภาพปัญหาและอุปสรรคในการทำงานเพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงระบบ และพัฒนาบุคลากร

หลักการประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้การประเมินแบบ 360 องศา ได้แก่ผู้บังคับบัญชา(ผู้ประเมินหลัก) เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา/ผู้รับบริการ และแหล่งข้อมูลอื่น ทั้งนี้อาจให้ผู้รับการประเมินประเมินตนเองด้วยก็ได้

รูปแบบและแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน

1. รูปแบบและแนวทางเกี่ยวกับผู้ประเมิน

1.1 ผู้ประเมินจะอยู่ในรูปแบบคณะกรรมการและมีการกลั่นกรอง 2 ระดับ เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้ง

1.2 ผู้ประเมินต้องได้รับการอบรมและพัฒนาให้สามารถประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีมาตรฐานเหมือนกัน

1.3 ผู้ประเมินต้องสามารถชี้บ่งจุดอ่อน/จุดแข็งของผู้รับการประเมินได้

1.4 ผู้ประเมินต้องสามารถสอนแนะผู้รับการประเมินระหว่างการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้

2. รูปแบบและแนวทางเกี่ยวกับผู้รับการประเมิน

2.1 ผู้รับการประเมิน/บุคลากรต้องมีส่วนร่วมในการประเมินโดยการแสดงความคิดเห็น รับรู้ และยอมรับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเป้าหมายในการประเมิน และต้องทำข้อตกลงร่วมกับ ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นก่อนถึงรอบการประเมิน

2.2 ต้องมีกระบวนการและวิธีการในการปรับปรุงและพัฒนาบุคลากรรายบุคคลอย่างเหมาะสม และเป็นที่ยอมรับ

3.รูปแบบและแนวทางเกี่ยวกับกระบวนการและวิธีการประเมิน

3.1การประเมินประกอบด้วย 2 ส่วน คือ การประเมินผลงานตามข้อตกลง และการประเมินทักษะและความสามารถเชิงสมรรถนะ (Competency) โดยมีสัดส่วนข้อตกลง ทักษะและความสามารถเชิงสมรรถนะตามที่กำหนด ของแต่ละสายของบุคลากร

3.2การประเมินความสามารถเชิงสมรรถนะ เป็นการประเมิน 360 องศา โดยเป็นการประเมินจากผู้บังคับบัญชาเบื้องต้น ร้อยละ 60 และผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นอีกร้อยละ 40

3.3การประเมินนี้ใช้กับข้าราชการและลูกจ้างทุกคน การนำผลการประเมินไปใช้

1. ผลการประเมินการปฏิบัติงานของบุคลากรจะต้องได้คะแนนผลการปฏิบัติงานไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จึงถือว่าผ่านการประเมิน ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนประเมินแต่ละส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของคะแนนผลการประเมินในแต่ละส่วน จึงจะถือว่าผ่านการประเมิน

2. ผู้ได้รับคะแนนการประเมินต่ำกว่าร้อยละ 60 จะได้รับการวางแผนเพื่อการพัฒนารายบุคคลจากผู้บังคับบัญชาเป็นพิเศษ

3. สำหรับผู้ที่ได้รับคะแนนมากกว่าร้อยละ 60 จะต้องได้รับการพัฒนาในจุดอ่อน และเสริมจุดแข็งเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตัวเองด้วย

4. ผลการประเมินส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการพิจารณาเส้นทางสายอาชีพ (Career path) ของบุคลากรในบางตำแหน่งและบางระดับ

5. ผลการประเมินส่วนที่จะนำไปประเมิน/พิจารณาความดีความชอบนั้น จะต้องปรับและดำเนินการให้สอดคล้องกับระบบการประเมิน และเกณฑ์การพิจารณาความดีความชอบของ กพ

เหตุใดจึงต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงาน

คำตอบที่ถูกต้องของการประเมินผลงานก็คือ มีขึ้นเพื่อที่จะดูว่า ผลงานของพนักงานในปีนี้เป็นอย่างไร มีอะไรที่เป็นจุดแข็ง อะไรที่เป็นจุดอ่อน เพื่อที่จะได้นำเอาไปใช้ในการวางแผนพัฒนาต่อไป เพื่อจะได้ทำให้พนักงานคนนั้นมีความสามารถที่จะสร้างผลงานที่ดีขึ้นอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง

การประเมินผลการปฏิบัติงานมีความสำคัญต่อองค์การอย่างไร

3. ความสำคัญต่อองค์กร เนื่องจากผลสำเร็จขององค์กรมาจากผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน ดังนั้นการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานจะทำให้รู้ว่าพนักงานแต่ละคนปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายจากองค์กรอยู่ในระดับใด มีจุดเด่นหรือจุดด้อยอะไรบ้าง เพื่อองค์กรจะได้หาทางปรับปรุงหรือจัดสรรพนักงานให้เหมาะสมกับความสามารถ ซึ่งจะทำให้การ ...

หลักการประเมินผลการปฏิบัติงานข้อใดสำคัญที่สุด

“ความสอดคล้อง (Relevance) เป็นเกณฑ์ข้อแรกที่สำคัญที่สุด เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของการประเมินคือ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาองค์กร และการออกแบบการประเมินควรมีประเด็นที่ทำให้บุคลากรทุกคนในองค์กร สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กร”

การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีควรเป็นอย่างไร

“หลักการออกแบบการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้เกณฑ์ 6 ข้อ ได้แก่ 1) ความสอดคล้อง (Relevance) 2) ความเที่ยงตรง (Validity) 3) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) 4) ครอบคลุม (Comprehensive) 5) ใช้ได้จริง (Feasible) และ 6) แยกแยะได้ (Distinguish)”