การลงทุน มีความสําคัญอย่างไร

การลงทุน มีความสําคัญอย่างไร

  ผศ.ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล, CFP®
หัวหน้าโครงการพัฒนาวิชาการหลักสูตรใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพทางการเงิน
Thai Professional Finance Academy
www.thaipfa.com


หลายคนที่ต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในชีวิตและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุน
ในทางเลือกต่างๆ ที่นอกเหนือไปจากบัญชีเงินฝากธนาคารพาณิชย์ อาจมีคำถามว่า… จะกำหนดแนวทางในการลงทุนอย่างไรให้บรรลุเป้าหมายได้ตามที่ฝันไว้

คำตอบง่ายๆ อยู่ในซีรี่ส์ “ วางแผนลงทุน...ทางด่วนสู่ความมั่งคั่ง” ตอนนี้ ซึ่งผมจะนำบันได 6 ขั้นสู่ความมั่งคั่งตามสไตล์นักวางแผนการเงินมาตรฐานสากล CFP มาเล่าแบบย่นย่อให้เข้าใจง่ายๆ

“บันไดการลงทุนเพื่อต่อยอดความมั่งคั่ง” ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นกระบวนการนำเงินของคุณไปทำให้งอกเงย
ผ่าน 6 ขั้นตอน เพื่อให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงิน และได้รับอัตราผลตอบแทนตามที่คาดหวังภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่ก่อนที่คุณจะก้าวไปยังบันไดการลงทุนนั้น คุณต้องเตรียมเงินก้อนหนึ่งไว้สำหรับลงทุน โดยจำนวนเงินจะมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับความฝันของคุณว่ามีมากน้อยแค่ไหน และต้องการบรรลุเป้าหมายรวดเร็วเพียงใด

เคล็ดลับความสำเร็จที่จะทำให้คุณบรรลุเป้าหมายได้ อยู่ที่ “การเปลี่ยนทัศนคติในการออมและการลงทุน” แค่เปลี่ยนนิยาม “เงินออม” จาก “เงินที่เหลือจากการใช้จ่าย” เป็น “เงินที่ถูกกันไว้ก่อนนำไปใช้จ่าย” พูดง่ายๆ ก็คือ Pay Yourself First ” ก่อนนะครับ


บันได 6 ขั้นสู่ความมั่งคั่ง

บันไดขั้นที่ 1


เริ่มจาก “รวบรวมข้อมูลและกำหนดเป้าหมายในการลงทุน ” โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแผนการลงทุนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพหรือข้อมูลเชิงปริมาณ

ในการลงทุนเพื่อต่อยอดความมั่งคั่ง คุณจะต้องระบุเป้าหมายที่ต้องการบรรลุจากการวางแผนการลงทุน
ในครั้งนั้นๆ โดยจะต้องระบุเฉพาะเจาะจงว่าเป็นเป้าหมายอะไร ต้องการเงินเท่าไหร่ และระยะเวลาที่ต้องการบรรลุเป้าหมายยาวนานเท่าใด นอกจากนั้น ยังต้องสำรวจทรัพย์สินต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าจะสามารถแบ่งมาลงทุนทันทีเป็นจำนวนเงินเท่าใด และต้องคาดการณ์เงินลงทุนเพิ่มเติมที่สามารถนำมาลงทุนได้อีกในอนาคต

ข้อมูลเหล่านี้จะนำไปใช้คำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ เพื่อให้การลงทุนนั้นบรรลุเป้าหมายภายใต้
กรอบระยะเวลาและข้อจำกัดเกี่ยวกับทรัพยากรที่สามารถนำมาลงทุนได้ โดยกำหนดให้...

  • เงินที่สามารถนำมาลงทุนได้ทันทีหนึ่งจำนวนเป็น “มูลค่าปัจจุบัน” (PV)
  • เงินที่สามารถกันมาลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตได้อย่างต่อเนื่องเท่าๆ กันเป็นงวดเป็น “เงินงวด” (PMT)
  • เงินที่ต้องการนำไปใช้สำหรับการบรรลุเป้าหมายที่ต้องการเป็น “มูลค่าอนาคต” (FV)
  • กรอบระยะเวลาที่ต้องการบรรลุเป้าหมายเป็น “จำนวนปี” (n)

คุณอาจป้อนข้อมูลเหล่านี้ลงในเครื่องคิดเลขทางการเงินรุ่นต่างๆ หรือโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อให้คำนวณหาอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ (i) สำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้เครื่องคิดเลขทางการเงิน อาจติดตามอ่านบทความของ TSI เพิ่มเติมได้จากบทความเรื่อง“ มูลค่าเงินตามเวลา” ทั้ง 4 ตอนในหมวดการวางแผนการเงิน

นอกจากนั้นแล้ว คุณอาจต้องเก็บรวบรวมข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นลำดับความสำคัญของเป้าหมาย
ที่ต้องการ ช่วงอายุของผู้ลงทุน และข้อจำกัดในการลงทุนต่างๆ เช่น ระยะเวลาการลงทุน (Time Horizon) ความต้องการสภาพคล่อง (Liquidity ) ภาระภาษี (Tax Consideration) ข้อจำกัดทางกฎหมาย (Legal and Regulatory Issue) และ ข้อจำกัดเฉพาะของผู้รับคำปรึกษาแต่ละราย (Unique Circumstances) โดย ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในบันไดขั้นต่อไปเพื่อประเมินระดับความทนต่อความเสี่ยง (Risk Tolerance) ที่คุณยอมรับได้

สมมติฐานเชิงปริมาณต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนในทางเลือกต่างๆ อัตราเงินเฟ้อ และอัตราภาษี รวมทั้งข้อมูลเชิงคุณภาพอื่นๆ เช่น แนวทางในการคำนวณหาอัตราผลตอบแทนคาดหวัง ความถี่ในการวัดผลการดำเนินงาน หลักเกณฑ์ในการพิจารณาผลการดำเนินงาน และแนวทางในการปรับสัดส่วนการลงทุนในระยะสั้น ก็เป็นข้อมูลที่ผู้ลงทุนจำเป็นต้องเก็บรวบรวมในขั้นตอนนี้ เนื่องจากจะต้องถูกนำไปใช้เพื่อวางแผนการลงทุนในขั้นตอนต่อๆ ไป


บันไดขั้นที่ 2

ตรวจสอบระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และข้อจำกัดในการลงทุนของตนเอง” เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะส่งผลให้แผนการลงทุนของคุณเป็นแผนที่ทำให้คุณมีความสุข ทานอิ่มนอนหลับหรือกล่าวได้ว่า... เป็นแผนการลงทุนที่ “Eat Well Sleep Well”

ถ้าจะให้อธิบายความเพิ่มเติมก็หมายความว่า... การวางแผนการลงทุนนั้นจะต้องบรรลุผล 2 ประการ คือ ส่งผลทำให้ผู้ลงทุนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือทานอิ่มนั่นเอง ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นแผนทางการเงินที่ทำให้คุณนอนหลับใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุขได้ ไม่ต้องกังวลใจตุ๊มๆ ต่อมๆ ตลอดเวลาว่าราคาหลักทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงไปจนเกินขีดจำกัดที่ยอมรับได้

คุณต้องวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ทั้งในมิติของ “ความเต็มใจในการยอมรับความเสี่ยง” (Willingness to Take Risk) และ “ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง”(Ability to Take Risk) ด้วย

ความเต็มใจในการยอมรับความเสี่ยง” คุณสามารถวิเคราะห์ ได้ด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับทัศนคติในเรื่องความเสี่ยง เช่น...

  • คุณมองเห็นความเสี่ยงเป็นโอกาสขาดทุน หรือมองเห็นความเสี่ยงเป็นความไม่แน่นอนของราคาหลักทรัพย์ เพราะความผันผวนของราคา อาจส่งผลทำให้คุณซื้อหลักทรัพย์ได้ในราคาถูกและขายต่อได้ในราคาแพง
  • คุณต้องการผลตอบแทนในรูปแบบใด ถ้าหากคุณต้องการผลตอบแทนประจำที่ค่อนข้างสม่ำเสมอ
    นั่นหมายความว่าคุณมีระดับความเต็มใจที่จะยอมรับความเสี่ยงต่ำ แต่ถ้าหากคุณต้องการผลตอบแทนจากการเพิ่มมูลค่าของเงินลงทุนให้สูงขึ้นมากๆ นั่นหมายความว่าคุณมีระดับความเต็มใจที่จะยอมรับความเสี่ยงสูง
  • คุณมีประสบการณ์การลงทุนเป็นอย่างไรในอดีต ถ้าหากคุณนำเงินออมไปเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์ทั้งหมด ย่อมหมายความว่าคุณมีระดับความเต็มใจที่จะยอมรับความเสี่ยงต่ำ แต่ถ้าหากคุณมีการลงทุนในทางเลือกต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น... ตราสารหนี้ ตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์ กองทุนรวม รวมไปถึงทางเลือกอื่นๆ เช่น อสังหาริมทรัพย์ นั่นย่อมหมายความว่าคุณมีระดับความเต็มใจที่จะยอมรับความเสี่ยงสูง

“ ความสามารถในการยอมรับความเสี่ยง” โดยคุณอาจวิเคราะห์ได้จาก... อายุ ฐานะการเงิน ความสำคัญของเป้าหมายการลงทุน ระยะเวลาการลงทุน และระดับความต้องการสภาพคล่อง

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ลงทุนที่มีอายุมาก ผู้ที่มีฐานะการเงินไม่ค่อยมั่นคง หรือผู้ที่มีเป้าหมายการลงทุนที่มีความสำคัญสูง หากไม่บรรลุเป้าหมายแล้วอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินชีวิต รวมถึงผู้ที่มีระยะเวลาการลงทุนสั้น หรือผู้ที่ต้องการสภาพคล่องสูง จะต้องระมัดระวังในการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจากผู้ลงทุนในกลุ่มนี้มีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงที่ต่ำ

ในทางตรงกันข้าม ผู้ลงทุนที่มีอายุน้อย ผู้ที่มีฐานะการเงินมั่นคง หรือผู้ที่มีเป้าหมายการลงทุนที่มีความสำคัญในลำดับที่ไม่สูงมาก หากไม่บรรลุเป้าหมายแล้วอาจไม่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการดำเนินชีวิตมากนัก รวมถึงผู้ที่มีระยะเวลาการลงทุนค่อนข้างยาวนาน หรือผู้ที่ไม่ได้ต้องการสภาพคล่องสูง อาจสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้ เนื่องจากผู้ลงทุนในกลุ่มนี้มีความสามารถในการยอมรับความเสี่ยงสูง อาจมีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราที่สูง จึงไม่จำเป็นต้องกันเงินมาลงทุนเป็นจำนวนมาก สามารถแบ่งเงินที่เหลือไปลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สำคัญและมีระยะเวลาการลงทุนสั้นๆ ได้มากขึ้น

ทั้งนี้ คุณอาจปรึกษาสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่ในการขายหลักทรัพย์ต่างๆ ซึ่งมักจะจัดทำแบบสำรวจระดับ
ความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของผู้ลงทุน เพื่อให้ช่วยวิเคราะห์ระดับการยอมรับความเสี่ยงของคุณได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น หรือทดลองทำได้ที่เว็บไซต์ตลาดหลักทรัพย์ฯ >> คลิกที่นี่


บันไดขั้นที่ 3

ออกแบบพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสม” เป็นการออกแบบสัดส่วนของทางเลือกลงทุนต่างๆ ให้เหมาะกับอัตราผลตอบแทนที่ต้องการ และอยู่ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

การลงทุน มีความสําคัญอย่างไร

หมายเหตุ : กำหนดให้อัตราผลตอบแทนต่อปีจากการลงทุนในหุ้น 12% ตราสารหนี้ 5% และเงินฝาก 1%

ที่มา : หนังสือจัดทัพลงทุน, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย


บันไดขั้นที่ 4

“จัดทำนโยบายการลงทุน โดยการสรุปแผนการลงทุนแล้วนำมาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร


บันไดขั้นที่ 5

“ลงทุนตามนโยบายการลงทุน การจะลงทุนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้นั้น อาจจะช้าหรือเร็วแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับนโยบายการลงทุนที่เลือก และปัจจัยอื่นๆ


บันไดขั้นที่ 6

“ติดตามและการวัดผลการลงทุน การลงทุนที่ดีต้องมีการตรวจสอบว่าเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้หรือไม่ และมีการทบทวนแผนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

สำหรับท่านที่อยากทราบว่า... จะลงทุนตามนโยบายการลงทุนเชิงรุกเชิงรับเพื่อต่อยอดความมั่งคั่งได้อย่างไร รวมทั้งมีวิธีการติดตามและวัดผลการลงทุนอย่างไร ก็คงต้องติดตามซีรี่ส์ “ วางแผนลงทุน...ทางด่วนสู่ความมั่งคั่ง” ในตอนต่อๆ ไปแล้วนะครับ ถ้าหากสัปดาห์ไหนไม่ได้อ่าน ระวังจะคุยกับใครเรื่องการลงทุนไม่รู้เรื่องนะครับ

******************************************************************

ติดตามบทความเกี่ยวกับการเงินและการลงทุนที่น่าสนใจอื่นๆ ได้ที่ www.set.or.th/education

การลงทุนมีความสำคัญอย่างไรบ้าง

"การลงทุน" หมายถึง การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออมปัจจุบัน ให้ได้รับผลตอบแทนจากการใช้จ่ายนั้นในอนาคต ซึ่งผู้ลงทุนเชื่อว่า เงินสดหรือผลตอบแทนส่วนเพิ่มที่จะได้รับคืนนั้น จะสามารถชดเชยระยะเวลา อัตราเงินเฟ้อ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างคุ้มค่า หรืออาจกล่าวได้ว่า การลงทุนเป็นการออมเพื่อให้ได้รับผล ...

การลงทุนเกิดประโยชน์แก่ผู้ออมอย่างไร

เมื่อเริ่มออมและคิดจะลงทุนทำให้เรารู้จักวางแผนเป็นองค์รวม ทั้งการใช้ การออม การแบ่งเงินเพื่อเป้าหมายต่างๆ การป้องกันความเสี่ยงทางการเงิน การลงทุน รู้จักจัดสรรเงินเพื่อเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาวได้อย่างถูกต้อง นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยเตรียมความพร้อมในแต่ละช่วงชีวิต ทั้งช่วงเริ่มทำงาน สร้างครอบครัว และ ...

การลงทุนเป็นยังไง

การลงทุน ความหมายการลงทุน คือ การนำเงินที่เก็บสะสมไปสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่าการออม โดยการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล หรือหลักทรัพย์ต่าง ๆ ซึ่งจะมี ความเสี่ยง ที่สูงขึ้น การลงทุนส่วนบุคคล

จุดประสงค์ของการลงทุนคืออะไร

ตัวอย่าง วัตถุประสงค์ในการลงทุน เช่น ลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินต่าง ๆ ได้แก่ ซื้อรถ ซื้อบ้าน ศึกษาต่อต่างประเทศ หรือลงทุนเพื่อให้เงินงอกเงยเพียงพอสำหรับ การใช้จ่ายหลังเกษียณ​ หรือลงทุนเพื่อลดหย่อนภาษี และยังมีคำถามที่ตามมา คือ ต้องการเงินจำนวนเท่าไหร่ เพื่อใช้ทำอะไร ภายในระยะเวลาเท่าไหร่ ระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี)