ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

สถานที่ติดต่อ

กทม.
ศูนย์บริการประชาชน สำนักการสอบสวนและนิติการ กรมการปกครอง (วังไชยา)

ต่างจังหวัด
ที่ทำการปกครองอำเภอ 

เอกสาร/หลักฐานที่ใช้

1. บัตรประจำตัวประชาชน
2. หนังสือเดินทาง/หนังสือสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว
- เอกสารต้องเปลเป็นภาษาไทย - หนังสือเดินทางสำหรับชาวต่างชาติ ต้องออกโดยประเทศเจ้าของสัญชาติ)
3. ใบอนุญาตให้ทำงาน
4. ทะเบียนพาณิชย์
5. หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล(กรณีนิติบุคคล)
6. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ทำการค้า หรือหลักฐานการเป็นเจ้าของสถานที่ทำการค้าหรือสัญญาเช่า
7. รูปถ่ายหน้าตรงขนาด 2 นิ้ว 3 รูป
8. ใบอนุญาตจากกรมศิลปากร (กรณีประกอบอาชีพขายทอดตลาด หรือ ค้าของเก่า ประเภทโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ)9. ใบอนุญาตให้ประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  (กรณีประกอบการซื้อขายเศษวัสดุ (วัสดุรีไซเคิล))

ค่าธรรมเนียม

1. การขายทอดตลาด 15,000 บาท
(หมายเหตุ: (ใบอนุญาตขายทอดตลาดและค้าของเก่า ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต))
2. การค้าของเก่า ประเภทโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 12,500 บาท
(หมายเหตุ: (1. ใบอนุญาตขายทอดตลาดและค้าของเก่า ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต 2. การค้าของเก่าหลายประเภท เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงสุดประเภทเดียว))
3. การค้าของเก่า ประเภทเพชร พลอย ทอง นาก เงินหรืออัญมณี 10,000 บาท
(หมายเหตุ: (1. ใบอนุญาตขายทอดตลาดและค้าของเก่า ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต 2. การค้าของเก่าหลายประเภท เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงสุดประเภทเดียว))
4. การค้าของเก่า ประเภทรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์  7,500 บาท
(หมายเหตุ: (1. ใบอนุญาตขายทอดตลาดและค้าของเก่า ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต 2. การค้าของเก่าหลายประเภท เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงสุดประเภทเดียว))
5. การค้าของเก่า ประเภทอื่น ๆ  5,000 บาท
(หมายเหตุ: (1. ใบอนุญาตขายทอดตลาดและค้าของเก่า ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต 2. การค้าของเก่าหลายประเภท เรียกเก็บค่าธรรมเนียมสูงสุดประเภทเดียว))

ระยะเวลา

12 วันทำการ

หมายเหตุ

คุณสมบัติ
1. มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
2. มีความรู้หนังสือไทยพออ่านออกเขียนได้
3. เป็นผู้ไม่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดเกี่ยวกับเงินตรา ความผิดเกี่ยวกับดวงตราแสตมป์ และตั๋ว ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ความผิดเกี่ยวกับการค้า ความผิดฐานลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชกทรัพย์ รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอกทรัพย์ และรับของโจร
คำเตือน
 ผู้ประกอบการอาชีพขายทอดตลาดและค้าของเก่าโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หมายเหตุ :
1.ใบอนุญาตขายทอดตลาดและค้าของเก่า ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม ของปีที่ออกใบอนุญาต
2.สามารถขอต่อใบอนุญาตได้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของทุกปี
3. ใบอนุญาตขาดอายุต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000บาท

ทำความรู้จักอุตสาหกรรมรีไซเคิลในไทยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ที่แม้มีบทบาทมากในการรีไซเคิลขยะในไทย แต่ก็ยังมีข้อจำกัด รวมถึงความเปราะบางสารพัดที่มีเพียงพวกเขาที่เข้าใจกันเอง

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

กระป๋องอลูมิเนียมในกระสอบใบใหญ่ถูกจัดวางไว้ในโกดัง อาจรอการส่งไปขายต่อหรือบีบอัดให้ได้ขนาดที่เล็กลงและน้ำหนักที่มากขึ้น

ซาเล้งและการรับซื้อของเก่ามีความสำคัญมากต่อการรีไซเคิลขยะในไทย การเห็นรถซาเล้งทุกเมื่อเชื่อวันและธุรกิจรับซื้อของเก่าที่กระจายตัวอยู่ทั่วประเทศคือหลักฐานที่พิสูจน์ว่าขยะเป็นเงินเป็นทอง

ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษระบุว่า ขยะมูลฝอยจากทั่วประเทศในปี 2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 26.19 ล้านตัน นำกลับมาใช้ใหม่ (รีไซเคิล) ได้เพียง 4.82 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 18  โดยร้อยละ 76 ของการนำกลับไปใช้ใหม่มาจากซาเล้งและผู้ประกอบการรับซื้อของเก่า ในปี 2562 ไทยพีบีเอสรายงานว่า ประเทศไทยสร้างขยะมูลฝอยทั้งหมด 28.7 ล้านตัน นำไปรีไซเคิลได้ 12.6 ล้านตัน ในจำนวนนั้นเป็นพลาสติกถึง 9 ล้านตัน สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการรีไซเคิลขยะที่เพิ่มขึ้น

ข้อมูลปี 2562 จากรายงานสถานการณ์ขยะพลาสติกโลก (Plastic Atlas) จากมูลนิธิ Heinrich Boell Stiftung (HBS) มูลนิธิที่มีความเกี่ยวข้องกับพรรคกรีน ประเทศเยอรมนีสำรวจผู้มีอาชีพเก็บขยะ 763 คนในเอเชีย แอฟริกาและละตินอเมริกา พบว่าร้อยละ 65 จากผู้ตอบแบบสอบถามมีรายได้หลักจากการเก็บขยะขาย สะท้อนความสำคัญทางเศรษฐกิจของขยะในหลายแห่งทั่วโลกโดยเฉพาะพื้นที่ประเทศกำลังพัฒนา

แม้ขยะจะกลายเป็นเงินเป็นทอง แต่ผู้คนในวงการต่างรับทราบถึงความเปราะบางของอาชีพนี้ที่ถูกบีบจากนโยบายรัฐ กฎหมาย รวมถึงคนภายในวงการกันเอง

รู้จักวงจรรับซื้อของเก่าในไทยไวๆ

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

  • เป้าหมายของการค้าในธุรกิจรับซื้อของเก่าก็เหมือนธุรกิจอื่นคือซื้อให้ถูกแล้วขายให้แพง
  • ในระดับต้นทาง จะมีโรงงานที่ต้องการวัสดุรีไซเคิลแจกจ่ายสัดส่วนการรับซื้อให้กับตัวแทนรับซื้อในลักษณะเซ็นสัญญาเป็นโควตา ตัวแทนฯ จะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้กับโรงงานในการป้อนวัตถุดิบด้วยการจัดการเรื่องการรับซื้อ รวบรวม จัดส่งและจัดการธุระทางภาษีมูลค่าเพิ่มให้โรงงาน กระบวนการกำหนดราคาจะเริ่มตรงนี้ จากนั้นราคาจะลดหลั่นลงไปตามร้านรับซื้อของเก่าไปจนถึงซาเล้ง

  • ขยะจะถูกเก็บและคัดแยกโดยซาเล้ง แบ่งเป็นชนิดตามที่ร้านรับ แบ่งคร่าวๆ ได้หลายประเภท เช่น กระดาษ พลาสติก เหล็ก ทองแดง ทองเหลือง อลูมิเนียม
  • สินค้าบางชนิดหากมีสภาพที่ดูสมบูรณ์ก็จะมีการรับซื้อเป็นชิ้น เช่น แบตเตอรีหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ
  • ขยะจะถูกส่งไปขายต่อไปยังสถานประกอบการรับซื้อของเก่าที่มีขนาดโกดังเก็บของใหญ่ขึ้น จำนวนการส่งที่เยอะขึ้นก็หมายถึงส่วนต่างที่เป็นกำไรจะเยอะขึ้น ราคาขยะแต่ละประเภทอาจจะต่างกันในแต่ละร้านตามความสนใจของเจ้าของกิจการที่อยากจะ “เล่น” ขยะชนิดใดเป็นพิเศษ
  • ขยะจะถูกเก็บรวบรวมแล้วไปส่งทีละมากๆ บางร้านที่มีเครื่องอัดก็จะอัดเป็นก้อนเพื่อให้ได้น้ำหนักเยอะและเพิ่มพื้นที่ในการเก็บและขนส่ง ก่อนจะส่งไปร้านที่ใหญ่กว่า ตัวแทนฯ หรือโรงงานอุตสาหกรรมด้วยตนเอง

ความลำบากใจที่จุดล่างสุดของห่วงโซ่อุปทานของเก่า

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

รถซาเล้งและกองขยะที่รอการขายคือภาพที่เห็นจนชินตาในซอยเสือใหญ่อุทิศ

ความคึกคักตามแบบฉบับของโซนที่อยู่อาศัยของชนชั้นกลางและนักศึกษา เป็นเพียงฉากหน้าของซอยเสือใหญ่อุทิศ (รัชดาภิเษก 36) พื้นที่ซื้อ-ขาย จัดส่งเศษขยะครบวงจรในพื้นที่ด้านหลังที่เชื่อมต่อกับซอยลาดพร้าว-วังหิน ซึ่งเป็นที่อยู่ของซาเล้งกว่า 300 ครัวเรือนและร้านรับซื้อของเก่าอีกจำนวนมาก ตามซอกซอยจะสามารถเห็นเศษขยะสารพัดสิ่งตั้งแต่ขวดแก้ว กระดาษ ตู้เย็นหลายขนาดไปจนถึงซากรถ แม้ถูกจัดวางระเกะระกะ แต่ก็จัดแยกอย่างเป็นระเบียบเพื่อเตรียมพร้อมขาย

เกษ โยธี อายุ 58 ปี หนึ่งในผู้ประกอบอาชีพซาเล้งในพื้นที่ซอยเสือใหญ่อุทิศมาอย่างยาวนานให้สัมภาษณ์กับประชาไทในขณะที่เพื่อนและญาติร่วมบ้านในสลัมกำลังจัดแพ็คเสื้อผ้าเด็ก หนึ่งในลำไพ่เสริมในช่วงที่เศรษฐกิจซบเซาจากราคากระดาษและพลาสติก หลังจากการสัมภาษณ์ เธอจะพาเพื่อนและหลานๆ ขึ้นรถซาเล้งไปขายเสื้อผ้าเด็ก ดอกไม้และสิ่งของที่ชั่งกิโลฯ ซื้อหรือได้รับบริจาคมาแต่ยังพอไปขายเป็นชิ้นได้ที่ตลาดนัด

เกษคือหนึ่งในผู้ประสบภัยจากการนำเข้าพลาสติกและกระดาษของรัฐบาลไทยไม่ต่างจากซาเล้งคนอื่นๆ สามีของเกษเป็นผู้แทนชาวซาเล้งในซอยเสือใหญ่ที่ไปเข้าพบกับจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทวงพาณิชย์พร้อมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อหาทางออกให้กับราคากระดาษที่ลดลงฮวบฮาบจากนโยบายนำเข้าขยะจากต่างประเทศที่เป็นข่าวมาตั้งแต่ปี 2561

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

เกษ โยธี ถ่ายในพื้นที่ที่เป็นทั้งบ้านพักอาศัยและที่เก็บขยะเพื่อนำไปขายต่อ

การนำเข้าขยะจากต่างประเทศเป็นศัตรูที่สำคัญของวงการรับซื้อของเก่าเพราะมันทำลายกลไกกำหนดราคาจนขยะในประเทศไม่มีราคา แผลสดที่วงการรับซื้อของเก่าเพิ่งเจอคือการนำเข้าขยะกระดาษและพลาสติกจากต่างประเทศเมื่อกลางปี 2561 เมื่อสาธารณรัฐประชาชนจีนยกเลิกการนำเข้าขยะจากประเทศอื่น นัยของการนำเข้าขยะ พูดง่ายๆ คือการรับจ้างเป็นที่ทิ้งขยะนั่นเอง ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจนจีนเลิกนำเข้า

การปิดถังขยะใบหนึ่งนำมาซึ่งการเปิดถังขยะใบอื่นๆ เมื่อกระดาษและพลาสติกถูกกระจายไปยังประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย การเข้ามาของขยะที่ไม่มีต้นทุนในการซื้อ จัดเก็บและขาย ตามมาด้วยการประมูลเพื่อนำขยะเหล่านั้นเข้าโรงงาน ขยะที่นำเข้าจึงมีราคาซื้อที่ถูกกว่าขยะในวงจรการรีไซเคิล เมื่อมีสินค้ามากขึ้นย่อมทำให้ราคาของเก่าในตลาดลดลงตามกลไกตลาด

ชัยยุทธิ์ พลเสน นายกสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าให้ข้อมูลว่า ของเก่าที่มีการเก็บมามากที่สุดในงานรีไซเคิลคือกระดาษ พลาสติกและเศษแก้ว ตามลำดับ เพราะเป็นสินค้าพื้นฐานที่ทุกหลังคาเรือนมี ส่วนเหล็ก โลหะ ทองแดง ทองเหลือง สแตนเลสที่มีราคามากขึ้นมักจะมีไม่เยอะ การนำเข้าขยะเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาขยะในเมืองไทยถูกกดลงทันทีเพราะโรงงานที่รับสินค้าก็มีจำนวนเท่าเดิม

เขายกตัวอย่างราคากระดาษลังที่ตกลงในช่วงเดือน ม.ค. - พ.ย. ปี 2562 ว่า จากเดิมที่หน้าโรงงานอุตสาหกรรมเตาหลอมรับอยู่ที่ กก. ละ 6 บาท จากนั้นเดือน มี.ค. เม.ย. ตกลงมาเหลือ 5 บาท เรื่อยมาถึงเดือน ก.ย. - ต.ค. ลดลงมาเหลือ 2 บาท คนทำมาค้าขายแทบจะไม่ได้อะไรจากส่วนต่างเลย เพราะต้องหักค่าขนส่งและต้นทุนต่างๆ

เหตุการณ์เดียวกันก็เกิดกับพลาสติกเช่นกัน ชัยยุทธิ์เล่าว่ามีโรงงานเล็กๆ ที่มาจากจีน เปิดโรงงานรับของจากภายนอก เพื่อเข้ากระบวนการรีไซเคิล แต่ไม่รับของเก่าจากซาเล้ง เมื่อมีการทำเช่นนี้ โรงงานใหญ่ๆ ที่เคยขายวัสดุรีไซเคิลได้ก็ขายไม่ได้ ต้องขอโควตาเศษขยะนำเข้าบ้างเพื่อลดต้นทุนสู้กับโรงงานโรงเล็ก ทำให้เศษขยะในเมืองไทยที่พร้อมรีไซเคิลไม่สามารถขายได้ หรือขายก็ไม่ได้ราคา

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

ซาเล้งรับถุงยังชีพจากสมาคมการค้าผู้ประกอบการค้าของเก่าไทยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2563 ที่การล็อกดาวน์และราคาของเก่าจำพวกพลาสติกและกระดาษตกต่ำทำให้ซาเล้งได้รับผลกระทบอย่างมาก

จากการสัมภาษณ์ช่วงเดือนกรกฎาคม เกษเล่าว่าราคาสินค้าตกต่ำ สมัยก่อน “ออกของ” (ออกไปหาของมาขาย) สามารถขายได้วันละ 300-400 บาท แต่ปัจจุบันต้องออกไปเก็บของ 2 รอบถึงจะได้เท่าเก่า นโยบายแก้ปัญหาราคากระดาษนั้นยังคงไปไม่ถึงซาเล้งในบางร้าน ราคากระดาษที่ขึ้นมาเป็น 1.50 บาท แต่ว่าราคารับซื้อหน้าร้านไม่เท่ากัน บางร้านก็ยังรับอยู่ที่ 1.10 บาท นอกจากกลไกราคาแล้ว วงจรหนี้สินที่เกิดจากการผ่อนรถซาเล้งที่บางคันก็เป็นการผ่อนกับร้านรับซื้อของเก่าก็เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจ เพราะการขายของหลายครั้งก็ถูกหักเงินเป็นค่างวด

“[ราคา]มันลงง่ายมาก ตอนที่ไปเรียกร้องก็ขยับให้หน่อยหนึ่ง แต่อย่าคิดว่าจะขึ้นเหมือนกันนะ ไม่เหมือนนะ บางร้านก็จะขึ้นให้ 10 สตางค์ 20 สตางค์ บางร้านก็จะลงอย่างเดียวเลย”

“ถ้าพูดแบบภาษาชาวบ้านก็คือ มึงพอใจขายกูมั้ยล่ะ ถ้ามึงไม่พอใจขายร้านกู มึงก็ขายร้านไหนไม่ได้ เพราะมันเป็นรถกู อย่างเงี้ย ยังไงมึงก็ต้องขายให้กู”

อีกเรื่องที่เกษพูดถึงคือ มีบ่อยครั้งที่การขายของถูกตัดทอนโดยร้านรับซื้อของเก่า เช่น ขายตะกั่ว สร้อย หรือแหวน 10 กก. อาจถูกร้านตัด 3 กก. โดยอ้างว่าเป็นน้ำหนักของเหล็กที่ปนมา เธอยกตัวอย่างกระดาษ สินค้าที่หลายครั้งถูกเพิ่มน้ำหนักด้วยการรดน้ำพอให้อมน้ำเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่ม เธอเล่าว่าร้านรับซื้อของเก่าจะรดน้ำใส่กระดาษก่อนไปส่งโรงงาน ซึ่งก็จะถูกโรงงานตัดราคาน้ำไปบ้าง แต่ก็ได้น้ำหนักเพิ่ม โดยราคาที่รับซื้อก็จะกำหนดโดยอาศัยการคำนวณแล้วว่าจะได้กำไรหลังถูกโรงงานตัดราคา ซาเล้งที่อยู่ท้ายสุดของห่วงโซ่ก็จะได้รับราคาที่ผ่านการตัดราคามาแล้วเป็นรายสุดท้าย

ความเปราะบางของพ่อค้า

ธวัช ไกรรักษ์ เจ้าของร้านรับซื้อของเก่า ‘ธวัช รีไซเคิล’ ร้านรับซื้อของเก่าที่เจ้าตัวระบุว่าใหญ่ในอันดับต้นๆ ของซอยเสือใหญ่ ร้านนี้คือผลของการเริ่มสะสมทุนมาเรื่อยๆ ตั้งแต่สมัยที่เขายังคัดแยกขยะไปขายตามร้านกับพ่อที่ทำงานกวาดถนนอยู่แถวห้วยขวางเมื่อปี 2536-37 ธวัชเล่าว่าสมัยก่อนธุรกิจนี้บูมมาก การเติบโตของธวัชรีไซเคิลที่เกิดจากการมองเห็นโอกาสทางธุรกิจจากพ่อที่เก็บขยะมาขายเป็นเครื่องยืนยันสมมติฐานได้เป็นอย่างดี

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

ธวัช ไกรรักษ์

นอกจากรับซื้อของจากซาเล้งและขาจรที่เก็บมาขายแล้ว ทางร้านของธวัชยังมีการนำของที่รับซื้อมาแยกชนิดขายเพิ่มเติมจากที่แยกมาแล้ว หรือขายเป็นหน่วยๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีที่ร้านรับซื้อของเก่าทำกำไรจากของที่ซื้อมา ของเก่าที่มีการประกอบชิ้นส่วนซับซ้อนอย่างเครื่องใช้ไฟฟ้ามักจะถูกถอดชิ้นส่วนมาแยกขาย ยกตัวอย่างเช่นมอเตอร์ในพัดลมหรือบัลลาสต์ของหลอดไฟที่จะมีขดลวดทองแดง วัสดุที่มีราคาดีอันดับต้นๆ ในวงการรับซื้อของเก่าอยู่ด้านใน

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

สายทองแดงที่ถูกปอกและรวบรวมไว้ในเข่ง

ธวัชเล่าว่าธุรกิจร้านรับซื้อของเก่าเคยได้รับผลกระทบอย่างหนักมาก่อนหน้าที่จะมีข่าวการนำเข้าพลาสติกและกระดาษแล้ว ก่อนปี 2562 ราคาเหล็กในวงจรอุตสาหกรรมรับซื้อของเก่าปรับตัวลดลงอย่างมาก สืบเนื่องจากการนำเข้าเหล็กที่ผลิตจากจีนทำให้ราคาเหล็กร่วงจาก 11-12 บาท เหลือ 2-3 บาทภายในเวลา 2-3 เดือน ถือเป็นอัตราที่รวดเร็วมาก ธวัชเองก็ขาดทุนไปหลายแสนบาท

เมื่อมีเหตุการณ์การนำเข้ากระดาษหรือพลาสติกจนวงจรราคาปั่นป่วน คนในอุตสาหกรรมรับซื้อของเก่าที่มีบทเรียนอยู่แล้วก็มีการปรึกษาหารือกัน จนท้ายที่สุดนำมาซึ่งภาพการรวมตัวกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่กระทรวงพาณิชย์

“มีการพูดคุยถึงความเดือดร้อนตั้งแต่วันที่ 7 (มิ.ย.) แล้วว่ามันแย่ มันเริ่มเข้าเนื้อ วันที่ 7 ก็เริ่มมีการประชุมเดือน 7 เดือน 8 เริ่มมีการประชุมกลุ่มย่อย ผมก็มีการประชุมกับกลุ่มซาเล้งหน้าร้าน ร้านของเก่าด้วยกันก็มีการไปนั่งกินข้าวพูดคุยกัน โรงอัดกระดาษก็เชิญเราไปนั่งคุย เชิญร้านของเก่าไปนั่งคุย เขาก็พูดกับเราตรงๆ ว่าเขาไม่ได้เป็นตัวกำหนดราคา โรงงานกระดาษเป็นคนกำหนดราคา”

“ก็มีการพูดคุยกันจนตกผลึกว่า ถ้าเราทำอย่านี้ต่อไป เราไม่รอด เพราะเราเคยเจอเศษเหล็กแล้ว มาเจอกระดาษอีก เราไม่รอดแน่ เพราะทุกคนทำเข้าเนื้อ เราอยู่ไม่ได้ ของน้อยลงไม่พอ คือของน้อยลงเพราะซาเล้งไม่เก็บมาส่ง พอของที่เราซื้อมารอเก็บไปส่งไม่เต็มคันเหมือนเดิม ราคาลง ก็ขาดทุนต่อเนื่องอีก จึงมีการพูดคุยกันจนเราก็ไปยื่นหนังสือที่กระทรวงพาณิชย์เพื่อขอเจรจากับโรงงานกระดาษโดยตรง” ธวัชกล่าว

ธวัชเล่าต่อไปว่า หลังการประชุมจำนวน 11 ครั้งและการผลักดันของจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รมว.กระทรวงพาณิชย์ ก็เกิดนโยบายประกันราคากระดาษขึ้น ราคากระดาษแม้ไม่ดีไปกว่าเดิมแต่ก็ไม่แย่ไปกว่าเดิม เมื่อเริ่มแรก ราคาโรงงานอยู่ที่ 3.20-3.50 บาท ต่อมาค่อยๆ ปรับดีขึ้นจนร้านธวัชสามารถรับราคากระดาษลังที่ 4.60 บาท และกระดาษสี 2.50 บาท (ข้อมูลเดือน ก.ย.63)

จากการต่อรองครั้งนั้นทำให้กลุ่มซาเล้งและผู้ประกอบการรับซื้อของเก่าเริ่มรวมตัวเป็นสมาคม โดยมีการจัดตั้งสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าในช่วงปี 2562 เพื่อเป็นช่องทางแจ้งข่าว ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับซื้อของเก่า และยังมีการจดทะเบียนกับซาเล้งด้วยเพื่อให้ข้อมูล แจ้งข่าว ต่อรองกับภาครัฐ และทำให้อาชีพซาเล้งที่ยังไม่สามารถจดทะเบียนวิชาชีพได้มีสถานภาพอะไรบางอย่าง ธวัชเองก็เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมด้วย

ในเครือข่ายการติดต่อสื่อสารของสมาชิกสมาคมฯ มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรื่องภาษีอยู่เรื่อยๆ ในช่วงเดือนกันยายน 2563 ก็เคยมีการจัดอบรมเรื่องขั้นตอนและแนวทางการจัดการเกี่ยวกับภาษีอย่างถูกต้องให้สมาชิกสมาคมฯ ไปแล้ว การจัดตั้งสมาคมฯ ครั้งนี้ถือเป็นการรวมตัวที่น่าจับตามองในแง่การเป็นผู้ต่อรองกับภาครัฐที่ชัดเจนในเรื่องการบริหารจัดการขยะโดยฝั่งทุน ก่อนหน้านี้สมาชิกของสมาคมฯ ก็มีส่วนผลักดันการไม่รับโควตาขยะพลาสติกจากต่างประเทศเข้ามา จนภาครัฐตัดสินใจไม่นำเข้าขยะพลาสติกเข้ามาในประเทศเมื่อกันยายน 2563

ภาษี: ภาร(ะ)กิจของวงการของเก่า

การจะเปิดร้านรับซื้อของเก่าอย่างถูกต้องนั้นต้องผ่านกระบวนการหลายอย่าง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พ.ศ. 2474 ผู้ประกอบการของเก่าจะต้องมีใบอนุญาตขายทอดตลาดและของเก่า 1 ใบต่อ 1 ร้าน ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ในฐานะที่เป็นพาณิชยกิจตาม พ.ร.บ. ทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ. 2499 นอกจากนั้น ร้านรับซื้อขยะรีไซเคิลยังจัดเป็นกิจการร้านรับซื้อของเก่า หรือสถานประกอบกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ 5/2538 ซึ่งต้องเสียค่าธรรมเนียมจดทะเบียนประกอบกิจการและเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราท้องถิ่นปีต่อปีตามแต่เทศบาลหรือ อบต. นั้นๆ จะกำหนด หรือที่เรียกกันในวงการว่า “ภาษีสังคมรังเกียจ” ข้อมูลจากสมาคมซาเล้งฯ ระบุว่าพิสัยที่เก็บอยู่ในอัตราปีละ 1,000-10,000 บาท

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

คนงานร้านธวัช รีไซเคิลนำของเก่าจำพวกโลหะลงจากหลังรถ

ธวัชเล่าว่า เรื่องภาษีเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการและซาเล้งยังขาดแคลนและทำตัวไม่ถูก สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการขาดความรู้ทั้งซาเล้งและผู้ประกอบการในเรื่องระบบจัดเก็บภาษี เช่น บางครั้งที่นำของไปส่ง ตัวแทนหรือโรงงานก็มีบางแห่งที่ไม่ให้ใบกำกับภาษีตามที่ขอ ในส่วนการซื้อของจากซาเล้ง บางทีก็เกินความรู้ความสามารถของผู้ซื้อและผู้ขายที่ทำใบเสร็จภาษีจ่าย ที่ร้านของธวัชมีการจ้างบริษัทบัญชีมาจัดการเรื่องภาษีให้ แต่การจ้างก็มีต้นทุนเดือนละหลายหมื่นซึ่งร้านรับซื้อของเก่าขนาดเล็กและขนาดกลางจะแบกรับต้นทุนเช่นนี้ได้อย่างไร

“แล้วภาษีที่คุณพยายามบีบทางสรรพากรมาบีบให้เก็บกับร้านของเก่าให้ได้ อยากขออนุญาตพูดความจริงให้คุณได้รู้ ว่าให้คุณมาคลุกคลีกับเรา มาเจอต้นตอของปัญหาที่แท้จริงพร้อมกับเรา เราจะได้ร่วมกันแก้ปัญหา เรายินดีที่จะเสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ความรู้และพื้นฐานเราไม่มี คุณจะทำยังไงให้เรามีความรู้พื้นฐานเพื่ออยู่ในกฎระเบียบที่คุณวางไว้ ไม่ใช่คุณมาเก็บเลย คุณจะเก็บๆ [พอ] เก็บไม่ได้แล้วคุณก็จะเก็บย้อนหลัง แต่เรามีความรู้ไหม หลายคนก็ตาสีตาสา มาจากบ้านนอก” ธวัชกล่าว พร้อมแย้มว่าทางสมาคมฯ วางแผนจะหารือกับกรมสรรพากรต่อไปในอนาคต

นอกจากความพัวพันกับการจดทะเบียนสารพัด อีกสิ่งที่แวดวงรับซื้อของเก่ามีความกังวลคือเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ต้องจ่ายจากการซื้อ-ขายขยะ ในวงจรการรับซื้อของเก่า บริษัทตัวแทนที่เป็นข้อต่อระหว่างร้านรับซื้อของเก่ากับโรงงานที่รับซื้อจะเป็นผู้จัดการเรื่อง VAT ไปในตัวหลังได้รับเงินจากทางโรงงานให้ไปจ่าย VAT แต่มีตัวแทนบางเจ้ายักยอกเงินภาษีก้อนนั้นเข้ากระเป๋าแล้วก็เงียบหายไป การไม่จ่ายภาษียังทำให้พวกเขาสามารถกำหนดราคารับซื้อสูงกว่าเจ้าที่ทำตามกติกา ทำให้กลไกราคาในวงจรของเก่าปั่นป่วน และร้านรับซื้อของเก่าก็ถูกตามตัวมารับโทษทางกฎหมายที่บางครั้งตัวเองก็ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ชัยยุทธิ์เล่าถึงที่มาของกลไกข้างต้นว่า เกิดจากการที่โรงงานไม่ได้เป็นผู้รับซื้อเองเพราะการจ่ายเงินของโรงงานทำเป็นแบบเครดิต 7-15 วันจะจ่ายครั้งหนึ่ง ซึ่งร้านของเก่าไม่ได้มีสายป่านยาวพอจะรอขนาดนั้น จึงเป็นตัวแทนที่มารับซื้อแทน หากเกิดเหตุการณ์ตัวแทนไม่นำส่ง VAT กว่ากรมสรรพากรจะใช้เวลาตรวจสอบก็กินเวลาไปถึงปิดงบตอนสิ้นปี กว่าจะรู้ว่ามีเรื่องมีราวก็คือตอนที่โรงงานทำเรื่องขอคืนภาษีถึงจะพบว่ามีปัญหา

เมื่อถึงเวลานั้น ตัวแทนเจ้ากรรมก็หายเงียบ กรมสรรพากรไม่มีกำลังเพียงพอจะไปตามจับ หวยจึงมาออกที่ร้านรับซื้อของเก่าที่ส่งสินค้าไปขายกับตัวแทนซึ่งสามารถสืบสาวได้จากเส้นทางการเงินที่จะโดนข้อหาสมรู้ร่วมคิด ทางสมาคมฯ จึงเห็นความสำคัญในการให้ความรู้กับร้านค้า ให้ทุกคนรู้ว่าราคาแบบไหนที่นับว่ารับซื้อแพงกว่าแบบผิดปกติ หรือให้ระวังตัวแทนที่มีประวัติน่าสงสัย

"ร้านที่กำลังทำมาหากินอยู่ดีๆ กรมสรรพากรก็เรียกเข้าไปคุยเลยว่า ไปขายเหล็กให้โรงงานxxx ผ่านตัวแทน แล้วเขาไม่เอา VAT ส่งให้กรมสรรพากร...กรมสรรพากรก็บอกว่าไปตามมาสิ เขาก็บอกว่าโทรไปแล้วเขาก็ปิดมือถือ ไปถึงออฟฟิศก็ตามแล้วก็ไม่ได้ กรมฯ ก็บอกว่าตามอยู่ แต่ต้องให้ตำรวจตามต่อไป เขาก็มีหน้าที่ต้องมาจัดการ ในเมื่อไม่มีหลักฐานชัดเจน ตามไม่ได้ ก็จะมีเรื่องออกใบกำกับภาษีปลอม ก็ต้องไปลงรายละเอียดในกฎหมายต่อไป"

"ประเด็นคือร้านเขาไม่ตั้งใจโกง ถ้าตั้งใจโกงเขาก็ปิดร้านไปแล้ว” ชัยยุทธิ์กล่าว พร้อมเสนอแนะให้โรงงานเป็นผู้จ่าย VAT กับสรรพากรเองโดยตรงจะดีกว่าเพื่อตัดกระบวนการที่เป็นปัญหานี้

ช่องว่างที่รอการเติมเต็มในวงจรรีไซเคิล

รัฐไทยทั้งองคาพยพมีความตั้งใจมากแค่ไหนกับนโยบายลดและจัดการขยะยังคงเป็นที่น่าตั้งคำถาม ข้อมูลเดือนตุลาคม 2563 จากกรมศุลกากรระบุว่า ไทยยังนำเข้าขยะพลาสติก ภายใต้พิกัดศุลกากรหมายเลข 3915 (เศษ เศษตัดและของที่ใช้ไม่ได้ ที่เป็นพลาสติก) อยู่ถึง 8,715 ตันจาก 22 ประเทศ โดยนำเข้าจากจีนมากที่สุด เป็นมูลค่ารวม 10,038,664 บาท มูลค่าการแลกเปลี่ยนนี้เกิดขึ้นแม้ในยามที่ไทยไม่เปิดรับโควตานำเข้าพลาสติกไปตั้งแต่ 30 ก.ย. แล้ว

เช่นเดียวกันกับความสำคัญของวงการซาเล้งรับซื้อของเก่าต่อการรักษาสิ่งแวดล้อม แม้มีบทบาทมากในการจัดการขยะในประเทศ แต่ก็ยังมีคำถามเรื่องข้อจำกัดด้วยกลไกราคา รายงาน Plastic Atlas ระบุว่าการใช้กลไกตลาดจัดการรีไซเคิลขยะมีปัญหาว่า เมื่อสินค้าใดไม่มีค่า หรือไม่คุ้มค่าในทางเศรษฐศาสตร์ มันก็พร้อมจะถูกละเลยจากคนเก็บขยะทันที เช่น บางพื้นที่ของประเทศไทยนั้นไม่รับขวดพลาสติก PET ผสมสี (เช่นขวดน้ำอัดลมสีเขียว) หรือกล่องนมสด เนื่องจากมีต้นทุนในการเก็บรักษา และต้องใช้เวลานานกว่าจะรวมไปขายได้

ร้าน รับซื้อ ของเก่า เสีย ภาษี อย่างไร

ขวดพลาสติกประเภท PET ถูกนำขึ้นชั่งตาชั่งดิจิทัล

ธารา บัวคำศรี ผอ.กรีนพีซ ประเทศไทยมองว่า การรีไซเคิลเป็นเพียงหนึ่งเสี้ยวของการแก้ปัญหาการจัดการขยะ เนื่องจากการรีไซเคิลคือการดึงเอาวัสดุเหลือใช้เข้าสู่กระบวนการผลิตใหม่ ซึ่งในกระบวนการผลิตก็ย่อมมีผลข้างเคียงจากการผลิต เช่นควันพิษหรือน้ำเสียจากกระบวนการทางอุตสาหกรรม และการรีไซเคิลนั้นยังไม่สามารถย้อนให้วัสดุทุกชนิดกลับไปเป็นสารตั้งต้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ ในวงการการรีไซเคิลจึงมีคำว่า ‘ดาวน์ไซเคิล (Downcycle)’ หรือการรีไซเคิลที่ได้วัสดุคุณภาพต่ำลงเรื่อยๆ จนเป็นขยะที่ใช้การไม่ได้ในท้ายที่สุด พลาสติกเป็นวัสดุที่มีความถดถอยในอัตราเร็วกว่าวัสดุอื่นๆ อย่างแก้วหรืออลูมิเนียม

ธารายกตัวอย่างถุงดำ วัสดุพลาสติกที่เป็นปัญหาที่ผลิตจากโพลีเอธิลีน ซึ่งเป็นการดึงเอาพลาสติกชนิดต่างๆ มาผลิตเป็นถุงเกรดต่ำที่เมื่อใช้แล้วก็จะยุ่ยเป็นพลาสติกขนาดเล็ก หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมก็เป็นไมโครพลาสติกที่อาจไปปนเปื้อนแหล่งน้ำหรือแหล่งดิน อีกตัวอย่างคือพลาสติกประเภทพีวีซี เมื่อรีไซเคิลนั้นจะต้องมีการเข้ากระบวนการแยกคลอรีนซึ่งสร้างมลพิษ และพลาสติกชนิดนี้เมื่อรีไซเคิลปนกับพลาสติกชนิดอื่นก็จะทำให้คุณภาพพลาสติกทั้งหมดแย่ลงทันที ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่ท้าทายศักยภาพในการคัดแยกและจัดเก็บของผู้นำพลาสติกมาขายทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ

"เวลาเราดูผลกระทบของการรีไซเคิล ถ้าเราชั่งน้ำหนักว่ารีไซเคิลมันจะเป็นประโยชน์มากกว่า หรือไม่รีไซเคิลอันไหนมากกว่า มันต้องดูทั้งวงจร ทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์นั้นด้วย เพราะรีไซเคิลมันก็เป็นเสี้ยวหนึ่ง ถ้าเราออกแบบให้บรรจุภัณฑ์มันเอาไปใช้ใหม่มากขึ้น ทนทานได้มากขึ้น ใช้ซ้ำได้มากขึ้น เราก็ไม่จำเป็นต้องมีการรีไซเคิล เพราะมันคือการใช้ซ้ำ (รียูส) ไม่ต้องผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรม"

"รียูสอาจมีผลกระทบต่ำมากๆ เมื่อเทียบกับรีไซเคิล เพราะรีไซเคิล พอเข้าสู่กระบวนการอุตสาหกรรมก็ต้องมีน้ำเสีย ของเสีย ของเหลือใช้ที่เป็น by-product ของกระบวนการรีไซเคิลที่ต้องมีการจัดการตามมาในเรื่องการกำจัดของเสีย"

ช่องว่างที่รอการเติมเต็มในทางนโยบาย

ตั้งแต่ปี 2559 รัฐบาล คสช. มีการวางแผนงานในระดับนโยบายเกี่ยวกับการจัดการขยะเอาไว้ในฐานะวาระแห่งชาติ โดยในวันที่ 20 กันยายน 2559 ภายใต้ชื่อแผนปฏิบัติการ “ประเทศไทยไร้ขยะ” ตามแนวทาง “ประชารัฐ” เป็นแผนช่วงปี 2559-2560 วางอยู่บนแนวคิด 3R (Reduce/Reuse/Recycle) มีเป้าหมายเพื่อให้ประเทศไทยเป็นสังคมปลอดขยะ

จากนั้นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้บูรณาการแผนบริหารจัดการขยะมูลฝอยของทุกจังหวัด จัดทำเป็นแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559-2564) เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน บทบาทของซาเล้งคือการเพิ่มศักยภาพการจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายโดยสนับสนุนให้จัดระบบซาเล้ง ร้านค้าของเก่าและเครือข่ายกิจกรรมรีไซเคิลชุมชนและตลาดนัดรีไซเคิลเพื่อเพิ่มทางเลือกและช่องทางในการคัดแยกขยะมูลฝอย

ชัยยุทธิ์เล่าว่าความพยายามข้างต้นยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก เขาอยากจะให้ภาครัฐเอาจริงเอาจังกับนโยบาย 3R ประชารัฐมากขึ้น ถ้าจะให้ดี เบื้องต้นเขาเสนอให้มีการจดทะเบียนซาเล้งให้เหมือนที่รัฐจดทะเบียนชาวนา เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในกรณีที่ได้รับความเดือดร้อน เพราะซาเล้งมีความสำคัญมากในการนำขยะที่กระจัดกระจายอยู่มาเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล

ธารามองว่าเป้าหมายของรัฐไทยคือต้องการลดขยะด้วยการเผาเพื่อผลิตไฟฟ้าซึ่งสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เห็นได้ชัดว่าเป็นการนำขยะไปเผาเพื่อสร้างผลกำไรให้ธุรกิจของเครือข่ายทุนประชารัฐในนามการผลิตพลังงานหมุนเวียนส่งโรงไฟฟ้า เขากังวลว่าการทำพลังงานไฟฟ้าจากการเผาขยะเช่นนี้จะทำให้เกิดมลพิษไดออกซินและฝุ่น PM 2.5 ซึ่งในอนาคต การเผาขยะเพื่อการไฟฟ้าที่แพร่หลายอาจสร้างมลพิษมากหากไม่กวดขันมาตรฐานเรื่องผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม

“มีหลายโครงการมากที่ภายใต้ประชารัฐ จัดการขยะโดยสร้างศูนย์กำจัดขยะครบวงจร ทั้งๆ ที่จริงคือการเอาเทคโนโลยีเผาขยะแล้วดึงขยะไปเผา ผลิตกระแสไฟฟ้าแล้วขายไฟฟ้าเข้าสายส่งแล้วก็ได้รายได้จากการขายไฟฟ้าด้วย กลายเป็นรูปแบบหนึ่งของพลังงานหมุนเวียน พลังงานทดแทน ซึ่งนับว่าผิดทิศผิดทางกลับหัวกลับหางมาก"

ผอ.กรีนพีซ ประเทศไทยเสนอว่าการแก้ไขความไม่เพียงพอในทางนโยบายนี้สามารถทำได้ด้วยการเสนอกฎหมายการจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมที่ผลักดันโดยประชาชน ซึ่งก็ต้องล้อไปกับการร่างรัฐธรรมนูญโดยภาคประชาชนเพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกัน

"รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็อาจรับรองสิทธิปัจจุบันของประชาชนไว้ระดับหนึ่ง แต่ถ้ากลไกในรัฐธรรมนูญมันรับรองสิทธิที่ประชาชนไม่ถูกกดทับมากกว่านี้ในเรื่องสิทธิสิ่งแวดล้อม เพราะโรงเผาขยะหรือการจัดการขยะไม่ใช่แค่ขยะ แต่เป็นเรื่องการจัดการทรัพยากร การวางแผนปฏิรูปเศรษฐกิจ ปฏิรูปสิ่งแวดไปพร้อมๆ กัน ถ้าเรามองแยกส่วนการจัดการขยะเมื่อไหร่ จบเลย" ธารากล่าว

ค้า ของเก่า ต้องเสียภาษี อะไร บ้าง

ค่าธรรมเนียมการค้าของเก่า 2.1 ของเก่าประเภทโบราณวัตถุ หรือศิลปวัตถุ ปีละ 12,500 บาท 2.2 ของเก่าประเภทเพชร พลอย ทอง นาก เงิน หรืออัญมณี ปีละ 10,000 บาท 2.3 ประเภทรถยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ ปีละ 7,500 บาท

เปิดร้านรับซื้อของเก่าต้องจดทะเบียนไหม

ซึ่งกิจการรับซื้อของเก่า พวกเศษเหล็ก เศษกระดาษ ที่ท่านสอบถามมา เป็นกิจการที่อยู่ภายใต้บังคับ ประกาศฉบับดังกล่าว จึงต้องจดทะเบียนพาณิชย์ตามกฎหมายด้วย

ขายพระได้เงินต้องเสียภาษีไหม

เมื่อพิจารณาการชาระภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร จะเห็นได้ว่าการประกอบกิจการจ าหน่าย พระเครื่องและวัตถุมงคล ผู้ประกอบกิจการส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาเมื่อไม่มีกรณีที่จะได้รับยกเว้นภาษี เงินได้แต่อย่างใด จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งรายได้จากการท าธุรกรรมพระเครื่องและวัตถุ มงคล เป็นเงินได้อันเข้าลักษณะพึงเสีย ...

ใบอนุญาตค้าของเก่า ทําที่ไหน

1. การขออนุญาต ก. ผู้ขออนุญาตยื่นคำร้อง ณ ที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่จะดำเนินการ ข. อำเภอตรวจสอบเอกสาร หากครบถ้วน ถูกต้อง ส่งให้จังหวัด ค. จังหวัดตรวจสอบเอกสารและคุณสมบัติของผู้ขอ หากครบถ้วน ถูกต้อง ให้ออกใบอนุญาตและส่งกลับอำเภอ