เครื่องตรวจจับ ค วัน ทํา งาน ยัง ไง

เครื่องตรวจจับ ค วัน ทํา งาน ยัง ไง

10 คำถามเกี่ยวกับ "เครื่องตรวจจับควัน" ป้องกันไฟไหม้ในคอนโด

เครื่องตรวจจับควันไฟและ เครื่องตรวจจับความร้อน เป็นอีก 1 เทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้อยู่อาศัยได้เตรียมตัวหรืออพยพได้ทันท่วงที ก่อนเหตุเพลิงไหม้จะลุกลาม คนที่อยู่คอนโดหรือหอพักเงยหน้าขึ้นไปบนเพดานก็จะเห็นเจ้าเครื่องกลมๆ ขาวๆ นี้อยู่ บางท่านรีดผ้าอยู่ดีๆ ก็มีนิติบุคคลเข้ามาหาบ้าง เพราะว่าเครื่องไปเตือนที่ส่วนกลาง ทำให้เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเจ้าเครื่องนี้มากมายว่าสรุปภายใต้ข้อดีที่มีนี้ ก็ซ่อนปัญหาในการอยู่อาศัยหลายอย่าง วันนี้เรามาตอบ 10 ข้อสงสัยเกี่ยวกับ เครื่องตรวจจับควันไฟและเครื่องตรวจจับความร้อนกันค่ะ
1. เครื่องตรวจจับควันคืออะไร?

ขอบคุณภาพจาก www.secom.co.th เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) คืออุปกรณ์ตรวจจับควันที่เกิดจากเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งโดยมากการเกิดเพลิงไหม้จะเกิดควันก่อน จึงทำให้สามารถตรวจพบเพลิงไหม้ตั้งแต่การเกิดเพลิงไหม้ระยะแรก และระงับเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็ว

ขอบคุณภาพจาก www.secom.co.th เครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) คืออุปกรณ์ตรวจจับความร้อนจากการเผาไหม้ของวัตถุ สามารถตรวจจับไฟไหม้ที่มีความร้อนสูงแต่ไม่มีควัน โดยมี 2 แบบหลักๆ คือ 1. แบบอุณหภูมิคงที่ (Fixed Temperature) ที่นิยมก็คือถ้าเกินกว่า 58 องศาเซลเซียสเครื่องก็จะเตือน ส่วนแบบที่ 2 คือ แบบอัตราเพิ่มของอุณหภูมิ (Rate of rise) เครื่องจะเตือนเมื่ออุณหภูมิสูงเกินที่กำหนด เช่น  58 องศาเซลเซียสต่อนาที เป็นต้น 2.  ทำไมต้องมีเครื่องตรวจจับควัน?
คอนโดที่เป็นอาคารขนาดใหญ่ มีขนาดพื้นที่ทั้งหมดเกิน 2,000 ตารางเมตรหรือ อาคารที่สูงเกิน 23 เมตร กฎหมายกำหนดให้ต้องติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ คือ เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) หรือ เครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) และ ตัวส่งสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm) ให้เหมาะสมด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย เพราะการอยู่คอนโดเป็นการอยู่รวมกันของคนจำนวนมาก อาจทำให้การดูแลและการระงับเหตุไฟไหม้ได้ไม่ทันท่วงที อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะช่วยให้เราไม่เสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือเสียหายน้อยที่สุด

ขอบคุณภาพจาก  www.firehoseandcabinet.com นอกจากนั้นแล้วกฎหมายยังกำหนดให้ต้องมีสายดับเพลิงอย่างน้อยชั้นละ 1 จุด ยาว 30 เมตร และสปริงเกลอร์ดับเพลิง (Sprinkler) ด้วย ซึ่งวิธีการทำงานของ Sprinkler คือ เมื่อเกิดความร้อนจนถึงอุณหภูมิที่กำหนด หัว Sprinkler จะพ่นน้ำจากท่อน้ำที่เดินไว้ทั้งอาคาร ก็จะช่วยให้ควบคุมเพลิงได้อีกทางหนึ่ง  ดูพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543
3. ถ้าคอนโดไม่มีซื้อมาติดเองได้ไหม?
โดยปกติอาคารขนาดใหญ่ที่มีขนาดพื้นที่ทั้งหมดเกิน 2,000 ตารางเมตรหรือ อาคารที่สูงเกิน 23 เมตร จะต้องติดตั้งทั้งระบบ ทั่วอาคาร ถ้าไม่มีแสดงว่าผิดกฎหมายนะคะ ลองติดต่อนิติบุคคลเพื่อสอบถามดูได้เลย แต่ถ้าหากเป็นอาคารปกติ อยากติดตั้งเอง สามารถทำได้เลยค่ะ สามารถซื้อทางออนไลน์หรือร้านขายอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านได้ ควรเลือกแบบที่มีการส่งสัญญาณในเครื่องเลย ( Smoke Alarm) เพราะไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบอาคาร อย่างน้อยก็เตือนได้ที่ห้องหรือบ้านของเราค่ะ ในส่วนของการเลือกใช้เครื่องนั้นถ้าในห้องครัวควรจะติดตั้งเป็นเครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) จะเหมาะสมกว่า เพราะในครัวควันจากการทำอาหารจะเยอะป้องการเครื่องร้องเตือนบ่อยๆ ส่วนพื้นที่อื่นๆ จะติดตั้งเป็นเครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) ก็ได้ค่ะ  เช็คราคาเครื่องตรวจจับควัน 1. Xiaomi Mijia Honeywell Smoke Alarm Detector ราคา 849 บาท 

  • ทำงานแบบ Photoeletric ตรวจจับควันต่างๆ ได้ดี
  • เสียงแจ้งเตือน : >80dB (ระยะ 3 เมตรจากตัวเครื่อง)
  • ความจุแบตเตอรี่ : 2400mAh
  • อายุการใช้งานแบตเตอรี่ : 5 ปี2.  Carbon Monoxide Fire Smoke Alarm 512 ราคา 689 บาท

  • ทำงานแบบ Microprocessor Intelligent Control & infrared Photoelectric Sensor
  • เสียงแจ้งเตือน : 85dB 
  • แบตเตอรี่ : ใช้ถ่าน 1.5V AA Batteries จำนวน 3 ก้อน3.  Daytech ราคา 199 บาท

  • ทำงานแบบ Lonization
  • เสียงแจ้งเตือน : 85dB (ระยะดัง 3 เมตร)
  • แบตเตอรี่ :แบตเตอรี่ 9V ประมาณ 1 ปี สำหรับแบตเตอรี่คาร์บอนราคา ณ วันที่ 6/9/2021 4. ติดเครื่องตรวจจับควันตำแหน่งไหนดี
    การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับควันและความร้อนต้องติดตั้งในตำแหน่งที่ตรวจจับได้สะดวก ก่อนติดตั้งต้องมีการวิเคราะห์ทิศทางของลม พื้นผิวของเพดาน โดยปกติแล้วเราก็จะเห็นติดอยู่ที่บริเวณกลางห้อง ติดที่เพดานความสูงไม่เกิน 10.50 เมตรจากพื้น (คอนโดทั่วไปก็เฉลี่ยอยู่ที่ 2.60 เมตร) ง่ายๆ เลยก็คือติดที่เพดานห้องหรือผนังห้องในจุดที่สูงไม่เกิน 10 เมตรค่ะ แต่ก็ไม่ควรต่ำเกินไป เพราะควันจะลอยขึ้นที่สูงเสมอ
    5. ในคอนโดสัญญาณเตือนดังยังไง?

ขอบคุณภาพจาก https://www.stamfordfire.com/public-education/safety-info/smoke-alarms/ หากเครื่องตรวจจับควันหรือความร้อนได้ เครื่องจะทำการส่งสัญญาณเตือนไปที่ส่วนกลาง จะไม่ได้ร้องดังที่ห้องของเรา เจ้าหน้าที่และรปภ. ก็จะปิดสัญญาณเตือนส่วนแรกก่อน หลังจากนั้นก็จะเข้ามาสอบถามที่ห้องของเราดูว่าเราทำอะไรที่เป็นเหตุให้เครื่องดัง แต่ถ้าเจ้าหน้าที่ปล่อยให้สัญญาณที่ส่วนกลางดังนานเกินไป ระบบก็จะส่งให้เสียงนั้นดังไปทั่วอาคาร เพื่อแจ้งเตือนเหตุไฟไหม้ ให้ทุกคนอพยพลงมาที่จะรวมพล อีก 1 กรณีก็คือมีผู้ดึงหรือกดปุ่มสัญญาณเตือนไฟไหม้ค่ะ
6. เมื่อสัญญาณเตือนดังขึ้น จะมีน้ำพ่นลงมาไหม?

สัญญาณเตือนเกิดขึ้นจาก 3 อย่างนี้ คือ 1. เครื่องตรวจจับควัน (Smoke Detector) มีควันถึงจุดที่กำหนด 2. เครื่องตรวจจับความร้อน (Heat Detector) มีความร้อนถึงอุณหภูมิที่กำหนด และ 3. มีผู้ดึงหรือกดสัญญาณเตือนไฟไหม้ (Fire Alarm) เท่านั้น ไม่ใช่ว่ามีสัญญาณแล้วน้ำจะพ่นลงมาอัตโนมัติค่ะ เพราะเป็นคนละระบบกัน น้ำที่พ่นลงมานั้นมาจากความร้อนทำให้หัว Sprinkler เปิดออก โดยกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ก็คือมีเครื่องตรวจจับความร้อนดัง ไม่นานก็อาจจะทำให้มีน้ำพ่นลงมาจาก Sprinkler ได้ ดังนั้นคอนโดใครมีที่เครื่องตรวจจับควันก็ไม่ต้องกลัวนะคะถ้าเกิดว่าเวลาทำอาหารหรือทำควันจนทำให้เครื่องร้องดังขึ้นมา ถ้าไม่มีความร้อนร่วมด้วย Sprinkler ไม่ทำงานแน่นอนค่ะ
7. จับได้แต่ควันใช่ไหม? 
เครื่องตรวจจับควันนั้นมี 2 แบบ การทำงานก็จะแตกต่างกันไป แต่จุดประสงค์คือแจ้งเตือนได้เหมือนกันค่ะ  แต่ถ้าหากสงสัยว่าเวลาตรวจจับนั้นเซ็นเซอร์นับเอาแต่ควันไฟใช่ไหม? ก็ต้องตอบว่า แบบ Lonization ใช่ค่ะ เพราะแบบนี้ภายในจะมีแผ่นโลหะที่มีขั้วไฟฟ้าต่างกัน และมีสารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive) ซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นอากาศภายในให้เกิดการแตกตัวเป็น Ion (ไอออน) โดยไอออนนี้ก็จะทำหน้าที่เป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทั้งสองขั้ว เมื่อเกิดควันเข้าไปในกล่อง จะทำให้ค่าความนำไฟฟ้าของอากาศลด และกระแสไฟฟ้าจะลดลงเรื่อยตามปริมาณควันจนถึงค่าที่กำหนดไว้ ระบบก็จะทำงาน แบบนี้จะไม่ไวต่อไอน้ำ ควันจากการทำอาหาร แต่จะไวต่อควันที่เกิดจากการเผาไหม้เท่านั้น  ส่วนแบบ  Photoeletric นั้น ทำงานแบบวัดแสงจากตัวส่งและตัวรับ อะไรก็ตามที่ไปบดบังลำแสงทำให้ความเข้มข้นของแสงไปถึงตัวรับลดลง ระบบก็จะเตือนเลยทันที ดังนั้น สามารถตรวจจับได้ทั้ง ควัน ไอน้ำ ฝุ่น   ดังนั้นเราก็ไม่อาจทราบได้ว่าทางคอนโดของเราติดเครื่องแบบไหนอะไรมาให้ เราก็ควรที่จะระวังทั้งควันบุหรี่ ควันจากการทำอาหาร ไอน้ำจากการรีดผ้า ทานชาบู สุกี้ หมูกะทะ หรือแม่แต่การหุงข้าวค่ะ และมีบางคนบอกว่าแค่รีดผ้าด้วยเตารีดไอน้ำ หรือแค่หุงเข้าบางทีเครื่องก็ร้องไปที่นิติบุคคลแล้ว
8. ถ้าไม่ได้ตั้งใจทำให้สัญญาณเตือนดัง จะถูกปรับหรือไม่?

ถ้าหากทำกับข้าว ปิ้งย่าง สูบบุหรี่ หรือทำเหตุให้เกิดควันไปโดนจุดเซ็นเซอร์ทำให้เครื่องเตือน สิ่งแรกที่จะเกิดขึ้นคือจะมีเจ้าหน้าที่เข้ามาระงับเหตุอย่างรวดเร็ว เพราะสามารถรู้จุดได้ทันทีว่าห้องไหน ตำแหน่งไหน ส่วนเรื่องการโดนปรับหรือไม่โดนปรับคงต้องอยู่ที่นิติบุคคลแต่ละโครงการค่ะ อาจจะต้องดูจุดประสงค์ด้วยว่าตั้งใจให้เกิดหรือไม่ได้ตั้งใจ อย่างไรก็ตามก็ไม่ควรให้พลาดเกิน 1 ครั้งค่ะ เพราะเรื่องไฟไหม้เป็นเรื่องใหญ่อาจทำให้เกิดความตกใจ เสียขวัญ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายโดยใช่เหตุได้
9. ถ้าไม่เอาฝาครอบออกหรือตั้งใจปิดเครื่อง ผิดกฎหมายหรือไม่?
อาจจะไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมายแต่เป็นเรื่องความรับผิดชอบต่อส่วนรวมค่ะ การอยู่คอนโดเป็นการอยู่อาศัยร่วมกับคนจำนวนมาก ดังนั้นจำเป็นต้องเคารพกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด การปิดเครื่องตรวจจับควันหรือเครื่องตรวจจับความร้อนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แนะนำอย่างยิ่ง เพราะเราอาจจะลืมกลับมาเปิดเมื่อทำอาหาร หรือกิจกรรมอื่นๆ เสร็จแล้ว และถ้าหากเกิดไฟไหม้จริงๆ การควบคุมเหตุก็อาจล่าช้าจนทำให้ไฟลุกลามไปมากก็ได้ ดังนั้นถ้าหากใครต้องการทำอาหาร ปิ้งย่าง ชาบูต่างๆ ในคอนโด แต่กลัวสัญญาณเตือนดังขึ้น แนะนำทำตามนี้ค่ะ 1. ติดเครื่องดูดควันหรือระบายควันออกสู่ด้านนอก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกลุ่มควันเป็นจำนวนมากในห้อง และยังช่วยลดกลิ่นสะสมในห้องด้วยค่ะ 2. เปิดพัดลมแรงๆ จ่อไปที่เครื่องตรวจจับควัน วิธีนี้ก็จะทำให้ควันไม่ไปโดนที่จุดเซ็นเซอร์จนร้องเตือนขึ้นมา 3. เอาถุงพลาสติกครอบและปิดเทปให้รอบ ควันก็จะไม่เข้าไป ที่จุดเซ็นเซอร์ แต่อย่าลืมนำถุงออกเมื่อทำเสร็จแล้วด้วยนะคะ 4. ทำอาหารหรือปิ้งย่างที่ระเบียงคอนโด ใครระเบียงกว้างหน่อยก็ออกไปทำด้านนอกพร้อมเอาพัดลมเป่าไล่กลิ่นและควันได้เลยค่ะ และที่สำคัญตัวเครื่องตรวจจับควันนั้นบางรุ่นจะมีฝาครอบสีแดง สีเหลือง หรือสีอื่นๆ อีก อย่าลืมเอาฝาครอบออกด้วยนะคะเพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างมทีประสิทธิภาพ
10. ถ้าถอดเครื่องออกจะเป็นอะไรมั้ย?
โดยปกติแล้วเครื่อง  Smoke Detector และ Heat Detector จะมีไฟกระพริบเมื่อเครื่องอยู่ในสถานะที่ทำงาน บางท่านจะทำให้เกิดความรำคาญใจได้ สามารถถอดออกได้ไหม? อย่างที่บอกไปข้างต้นแล้วว่า ห้ามปิดเครื่อง และยิ่งไปกว่านั้นคือห้าม ถอดเครื่องออกด้วย เพราะเมื่อถอดเครื่องออกเสียงจะไปเตือนที่ส่วนกลางอยู่ดี อาจจะต้องเสียเงินค่าประกอบใหม่ค่ะ

เครื่องตรวจจับควันและเครื่องตรวจจับความร้อน เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก ช่วยเตือนเราให้รู้ตัวก่อนที่ไฟจะลุกลามไปทั่วทั้งอาคาร ยิ่งเป็นอาคารสูงคอนโดแล้วการเตือนภัย การอพยพ และความรู้เรื่องการหนีไฟเป็นสิ่งที่จำเป็นมากๆ เลยค่ะ และการซ้อมหนีไฟไหม้ก็ถือเป็นการตรวจเช็กระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ไปในตัวด้วย เพราะไม่ใช่แต่ติดตั้งแล้วหายไป เป็นหน้าที่ของนิติบุคคลที่ต้องหมั่นดูแลและเปลี่ยนเมื่อเครื่องไม่ทำงานแล้ว

เครื่องตรวจควัน ทำงานยังไง

2.1 อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector) หลักการทํางาน โดยทั่วไปอุปกรณ์ตรวจจับควันจะทํางานโดยอาศัย หลักการคือเมื่อมีอนุภาค ควัน ลอยเข้าไปในอุปกรณ์ตรวจจับควัน อนุภาพควันจะเข้าไปกีดขวางวงจรไฟฟ้า หรือกีดขวางระบบ แสงในวงจร หรือใช้อนุภาคควันในการหักเหแสงไปที่ตัวรับแสง

อุปกรณ์ตรวจจับควัน มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟ หรือที่หลายคนเรียกทับศัพท์ว่า Smoke Detector (สโมคดีเทเตอร์) หรือ Smoke Sensor คือ อุปกรณ์ป้องกันเหตุเพลิงไหม้ โดย Smoke Detector สามารถตรวจจับอนุภาคควันไฟได้ โดยที่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ สิ่งแรกที่ลอยขึ้นไปบนอากาศจะเป็นควัน จึงทำให้ Smoke Detector ทำงานส่งสัญญาณเตือนภัย (Signaling Equipment) ไม่ว่าจะ ...

Smoke Detector ใช้ไฟอะไร

Photoelectric Optical Light Scattering Smoke Detector. อุปกรณ์ตรวจจับควันโดยการกระจายแสงสะท้อน Photoelectric Smoke Detector ส่วนใหญ่แล้ว ทำงานโดยใช้หลักการ ของ การกระจายแสงสะท้อน โดยใช้หลอด Light Emitting Diode (LED) ส่องแสงไปบริเวณที่ตัวส่ง Photosensitive Element (อุปกรณ์ไวแสง) มองไม่เห็น โดยทั่วไปใช้

Smoke Detector หมายถึงอะไร

Smoke Detector เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควันที่ทำงานร่วมกันกับระบบ Alarm System หรือสัญญาณแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ เหมาะกับการติดตั้งในอาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 3 ชั้นขึ้นไป